DApp คืออะไร ทำงานอย่างไร มีแพลตฟอร์มไหนแล้วบ้าง ? | Techsauce

DApp คืออะไร ทำงานอย่างไร มีแพลตฟอร์มไหนแล้วบ้าง ?

DApp หรือ Decentralized applications แอปบน Blockchain ซึ่งลักษณะหน้าตาที่ไม่แตกต่างอะไรจากแอปพลิเคชันที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้มากนัก แต่บางครั้งก็อาจจะไม่เห็นภาพว่าสิ่งที่เรียกว่า DApp คืออะไร ? ต่างจาก App ปกติทั่วไปที่เรารู้จักกันอย่างไร รวมถึงจะสามารถใช้งานได้อย่างไร ? มีแพลตฟอร์มไหนแล้วบ้าง ? ในบทความนี้เราจะพามาทำความรู้จักกับ DApp พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้งานกัน

DApp

DApp คืออะไร ?

DApp หรือ Decentralized Application (แอปพลิเคชันแบบกระจายอำนาจ) เป็นแอปพลิเคชันหรือโปรแกรมดิจิทัลที่ทำงานบนเครือข่ายBlockchain และทำงานแบบ P2P (Peer-to-Peer) คือ ระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เชื่อมต่อถึงกันผ่านอินเทอร์เน็ต โดยสามารถแชร์ไฟล์โดยตรงผ่านเครือข่ายที่ระบบเหล่านี้เชื่อมต่ออยู่ นี้ไม่ต้องการเซิร์ฟเวอร์กลาง ซึ่ง DApp จะอยู่นอกขอบเขตและการควบคุมของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งมักจะสร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม Ethereum ทำให้สามารถพัฒนาเพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เกม การเงิน และโซเชียลมีเดีย

DApp ต่างจาก App ปกติทั่วไปที่เรารู้จักกันอย่างไร ?

โดย App ปกติทั่วไปที่ส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบของ Centralized App ทำงานอยู่บนระบบคอมพิวเตอร์เพียงระบบเดียวซึ่งเป็นของบริษัททำให้บริษัทหรือเจ้าของแอปพลิเคชั่นสามารถจัดการแอปพลิเคชันอย่างไรก็ได้ และผู้ใช้งานสามารถใช้งานแอปได้โดยการดาวน์โหลดตัว Copy ของแอป และรับส่งข้อมูลกับเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท 

ในส่วนของ backend นั้นจะมีคนดูแลโดยเฉพาะซึ่งก็เป็นพนักงานของบริษัทเจ้าของแอปพลิเคชันนั้น ๆ และมีการเก็บข้อมูลไว้ในเซิฟเวอร์ส่วนกลาง 

โดย DApp ผู้ใช้สามารถควบคุมข้อมูลของตนได้ แต่ข้อมูลทั้งหมดต้องเก็บไว้ใน Blockchain แบบกระจายและเปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้ โดยข้อมูลเหล่านั้นจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ เพราะเมื่อสร้างแอปพลิเคชันลงใน Blockchain แล้ว ข้อมูลใดๆ หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแอปพลิเคชันจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขโดยบุคคลคนเดียวได้และ DApp ทั้งหมดจะเป็นระบบแบบ Open Source มี Source Code ให้สาธารณชนตรวจสอบได้ ว่าถูกนำไปใช้และจัดเก็บไว้ใน Blockchain ยังไง

DApp vs Appภาพจาก towardsdatascience

DApp ทำงานอย่างไร ?

ทั้งนี้ DApp ถูกสร้างอยู่บนแพลตฟอร์ม Blockchain ของ Ethereum เพื่อจัดเก็บข้อมูลและ Smart Contract สำหรับ App logic ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเป็นเกม, แพลตฟอร์มด้านการเงินหรือสื่อ และใช้ภาษาโค้ดอย่าง Solidity 

โดยที่ Smart Contract มีบทบาทสำคัญต่อ DApp  ให้สามารถสร้างฟังก์ชั่นที่ปรับแต่เองได้แบบไม่ต้องพึ่งศูนย์กลางและมีความปลอดปลอดภัย ผู้ใช้งานสามารถควบคุมข้อมูลของตัวเองได้ โดยมีหลักการทำงานคือเป็นการตั้งประโยคเงื่อนไขมาเขียนเป็นโค้ดที่นำมาใช้ได้กับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน 

และนอกจากนี้ผู้ใช้งานสามารถมีส่วนร่วมกับการทำธุรกรรมของแอปได้โดยตรง โดยจ่ายเงินให้กับผู้พัฒนาและดาวน์โหลด Source Code ซึ่งก็คือ Smart Contract ที่จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถทำธุรกรรมได้โดยไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว และจะไม่ถูกควบคุมโดยบุคคลหรือองค์กร

DApp Frontend 

Frontend code จะดำเนินการในฝั่งผู้ใช้ดูเหมือนแอปพลิเคชันทั่วไป และมี Digital wallet ดังนี้

  • บันทึก private และ public keys ของผู้ใช้สำหรับการตรวจสอบความถูกต้อง

  • โต้ตอบกับบล็อคเชนเพื่อจัดการ cryptographic keys และ blockchain addresses

  • กระตุ้น backend (smart contracts) ให้ดำเนินการ

DApp Backend 

Backend code (smart contracts) ซึ่งทำงานในส่วนเซิร์ฟเวอร์ของแอปพลิเคชันมีลักษณะดังต่อไปนี้

  • ถูกจัดเก็บและดำเนินการบน blockchain

  • เป็น open source

  • ทำหน้าที่เดียวกันโดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมของการดำเนินการ

ตัวอย่าง DApp ที่มีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย

โดย DApp สามารถนำไปพัฒนาเป็นแพลตฟอร์มด้านการเงิน, Social Media, เกม และอื่นๆ  ได้ ไม่ว่าจะเป็น

  1. Uniswap 

Uniswap เป็นแอปพลิเคชันที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยน Cryptocurrency แบบ Decentralized ที่เขียนขึ้นบนเครือข่ายบล็อกเชน Ethereum โดยใช้ Trading Model ที่เรียกว่า Liquidity Protocol ซึ่ง Uniswap เป็น Open Source ที่ทุกคนสามารถคัดลอก Code เพื่อสร้าง Decentralize Exchange ของตัวเองได้ และสามารถควบคุมเงินทุนของตนด้วย Private Key 

  1. Augur

Augur เป็น Prediction Market Platform แบบ Decentralized  ที่เขียนขึ้นบนเครือข่ายบล็อกเชน Ethereum โดย Augur อนุญาตให้ User สร้างการทำนายได้ในหัวข้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ กีฬา หรือกิจกรรมต่างๆ เมื่อ User ทำนายผลได้ถูกต้องจะได้รับรางวัล

  1. BitTorrent

BitTorrent (BTT) เป็นแอปพลิเคชันแชร์ไฟล์แบบ decentralized บนบล็อกเชน TRON BTT อนุญาตให้ผู้ใช้อัปโหลดและดาวน์โหลดไฟล์ระหว่างกันโดยตรง BitTorrent เป็นแอปพลิเคชั่นแชร์ไฟล์ที่ใหญ่ที่สุดในแง่ของจำนวนผู้ใช้ คุณภาพของบริการ และขนาดรวมของไฟล์ทั้งหมดที่จัดเก็บ

  1. EtherTweet

EtherTweet เป็น Platfrom สำหรับเขียน Blog แบบ Decentralized ที่เขียนขึ้นบนเครือข่ายบล็อกเชน Ethereum ลักษณะคล้ายกับ Twitter โดยผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อความได้ 160 อักขระและไม่สามารถลบได้โดยบุคคลอื่นนอกจากผู้เผยแพร่ทวีต อีกทั้งยังสามารถรับ Donation จากผู้ใช้รายอื่นเป็น Cryptocurrency สกุล Ether ได้ เพียงแต่ไม่สามารถกดติดตามผู้ใช้รายอื่นได้

สำหรับ ข้อดี-ข้อเสียของ DApp จากที่ได้ทำการรวบรวมข้อมูลพบว่า มีดังนี้

ข้อดี ของ DApp นั่นคือ มีความเสถียร เนื่องจากฐานข้อมูลไม่ได้เก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์เดียวแต่กระจายเก็บไว้หลายที่ ซึ่งหากเกิดเหตุฉุกเฉินที่เซิฟเวอร์นั้นล่มขึ้นมา DApp ก็ยังสามารถทำงานอยู่ได้ปกติ รวมทั้งมีความน่าเชื่อถือ เพราะข้อมูลต่าง ๆ ภายใน DAppที่บันทึกเข้ารหัสลงใน Blockchain ไม่สามารถเกิดการปลอมแปลงได้ ทำให้มีความน่าเชื่อถือมากกว่า

และไม่สามารถถูกควบคุม หรือแทรกแซงได้ เพราะ DApp ถูกวางกฎและโปรแกรมไว้แล้ว ไม่สามารถเข้าไปปรับเปลี่ยนระบบหรือกฎได้ตามใจชอบ ต่างกับแอปพลิเคชันปกติที่สามารถถูกแทรกแซงได้อย่างง่ายดาย

ทั้งหมดนี้จะส่งผลให้มีประสิทธิภาพทางการเงินมากขึ้น : เนื่องจากสามารถทำงานได้โดยไม่ต้องมีคนกลาง สามารถทำธุรกรรมได้โดยตรงโดยใช้สกุลเงินดิจิทัล รวมทั้งความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ ไม่ต้องระบุตัวตนที่แท้จริงเพื่อสร้างหรือโต้ตอบกับ DApp ข้อมูลผู้ใช้ถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลที่ใช้ร่วมกันซึ่งไม่มีผู้มีอำนาจควบคุม ข้อมูลสามารถถอดรหัสได้โดยผู้ใช้เท่านั้น และหากใช้ DApp ในการสร้างโซเชียลมีเดีย ข้อความที่ถูกโพสต์จะไม่สามารถลบ แก้ไข บล็อก หรือ censor ได้  

ส่วนข้อเสีย นั่นคือ เครือข่าย DApp ปัจจุบันยังไม่สามารถ Scale ได้ โดยประมวลผลได้เพียง 10-15 รายการต่อวินาที หาก DApp หนึ่งใช้ Computational Resource มากเกินไป เครือข่ายทั้งหมดจะแออัด ทำให้ความเร็วในการประมวลผลด้อยกว่า Centralized App

อีกทั้งการอัปเดตแอปพลิเคชันยุ่งยาก โดยเมื่อโค้ด DApp ถูกใช้งานบน Blockchain จะไม่สามารถลบออกหรือจัดการได้  เมื่อมีการอัปเดตซอฟท์แวร์ หรือการแก้ Bug เกิดขึ้นภายใน DApp ทุกๆ Node ในเครือข่ายจำเป็นต้องอัพเดทตาม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากสำหรับนักพัฒนาที่จะอัปเดตหรือแก้ไขจุดบกพร่อง จึงนับว่ามีความท้าทายในการพัฒนา และยากที่จะทำ KYC process เนื่องจากผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องระบุตัวตนจริงเพื่อใช้หรือโต้ตอบกับ DApp การยืนยันตัวตนของลูกค้าจึงเป็นเรื่องที่ท้าทาย

สรุป

ทั้งหมดนี้จึงสามารถสรุปได้ว่า DApp คือการนำ Blockchain มาใช้งานสร้างสรรค์เป็นแอปพลิเคชั่นใหม่ ๆ ขึ้นมาโดยดึงข้อเด่นของ Blockchain และ Smart Contract ในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายบนเครือข่ายและความปลอดภัยมาช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแอปทางการเงินหรือแอปเกมแบบพื้นฐานให้ผู้ใช้งานได้เข้ามาเล่น หรือเป็นแพลตฟอร์มทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการเทรดคริปโตหรือกู้ยืมเงินคริปโตโดยไม่ต้องพึ่งระบบที่ถูกควบคุมจากองค์กรหรือบริษัทใดเพียงบริษัทเดียว 

อ้างอิง  Investopia , ethereum , AIMultiple , Coindesk , kraken , DAPPS CENTRAL , towardsdatascience  

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก LLMs’ Explainability การเข้าใจกลไกสมอง AI หนึ่งใน Tech Trends 2025 ที่จะมาเปลี่ยนโลกเอไอ

เจาะลึกเบื้องหลัง Large Language Models (LLMs) และเทคโนโลยี LLMs’ Explainability ที่ช่วยเปิดเผยกระบวนการทำงานของ AI จากกล่องดำสู่ความโปร่งใส ความก้าวหน้าที่เปลี่ยนโลก AI ในอนาคต!...

Responsive image

รู้จัก AI Product Management สายงานที่ Andrew Ng ชี้มาแรง

สำรวจบทบาท AI Product Management และเหตุผลที่ Andrew Ng ยกให้เป็นตำแหน่งสำคัญในการขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์ AI ตั้งแต่การพัฒนาแนวคิดจนถึงการนำไปใช้งานจริง...

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...