4 ปีก่อน เป็นช่วงที่กระแส เมตาเวิร์ส (Metaverse) มาแรงมากถึงมากที่สุด จนกลายเป็น Buzzword ที่พูดถึงกันทั่วโลก และ Deloitte ยังคาดการณ์ไว้ว่า Metaverse อาจส่งผลกระทบต่อ GDP ทั่วเอเชียมากราวปีละ 0.8 - 1.4 ล้านล้านดอลลาร์ ภายในปี 2035
อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยี AI โดยเฉพาะ Generative AI ได้ขึ้นแท่นเป็นเทคโนโลยีมาแรง เพราะมีการนำไปใช้จริงในหลากหลายอุตสาหกรรมและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
ในปี 2025 ที่กำลังจะมาถึงนี้ จึงน่าสนใจว่า บริษัทที่ยังคงมุ่งมั่นพัฒนา Metaverse เล็งเห็นว่า Metaverse จะยังมีโอกาสเติบโตได้หรือไม่ และจะสามารถสร้างรายได้ทางธุรกิจอย่างไรในโลกที่ AI กำลังมีบทบาทสำคัญในหลายมิติ จากการสนทนากับ คุณพิมสาย ชี้เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Translucia (ทรานส์ลูเซีย) แพลตฟอร์มเมตาเวิร์สที่เปิดพื้นที่ให้ธุรกิจ แบรนด์ นักพัฒนา และครีเอเตอร์ เข้ามามีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน สินค้าและบริการให้แก่ผู้ใช้งาน ผ่านประสบการณ์โลกเสมือนที่ล้ำสมัย และค้นหาโอกาสใหม่ ๆ ได้อีกมาก
“เมตาเวิร์สไม่ใช่แค่กระแส แต่คือวิวัฒนาการของการเชื่อมต่อและสร้างประสบการณ์ในโลกดิจิทัลที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในอนาคต วันนี้ผู้คนอาจมอง Metaverse เป็นพื้นที่ทดลองสำหรับเกมหรือความบันเทิง แต่ในความเป็นจริง มันมีศักยภาพมากกว่านั้น Metaverse กำลังสร้างรากฐานสำหรับเศรษฐกิจใหม่ ที่ธุรกิจ แบรนด์ และผู้บริโภค สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์และมูลค่าเพิ่มได้ในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน” คุณพิมสายเปิดประเด็น
หากนำ AI กับ Metaverse สองเทคโนโลยีสําคัญมาวิเคราะห์ ซีอีโอ Translucia กล่าวถึง AI และ Metaverse ว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่กำลังเปลี่ยนแปลงอนาคตของการดำรงอยู่ในโลกดิจิทัล (Digital Existence) โดย Metaverse เป็นวิวัฒนาการของสื่อกลางดิจิทัล (Digital Medium) ที่ประกอบด้วยหลายเทคโนโลยี อาทิ 3D Animation, Virtual Reality, Augmented Reality, Mixed Reality ซึ่งทําให้การสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์มีมิติที่ลึกซึ้งและหลากหลายยิ่งขึ้น ยิ่งเมื่อผสานเข้ากับ AI ที่ทำหน้าที่เป็นสมองอัจฉริยะ ก็จะยิ่งช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ที่มีความหมายและตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Metaverse ต่างจาก AI ตรงที่ AI เป็นเทคโนโลยีหนึ่งซึ่งมีหน้าที่เฉพาะเจาะจง แต่ Metaverse มันคือ Experience (ประสบการณ์) รูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้คนสามารถเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ ทำงาน และเล่นได้ เปรียบเสมือนจักรวาลออนไลน์ที่กว้างใหญ่และเชื่อมโยงถึงกัน ซึ่ง Experience รูปแบบนี้ ข้างในจะประกอบด้วยเทคโนโลยีหลายส่วน (Components)
"เช่น 3D Animation (การสร้างแอนิเมชันสามมิติ), Virtual Creation (การสร้างสรรค์สิ่งเสมือนจริง), Gamification (การนำเทคโนโลยีมาสร้างการมีส่วนร่วมผ่านเกม) ที่ช่วยเพิ่มมิติและความสนุกให้กับผู้ใช้งาน รวมถึงการใช้งานเทคโนโลยี Cloud Rendering (การแสดงผลบนคลาวด์) เพื่อให้การเข้าถึง Metaverse เป็นไปได้อย่างราบรื่น ทุกที่ ทุกเวลา
“ส่วน AI ก็เข้ามาเป็นอีกองค์ประกอบที่ช่วยเสริมศักยภาพและความสามสามารถให้กับประสบการณ์บน Metaverse ไม่ว่าจะเป็นการสร้างตัวละครเสมือนจริงที่ฉลาดขึ้น การปรับแต่งเนื้อหาตามความสนใจของผู้ใช้งาน หรือการเพิ่มความลื่นไหลให้กับการโต้ตอบในโลกเสมือน” คุณพิมสายอธิบาย
ถามถึงมุมมองที่มีต่อ Metaverse ในอดีต คุณพิมสายกล่าวว่า Metaverse เคยเป็น Buzzword (คำศัพท์ยอดฮิต) เพราะ Metaverse เป็นแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีในอนาคตที่ผสมผสานเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อสร้างโลกเสมือนที่ผู้คนสามารถปฏิสัมพันธ์กันได้ จึงไม่แปลกที่ทุกคนจะตื่นเต้นกับแนวคิดนี้ เพราะมันเปิดโอกาสให้จินตนาการถึงการไปมีส่วนร่วมในโลกดิจิทัลรูปแบบใหม่
ช่วงเริ่มต้น Metaverse มีการพูดถึงเทคโนโลยี Blockchain ซึ่งกลายเป็นสารตั้งต้นให้มีการใช้ Cryptocurrency, NFT ในโลกเสมือน แต่เมื่อเวลาผ่านไป ผู้คนเริ่มตั้งคำถามถึงการใช้งานจริง โดยเฉพาะหลังผ่านสถานการณ์โควิด Metaverse จะสร้างประโยชน์ให้มนุษย์ในโลกจริงและโลกดิจิทัลได้อย่างไร?
"แน่นอนว่า Metaverse ยังคงมีศักยภาพในการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และในมุมมองของเรา มันไม่ใช่เพียงการเปลี่ยนแปลงเชิงเทคโนโลยี แต่ยังถือเป็น วิวัฒนาการของสื่อกลางดิจิทัล (Digital Medium) ที่ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในอนาคต โดยเฉพาะในด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์และการเสพเนื้อหาบนโลกดิจิทัลในรูปแบบใหม่ ทั้งนี้ผลกระทบดังกล่าวยังมีแนวโน้มขยายตัวไปสู่ภาคธุรกิจต่าง ๆ อีกด้วย"
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการเปลี่ยนแปลงจากการใช้เกมเพื่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว ไปสู่การเป็น ‘พื้นที่ทางเลือก’ (Third Place) ที่หลอมรวมกิจกรรมทางสังคมและการพักผ่อนเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นการปรับตัวของผู้บริโภครุ่นใหม่ที่มองหาแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์ทั้งความสนุกสนานและการสร้างสัมพันธภาพอันดี
“เรามองเห็นโอกาสสำคัญใน Metaverse ที่จะขยายการใช้งานไปสู่มิติอื่น ๆ ที่หลากหลายในชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน ความบันเทิง สุขภาพ และธุรกิจ เพื่อสร้างคุณค่าเพิ่มเติมให้แก่ผู้ใช้งานในหลายด้าน สิ่งที่สำคัญคือ ความก้าวหน้าและความรวดเร็วของเทคโนโลยี เช่น AI และ เทคโนโลยีเชิงประสบการณ์ (Immersive Technologies) ซึ่งช่วยลดข้อจำกัดด้านต้นทุนและเพิ่มความสามารถในการพัฒนาแพลตฟอร์มที่ตอบโจทย์การใช้งานได้จริง ทำให้ Metaverse กลายเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการสร้างปฏิสัมพันธ์และผลักดันธุรกิจให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน”
คุณพิมสายฉายภาพอนาคตแล้วต่อด้วยการเล่าถึงการทำงานร่วมกับพันธมิตรระดับโลกในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อสร้างระบบที่ก้าวล้ำ, การใช้ความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบประสบการณ์ที่มีความหมาย, และ การศึกษาด้านสังคมและจิตวิทยา เพื่อทำความเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของผู้ใช้งานและ Explore ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ บนแพลตฟอร์มนี้ พร้อมเผยถึงความท้าทายหลักของ Translucia ต่อการพัฒนาโลกเสมือนว่ามีอยู่ 2 ด้าน
การขยายการใช้งาน Metaverse ไปสู่ด้านอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันของผู้คน
เพื่อมุ่งเน้นให้ Metaverse เป็นมากกว่าพื้นที่สำหรับความบันเทิง ด้วยการพัฒนาแพลตฟอร์มที่สามารถตอบโจทย์วิถีชีวิตในหลายมิติ เช่น การทำงาน, การศึกษา, สุขภาพ และการชอปปิง โดยการสร้าง ประสบการณ์ที่ปรับให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล (Personalized Experiences) เพื่อเชื่อมโยงโลกเสมือนกับความต้องการจริงของผู้ใช้งาน
การพัฒนา Tech Enablers เพื่อประสบการณ์ที่ราบรื่น
Translucia ทุ่มเทให้กับการพัฒนา ‘เทคโนโลยีสนับสนุน’ ที่สามารถยกระดับการใช้งาน Metaverse ให้ลื่นไหลและเป็นธรรมชาติต่อผู้ใช้งานมากที่สุด ตั้งแต่การผสาน AI เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้ ไปจนถึงการเพิ่มความสามารถของอุปกรณ์และเครื่องมือ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานในหลากหลายบริบท
ในฐานะซีอีโอแพลตฟอร์ม Translucia คุณพิมสายกล่าวถึงการทำให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์จาก Digital World กับ Real world ได้อย่างราบลื่น ว่าจะใช้ AI เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาแพลตฟอร์มในระยะยาว เพื่อผลักดันให้ Translucia ก้าวสู่การเป็นแพลตฟอร์มที่สรรค์สร้างประสบการณ์โลกเสมือนอย่างไร้ขีดจำกัด ไม่ว่าจะเป็นการสร้างตัวตนดิจิทัล การสร้างมนุษย์เสมือนที่โต้ตอบผู้ใช้งานได้อย่างชาญฉลาด ด้วยการใช้เครื่องมือที่ทีม Traslucia พัฒนาขึ้น อาทิ
3D Creation Tools สำหรับการสร้างสรรค์และออกแบบผลงานในโลกดิจิทัลที่สมจริงและไร้ข้อจำกัด
Virtual Humans หรือ Companions (NPCs) ที่มีความสมจริงทั้งในรูปลักษณ์และบุคลิกภาพ เพื่อใช้สร้างตัวตนดิจิทัลที่สามารถโต้ตอบและพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกับผู้ใช้งานได้เสมือนมนุษย์
AI Interactive ระบบที่สามารถเข้าใจความต้องการ ตอบสนอง และแนะนำผู้ใช้งานได้อย่างแม่นยำ พร้อมสร้างการโต้ตอบที่เป็นธรรมชาติในทุกมิติ
และท่ามกลางเทคโนโลยีที่หลายภาคส่วนเร่งพัฒนาให้มีศักยภาพมากขึ้น ฉลาดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยี AI ทาง Translucia ก็พร้อมนำมาประยุกต์ใช้ ด้วยเป้าหมายในการ สร้างคุณค่าใหม่ให้กับความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและเทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นการผสานความสามารถของ AI เข้ากับความเข้าใจในอารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมของมนุษย์แต่จะไม่เน้นให้คนใช้งานแบบพึ่งพาหรือขึ้นอยู่กับ AI เพียงอย่างเดียว
“อย่างรูปแบบของการนํา AI มาใช้บนแพลตฟอร์ม Translucia เราก็จะออกแบบมันออกมาให้เป็นการแนะนํา ช่วยชี้แนะ แล้วก็ช่วยในด้านกระบวนการทางความคิด หรือเรื่อง Emotional (เกี่ยวกับอารมณ์) ในการเช็กความรู้สึกตัวเอง มากกว่าที่จะดีไซน์ออกมาในแนวทางที่เราต้องพึ่งพาหรือเชื่อใจ AI ในการทํางานหรือการดํารงชีวิต เพราะเทคโนโลยีมันมีอยู่ แล้วมันก็จะพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แต่การที่เราจะนํามันมาดีไซน์แล้วก็ออกมาใช้ในรูปแบบที่มีปฏิสัมพันธ์กับคน มีความเป็นมนุษย์อยู่เยอะ ก็ต้องคำนึงถึงประโยชน์รอบด้านในระยะยาวด้วย”
ในด้านเป้าหมายทางธุรกิจ คุณพิมสายเปิดเผยว่า ในปี 2025 Translucia จะนํา AI มาใช้อำนวยความสะดวกในสายงานที่โต้ตอบหรือประสานกับคนมาขึ้น เช่นด้าน Customer Service ที่ต้องใช้เพื่อโต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ โดยจะนำ AI มาพัฒนาให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งช่วยลดความซับซ้อนและสิ่งที่ไม่จำเป็นในกระบวนการต่าง ๆ นอกจากนี้ บริษัทยังมุ่งมั่นที่จะฝึก AI ให้มี EQ หรือ ความฉลาดทางอารมณ์ เพื่อให้ AI สามารถเข้าใจความหมายเชิงลึกของข้อความหรืออารมณ์ (Emotion) จากผู้ใช้งาน และตอบสนองได้อย่างเหมาะสม ตรงใจ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารในลักษณะใดก็ตาม
Translucia ทำตลาดทั้ง ฝั่งธุรกิจ หรือ B2B (Business-to-Business) และ ฝั่งผู้บริโภค หรือ B2C (Business-to-Customer) โดยในปี 2025 Translucia คุณพิมสายเปิดเผยว่า บริษัทมุ่งเน้นการขยายฐานการใช้งาน AI ให้มีความหลากหลายมากขึ้น ด้วยการประยุกต์ใช้ AI แบบเจาะลึกโดยเฉพาะในส่วนของภาคธุรกิจ (B2B) เพื่อสร้าง Use Cases ที่ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะของแต่ละภาคอุตสาหกรรม พร้อมกับพัฒนา AI ให้มีฐานข้อมูลที่กว้างขวางและมีความเข้าใจเชิงลึกต่อการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า โดยมีแนวทางการดำเนินงานในปีหน้ากับภาคธุรกิจ ดังนี้
มุ่งขยายฐานข้อมูลกับภาคธุรกิจ โดยการนำข้อมูลจากการทำงานจริงในแต่ละธุรกิจมาเทรน AI เพื่อให้ AI สามารถเรียนรู้พฤติกรรมลูกค้า ความต้องการเฉพาะเจาะจง และรูปแบบการทำงานของธุรกิจต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มุ่งสร้าง Use Cases ที่หลากหลาย โดย Translucia จะทำงานร่วมกับภาคธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ เพื่อนำ AI ไปสร้าง Use Cases ใหม่ ๆ ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างคุณค่าให้กับการทำงาน เช่น การปรับใช้ AI Customer Interaction สำหรับอุตสาหกรรมการบริการ เพื่อยกระดับประสบการณ์ลูกค้า การพัฒนา AI Virtual Assistants ในภาคสุขภาพ เพื่อตอบคำถามหรือให้ข้อมูลแนะนำผู้ป่วยเบื้องต้น
มุ่งเพิ่มความเข้าใจเชิงลึก (Deep Interaction) โดย AI จะถูกฝึกให้เรียนรู้วิธี Interacting กับลูกค้าอย่างเหมาะสมตามบริบทของแต่ละธุรกิจ ทั้งในแง่ของภาษาที่ใช้, รูปแบบการสื่อสาร และความต้องการเฉพาะ
สำหรับแผนการดำเนินงานในฝั่งผู้บริโภค Translucia มุ่งเน้นการใช้ AI เพื่อตอบโจทย์ตลาดผู้บริโภคกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่คุ้นเคยกับการปฏิสัมพันธ์บนแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นอย่างดี ด้วยการนำเสนอ AI Companion หรือ AI คู่คิด ที่มีคุณสมบัติเด่น คือ
รับฟังและเรียนรู้: AI จะเรียนรู้จากข้อมูลและประสบการณ์ของผู้ใช้งานที่ป้อนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง
ตอบสนองความต้องการได้ตรงจุด: AI จะสามารถปรับตัวและตอบสนองต่ออารมณ์ และความต้องการของผู้ใช้งานในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงาน การผ่อนคลาย หรือการสร้างแรงบันดาลใจ
สร้างประสบการณ์ที่ใกล้ชิดและเป็นส่วนตัว: ผู้ใช้งานจะรู้สึกเสมือนมี 'คู่คิดดิจิทัล' ที่เข้าใจและพร้อมสนับสนุนในทุกสถานการณ์
“นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้าง Translucia Virtual World ขึ้นมา จากการนำเทคโนโลยีเบื้องหลัง Metaverse มาพัฒนาเป็นเครื่องมือสำหรับสร้างสรรค์ผลงาน และส่งเสริมประสบการณ์แบบใหม่ที่เสริมศักยภาพเข้ากับ AI ของเรา ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานที่เป็นครีเอเตอร์และธุรกิจ สามารถนำไปปรับใช้ในระยะนี้ได้
"แล้วที่มากกว่านั้น เราอยากจะใช้เทคโนโลยีสร้างบางอย่างที่มันปลอดภัย ทำให้เกิดผลกระทบในเชิงบวก และ Encourage (สนับสนุน) ให้คนทำบางอย่างที่ Meaningful (มีความหมาย) แล้วก็อยากจะสร้างสรรค์ผลงานดี ๆ มาแชร์กับคนอื่น ๆ ในสเปซได้ ขณะเดียวกัน คนที่เข้ามาก็จะเจอคอมมูนิตี้ที่เกื้อกูลแล้วก็สร้างสรรค์ มีกิจกรรมให้ทํา ไว้วางใจได้ ส่วนแบรนด์ที่เข้ามาสร้างการปฏิสัมพันธ์ ในนี้ก็จะต้องเป็นแบรนด์ที่มีพันธกิจในเรื่องของการสร้างผลกระทบเชิงบวกให้สังคม”
หากพิจารณาในมุมการใช้ประโยชน์จาก Translucia คุณพิมสายบอกว่า โซลูชันบน Translucia เหมาะกับธุรกิจที่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าโดยตรง ธุรกิจที่ต้องการยกระดับความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือธุรกิจที่ต้องการให้ดิจิทัลทำงานแทนมนุษย์ ทั้งยังสามารถใช้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรมบันเทิง อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค
ยกตัวอย่าง MQDC (บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่นำแพลตฟอร์มเมตาเวิร์สมาทํา Digital Twin (เทคโนโลยีฝาแฝดเสมือน) ทําให้ผู้เข้าใช้งานเห็นบรรยากาศจริงของโครงการ The Forestias ในหลากหลายมิติ และสามารถ Interact กับสถานที่จริงได้
ธุรกิจบันเทิงก็สามารถใช้เทคต่าง ๆ บน Translucia ได้ เช่นนำเทคโนโลยี Immersive, 3D มาสร้าง Virtual Human (มนุษย์เสมือน) แล้วเทรน AI เพื่อพัฒนาความสามารถจนเป็น Virtual Influencer (อินฟลูเอนเซอร์เสมือน) ได้ ซึ่งนี่เป็นโปรเจกต์ที่อยู่ในแผนของ T&B Media Global (บริษัท ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด)
มาที่ฝั่งพาร์ตเนอร์และลูกค้า คุณพิมสายเปิดเผยว่า กำลังพูดคุยกับพาร์ตเนอร์และแบรนด์ที่อยู่ในอุตสาหกรรมอื่น และในปีหน้าจะขยายตลาด B2B ที่เป็น Client-Based (ฐานลูกค้า) ให้มากขึ้น
"ปีหน้าเราจะทำงานร่วมกับ Business Client มากขึ้น เพื่อดูว่าภาคธุรกิจต้องการอะไร เช่น อยากให้คนมีปฏิสัมพันธ์กับคอนเทนต์ดียิ่งขึ้น มีความพึงพอใจมากขึ้น ตอบสนองกับการเสนอผลิตภัณฑ์ดียิ่งขึ้น หรืออยากให้ทำ AI Agent (ผู้ช่วย AI ที่สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้อัตโนมัติ) เพื่อให้บริการลูกค้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะเป็นโชว์เคสได้เมื่อเวลาผ่านไป
โดยในปี 2024-2025 เป็นปีแห่งการลงทุนและพัฒนา Translucia ซึ่งเราตั้งเป้าว่า ปี 2025 จะเพิ่มโชว์เคสอีกเท่าตัวเพื่อทำให้แพลตฟอร์มมีพลวัตมากขึ้น มีฐานผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น ส่วนในเรื่องการสร้างรายได้ ขณะนี้ธุรกิจยังอยู่ใน Early Stage (ระยะเริ่มต้น) แต่จะได้เห็นสิ่งต่าง ๆ เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น และจะสามารถสร้างการเติบโตด้านรายได้อย่างจริงจังในปี 2026-2027
Translucia จึงไม่เพียงมอบเทคโนโลยี แต่ยังช่วยให้ภาคธุรกิจเชื่อมโยงกับลูกค้าในมิติที่ลึกซึ้งกว่าเดิม ผ่านประสบการณ์ที่สมจริงและมีความหมาย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับความพึงพอใจของลูกค้า และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจได้ในระยะยาว
อัตราการขยายตัวด้านการใช้งานเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นแบบติดจรวด มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดคอมมูนิตีรูปแบบใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบต่อการให้คุณค่าและมูลค่าในมุมที่ต่างกันไป
โดยมุมที่ Translucia ให้ความสำคัญและเป็นสิ่งที่แตกต่างจากแพลตฟอร์มอื่น ๆ คือ เน้นการนําเทคโนโลยีมาใช้เพื่อทําให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น ไม่ใช่การนำเทคโนโลยีมาใช้แล้วทำให้ผู้ใช้งานเกิด Addiction (การเสพติด) การใช้เทคโนโลยีซึ่งส่งผลต่อกระบวนการคิดและพึ่งพาอาศัยมันมากเกินไป
“แม้กระทั่งการทําแพลตฟอร์ม เราก็คํานึงถึงการออกแบบ Use Case คนจะไม่จ้องเฉพาะหน้าจอมือถือ แต่สามารถออกมาทํากิจกรรม หรือ Initiate (ริเริ่ม) ดึงให้คนออกไปทําอะไรที่ Interact กับโลกจริง กับคนจริง ๆ และสร้างเพื่อนจริง ๆ ได้
"เพราะ Translucia เน้นปรัชญาในการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาเพิ่มคุณภาพชีวิต แล้วก็เปิดโอกาสให้คนเข้ามา Co-create (ร่วมสร้าง) ไม่ใช่ว่า เราต้องทําแล้วคนต้องมาใช้ของเราเท่านั้น” คุณพิมสายกล่าวทิ้งท้าย
บทความนี้เป็น Advertorial
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด