WorkVenture เผยทักษะด้าน IT แบบไหนบ้างที่เรียกเงินเดือนได้สูง | Techsauce

WorkVenture เผยทักษะด้าน IT แบบไหนบ้างที่เรียกเงินเดือนได้สูง

WorkVenture เผยถึงสถานการณ์ความต้องการแรงงานทางด้าน IT ที่กำลังขาดแคลนอย่างหนักในปัจจุบัน โดยเฉพาะทักษะเฉพาะทางและทักษะในระดับหัวหน้างาน พร้อมเผยฐานข้อมูลโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานในสายงาน IT รวมไปถึงวิธีการพัฒนาทักษะและรักษาพนักงานให้อยู่กับบริษัท

Jens Pold ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวิร์คเวนเจอร์ เทคโนโลจีส์ จำกัด (WorkVenture) ให้ข้อมูลว่า การเติบโตของบริษัทขนาดใหญ่รวมไปถึงบริษัท SMEs และ Startup ในปัจจุบัน ทำให้การแข่งขันทางธุรกิจมีความเข้มข้นขึ้น บริษัทต่างๆ ต้องหันมาใช้นวัตกรรมที่ตอบสนองต่อการพัฒนาธุรกิจ รวมไปถึงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยหันมาให้ความสำคัญกับการจ้างแรงงานสาย IT ในขณะที่แรงงานที่ทำงานด้าน Big Data และ Data Science ยังคงมีจำนวนน้อย

“ข้อมูลจาก WorkVenture พบว่าความต้องการในตำแหน่งแหน่งงาน IT ระดับสูงมีมากขึ้นซึ่งมีตำแหน่งงานเปิดรับมากกว่า 10,000 ตำแหน่ง ในขณะที่เด็กที่เรียนจบด้านคอมพิวเตอร์มาสนใจสมัครงานในด้านนี้น้อยลง ส่งผลให้ตำแหน่งนี้ขาดแคลนบุคคลากรมาก ยิ่งในตำแหน่งที่ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสูงๆ ทางด้านคอมพิวเตอร์ยิ่งมีจำนวนน้อยเข้าไปอีก ส่งผลให้สายงานนี้มีฐานเงินเดือนที่สูงขึ้น”

ฐานเงินเดือนของสาย IT จากการสำรวจของ WorkVenture พบว่าเงินเดือนเฉลี่ยของนิสิต นักศึกษา IT จบใหม่นั้น สูงถึง 24,000 บาท ในขณะที่ ผู้มีประสบกาณ์ 3-5 ปีนั้นมีรายได้สูงถึง 45,000 บาท และพนักงานที่มีประสบการณ์การทำงาน 6-10 ปีนั้นเงินเดือนอยู่ที่ 60,000 บาทขึ้นไป ทั้งนี้พนักงานที่ประสบการณ์ทำงานไม่นานก็สามารถได้เงินเดือนที่สูงขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะผู้ที่มีทักษะเฉพาะทางบางอย่างได้รับเงินเดือนสูงถึง 70,000 บาทในช่วงปีแรกๆ ซึ่งได้แก่

  1. ทักษะด้านปัญหาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
  2. แอปพลิเคชันที่แสดงผลเสมือนจริง (AR Apps)
  3. ความมั่นคงทางไซเบอร์ (Cybersecurity)
  4. เทคโนโลยี Cloud และ Software as a Service (SaaS)
  5. Data Science

จะเห็นได้ว่าฐานเงินเดือนที่สูงมากขึ้นเป็นอีกตัวชี้วัดหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าความต้องการทางด้านไอทีนั้นมีการแข่งขันกันสูงมาก สำหรับคนที่กำลังทำงานในสายงาน IT และต้องการความก้าวหน้าในสายอาชีพ ควรจะพัฒนาทักษะเหล่านี้

  1. มีทักษะการคิดวิเคราะห์ชอบตั้งคำถาม
  2. ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อหาช่องทางในการพัฒนาตัวเอง
  3. นอกจากจะเรียนรู้จากตัวเองแล้วต้องพยายามเรียนรู้จากผู้อื่น
  4. สามารถอ่าน เขียนภาษาอังกฤษได้เพราะข้อมูลหลายอย่างมักมีอยู่ในภาษาอังกฤษอยู่แล้ว

ในส่วนของผู้ประกอบการเองก็ต้องสรรหาวิธีรักษาพนักงานให้อยู่กับองค์กรด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากการแข่งขันที่สูงขึ้นก็ทำให้พนักงานเลือกจะเปลี่ยนงานเมื่อได้รับเงินเดือนที่สูงขึ้นได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นเช่น วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่สอดคล้องกับการทำงาน ขาดโอกาสในการเติบโต ซึ่งแนวทางที่บริษัทสามารถนำไปปรับใช้ได้คือบริษัทจะต้องมีการปรับโครงสร้างเงินเดือนให้เหมาะสมกับตำแหน่งและความสามารถในการทำงาน

นอกจากนี้จะต้องเพิ่มการอบรมเสริมสร้างทักษะให้แก่พนักงานเพื่อให้พนักงานมีศักยภาพและความสามารถมากขึ้น รวมไปถึงการสร้างบรรยากาศการทำงานโดยรวมให้มีความทันสมัยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการทำงานแบบยืดหยุ่น หรือการแต่งตัวแบบไม่เป็นทางการก็จะช่วยลดความเครียดจากการทำงานหนักลงได้ และสร้างช่องทางให้พนักงานสามารถสื่อสารกับองค์กรได้มากขึ้นเพราะให้บริษัทสามารถปรับตัวตามความต้องการของพนักงานได้ทันต่อเหตุการณ์

ขอบคุณข้อมูลจาก WorkVenture

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...