วงการสุขภาพกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล และเทคโนโลยีที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ถูกคาดหวังว่าจะมี อนาคตที่ยาวไกลในเชิงของการช่วยวินิจฉัยโรค การรักษา และการดูแลทั้งผู้ที่ป่วยและไม่ป่วยในอนาคต และเหล่านี้คือ 5 เทคโนโลยีที่มีศักยภาพสูงในการพลิกโฉมวงการการแพทย์และสุขภาพ
จะมีอัตราการเติบโต 42% และจะมีมูลค่าสูงถึง 6.6 พันล้านในปี 2021
เป้าหมายของ AI ในวงการสุขภาพ คือการพัฒนาการรักษา และดูแลผู้ป่วยโดยการช่วยแพทย์เวชปฏิบัติในการใช้ความรู้ทางการแพทย์ ซึ่งระบบได้ทำการวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนและจดจำข้อมูลไว้แล้ว ทำให้สามารถนำเสนอการรักษาที่ดีเยี่ยมสู่ผู้ป่วยได้
ระบบปัญญาประดิษฐ์มีศักยภาพในการบริการข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้กับบุคลากรทางการแพทย์และนักวิจัยได้แบบ real-time ทันที ที่มีความความต้องการ ทั้งยังเป็นข้อมูลคุณภาพจากแหล่งข้อมูลอิเล็คทรอนิกส์ทางการแพทย์ (EHRs) ด้วย
คาดกันว่าตลาดของ AI ที่เกี่ยวเนื่องกับวงการสุขภาพจะได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็วทั่วโลกด้วยอัตรา การเติบโตที่สูงถึง 42% ไปจนถึงปี 2021 ประสิทธิภาพการรักษาที่ดีเยี่ยม, ค่าใช้จ่ายที่ลดลง, กำจัดขั้นตอนฟุ่มเฟือยเพื่อให้กระแสงานในโรงพยาบาลหมุนเวียนง่ายขึ้น, และแผนการรักษาแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง คือเหตุผลหลักๆ ที่ทำให้ตลาด AI ได้รับการยอมรับและประสบความสำเร็จอย่างสูงในวงการสุขภาพ
AI ช่วยพัฒนาการเข้าถึงและวิเคราะห์ภาพทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง โดยความช่วยเหลือของระบบประมวลผลภาพดิจิทัล, การจดจำแบบแผน, และการเรียนรู้ของเครื่องจักรบน AI แพลตฟอร์ม
บริษัท startup ชื่อ Butterfly Network ที่ได้พัฒนาเครื่องอัลตราซาวนด์ 3 มิติแบบมือถือซึ่งถ่ายทอดภาพ 3D ออกมาแบบ real-time ทั้งยังอัพโหลดข้อมูลขึ้นไปบน cloud service ซึ่งจะทำการจำแนกลักษณะและวินิจฉัยภาพให้แบบอัตโนมัติด้วย คาดการณ์ว่าเทคโนโลยี AI ที่ช่วยหนุนวงการแพทย์ดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบกับ ตลาดวินิจฉัยภาพทางการแพทย์โดยรวมและอัตราการเติบโตของมันอย่างมีนัยสำคัญ
นอกจากนี้นวัตกรรม AI ยังช่วยแนะแนวทางและหาทางออกของปัญหาให้กับผู้ป่วยแบบอัตโนมัติด้วย ยกตัวอย่างเช่น ระบบติดตามทางการแพทย์ด้วย AI ที่จะช่วยสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยว่ามีการปฏิบัติตาม คำแนะนำของแพทย์หรือไม่ โดยใช้ระบบจดจำใบหน้าขั้นสูงและซอฟต์แวร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว ถือเป็น การริเริ่มนำความเป็นอัตโนมัติเข้าไปสู่ขั้นตอนสำคัญของการรักษาซึ่งก็คือ “การบำบัดด้วยการสังเกตการณ์โดยตรง” (DOT) นั่นเอง คาดการณ์ว่าผู้ประกอบการหน้าใหม่ๆ ซึ่งเข้าสู่ตลาดด้วยแนวทางที่คล้ายกันนี้ จะสามารถกุมส่วนตลาดย่อยนี้ได้อย่างรวดเร็ว
เมื่อไม่นานมานี้บริษัท Truven Health Analytics ถูกซื้อกิจการโดย IBM Watson Health ด้วยมูลค่า 2.6 พันล้านเหรียญ ได้สร้างมิติใหม่ที่สำคัญให้แก่วงการในเชิงการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ ถือเป็นการตอกย้ำความแข็งแกร่งของ IBM ที่เดิมก็นับว่าเป็นสายแข็งในตลาดสุขภาพอยู่แล้วให้มากขึ้นไปอีก
Frost & Sullivan
"ภูมิคุ้มกันบำบัด" เอื้อประโยชน์ในการรักษาโดยมุ่งเน้นไปที่ความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันในการรับมือกับมะเร็ง ทั้งยังมีศักยภาพที่จะพลิกโฉมการรักษาโรคมะเร็งได้ด้วย มันช่วยสร้างมิติใหม่ทั้งในแง่ของการ ยืดอายุผู้ป่วยรายคนให้ยาวนานขึ้นและการช่วยเหลือผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก ยกตัวอย่างเช่น โรคมะเร็งไฝ ที่ถือเป็นความต้องการสำคัญทางการแพทย์ซึ่งยังไม่ได้รับการตอบสนองแถมมีทางเลือกในการรักษาที่จำกัด ในแต่ละปีมีการตรวจพบผู้ป่วยมะเร็งไฝมากกว่า 160,000 รายทั่วโลก และมียอดผู้เสียชีวิตรายปีสูงถึง 40,000 ราย
ความหวังของวิธีรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของมันเมื่อถูกนำไปใช้กับผู้ป่วยในวงกว้าง เมื่ออัลกอริทึมที่มีประสิทธิภาพในเชิงมะเร็งวิทยาเป็นที่ตระหนัก ศักยภาพของมันจะเพิ่มขึ้นแบบ ทวีคูณ ขณะที่ตัวยับยั้งการทำงานที่จุดตรวจจับครองตำแหน่งประเด็นสนทนายอดนิยมในแวดวงการแพทย์ วิธีการรักษาอื่นๆ ที่ดูมีความหวังได้แก่ การปลูกสร้างแบบใหม่ระดับโมเลกุล เช่น การดัดแปลงโมเลกุลรับสัญญาณให้เป็นแบบลูกผสม (CARs), การผสมผสานวิทยาการรักษาด้วยยาเก่าและใหม่, ตลอดจนการ ปรับเกณฑ์การให้ยาและวัคซีน ตลาดของตัวยับยั้งการทำงานที่จุดตรวจจับมีมูลค่า 3 พันล้านเหรียญในปี 2015 และคาดว่าจะแตะ 21.1 พันล้านเหรียญภายในปี 2020 กล่าวได้ว่ามีอัตรการเติบโตสูงถึง 139%
Frost & Sullivan
การตรวจพิสูจน์ของเหลว (Liquid Biopsy) สามารถสกัดเซลล์มะเร็งออกจากตัวอย่างเลือดธรรมดาๆ ได้ และมีศักยภาพ ที่จะปฏิวัติการรักษาโดยการติดตามดูเซลล์มะเร็งแบบไม่รุกรานร่างกาย ปัจจุบันการตรวจชิ้นเนื้อซ้ำหลายๆ รอบคือสิ่งจำเป็นในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเนื้อร้าย และนับเป็นความท้าทายอย่างมากต่อร่างกาย ของผู้ป่วย การตรวจพิสูจน์ของเหลวสร้างโอกาสที่แสนหอมหวานในการลงทุนให้กับธุรกิจซึ่งเกี่ยวข้องกับ การวินิจฉัยโรค โดยการมุ่งเน้นไปที่ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ เช่น ดีเอ็นเอและเซลล์มะเร็ง ได้เปิดโลกใหม่ที่ทำให้ การติดตามเฝ้าดูเนื้อร้ายกลายเป็นเรื่องที่ไม่รุนแรงกับร่างกายอีกต่อไป คาดกันว่าภายในเวลาประมาณ 2 ปี การตรวจพิสูจน์ของเหลวจะกลายมาเป็นส่วนเสริมที่สำคัญให้กับการตรวจพิสูจน์เนื้อเยื่อ เทคโนโลยีนี้ได้รับ การพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพกว่ามาก และสามารถตรวจจับอาการทรุดของโรคได้ก่อนการทำซีทีสแกน เสียอีก หัวใจของมันคือการที่แพทย์สามารถตรวจมะเร็งได้โดยไม่ต้อง “เข้าถึงตัวมะเร็ง” ซึ่งตรงนี้เองคือ จุดสำคัญที่ต่างจากการตรวจพิสูจน์เนื้อเยื่อ
CRISPR/Cas9 คือเทคนิคการตัดต่อยีนซึ่งสามารถแก้ไขความบกพร่องต่างๆ ได้อย่างแม่นยำตรงจุดใน ระดับดีเอ็นเอ แถมยังวางใจได้และมีประสิทธิภาพในเชิงราคาด้วย ในระยะเวลาสั้นๆ มันได้เข้ามากุม ความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการวิจัยและพัฒนาวิทยาการ รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งเกี่ยวเนื่อง กับวิทยาศาสตร์ชีวภาพในส่วนตลาดที่สำคัญทั่วโลก เทคนิคนี้ถูกปล่อยออกมาในวงการวิจัยครั้งแรกในปี 2014 และหลายองค์กรต่างแห่กันนำมันมาใช้เพื่อผลิตเครื่องมือวิจัยและพัฒนาการรักษาโรค Sangamo Biosciences คือบริษัทที่นำหนึ่งในเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้สร้างผลงานมากที่สุด อย่างเช่นการใช้นิวเคลียส วิศวกรรม Zinc Finger Nucleases เพื่อพัฒนาวิธีการรักษาโรคที่ถึงขั้นนำมาใช้กับมนุษย์ได้ ส่วนบริษัทอื่นๆ อย่างเช่น startup น้องใหม่ CRISPR Therapeutics และ Editas Medicine โฟกัสไปที่ CRISPR และได้รับเงินระดมทุนหลายล้านเหรียญ
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้การดัดแปลงยีนเพื่อนำมาใช้รักษาโรคในมนุษย์จะแย่งไฟบนเวทีไปครองได้สำเร็จ
แต่ในวงการอื่นๆ อันได้แก่ เกษตรกรรมและสารเคมีพิเศษ ซึ่งเทคโนโลยีได้พัฒนาไปไกลกว่าผลวิจัยที่มีอยู่ ในท้องตลาดแล้ว การตัดแต่งยีนมอบโอกาสให้พวกเขาสามารถทำสิ่งเหล่านี้ได้
บทวิเคราะห์จากโครงการที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนโดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติมีการกล่าวถึง CRISPR/Cas9 ตั้งแต่ปี 2013 มาจนถึงปี 2015 ว่าเทคโนโลยีการตัดต่อยีนดังกล่าวนี้มีอัตราการเติบโต อย่างมหาศาล ตั้งแต่ปี 2013 ถึงปี 2014 มูลค่าเงินลงทุนเพิ่มสูงขึ้นถึง 7 เท่า และจากปี 2014 ถึง 2015 มูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นอีกมากกว่า 3 เท่า ผู้ใช้สุดท้ายที่นำ CRISPR/Cas9 มาใช้ไม่ได้มีเพียงแค่นักวิจัย สายวิชาการเท่านั้นเนื่องจากมันส่งผลสำคัญต่อวิทยาการรักษาโรคด้วย เทคโนโลยีนี้เอาชนะความท้าทาย หลายอย่างโดยใช้ RNAi, TALENs และ ZFN เป็นเครื่องมือตัดต่อจีโนม และดูมีความเป็นไปได้มากที่ มูลค่าของมันในตลาดจะไต่ขึ้นสูงถึงหลายร้อยล้านเหรียญภายในไม่กี่ปีข้างหน้า
ภาพจาก stratasys.com
เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติมีศักยภาพมากในวงการสุขภาพเพราะคุณสมบัติที่สามารถปรับให้เหมาะสมกับ ตัวบุคคลได้ของมัน การพิมพ์ 3 มิติที่สามารถปรับให้เหมาะสมกับบุคคลได้จะช่วยลดเวลาในการผ่าตัดและ ค่าใช้จ่ายในการรักษาลงอย่างฮวบฮาบ ในปัจจุบัน..เทคนิคการพิมพ์ 3 มิติถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางที่สุด ในการพิมพ์โครงเลี้ยงเซลล์, กระดูกเทียม (สำหรับการผ่าตัดใส่กระดูกเทียม), และเครื่องมือทางการแพทย์ อย่างเช่น ฟันปลอม หรือเครื่องช่วยฟัง ส่วนตัวพลิกเกมในวงการการพิมพ์ 3 มิติในอนาคตน่าจะเป็นการ พิมพ์เนื้อเยื่อมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ตับ หัวใจ หู มือ ตา หรือการสร้างหน่วยเนื้อเยื่อที่เล็กที่สุดที่สามารถ เติบโตและทำงานได้ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างเนื้อเยื่อหรืออวัยวะขนาดใหญ่ต่อไป สิ่งเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ใน การผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะเพื่อซ่อมแซมหรือเปลี่ยนแทนเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่เสียหาย
ทั่วโลกมีผู้ป่วยกว่าล้านคนโดยประมาณที่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต อย่างไรก็ตาม..มีผู้ที่ได้รับ การผ่าตัดจริงๆ เพียงแค่กว่า 5,000 คนเท่านั้น เนื่องจากจำนวนของผู้บริจาคอวัยวะมีไม่เพียงพอ นอกจากนี้ ความขาดแคลนอวัยวะที่ผ่านการบริจาคอย่างถูกกฎหมายยังทำให้การลักลอบขายอวัยวะแบบผิดกฎหมาย ทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจด้วย ธุรกิจการพิมพ์ 3 มิติเพื่อการแพทย์ถูกคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 6 พันล้านเหรียญภายในปี 2025 บริษัทที่เป็นผู้นำในแวดวงนี้ ได้แก่ Stratasys Ltd., Arcam AB, Organovo Holdings Inc., Johnson & Johnson Services Inc. และ Stryker
บทความนี้เขียนขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากคุณ Nitin Naik รองประธานระดับโลกสาขาวิทยาศาสตร์ ชีวภาพ, คุณ Christi Bird นักวิเคราะห์ระดับสูงของวงการ, คุณ Divyaa Ravishankar นักวิเคราะห์ระดับสูง ของวงการ, และคุณ Venkat Rajan ประธานระดับโลกของฝ่ายวิสัยทัศน์การแพทย์ประจำโปรแกรมพัฒนา สุขภาพของ Frost & Sullivan
ที่มา forbes.com
คุณสามารถติดตามบางส่วนของเทคโนโลยีล้ำๆ เหล่านี้ได้ ในงาน Techsauce Global Summit ลงทะเบียนจองตั๋วล่วงหน้า รับราคาพิเศษกว่า รายละเอียดเพิ่มเติม: summit.techsauce.co
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด