สัมภาษณ์พิเศษ "TSQUARE" ผู้ให้บริการ Big Data ด้านการจราจร แบบ Real time | Techsauce

สัมภาษณ์พิเศษ "TSQUARE" ผู้ให้บริการ Big Data ด้านการจราจร แบบ Real time

ในงาน AWS Summit 2016 ที่สิงคโปร์ เราได้พบและรู้จักกับ TSQUARE ผลงานไทยที่ได้ไป Showcase บนเวทีใหญ่ และได้มีโอกาสสัมภาษณ์พูดคุยกับคุณกรกต วงศ์ไพศาลสิน Assistant General Manager ของบริษัท Toyota Tsusho Electronics (Thailand)  โดย Big Data ด้านข้อมูลจราจร ที่พวกเขากำลังทำอยู่นี้ เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อนักพัฒนาผู้สนใจแน่นอน

IMG_4503

TSQUARE คืออะไร

TSQUARE คือ แอปพลิเคชั่นที่ให้บริการข้อมูลแผนที่การจราจรแบบเรียลไทม์คุณภาพสูงในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียงจำนวน 6 จังหวัด ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถดูสภาพการจราจรจริงแบบเรียลไทม์ และสามารถหลีกเลี่ยงเส้นทางที่ติดขัดได้ ยิ่งไปกว่านั้นตัวแผนที่ยังสามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลสถานที่ที่จำเป็นต่างๆในการเดินทาง เช่น ตำแหน่งร้านอาหารชื่อดังจากแอปพลิเคชั่น Wongnai, ตำแหน่งสถานีบริการน้ำมัน ไปจนถึงตำแหน่งเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เกิดขึ้นบนท้องถนนได้อีกด้วย ทำให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกในการเดินทางมากยิ่งขึ้น โดยแอปพลิเคชั่น TSQUARE จะมีให้เลือกใช้ทั้งในระบบ iOS และ Android

Toyota Tsusho Electronics (Thailand) ให้บริการด้านไหนบ้าง?

Toyota Tsusho Electronics (Thailand) หรือชื่อย่อว่า TTET เป็นบริษัทที่ร่วมกันก่อตั้งโดย Toyota Tsusho ญี่ปุ่น และ Toyota Tsusho ประเทศไทย โดยปัจจุบันมีหน่วยธุรกิจอยู่ 3 หน่วยหลักๆ ประกอบด้วย Embedded software พัฒนาชิปสมองกลสำหรับรถยนต์, Device trading ซื้อมาขายไปอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆในรถยนต์, และน้องใหม่ล่าสุดซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2011 นั่นก็คือ Content business

ที่มาของการทำ Big Data สำหรับการจราจร

ในปี 2011 ทาง TTET ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเทคโนโลยีของญี่ปุ่นพร้อมกับพันธกิจว่า “อยากส่งเสริมการแก้ปัญหารถติดในกรุงเทพฯ” เพื่อตรวจสอบปัญหาการจราจร ทางบริษัทจึงได้เข้าไปติดตั้ง GPS จำนวน 700 เครื่อง เพื่อเก็บข้อมูลและพบว่าการจราจรมีความย่ำแย่จริง บริษัทจึงมองเห็นโอกาสทางธุรกิจที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ จึงลงทุนไปติดตั้ง GPS เพิ่มอีก 10,000 เครื่องกับรถแท็กซี่ในปีเดียวกัน

ต่อมาในปี 2012 บริษัทได้นำข้อมูลที่มีมาประมวลผล และมีส่วนร่วมพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่ให้ข้อมูลด้านการจราจรร่วมกับทาง Toyota ในชื่อ Smart G-book (ปัจจุบัน Re-branding เป็น T connect) และขยายช่องทางการให้ข้อมูลเพิ่มเติมไปยังคลื่นวิทยุ FM ในปี 2013 ทำให้สามารถกระจายข้อมูลครอบคลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯมากกว่า 99.6% นอกจากนี้ในปี 2014 ทางบริษัทได้เริ่มขยายการติดตั้งไปที่จังหวัดหัวเมืองโดยเริ่มนำร่องที่จังหวัดภูเก็ตก่อน เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวเข้าออกมากนั่นเอง

และเพื่อให้สามารถทำข้อมูลการจราจรทั่วประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น บริษัทจึงยังคงเพิ่มจำนวนการติดตั้ง GPSและรวบรวมข้อมูล อย่างต่อเนื่องจนปัจจุบันมีอยู่ถึง 60,000 เครื่อง ทำให้ทราบพฤติกรรมการจราจรต่างๆได้ดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีฝนตกในกรุงเทพฯ รถจะเริ่มติดจริงๆหลังจากฝนตกราวๆ 0.5 - 1 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นถ้าเราต้องการหลีกเลี่ยงสถานการณ์รถติด ให้รีบเตรียมตัวกลับบ้านทันทีเมื่อฝนเริ่มตก เพราะถ้าเรารอออกตอนฝนใกล้หยุดแล้วล่ะก็รับรองว่าออกไปเจอรถติดแน่นอน เป็นต้น

13248490_10208731023420484_6392395681167213173_o

“สาทรโมเดล” การนำ Big Data มาใช้ในการแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ

ในปี 2014 World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) และทาง Toyota ได้ร่วมมือกับทางกรุงเทพฯเพื่อทำโปรเจคนำร่องในการแก้ปัญหาการจราจร โดยได้เลือก ถนนสาทร เป็นถนนหลักในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์พฤติกรรมการจราจรเพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาภายใต้ชื่อ “สาทรโมเดล”

โดยลักษณะของถนนสาทรนั้นเป็นเส้นตรงยาว มีหลาย U-turn และมีจำนวนแยกถึง 3 แยก นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนตั้งอยู่ถึง 3 โรงเรียน การเดินทางที่เกิดขึ้นจึงมีรูปแบบที่หลากหลายมาก ซึ่งเราจะเอาข้อมูลที่เก็บได้เหล่านี้มาวิเคราะห์โดยละเอียดเพื่อหาสาเหตุของปัญหา เช่นดูว่า Demand รถเข้ามาจากทางไหน ถ้าเราปิด U-turn แล้วทำเลนสวนจะทำให้การจราจรดีขึ้นหรือไม่

โดยเราจะนำผลลัพธ์ที่ได้จากการทำ Simulation จริงมาให้ดูเปรียบเทียบหลายๆวิธีการเพื่อให้ทางกรุงเทพฯสามารถวางนโยบายในการแก้ปัญหาได้ถูกจุดนั่นเอง โปรเจคนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก WBCSD จนถึงสิ้นปี 2015 และทาง Toyota ได้ดำเนินการต่อ ซึ่งมีแผนจะแล้วเสร็จภายในปี 2016 นี้

นอกจากนี้ทาง TTET ยังได้มีการทดลองขยายขอบเขตในการเก็บข้อมูลจราจรไปยังจังหวัดภูเก็ต แหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทยซึ่งประสบปัญหาการจราจรติดขัดเช่นเดียวกัน โดยการนำ GPS ไปติดตั้งกับรถแท็กซี่และรถสองแถวในพื้นที่รวมจำนวนกว่า 500 คันอีกด้วย

13227501_10208731024620514_1052608415227671484_o

ลักษณะกลุ่มลูกค้า และการใช้งานในทางธุรกิจ

ปัจจุบันลูกค้าที่นำผลิตภัณฑ์ของ TTET ไปใช้ใน Automotive business ซึ่งเป็นลักษณะของการขาย License ให้ โดยผลิตภัณฑ์จะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือแบบแอปพลิเคชั่น และแบบที่อยู่ในแผงคอนโซลรถยนต์ซึ่งรับข้อมูลผ่านทาง FM ได้เลย และธุรกิจในด้านอื่นๆ เช่น Logistic ก็สามารถใช้งานผลิตภัณฑ์นี้ได้เช่นกัน

นอกจากลูกค้ากลุ่มธุรกิจใหญ่ๆแล้ว ยังมีกลุ่มรถแท็กซี่ที่จังหวัดภูเก็ต ซึ่งลูกค้าจริงๆ จะเป็นเจ้าของอู่รถ ลักษณะการใช้งานของกลุ่มนี้หลักๆจะเป็นการติดตาม และป้องกันการถูกขโมยรถจากคนขับรถแท็กซี่ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ ทางบริษัทยังเคยช่วยแก้ปัญหานี้ได้จริงด้วยการติดตามตำแหน่งรถที่ถูกขโมย ซึ่งผู้ควบคุมสามารถสั่งหยุดการจ่ายน้ำมันของรถจากระบบได้โดยตรงอีกด้วย

ตั้งเป้าหมายในอนาคตไว้แบบไหน?

นอกจากตั้งใจจะทำแผนการจราจรของทั้งประเทศให้มีประสิทธิภาพแล้ว บริษัทยังวางแผนจะเปิด Open data ให้กับนักพัฒนาหรือบุคคลทั่วไปที่มีไอเดียมาใช้ข้อมูลได้ในเร็วๆนี้ ซึ่งมีลักษณะของข้อมูล 2 แบบคือข้อมูลแบบธรรมดา และพรีเมี่ยม (เสียค่าใช้จ่าย) ในส่วนของ แอปพลิเคชั่น TSQUARE บริษัทตั้งใจจะพัฒนาให้มีฟังก์ชั่นการทำงานเยอะขึ้น มี User experience ที่ดีขึ้น ทำให้ User สามารถใช้งานได้ไว และตัดสินใจการเดินทางต่างๆได้อย่างรวดเร็ว โดยมีแผนที่จะออก Version ใหม่ในสิ้นปี 2016 นี้

นอกจากจะให้บริการด้านข้อมูลแล้ว บริษัทยังมองเรื่องการพัฒนา Solutions ที่ใกล้เคียงกันเพิ่มเติมอีกด้วย โดยทางบริษัทยังเป็นทีมคนไทยทีมแรกและทีมเดียว ที่ได้เข้าร่วมการแข่งขัน AWS IoT Hack Day พัฒนา Prototype เรื่องระบบข้อมูลที่จอดรถ แบบเรียลไทม์ซึ่งเราคงต้องติดตามกันต่อไปว่าในส่วนนี้จะมีความคืบหน้าเช่นไร

aws iot hackday thai team 1

aws iot hackday thai team 2จะเห็นได้ว่าอุปกรณ์ IoT มีศักยภาพหลายด้านที่นำมาสู่การเก็บข้อมูลทำ Big Data จากบทความนี้ คงพอเป็นตัวอย่าง ที่นักพัฒนาสามารถเก็บเป็นไอเดียเพื่อมองหาช่องทางต่อยอดด้าน Data และ Solutions ได้

สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาด้าน IoT เพิ่มเติม ที่งาน Techsauce Summit กรกฏาคมนี้ ก็มี IoT Stage ให้ท่านได้พบกับบริษัทและนักพัฒนาสาย IoT ได้อย่างจุใจ

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...