Corporate Innovation ที่แท้จริงคืออะไร? เมื่อการพัฒนาองค์กร ไม่ได้จบแค่นำเทคโนโลยีมาใช้ | Techsauce

Corporate Innovation ที่แท้จริงคืออะไร? เมื่อการพัฒนาองค์กร ไม่ได้จบแค่นำเทคโนโลยีมาใช้

ในโลกยุคปัจจุบัน มีธุรกิจใหม่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ด้วยผลกระทบจาก Digital Revolution แม้องค์กรเก่าแก่ก็ไม่สามารถวางใจว่าตัวเองจะอยู่ยงคงกระพันได้โดยไม่ถูก disrupt ไปเสียก่อน หากไม่มีการปรับตัว จึงปฎิเสธไม่ได้ว่าคำที่ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในช่วงเวลานี้ ก็คือคำว่า ‘Corporate Innovation’ หรือ ‘Business Transformation’ แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจว่าคำเหล่านี้มีหมายความว่าอะไร แล้วจะนำไปปรับใช้จริงๆ ได้อย่างไรบ้าง

JENNIFER MARAVILLAS FOR HBR

บทความโดย Scott D. Anthony ใน Harvard Business Review ได้แบ่งรูปแบบ Transformation ออกเป็น 3 ลักษณะ

1. การเปลี่ยนแปลงด้าน Operation

รูปแบบแรกคือการเปลี่ยนแปลงองค์กรโดยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้แก้ปัญหาด้าน operation เพื่อให้ธุรกิจที่ทำอยู่ปัจจุบันสามารถดำเนินการได้สะดวก รวดเร็ว ให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ในต้นทุนที่ถูกกว่า ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่ที่พยายามจะผันตัวสู่ดิจิทัลก็มักจะนำการเปลี่ยนแปลงด้านนี้มาใช้เป็นแบบแรก

อย่างไรก็ตามการมุ่งสู่ดิจิทัล ไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงอย่างเดียวที่ตอบโจทย์และเข้ากับความหมายของ ‘Transformation’ ที่แท้จริง เพราะถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงเชิง operational จะช่วยทำให้เกิดผลกระทบในการดำเนินงานได้จริง ทั้งการลดต้นทุน และเพิ่มความพึงพอใจต่อลูกค้า แต่โครงสร้างหลักของบริษัทก็ยังไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไป และการที่ทำอะไรแบบเดิมๆ นั้น ไม่เพียงพอที่จะยืนหยัดบนโลกปัจจุบัน ที่หมุนอย่างรวดเร็วได้อีกต่อไป

2. การเปลี่ยนแปลง Business model 

แบบที่สองคือการเปลี่ยนแปลง Business model หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า Core Transformation ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมๆ ไปสู่วิธีการใหม่อย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่น Netflix ที่เปลี่ยนจากธุรกิจส่งแผ่น DVD ผ่านไปรษณีย์เมื่อ 5 ปีก่อน มาเป็นเว็บไซต์ streaming VDO ออนไลน์ ซึ่งรวมถึง การเปลี่ยนบทบาทแพลตฟอร์มที่นำเสนอเนื้อหาของคนอื่น มาสู่การลงทุนผลิตเนื้อหาของตนเอง โดยอาศัยข้อมูลของฐานลูกค้าที่มีอยู่ มาประกอบการผลิตเนื้อหาที่คิดว่าคนจะชื่นชอบ และเข้าถึงผู้ชมได้ง่ายมากขึ้น

บริษัทในประเทศไทย ที่เปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้แบบเห็นได้ชัด คือ ร้านสมใจ ร้านเครื่องเขียนที่มีชื่อเสียงและเก่าแก่มากที่สุดร้านหนึ่ง ที่ผันตัวมาเป็นผู้เล่นบน E-commerce เพื่อปรับตัวให้ทันโลกและพฤติกรรมของลูกค้า

3. การเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์

อย่างสุดท้ายคือการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ที่พลิกบทบาทและรูปแบบของธุรกิจไปสู่ธุรกิจใหม่ เช่น Amazon ที่เริ่มจากธุรกิจ retail ไปสู่การทำ Cloud computing หรือ Fujifilm ที่เปลี่ยนจากบริษัทขายฟิล์มถ่ายรูปไปสู่ product ด้านเครื่องสำอางและด้านสุขภาพ หรือ Aibaba ที่เริ่มจากธุรกิจ E-Commerce และขยายไปสู่ธุรกิจด้าน Financial

การปฎิรูปเชิงกลยุทธ์ ถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง เนื่องจากหากเดินไปถูกทาง ก็จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของบริษัทให้ก้าวกระโดดและพลิกฟื้นขึ้นมาได้ แต่หากก้าวพลาด ก็ต้องเตรียมใจรับคำวิจารณ์ที่จะตามมาว่า ‘ทำไมถึงไม่ยึดธุรกิจเดิม’

ดังนั้นหากผู้บริหารของคุณพูดถึงคำว่า 'Transformation' ขึ้นมา จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องตีให้แตกว่าหมายถึงการเปลี่ยนแปลงแบบใดกันแน่ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทั้งสามแบบนั้น ต้องอาศัยความพยายามไม่เท่ากันและให้ผลลัพธ์แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

Scott Anthony ให้ความเห็นว่า การโฟกัสแค่ 'ทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวาน' เป็นเพียงการแก้ปัญหาในระยะสั้น โดยผู้นำที่ดีควรคำนึงถึงการนำ การเปลี่ยนแปลงทั้งด้าน business model และ การเปลี่ยนแปลงด้านกลยุทธ์มารวมเข้าด้วยกัน เป็น ‘Dual Transformation’ โดยต้องวางแผนสำหรับการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งจะนำให้องค์กรสามารถกำหนดอนาคตของตัวเอง ก่อนที่จะโดนคนอื่นมา disrupt

อ้างอิงภาพและเนื้อหา Harvard Business Review

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...