Space Economy โอกาสทางธุรกิจและอนาคตที่เป็นไปได้ในอวกาศ สรุปเทรนด์จากเวที Future of Space & Robotics on Earth | Techsauce

Space Economy โอกาสทางธุรกิจและอนาคตที่เป็นไปได้ในอวกาศ สรุปเทรนด์จากเวที Future of Space & Robotics on Earth

ปัจจุบัน Space Economy เป็นโอกาสทางธุรกิจแห่งอนาคตที่หลายประเทศกำลังจับตามอง และหากกล่าวถึงภาพรวมของเทคโนโลยีอวกาศและหุ่นยนต์ในประเทศไทยในปัจจุบัน Space Tech ไม่ได้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและไกลตัวอีกต่อไป เทคโนโลยีอวกาศรวมถึงหุ่นยนต์นั้นถูกนำมาประยุกต์กับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศอย่างหลากหลาย มากไปกว่านั้นยังถูกนำมาประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันมากกว่าที่เรารับรู้  

Space Economy โอกาสทางธุรกิจและอนาคตที่เป็นไปได้ในอวกาศ Global Startup Hub BKK ร่วมนำเสนอ Tech & The City ในวงสนทนาหัวข้อ : "Future of Space & Robotics on Earth" ในวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา เปิดตัวเป็นเวทีแรกของ กิจกรรม “บางกอกวิทยา” เทศกาลวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนกรุงเทพให้เป็นห้องเรียนวิทยาศาสตร์ขนาดใหญ่ โดย คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วย คุณศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็น 1 ใน 12 เทศกาลตลอดปีทั่วกรุงเทพฯ

Space Economy โอกาสทางธุรกิจและอนาคตที่เป็นไปได้ในอวกาศ

Space Technology

ปัจจุบันภาพรวมของการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและหุ่นยนต์ในไทยเริ่มตื่นตัวและให้ความสนใจมากขึ้นในช่วงสามถึงสี่ปีที่ผ่านมา หลังจากการประกาศพระราชบัญญัติอวกาศและเริ่มมีนโยบายจากภาครัฐยิ่งทำให้ภาคเอกชน ภาคการวิจัยที่ดำเนินการมาอยู่แล้วนั้นมีการดำเนินการเพิ่มขึ้น คุณโพธิวัฒน์ งามขจรวิวัฒน์  Co-Founder, Automa Robotics บริษัทพัฒนาและออกแบบหุ่นยนต์ ผู้นำการค้นคว้าและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ของหุ่นยนต์  กล่าวว่า “การหาแนวทางการทำงานร่วมกันทำให้แวดวงอวกาศในไทยมีความหวังมากขึ้น ดังนั้นในอีกไม่กี่ปี จะมีความเป็นไปได้ว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็ว” 

คุณวเรศ จันทร์เจริญ - ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเครื่องกลและทางการแพทย์ การสำรวจอวกาศห้วงลึก นักวิจัยเฉพาะด้าน Space Food และหัวหน้าทีม KEETA หนึ่งในสิบทีมที่ได้รับการจากองค์การ NASA ในการแข่งขัน Deep Space Food Challange ในระดับนานาชาติ อธิบายว่า “ ในส่วนของหุ่นยนต์นั้นมีความเป็นไปได้ที่เติบโตเร็วกว่าวิทยาการอวกาศ เพราะหุ่นยนต์ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้นในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะโควิด-19 ที่ยิ่งเข้ามาเร่งการใช้งานหุ่นยนต์ให้เข้าใกล้ชีวิตมากขึ้น คนยอมรับการนำ Service Robot มาใช้ เช่น การนำทาง การเสิร์ฟอาหาร Mobile Robot เช่น โดรน รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ ในระยะหลังภาครัฐก็ให้ความสนับสนุนมากขึ้นเพราะเห็นถึงความสามารถในการเติบโตแบบ  S-Curve”

ประเทศไทยจัดเป็นผู้นำของ Emerging Space Country

Space Economy โอกาสทางธุรกิจและอนาคตที่เป็นไปได้ในอวกาศ

ถึงแม้ว่าวงการอวกาศในบ้านเราจะยังไม่ได้อยู่ในสถานะที่เป็นอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญของประเทศเหมือนดั่งมหาอำนาจที่มีการแข่งขันพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศกันอย่างเข้มข้นมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ แต่ประเทศไทยมีศักยภาพที่ถือว่าอยู่ในอันดับต้นของประเทศเกิดใหม่ที่ทำงานด้านอวกาศ (Emerging Space Country) 

คุณโพธิวัฒน์ ระบุว่า “ไทยเรามีโครงสร้าง หน่วยงานที่ร่างนโยบายอวกาศ หน่วยงานด้านสารสนเทศ หน่วยงานวิจัย รวมทั้งงบประมาณในส่วนที่รองรับการทำงานด้านอวกาศ เพียงแต่ว่าเรายังไม่มีทิศทางที่ชัดเจน หากมีทิศทางที่ชัดเจนจากมหภาคที่สนับสนุนการทำงานของจุลภาค ประเทศไทยจะสามารถก้าวไปอีกขั้นได้ และเป็นหนึ่งใน Top-Tier ด้านการพัฒนาอวกาศได้อย่างแท้จริงได้ในภูมิภาค”  

“ในด้าน Utilize Space Application แบบดั้งเดิม ไม่ว่าจะเป็นดาวเทียมจีพีเอส การสื่อสารโทรคมนาคม  การถ่ายทอดสัญญาณ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศถูกนำมาประยุกต์หลากหลายในสินค้าและบริการของเรามากขึ้น ชิ้นส่วนประกอบในบางอุตสาหกรรมพัฒนาจากผลลัพธ์จากการทดลองหรือทดสอบเทคโนโลยีอวกาศ”

Space Tourism เทคโนโลยีอวกาศในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวอวกาศเปรียบเหมือนการท่องเที่ยวทั่วไป คุณโพธิวัฒน์ ระบุว่า หากเปรียบเทียบกับอุตสาหกรรมการบินทั่วไป การใช้เครื่องบินในทุกวันนี้ สามารถเข้าถึงการใช้งานมากขึ้น เนื่องจากมีผู้คนมีอุปสงค์ที่ให้ความสำคัญกับการใช้งานได้จริงมากกว่าปัจจัยด้านอื่นมากขึ้น ซึ่งในตอนนี้การท่องเที่ยวอวกาศยังเป็นช่วงเริ่มต้น เป็นธุรกิจที่มีราคาแพง ทุกคนอาจจะไม่สามารถเข้าถึงการท่องเที่ยวในอวกาศได้ในตอนนี้ แต่หากผ่านไปช่วงเวลาหนึ่ง หากมีการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมรองรับการใช้งานมากขึ้น ราคาจะปรับลงเพื่อให้เกิดการเข้าถึงและทำให้อุปสงค์กับอุปทานเกิดขึ้นต่อเนื่องกัน โดยหลังจากนี้ธุรกิจที่สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้คนจะกลายเป็นจุดเชื่อมโยงต่อไปของการธุรกิจท่องเที่ยวบนอวกาศ 

Space Tourism จะมาพร้อมกับ Service Provider Technology หรือผู้สร้างบริการในจรวด ซึ่งจะก่อให้เกิด Supply Chain เกิดธุรกิจ และ Business Model ใหม่

3D Printing เทคโนโลยีการผลิตและพัฒนาอาหารบนอวกาศ 

ในระดับเริ่มต้นการท่องเที่ยวในอวกาศจะเป็นการเดินทางรอบวงโคจร ไม่ใช่การอยู่อาศัย การออกแบบผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อให้รองรับสภาวะบนอวกาศเป็นเรื่องที่สำคัญในปัจจุบันนี้ สิ่งสำคัญของการพัฒนาอาหารการกินบนอวกาศ คือ Sustainable กล่าวคือต้องให้ความสำคัญตลอดทั้งวงจรของอาหาร ตั้งแต่การผลิต การใช้พลังงานในการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม การรับประทาน การกำจัดขยะ ความปลอดภัย รวมถึงการรับรสชาติ ประสบการณ์ ความรู้สึกจากการรับประทานอาหาร 

สำหรับการนำเทคโนโลยี 3D Food Printing ถูกนำมาใช้ออกแบบและผลิตอาหารที่หลากหลายมากขึ้น มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับการควบคุมการผลิตให้มีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ แต่ในปัจจุบันยังไม่ถูกนำมาใช้อย่างสมบูรณ์ทั่วโลก เพราะยังไม่มีเทคโนโลยีรองรับเพียงพอ อาหารในส่วน Input ยังจำกัด ทำให้ยังมีอุปสรรคในการทำระบบอาหารที่ครบวงจร 

KEETA กับโอกาสในการแก้โจทย์ใหญ่จาก NASA 

ปัจจุบันอาหารบนอวกาศอยู่ในรูปอาหารที่เอาน้ำออก (Dehydration) รวมถึงอาหารสำเร็จรูปในรูปหลอดบีบ โดย 'อาหารสด' ยังเป็นโจทย์ที่ท้าทายเพราะเสียง่าย ทำให้นักบินอวกาศต้องเผชิญกับปัญหาการรับประทานจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะการปฎิบัติการบนอวกาศในระยะยาวที่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารครบถ้วนรวมถึงคุณภาพชีวิต ความรู้สึกและประสบการณ์ที่ดีจากการรับประทานอาหาร การแก้ปัญหาเรื่องอาหารสดที่สามารถอยู่บนอวกาศได้จึงเป็นโจทย์ใหญ่ของ NASA โดยความท้าทายที่ KEETA ให้ความสำคัญ คือ ระบบการผลิตอาหารที่ครบวงจร โดยการพัฒนาอาหารบนอวกาศนี้ ยังมีจุดมุ่งหมายที่สามารถนำกลับมาใช้กับการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารบนโลกได้อีกด้วย ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://keeta.space/

คุณโพธิวัฒน์ กล่าวว่า "NASA มีหลักการที่น่ายกย่องเป็นกรณีตัวอย่างคือ การเปิดรับแนวทางและไอเดียจาก Outsource ที่มีศักยภาพให้ดำเนินการแทน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้กับภาคส่วนอื่น ๆ และกระตุ้นให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมล้ำค่าจำนวนมาก สิ่งที่เข้าตั้งโจทย์จะเป็นสิ่งที่ Commercialize ได้"

Space Medical การแพทย์บนอวกาศ 

เทคโนโลยีการแพทย์บนอวกาศมีพื้นฐานจาก Aerospace Medical พัฒนามาจากการช่วยเหลือนักบินรบ คุณวเรศ กล่าวว่า นอกจากนี้พื้นฐานของการรักษาบนเครื่องบินโดยสาร Commercial Airline ในปัจจุบันก็มีส่วนพัฒนาและทดสอบจาก Space Flight Medicine โดยนักบินอวกาศในยุคแรกจำเป็นต้องช่วยชีวิตหรือรักษาการเจ็บป่วยด้วยตัวเอง (Emergency Medical) เพราะไม่สามารถกลับมารักษาบนโลกได้ทันที กดดันให้วงการอวกาศต้องพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์และการรับมือเพื่อช่วยเหลือนักบินอวกาศในสภาวะจำเพาะที่ต่างออกไป สภาพแวดล้อมที่ทำร้ายและไม่เอื้อในการใช้ชีวิตของมนุษย์   

“อนาคตของการแพทย์บนอวกาศจะกลายเป็นกฎเกณฑ์มาตรฐานของการรักษาบนโลก ยกตัวอย่างเช่น Tele-Medicine เทคโนโลยีเซนเซอร์การตรวจหรือติดตามสุขภาพขนาดเล็ก (Medical Checkup) ก็มีที่มาจากการแพทย์บนอวกาศ” 

Robotics Solution (Automation) บนอวกาศ

ในด้าน คุณวเรศ กล่าวว่า “การทดสอบนำหุ่นยนต์ไปใช้ในอวกาศจะเข้ามาช่วยแบ่งเบาการส่งมนุษย์ขึ้นไปบนอวกาศรวมถึงช่วยมนุษย์บนโลกได้อย่างชัดเจน โดยหุ่นยนต์ที่ใช้งานในอวกาศจะช่วยสร้างโอกาสในการพัฒนางานบนอวกาศมากขึ้น มีพื้นที่ในการพัฒนาอีกมาก ทั้งด้านหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศในการทำภารกิจบนอวกาศ การสำรวจอวกาศ การติดตั้งดาวเทียม ถ้ามองในมุมอุตสาหกรรม หุ่นยนต์ถูกนำมาช่วยในภาคการผลิตและบริการ และถูกนำมาใช้ทำงานพร้อมกับมนุษย์ (Co-Bot) ช่วยลดอุบัติเหตุ ประหยัดต้นทุนด้วยและลดเวลาในการปฏิบัติงาน ซึ่งปัจจุบันหุ่นยนต์ถูกนำมาใช้ในภาคธุรกิจมากยิ่งขึ้น 

โดยภาพรวมในไทย “ถึงแม้ไทยยังไม่สามารถผลิตมอเตอร์ซึ่งเป็นพื้นฐานของหุ่นยนต์ได้ ยังต้องนำเข้าจากประเทศอยู่ แต่ประเทศไทยมีจุดแข็งในด้านการผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์ เฟิร์มแวร์ที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ ซึ่งหากผลักดันจุดแข็งนี้ก็จะทำให้ไทยมีโอกาสในการแข่งขันได้”

เรามีความเก่งเรื่องพัฒนาซอฟ์ตแวร์ เราร่วมกับรายอื่นที่มีความถนันในฮาร์ดแวร์ จะช่วยทำให้การเข้าถึงการสร้างและพัฒนาธุรกิจหุ่นยนต์ในประเทศไทยไปได้ไกลขึ้น

คุณโพธิวัฒน์ กล่าวว่า สำหรับตลาด Red Ocean การสร้างดาวเทียมจะเข้าสู่ Mass Scale และมีความ Automation มากขึ้น โดย 'เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ดาวเทียม' ยังเป็น Blue Ocean และมีโอกาสสำหรับผู้ที่สนใจจะเข้ามาร่วมได้ เช่น การพัฒนาเซนเซอร์ประเภทต่างๆ  กล้องที่ใช้ในการจับภาพ เป็นต้น 

นอกจากนี้ในอนาคตธุรกิจอวกาศจะมองไปที่ 'เทคโนโลยีรายล้อม' นอกเหนือจากการพัฒนาดาวเทียมมากขึ้น กล่าวคือ เทคโนโลยีที่จะอำนวยความสะดวกการดำรงชีวิตด้านต่าง ๆ ที่จะรองรับการใช้ชีวิตของมนุษย์บนอวกาศ เช่น ปัจจัยสี่ อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย การแพทย์ หรือเครื่องปรับอากาศ ที่สามารถพัฒนาเป็นธุรกิจได้ ผู้ที่สนใจต้องเริ่มดำเนินตั้งแต่ตอนนี้ เพราะกระบวนการที่เกี่ยวกับมนุษย์เป็นกระบวนการที่ใช้เวลาในการออกแบบพัฒนาและทดสอบนานมาก 

ในส่วนความกังวลเรื่องการถูกแย่งงานโดยหุ่นยนต์  คุณวเรศ กล่าวว่า "คนเรามีความคิดสร้างสรรค์ มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้มากกว่าหุ่นยนต์หรือ AI เพราะฉะนั้นการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับยุคที่มีการนำหุ่นยนต์มาใช้งานมนุษย์มากขึ้น สิ่งสำคัญ คือ 'ความคิดสร้างสรรค์' ความเข้าใจในเรื่องสกิลพื้นฐานที่ใช้ในการทำงาน ความเข้าใจในความเป็นไปในการใช้ชีวิต จุดนี้มนุษย์แข็งแกร่งกว่า งานบางงานไม่สามารถนำหุ่นยนต์มาใช้แทนได้เลย เช่น งานศิลปะ Abstract Art งาน Craft เป็นต้น หุ่นยนต์จะเข้ามาช่วยงานร่วมกับมนุษย์มากกว่าแย่งงาน"

สำหรับผู้ประกอบการที่สนใจหรืออยากเริ่มต้นทำธุรกิจหุ่นยนต์ สิ่งสำคัญ คือ 'การเริ่มลงมือทำ' ควรทำความเข้าใจข้อจำกัดและข้อดีที่หุ่นยนต์มาพิจารณาร่วมกับผลตอบแทนทางธุรกิจ ปัญหาที่มีเหมาะสมจะนำหุ่นยนต์มาใช้อย่างไรสามารถพิจารณาจากเทคโนโลยีนวัตกรรมที่มีพื้นฐานอยู่และต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าจากเดิม


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะรากความสำเร็จ Samsung แชโบลตระกูลสำคัญจากพ่อค้าปลาแห้ง สู่ผู้คุมเศรษฐกิจเกาหลีใต้

ในบทความนี้ Techsauce จะพาไปเจาะว่าทำไมร้านของชำ Samsung ในเมืองเล็ก ๆ ถึงสามารถเติบโตจนกลายมาเป็นผู้คุมเศรษฐกิจของประเทศได้ แท้จริงแล้วมันมาจากความของเก่งของ Lee Byung-chul อย่างเ...

Responsive image

บทสรุป Accelerate Impact with PRUKSA Season 2 สานต่อความสำเร็จ ส่งต่อความยั่งยืนเพื่อสังคม

บทสรุปสุดท้ายตลอดเส้นทาง ของโครงการ Accelerate Impact with PRUKSA Season2 ที่สานต่อความสำเร็จ ส่งต่อความยั่งยืนเพื่อสังคม ในวัน Demo Day...

Responsive image

สองวิธีเรียกคืนอำนาจบริหารจากบริษัทตัวเอง ถกประเด็นน่ารู้จากซีรีส์ Queen of tears

เจาะลึกประเด็นซีรีส์ Queen of tears การต่อสู้แย่งชิงอำนาจบริหาร Queens Group กำลังทวีความเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ ในความเป็นจริงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว ตระกูลฮงจะกลับมายึดคืนอำนาจบริหาร ...