การทำงานในองค์กรเดียวกัน ก็เหมือนกับการลงเรือลำเดียวกัน ในการที่จะพาองค์กรไปสู่ความนำเร็จได้นั้น ทุกคนในทีมมีส่วนสำคัญในการทำงาน ยิ่งคนในทีมมีความสามารถที่ต่างกันมากเท่าไร จะยิ่งช่วยเสริมพลังคนในทีมสู่ความสำเร็จได้มากและรวดเร็วขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ผู้นำทีมยังมีหน้าที่สำคัญที่จะช่วยผลักดันบุคลากร โดยการทำความรู้จักกับจุดอ่อน จุดแข็ง อีกทั้งแรงจูงใจของแต่ละคนในทีม ซึ่งหนึ่งในวิธีที่จะสามารถรู้ได้คือการทำแบบวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งนั่นเอง
ปัจจุบันมีแบบทดสอบให้เลือกมากมาย อีกทั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็ได้กลายเป็นเครื่องมือการจัดการที่ได้รับความนิยมในองค์กรทั่วโลก จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กรของสหรัฐรายงานว่า นายจ้างกว่า 13 เปอร์เซ็นต์ได้ทำการทดสอบเหล่านี้ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกค้นหาความสามารถและจุดแข็งของตัวเอง
การรู้จุดแข็งของตัวเองไม่แต่จะทำให้คุณมีความก้าวหน้าในอาชีพการงานเท่านั้น การรู้ว่าตัวเองมีทักษะในด้านเฉพาะทาง และทักษะการคิดวิเคราะห์ก็สำคัญเช่นกัน หากเรามองบุคคลที่ประสบความสำเร็จ และมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานบนโลกใบนี้ เนื่องจากพวกเขารู้ว่าควรจะใช้จุดแข็งของตัวเองได้อย่างตรงจุดอย่างไรนั่นเอง
เราทุกคนล้วนมีจุดแข็งเป็นของตัวเองทั้งนั้น แต่น้อยคนที่จะรู้จักนำมันมาใช้ได้อย่างตรงจุด การที่เราสามารถรู้จุดแข็งของตัวเองนั้นคือเครื่องมือสำคัญ โดยเฉพาะหากต้องการขึ้นมาเป็นผู้นำในการทำงาน ผู้นำที่ประสบความสำเร็จได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการพัฒนาจุดแข็งของตัวเอง และรู้จักประยุกต์ใช้ในอาชีพการงาน ในขณะเดียวกันก็พัฒนาจุดอ่อนของตัวเอง ซึ่งการที่พวกเขามีความเข้าใจจุดแข็งของตัวเองอย่างดีนั้น ทำให้พวกเขาสามารถโฟกัสไปที่สิ่งที่พวกเขาทำได้ดีและอย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น
เมื่อไม่นานมานี้ เราได้มีโอกาสร่วมทำแบบทดสอบของ iWAM (The Inventory for Work Attitude & Motivation) แบบทดสอบออนไลน์ ที่ทำการวัดทัศนคติและแรงจูงใจของบุคคล ได้มีการนำชุดคำถามที่ล้ำสมัยโดยใช้หลักทางวิทยาศาสตร์ เพื่อช่วยให้การทำงานของ HR ทั่วโลกง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การว่าจ้าง การโค้ชชิ้ง และการจัดเทรนนิง โดยแบบทดสอบประกอบไปด้วยคำถามจำนวน 40 ข้อ ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาทำเพียง 15-30 นาทีเท่านั้น
โดยได้มีการเก็บตัวอย่างจากผู้ทำแบบทดสอบแล้วกว่า 13 ประเทศทั่วโลก ขณะนี้ทดลองใช้งานในไทยที่นี่เป็นที่แรก โดยขั้นตอนเริ่มจากการเก็บข้อมูลประเมินทัศนคติแบบละเอียด ซึ่งจะข้อมูลนี้ถูกใช้ในการเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์กรแต่ละประเทศทั่วโลก และจะนำมาซึ่งการช่วยองค์กรไทยเพื่อความก้าวหน้าในอาชีพการงานในอนาคต
แบบทดสอบถูกพัฒนาจากทีมงานที่ได้ทำการค้นคว้าในต่างประเทศ เหมาะกับทุกอาชีพและทุกระดับ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากแบบทดสอบทำให้ทราบ 5 จุดแข็ง และ 3 จุด ที่สามารถนำมาปรับปรุงในการพัฒนาตัวเองในการทำงานได้
หลายองค์กรใหญ่ทั่วโลกได้ใช้บททดสอบนี้ในการดูแรงจูงใจ ทัศนคติในการทำงานของคนในทีม ไม่ว่าจะเป็น Toyota, IKEA, Barclay, Westpac, Foster และ Pioneer โดยผลคะแนนที่ได้มีความแม่นยำสูงมากถึง 89.9 - 98 เปอร์เซ็นต์
เนื่องจากวัฒนธรรมองค์กรของแต่ละประเทศต่างกัน การได้ข้อมูลจากพนักงานไทยนั้นจะช่วยให้เราค้นพบคำตอบได้ตรงกับความน่าจะเป็นมากที่สุด ซึ่งการทำการศึกษาทัศนคติและแรงจูงใจ จะเป็นส่วนช่วยสำคัญต่ออนาคตการทำงานที่เป็นรูปแบบเฉพาะขององค์กรไทย
HUBBA ร่วมกับ Fingerprint for Success (F4S) แพลตฟอร์มการวิเคราะห์ลักษณะบุคคลที่จะมาปฏิวัติการพัฒนาบุคลากรไทย
ความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นการทำการสำรวจทัศนคติและแรงจูงใจในการทำงานที่ครอบคลุมมากที่สุด ซึ่งตัวอย่างนี้จะนำมาช่วยวิเคราะห์ทัศนคติและแรงจูงใจของคนไทย ว่ามีความแตกต่างจากองค์กรอื่น ๆ ในโลกอย่างไร
เราจะทำการเก็บข้อมูลตัวอย่างจากผู้ทำแบบทดสอบ 5,000 คน จากทุกสายงาน และอุตสาหกรรม โดยการใช้แบบทดสอบ iWAM
มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราในการปลดล็อคกระบวนการทำงาน เพื่อที่องค์กรไทยจะได้แตกต่างและเติบโตกันได้ที่นี่ go.hubbathailand.com/f4s
1. ลงทะเบียนชื่อและ E-Mail กับ HUBBA เพื่อร่วมเป็นส่วนของฐานข้อมูลมาตรฐานของประเทศไทย
2. Link เข้าสู่แบบทดสอบจะถูกส่งเข้ามาใน E-Mail โดย HUBBA Thailand
3. ลงทะเบียนด้วย E-Mail หรือ Social Network จากนั้นจะได้รับ Username และ Password เข้าที่ E-Mail เพื่อใช้ล็อกอินภายหลัง
4. คลิกเลือกแบบสอบถาม iWAM: ทัศนคติและแรงจูงใจในการทำงาน
5. แบบสอบถามเป็นการ เรียงลำดับคำตอบ ด้วยการกดที่คำตอบ แล้วกด “ขึ้น” หรือ “ลง” เพื่อเลื่อนขึ้นลง เรียงลำดับตามคำถาม
6. เมื่อเรียงครบแล้ว จะได้รับคำตอบเป็นคุณสมบัติต่างๆ ผู้ทำแบบสอบถามสามารถเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อสำรวจคุณสมบัติของตัวเองจากการสำรวจของทีมในประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา, เกาหลีใต้ หรือมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งคุณสมบัติจากแบบสอบถามจะออกมาต่างกัน ตามแต่ลักษณะที่ทำสำรวจในประเทศนั้นๆ
7. ผู้ทำแบบสอบถามสามารถกลับมาดูคุณลักษณะของตัวเองได้ด้วยการ Log In กลับด้วย Username และ Password ที่ได้รับจาก E-Mail ของระบบ
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด