หากจะทำ Startup ควรเริ่มสร้างทีมและวางโครงสร้างผู้ถือหุ้นอย่างไร จากคำแนะนำของ VC | Techsauce

หากจะทำ Startup ควรเริ่มสร้างทีมและวางโครงสร้างผู้ถือหุ้นอย่างไร จากคำแนะนำของ VC

ถึงแม้ซีรีส์ยอดฮิตอย่าง Start-up จะจบไปแล้วแต่กระเเสความดังยังคงกวาดผู้ชมจากประเทศไทยทั้งคนที่ยังไม่เคยดูและคนที่ดูแล้วตั้งเเต่เริ่มฉายให้กลับเข้าไปดูซ้ำอีกหลายรอบนอกจากเรื่องราวของความรักที่เข้มข้นแล้ว การตีแผ่ในแง่มุมของธุรกิจในวงการ  Startup  ก็น่าติดตามไม่แพ้กัน 

ถอดความรู้จากประเด็นสำคัญของบทบาทหัวหน้าทีมฮันจากซีรีส์ สู่ประสบการณ์จริงของ หัวหน้าทีม VC

Techsauce จึงได้มีการจัด Live หัวข้อพิเศษที่ชวนมาวิเคราะห์บทบาทของ VC  ที่มีต่อ Startup โดยเฉพาะในขั้นเริ่มต้นที่ต้องมีการตั้งทีมและวางโครงสร้างธุรกิจ เราจึงได้เชิญแขกรับเชิญที่เป็น VC ตัวจริง ซึ่งในซีรีส์นั้นเป็นบทบาทของ ฮันจีพยอง หรือหัวหน้าทีมฮัน กับคุณจอม - กัมปนาท วิมลโนท Head of Investment and Strategic Partnership, Krungsri Finnovate มาพูดคุยสำหรับคนที่จะทำ Startup ควรรู้หลากหลายประเด็นด้วยกัน

สำหรับประเด็นที่น่าสนใจจาก Live ในครั้งนี้ทีมงานจะขอหยิบยกบางประเด็นในเรื่องของการเลือกทีม เพื่อวางโครงสร้างองค์กรก่อนเริ่มธุรกิจ และการแบ่งหุ้นแบบมีโครงสร้างสำหรับ Startup 

การเลือก Co-Founder กับ การลงทุนของ VC 

ในช่วงหนึ่งของ Live คุณกัมปนาท กล่าวว่า การเลือกหัวหน้าทีม Co-Founder หากพูดถึงมุมมองใน VC สินทรัพย์อย่าง สิ่งของ อาจไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุด แต่คือตัวบุคคลที่เป็นตัวเเทนของทีม หรือ หัวหน้าทีม ดังนั้น การเลือกหัวหน้าเพื่อมาตั้งทีมให้มีเครดิตที่ดีจึงต้องคำนึงถึงสิ่งสำคัญอย่างการทำงานร่วมกันกับคนในทีม 

นอกจากความสามารถแล้ว  การมีความคิดในเเนวทางเดียวกับทีมและสามารถเดินทางเเละเติบโตร่วมกับทีมได้คือจุดสำคัญที่ทำ นักลงทุนจะมองว่าที่นี่มีความมั่นคงรวมถึงความเเกร่งของคนในทีมจะสามารถนำธุรกิจให้เติบโตได้ในอนาคตจนน่าลงทุน ดังนั้น กระบวนการคิดของหัวหน้าจึงสำคัญทำให้ภาพขององค์กร ดูเเข็งเเกร่งและมั่นคงพร้อมลุยเเละเติบโตต่อไป

หากจะเทียบกับเหตุการณ์ในซีรีส์...ตอนที่นางเอกในเรื่องที่ไม่ว่าจะถูกว่า และดูถูกมากแค่ไหนแต่ก็ยังยึดมั่นในเส้นทางเเละเป้าหมายของทีม ไม่ยอมเเพ้ต่ออุปสรรค เรียกได้ว่า ดูเป็นผู้หญิงเเกร่ง  ฉลาด น่าเชื่อถือ มีความมั่นใจในงานของทีมพร้อมลุยเสมอ  สิ่งนี้คือคุณสมบัติที่หัวหน้าทีมควรมี  

นอกจากนี้ การตั้งหัวหน้าในธุรกิจ Startup อาจไม่จำเป็นต้องมีเเค่คนเดียวเสมอไป บางที่อาจมีถึง 1-3 คน การมีผู้นำหลายคนสำหรับธุรกิจ Startup เปรียบเหมือนการนำความสามารถเเละจุดเด่นของเเต่ละคนมาช่วยเสริมทัพเพื่อเติบเต็มจุดที่อีกคนขาดไป อาทิ คนหนึ่งคือผู้เชี่ยวชาญในงานที่ทำ เช่น พระเอกที่ทำ AI ได้ ส่วนอีกคนหนึ่งคือ คนที่ต้องมีความรู้รอบด้านต่อยอดงานส่วนอื่นๆ ได้ดี อย่างนางเอก ที่เข้ามาช่วยเสริมทัพพระเอกในด้านการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี AI เเต่สิ่งสำคัญคือ การหาคนร่วมทีมที่มีความสามารถและแนวคิดไปด้วยกันได้ เพราะบางทีการที่จะลงทุนอาจดูมากกว่าหัวหน้าเพียงคนเดียวเเต่ดูรวมไปถึงคนในทีมทั้งหมดด้วยว่าธุรกิจนี้มีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพพร้อมในการทำงานมากเเค่ไหน 

การเเบ่งหุ้นแบบมี Structure ของ Startup ที่ VC แนะนำ

หากดูจากในซีรีส์ พระเอก คือ ตัวละครสำคัญในการสร้าง AI เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิด Startup นี้ขึ้นทำให้พระเอกกลายเป็นคนสำคัญของทีมที่สามารถสร้าง AI เเละมีความรู้ทางเทคโนโลยีนี้มากที่สุด ทีมไม่สามารถขาดคนสร้าง AI อย่างพระเอกไปได้ ดังนั้นการเเบ่งหุ้นในซีรีส์ พระเอก คือ คนที่ได้ส่วนเเบ่งมากสุดในทีม รองลงมาคือสัดส่วนหุ้นของ นางเอก พระรอง เเละผู้ร่วมทีมอื่นๆ ซึ่งดูเหมือนว่าการเเบ่งหุ้นในซีรีส์ ดูง่ายเเละไม่มีปัญหาอะไรเลย แต่ใช่ว่าในชีวิตจริงการพิจารณาเเบ่งหุ้นใน Startup จะดูเพียงความสำคัญของตำแหน่งและความสามารถเท่านั้น เเต่เราต้องพิจารณาในส่วนอื่นๆ อีก 

วิธีการคิดแบบคำนวน อีกหนึ่งรูปแบบที่อาจนำไปใช้ได้ซึ่งเป็นการคำนวนจากหน้าที่ของเเต่ละคนผ่านการลงมติให้คะเเนนของทีมด้วยการให้คะเเนนเป็นตัวเลขรวมออกมาแล้วคิดเป็นร้อยละหากคะเเนนเต็มคือ 100% คะเเนนที่เเต่ละคนได้จะถูกคำนวนออกมาเป็นสัดส่วนซึ่งจะทำการเเบ่งหุ้นตามสัดส่วนร้อยละที่แต่ละคนได้

หากพูดให้กระชับอธิบายง่ายๆ สำหรับการเเบ่งหุ้นจุดหนึ่งที่ต้องคำนึงนอกจากหน้าที่คือประเภทธุรกิจเพราะจะเป็นตัวบ่งบอกสิ่งที่ต้องทำในองค์กรนั้นว่าอะไรคือ หน้าที่หลักและความสำคัญของงาน 

ดังนั้น การนัดรวมตัว Co-Founder ที่อาจมีมากกว่า 2 คนเพื่อมาคุยกันว่าเเต่ละคนทำหน้าที่อะไรบ้างให้ชัดเจนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมาตกลงกันและเเบ่งหน้าที่กันให้ชัดเจน เพราะในความเป็นจริงคนที่เป็นเจ้าของไอเดีย หรือ คนที่เป็นจุดเริ่มต้นของงานนี้อาจไม่ใช่คนที่ได้ส่วนเเบ่งเยอะที่สุดเสมอไป ซึ่งสิ่งที่เราใช้เป็นเครื่องมือเเบ่งหุ้นจริงๆ เราคงต้องมานั่งเเยกบทบาทและหน้าที่ของเเต่ละคนว่าทำอะไรบ้าง? ผลของงานที่ทำสร้างอะไรให้เกิดขึ้นกับทีมบ้าง? ซึ่งเเน่นอนว่า ภาระหน้าที่ของเเต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน คนที่เริ่มคิดอาจไม่ใช่คนทำงานหนักเท่ากับคนที่ไม่ได้เริ่มต้นไอเดียแต่เป็ยคนลงมือทำไอเดียเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม รวมถึงในชีวิตจริงใช่ว่าทุกคนจะหันมาทำ Startup แบบ Full Time ซึ่งบางคนอาจเลือกทำงานเป็น Part Time ถึงเเม้จะอยู่ในตำเเหน่งในระดับหัวหน้าทีมก็ตามซึ่งเวลางานก็เป็นอีกส่วนที่ควรนำมาคิดเช่นกัน

การคำนวนเพื่อเเบ่งหุ้นเป็นเพียงเเนวทางเท่านั้นเพราะสุดท้ายเเล้วสิ่งสำคัญคือ การหันหน้าคุยกันในทีมให้ชัดเจนเพื่อเกิดความเข้าใจและยอมรับการตัดสินใจร่วมกัน หรือ การหารูปแบบการเเบ่งที่ทุกคนในทีมเห็นสมควรโดยไม่มีผลกระทบกับทีมภายหลัง 

หากต้องการศึกษารายละเอียดใน Live พิเศษเพิ่มเติมสามารถเข้าไปได้ที่ Techsauce Live


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...