Sinopharm วัคซีนโควิดของรัฐบาลจีน ที่จะใช้ในไทย ประสิทธิภาพเป็นอย่างไร ประเทศไหนใช้แล้วบ้าง ? | Techsauce

Sinopharm วัคซีนโควิดของรัฐบาลจีน ที่จะใช้ในไทย ประสิทธิภาพเป็นอย่างไร ประเทศไหนใช้แล้วบ้าง ?

Sinopharm หนึ่งในแบรนด์วัคซีนโควิด-19 ที่ประเทศไทยมีแผนที่จะนำเข้ามาเป็นวัคซีนทางเลือก เพื่อฉีดให้กับประชาชน ซึ่งเป็นวัคซีนที่ผลิตโดยบริษัทเภสัชภัณฑ์ของรัฐบาลจีน หรือ China National Pharmaceutical Group

sinopharm , covid-19 vaccine

สำหรับวัคซีนที่ผลิตโดย Sinopharm มีชื่อว่า  BBIBP-CorV ผลิตจากเชื้อไวรัสที่ตายแล้ว ซึ่งเป็นวิธีการผลิตวัคซีนแบบดั้งเดิม โดยใช้ไวรัสโควิด-19 ที่อ่อนแอลงหรือตายแล้วมากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน 

สำหรับข้อดีของวิธีนี้ องค์กรความร่วมมือด้านสาธารณสุขระดับโลกระหว่างรัฐและเอกชน เผยว่าเป็นวัคซีนที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ อีกทั้งผลิตได้ง่ายกว่าวิธีอื่น แต่ก็ยังมีความท้าทายตรงที่จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพวัคซีนอย่างสม่ำเสมอให้ทันต่อการกลายพันธุ์ไวรัสนั่นเอง 

ปัจจุบันมีการใช้ในประเทศจีน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ปากีสถาน และฮังการี

Sinopharm กับประสิทธิภาพป้องกันโควิด-19

SARS-CoV-2 สายพันธุ์ดั้งเดิม : ป้องกันได้ 79.34% (ค่าเฉลี่ยผลทดสอบ ทั้งหมด 10 ประเทศ) ป้องกันได้ 86% (ทดสอบที่สาธารณรัฐอาหรับ อามิเรตส์) ป้องกันการติดเชื้อได้ 93% (งานวิจัยใหม่จากสาธารณรัฐอาหรับ อามิเรตส์)

B.1351 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ : ประสิทธิภาพในการป้องกันลดลง 

B.1.1.7 สายพันธุ์อังกฤษ : ประสิทธิภาพการป้องกันค่อนข้างดี 

P.1 สายพันธุ์บราซิล : ป้องประสิทธิภาพการป้องกันค่อนข้างดี 

ส่วนผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้น บริเวณที่ฉีด ผู้ที่ได้รับวัคซีนจะมีอาการปวด, บวม, เกิดรอยแดง ส่วนอาการอื่น ๆหลังฉีดจะปวดศีรษะ และมีไข้ร่วมด้วย

สำหรับราคาเฉลี่ยต่อ Dose ข้อมูลราคาปรากฎเพียงแค่รัฐบาลฮังการีตกลงจ่ายให้ sinopharm อยู่ที่ 36 ดอลลาร์สหรัฐ ( ประมาณ 1,123 บาท) 

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง รวมข้อมูล 7 วัคซีน COVID-19 ฉบับละเอียดที่ควรรู้ วิธีผลิต -ประสิทธิภาพ-ผลข้างเคียง-ราคาที่ต้องจ่าย

mRNA คืออะไร ต่างจากการผลิตวัคซีนโควิดวิธีอื่นอย่างไร สรุปไว้ในโพสต์เดียว


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...