รู้จักกับ Blind Trust การจัดเงินของนักการเมืองป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน

รู้จักกับ Blind Trust การจัดเงินของนักการเมืองป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน

ในช่วงการดำรงตำแหน่งของอดีตนายกทักษิณ ชินวัตร เรามักได้ยินคำว่า ‘ซุกหุ้น’ กันบ่อยครั้ง เพราะการดำรงตำแหน่งทางการเมือง อาจทำให้นักธุรกิจที่มาเล่นการเมืองสามารถสร้างผลประโยชน์ทับซ้อน เช่นการออกนโยบายเอื้อธุรกิจตัวเอง หรือการซื้อหุ้นจากข้อมูลจากวงในที่ตนเองทราบ ง่ายๆคือการคอร์รัปชั่นนั่นเอง ทำให้ในต่างประเทศมีวิธีหนึ่งในการจัดงานเงินจำนวนมากของนักธุรกิจที่มาเล่นการเมือง นั่นคือ Blind Trust

Blind Trust คืออะไร

Blind Trust คือกองทุน ที่นักธุรกิจที่เล่นการเมือง จะทำการการโอนทรัพย์สินทั้งหมดเข้าไปใน ‘กองทุนทรัสต์’ โดยผู้ที่เป็น Trustee (บุคคลอื่นที่มาบริหารทรัพย์สิน) จะเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ และมีดุลยพินิจกับสินทรัพย์นั้นๆ ตามหลักแล้วเจ้าของสินทรัพย์จะไม่สามารถมีส่วนเกี่ยวข้องในการตัดสินใจ (หรือ Blind) กับสินทรัพย์นั้นๆ ได้ โดยอำนาจจะอยู่ที่ Trustee เพียงผู้เดียว ซึ่งเจ้าของทรัพย์สินจะไม่ทราบว่า Trustee คนนั้นคือใคร

ทำไมถึงต้องเลือกวิธีนี้

ปกติแล้ว Blind Trust จะถูกใช้ในกรณีเมื่อมีบุคคลร่ำรวยได้รับเลือกเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง การตัดสินใจในการลงทุนส่วนบุคคลอาจทำให้ส่งผลกระทบก่อให้เกิดความขัดแย้งที่อาจขัดต่อผลประโยชน์ เนื่องจากปัญหาด้านกฎระเบียบหรือการใช้อำนาจทางการเมืองที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน ในการมอบความไว้วางใจ อย่างน้อยที่สุดก็แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่เลือกวิธีนี้ได้ตระหนักถึงการลงทุนในระยะยาวที่จะไม่กระทบต่อการตัดสินใจในอนาคต ผู้ที่เป็น ‘Trustor’ (ทรัสเตอร์) อาจจะต้องกำหนดกฎเกณฑ์การจัดการการลงทุน และทำการเลือก ‘Trustee' (ทรัสตี) ที่สามารถไว้เนื้อเชื่อใจได้ เพื่อที่จะได้เกิดประสิทธิภาพในการขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างแท้จริงและสามาถทำการตรวจสอบได้ มีนักการเมืองที่มีความมั่งคั่งจำนวนมากที่ใช้ วิธีนี้ เพื่อที่จะแสดงให้เห็นว่า อย่างน้อยก็ได้มีความพยายามนำมันมาใช้เพื่อสร้างความเป็นกลางและโปร่งใส

มีตัวเลือกอื่นๆอีกหรือไม่?

Blind Trust มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการค่อนข้างสูง ทำให้นักการเมืองเลือกวิธีอื่นในการขจัดความขัดแย้งแทน บางคนทำให้การลงทุนของพวกเขาง่ายขึ้นโดยการขายการลงทุนของบริษัทออกไป นอกจากนี้ก็เพื่อการถือครองทรัพย์สินและธุรกิจเอกชน โดยบรรดานักการเมืองมีความป้องกันปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนต่อธุรกิจหรือภาคอุตสาหกรรมที่ตัวเองดูแล โดยการแปลงการถือครองเป็นเงินสด อย่างไรก็ตาม กระบวนการขายเงินลงทุนอาจก่อให้เกิดผลกระทบทางภาษีและความยุ่งยากอื่นๆ ที่อาจตามมา เนื่องจากสินทรัพย์ทั้งหมดไม่ได้มีสภาพคล่องเท่ากัน ในกรณีนี้ทำให้การเลือก Blind Trust อาจกลายเป็นตัวเลือกเดียวเท่านั้น และวิธีอื่นที่จะสามารถขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ทางการเงินจากบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ โดยที่ผ่านมาวิธีที่อาจจะเคยพบกัน เมื่อเกิดกระแสความไม่ชัดเจนและมีการกระทำที่ผิดหลักจริยธรรมคือจะเป็นการใช้สื่อและการข่มขู่ต่อสาธารณะชน สรุปแล้ววีธีนี้นั้นเป็นทางเลือกที่ดี แต่ก็ไม่ได้รับประกันด้านจริยธรรมอย่างเต็มร้อย

ตัวอย่างนักการเมืองที่ใช้วิธีนี้ เช่นประธานาธิบดีสหรัฐเกือบทุกคนใช้วิธีโอนทรัพย์สินเข้าทรัสต์ ยกเว้นประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในประเทศไทยมีคุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจที่เพิ่งประกาศว่าได้เซ็นต์ MOU ได้ใช้วิธีนี้ โดยอาจเป็นนักการเมืองไทยคนแรกที่ประกาศว่าใช้วิธีดังกล่าว

อ้างอิง Investopedia

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...