เพราะความมั่นคงปลอดภัย คือ ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์ทุกคน และเทคโนโลยีแห่งอนาคตอย่าง AI กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพของระบบรักษาความปลอดภัยมากขึ้น และเมื่อพูดถึงเรื่องความปลอดภัยและเทคโนโลยี AI ทาง Techsauce ก็ได้มีโอกาสร่วมพูดคุยกับคุณขยล ตันติชาติวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) หรือ SKY เพื่อแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย พร้อมทำความรู้จักกับเทรนด์ในการใช้ AI เพื่อเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้กับภาครัฐและเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปที่จะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีเช่นกัน ทั้งนี้ยังได้เผย Security Tech ภายใต้ชื่อ TOSSAKAN
SKY ICT เป็นบริษัทมหาชนที่มีหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ และเป็นที่รู้จักกันในชื่อ SKY บริษัท Tech Company ที่มีความเชี่ยวชาญระบบรักษาความปลอดภัยด้วยเทคโนโลยี AI และระบบจดจำใบหน้า หรือ Face Recognition เพื่อปลดล็อคการทำงานแบบไร้รอยต่อ เสริมสร้างให้เกิด ECO System ที่สมบูรณ์แบบ เป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ เพื่อช่วยพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยให้กับองค์กร
คุณขยลได้เล่าถึง SKY ICT ว่า นอกจากความเชี่ยวชาญด้านระบบรักษาความปลอดภัยแล้ว เทคโนโลยีของ SKY ICT ยังมีความโดดเด่นอยู่ที่การนำข้อมูลที่ได้จากภาพบันทึกของกล้องวงจรปิด มาประมวลผลต่อยอดตามวัตถุประสงค์ต่างๆ โดยใช้ AI เช่น การใช้ระบบ Face Recognition เพื่อการป้องกันความปลอดภัย และเพิ่มความสะดวกสบาย หรือเพื่อนำแพทเทิร์นที่ได้จากข้อมูลมาวิเคราะห์แนวโน้มหรือเทรนด์ของการใช้ชีวิตของผู้คนว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป
ตั้งแต่ปี 2019 ทาง SKY ICT เริ่มเข้าสู่ยุคการทรานส์ฟอร์มตัวเองไปเป็น Tech Company โดยล่าสุดในปีนี้ได้มีการเปิดตัวทีม Data Scientist ชื่อว่า เนบิวลา (NEBULA) ขึ้นภายในองค์กร พลิกวัฒนธรรมขององค์กรปรับการทำงานแบบ Agile ลดความซ้ำซ้อนในการทำงาน สื่อสารภายในทีม ให้ทุกคนกล้าคิดและทดลองทำสิ่งใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งในขณะนี้บริษัทได้พัฒนาแพลตฟอร์มที่พร้อมรองรับการใช้งานออกมามากมาย และองค์กรยังมีความตั้งใจที่จะสร้างทีมย่อยอย่างแข็งแกร่ง เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกในอนาคต
การคิดค้นและพัฒนาแพลตฟอร์มต่างๆ ของทาง SKY ICT มีเป้าหมายเพื่อนำมายกระดับมาตรฐานการใช้ชีวิตและอำนวยความสะดวกสบายให้กับประชาชน นอกจากนี้ ทางบริษัทยังมองไปถึงภาพที่ใหญ่กว่า โดยคุณขยลกล่าวว่า บริษัทมีความตั้งใจที่จะนำความรู้ความสามารถที่มีมาพัฒนาประเทศชาติ ให้ประเทศไทยมีความเป็นเมืองอัจฉริยะ มีความพร้อมทั้งในแง่ของโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี เพื่อที่จะได้ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเข้ามาได้มากขึ้น
คุณขยลกล่าวต่อว่า แต่เดิมในการทำธุรกิจ องค์กรต่างๆ มักจะให้ความสนใจไปที่ผลลัพธ์เท่านั้น แต่แท้จริงแล้วการนำข้อมูลจากการทำงาน มาประมวลผลเพื่อช่วยให้บริษัทเติบโตและต่อยอดการทำงานได้ดียิ่งขึ้น ก็สำคัญไม่แพ้กัน ในจุดนี้ทำให้บริษัทเล็งเห็นถึงโอกาสที่จะนำความรู้ความสามารถ รวมถึงแพลตฟอร์มทั้งที่ออกมาแล้วและกำลังอยู่ในขั้นพัฒนาของตนเองไปช่วยพัฒนาประเทศชาติและองค์กรใหญ่ให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้
คุณขยลเล่าว่า แท้จริงเทคโนโลยีการจดจำใบหน้ามีอยู่ในชีวิตประจำวันของทุกคนอยู่แล้ว ซึ่งก็คือการสแกนใบหน้าเพื่อเข้าใช้โทรศัพท์มือถือนั่นเอง แต่ถ้าหากพูดถึง Face Recognition ในแง่ของการเป็น AI สำหรับ Security System คุณขยลได้พูดในมุมของ Smart City ที่เมืองใหญ่มากมาย เช่น เมืองลอสแอนเจลิส เมืองปักกิ่ง ที่ได้นำไปใช้ เพื่อให้เมืองมีความเป็น Safe city โดยแบ่งออกเป็น 3 อย่าง
คุณขยลอธิบายให้ฟังว่า นอกจากกล้อง CCTV แล้ว ในแง่ของความปลอดภัยในอาคารระดับโลกมีการเอาเทคโนโลยีอย่าง IoT Sensor เข้ามาใช้ด้วย โดยระบบเซนเซอร์เหล่านี้ไม่ได้ตรวจจับแค่เรื่องความปลอดภัยแบบที่ได้อธิบายไปในส่วนแรกเท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาใช้ในการวัดค่าอากาศได้ด้วย ซึ่ง Smart Office หรือ Smart Building เหล่านี้ ในระดับโลกจะถือเป็นตัวระบุความใส่ใจในสิ่งแวดล้อม ใช้ชี้วัดว่าเมืองนั้นๆ พร้อมจะเป็นเมืองที่ทันสมัยหรือไม่ โดยในที่นี้เซนเซอร์จะตรวจจับได้ทั้งมลภาวะ PM2.5 จากนั้นจึงเอาเซนเซอร์ไปทำงานเชื่อมต่อกับเครื่องฟอกอากาศ แล้วดูว่าค่าอากาศที่เท่าไร เครื่องฟอกจะต้องเปิดการทำงานเพื่อหมุนเวียนเอาอากาศบริสุทธิ์ออกมาให้คนในตึก
สองคือการนำมาช่วยในเรื่องของการประหยัดพลังงาน ยกตัวอย่างเช่น ตึกบุรจญ์เคาะลีฟะฮ์ (Burj Khalifa) ซึ่งเป็นตึกที่สูงที่สุดในโลก มีการใช้พลังงานไฟฟ้ามาก เขาประหยัดพลังงานได้ด้วยการเอาเทคโนโลยีมามอนิเตอร์ปริมาณการใช้ไฟฟ้า เพื่อให้ทราบว่าในห้องแต่ละห้องมีคนอยู่กี่คน ต้องใช้ไฟฟ้าหรือปรับแอร์ให้มีความเย็นแค่ไหน เพื่อไม่ให้กินไฟและปล่อยมลพิษออกมามากเกิน ซึ่งเทียบกับในไทยที่ยังต้องใช้คนไล่เปิดปิดไฟอาจจะนำสิ่งนี้เข้ามาประยุกต์ได้ในอนาคต จะได้เป็นการช่วยประเทศชาติในแง่ของการใช้ไฟฟ้า ให้ใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด และในระดับโลกในแง่ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ โดยสรุปแล้วในระยะยาว การนำเซนเซอร์และ AI มาใช้จะไม่ได้เป็นประโยชน์แค่ในแง่ของความปลอดภัยเท่านั้น แต่เป็นในเรื่องของความสะดวกสบายไปในตัวด้วย
นอกเหนือจากเรื่องความปลอดภัยและการประหยัดพลังงาน อีกอย่างคือเรื่อง Access Control หรือระบบควบคุมการเข้าออกอาคารอัตโนมัติ ซึ่งต่อไปนี้จะไม่ใช้วิธีการแลกบัตรอีกต่อไป เพื่อให้รองรับกับความเป็น Touchless Society ทั้งเซนเซอร์และระบบการจดจำใบหน้าจะถูกนำมาใช้เพื่อช่วยจดจำผู้คน เพื่อคัดแยกโดยอัตโนมัติว่าใครที่เป็นเมมเบอร์ของอาคารนั้น ให้สามารถเข้าใช้พื้นที่ได้อัตโนมัติ
นอกจากนี้ คุณขยลได้ยกตัวอย่างเพิ่มเติม ถึงกรณีศึกษาการนำระบบเซนเซอร์และ AI ไปใช้ในประเทศจีน เพื่อเช็กสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ว่ามีความน่าเป็นห่วงจนต้องส่งคนที่เกี่ยวข้องไปลงพื้นที่หรือไม่ ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จะทำหน้าที่เหมือนเป็นหูตาตรวจสอบสถานการณ์แล้วค่อยส่งเรื่องรายงานคนที่ดูแลอยู่เบื้องหลังอีกทีที่สำนักงานใหญ่ หรือล่าสุดในประเทศไทยเพิ่งเผชิญกับเหตุการณ์น้ำท่วม ก็สามารถนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ได้เช่นกัน โดยอาจนำมาประยุกต์เพื่อใช้คาดการณ์ปริมาณน้ำ ว่าจะเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ไหนบ้าง
คุณขยลยังได้พูดถึงอีกหนึ่งโครงการที่น่าสนใจภายใต้ชื่อ TOSSAKAN หรือ ‘ทศกัณฑ์’ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะของ SKY ICT ที่พร้อมนำเสนอสู่ภาคเอกชน โดยมีทีมทำงานภายใต้ชื่อ เนบิวลา (NEBULA) ร่วมทำงานด้วยมาตรฐานระดับโลก โดยแบ่งเป็นทีมต่างๆ ดูแลเรื่อง Travel Application Platform, Smart Security Platform, Data Transformation ซึ่งทศกัณฑ์มาจากแพลตฟอร์มที่ทำเรื่อง Smart Security โดยมี Data Scientist นำข้อมูลมาประมวลผลจนกลายมาเป็น AI และสร้างเป็นระบบรักษาความปลอดภัย มีความเชื่อมโยงกับที่มาของชื่อซึ่งก็คือตัวละครในวรรณคดีอย่างทศกัณฑ์ที่จะคอยปกป้องสอดส่องดูแลเรื่องความปลอดภัยอย่างรอบด้าน
แพลตฟอร์มนี้จะเป็นการผสานความปลอดภัยและความสะดวกสบายเข้าไว้ด้วยกัน โดยภาคธุรกิจจะได้ในแง่ของการรักษาความปลอดภัยด้วยระบบกล้อง CCTV และ AI พร้อมระบบแจ้งเตือนการบุกรุก ช่วยให้คนทำงานในระบบรักษาความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มาพร้อมกับระบบ Visitor Management System ที่ช่วยรักษาความปลอดภัยในการเข้า-ออกอาคารด้วยระบบจดจำใบหน้า ส่วนฝั่งผู้ใช้งานจะได้รับความสะดวกสบายเพิ่มขึ้นทั้งช่วยลดการสัมผัส ลดขั้นตอนการติดต่อพูดคุย ทำให้การทำงานรวดเร็วยิ่งขึ้น
ด้วยความที่เป็นบริษัทเทคโนโลยี ฟีเจอร์ของทศกัณฑ์จึงสามารถให้บริการได้ตั้งแต่ตัว Hardware Solution โดยมีทีมงานที่สามารถเข้าไปติดตั้งกล้อง CCTV, NVR หรือ Access Point ได้ทั้งตึก ทำให้ภาคธุรกิจสามารถพัฒนาไปเป็น Smart Building, Smart Factory หรือ Smart Home ได้ และความเป็นแอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มจะประกอบไปด้วย Web Portal เอื้อให้ผู้ที่เป็นเจ้าของหรือนิติบุคคลต่างๆ สามารถมอนิเตอร์ความเคลื่อนไหวภายในพื้นที่ของตัวเองได้ โดยจะเป็นการมอนิเตอร์ Data แล้วนำมาประมวลผลต่อไป
คุณขยลยังได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับฟีเจอร์ในแอปซึ่งจะช่วยให้พนักงานรักษาความปลอดภัยสามารถเชื่อมต่อการแจ้งเตือนเข้าแอปพลิเคชันได้โดยตรง และมีข้อดีตรงที่สามารถระบุผู้รับการแจ้งเตือนได้ อีกทั้งยังมีระบบ LPR (License Plate Recognition) เทคโนโลยีอ่านป้ายทะเบียนรถอัตโนมัติซึ่งเหมาะสำหรับการใช้งานรักษาความปลอดภัยตามตึกออฟฟิศและโครงการที่อยู่อาศัย ช่วยลดขั้นตอนการแลกบัตรสำหรับบุคคลภายนอกโดยสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าซึ่งข้อมูลทุกอย่างจะถูกติดตามผ่าน Database ทำให้สามารถติดตามข้อมูลย้อนหลังได้และสามารถทำงานร่วมกับกล้องวงจรปิดได้ดียิ่งขึ้น
นอกจากนี้แพลตฟอร์มทศกัณฑ์ยังสามารถเข้าไปมีบทบาทได้ในทุกอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นการรักษาความปลอดภัยในสถานศึกษาทั้งระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย หรือช่วยในการจัดการคนตามโรงพยาบาลตั้งแต่ช่วยดูแลระบบคิว การให้บริการ ไปจนถึงการรักษาความปลอดภัย และคุณขยลยังระบุถึงความต้องการที่จะเข้าไปช่วยธุรกิจขนาดกลางซึ่งเป็นธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ อย่างเช่นการเข้ามาช่วยในเรื่องข้อจำกัดในการลงทุนสำหรับ SMEs ทำให้ไม่ต้องไปลงทุนทางเทคโนโลยีเอง โดย SKY ICT มีแพลตฟอร์มกลางผ่านการ Subscription ที่มีราคาต่ำ ซึ่งการลงทุนของ SKY ICT มุ่งหวังช่วยเหลือภาคเอกชนให้สามารถพัฒนาและฟื้นฟูธุรกิจให้กลับมาได้อย่างเร็วที่สุด สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://bit.ly/2XJfQXF หรืออีเมล [email protected] หรือเบอร์โทรศัพท์ 02-029-7888
โซลูชันของ SKY ICT จะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนประเทศโดยเริ่มจากแพลตฟอร์ม Smart Security ซึ่งเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่จะออกสู่ Ecosystem เพื่อพัฒนาไปเป็น Smart City จนสามารถนำไปสู่การสร้างความมั่นคงระดับประเทศ ขณะเดียวกันทาง SKY ICT ยังมีทีมดูแลในส่วนของ Travel Platform ที่ปัจจุบันทำงานให้กับท่าอากาศยานไทยทั้งในส่วนของกล้อง CCTV และยังพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการท่องเที่ยว โดยปัจจุบันกำลังเสริมประสิทธิภาพในเรื่องของการอำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทางเข้าออกสนามบินให้ง่ายขึ้นผ่านโทรศัพท์เพียงเครื่องเดียว
ในช่วงสุดท้ายคุณขยลระบุว่าหนึ่งในเป้าหมายของทีมที่กำลังทำอยู่คือการพัฒนา Ecosystem ของประเทศให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งวิสัยทัศน์ของ SKY ICT คือการพัฒนาแพลตฟอร์มต่างๆ โดยการนำเทคโนโลยีที่มีมาสร้างแพลตฟอร์มเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนไทยรวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติที่กำลังจะเข้ามาในอนาคต และทำให้โลกได้เห็นศักยภาพของประเทศไทยในการพัฒนาแพลตฟอร์มทั้งในมิติการรักษาความปลอดภัย การบริการ การท่องเที่ยว นำไปสู่บทบาทการเป็นผู้นำโลกในอนาคต
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด