mRNA คืออะไร ต่างจากการผลิตวัคซีนโควิดวิธีอื่นอย่างไร สรุปไว้ในโพสต์เดียว | Techsauce

mRNA คืออะไร ต่างจากการผลิตวัคซีนโควิดวิธีอื่นอย่างไร สรุปไว้ในโพสต์เดียว

ก่อนหน้านี้ Techsauce ได้มีการรวบรวมข้อมูลวัคซีน COVID-19 กว่า 7 บริษัทจากทั่วโลก เพื่อแสดงให้เห็นถึงวิธีการผลิต ประสิทธิภาพการป้องกันกับไวรัสดั้งเดิม และไวรัสกลายพันธุ์ชนิดต่าง ๆ รวมถึงผลข้างเคียงหลังจากที่ได้รับวัคซีน (ติดตามที่นี่) กันไปแล้ว ซึ่งปัจจุบันด้วยการกระจายวัคซีนทั่วโลก หลายประเทศได้มีการยอมรับว่าวัคซีนที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี mRNA นั้นมีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัส COVID-19 ได้มากที่สุด ซึ่งมีผู้ผลิต 2 เจ้า คือ Pfizer-BioNTech และ Moderna ซึ่งส่งผลให้ความต้องการจากทั่วโลกนั้นล้นหลามมาก ในบทความนี้ได้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับ mRNA และเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างกับการผลิตวัคซีนด้วยวิธีอื่น ๆ ด้วย

mRNA

ผลิตด้วยเทคโนโลยี mRNA

   วัคซีนที่ใช้ : Pfizer-BioNTech, Moderna

    ลักษณะและการทำงานวัคซีน : วัคซีนประเภท mRNA จะประกอบไปด้วยสารพันธุกรรมที่เรียกว่า mRNA  เมื่อฉีดวัคซีนเข้าสู่ร่างกาย สาร mRNA จะสั่งการให้เซลล์ร่างกายผลิตหนามโปรตีนที่ใกล้เคียงกับไวรัสขึ้นมาเอง เมื่อผลิตโปรตีนขึ้นมาแล้ว เซลล์ในร่างกายจะผลิตแอนติเจน ระบบภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อโปรตีนนี้คือสิ่งแปลกปลอม จากนั้นแอนติเจนก็จะผลิตแอนติบอดีเพื่อกำจัดหนามโปรตีนดังกล่าวออกไป เมื่อไวรัสโควิด-19 ของจริง เข้าร่างกายร่างกายจะจดจำเชื้อได้และสามารถจัดการได้ในทันที 

    ข้อดี : ผลวิจัยจากมูลนิธิเพื่อการทำงานของประชากรและสุขภาพของประชากร (PHG) ในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เผยว่าวัคซีน mRNA มีความปลอดภัยสูง เพราะไม่มีเชื้อไวรัสที่มีชีวิตหลงเหลือ ไม่เกิดความเสี่ยงต่อร่างกาย เชื่อถือได้ และผลิตได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย

   จุดท้าทาย: อาจมีผลข้างเคียง  และต้องเก็บรักษาอย่างดีเพื่อคงประสิทธิภาพวัคซีน

ผลิตจากเชื้อไวรัสที่ตายแล้ว

    วัคซีนที่ใช้: Sinopharm, Sinovac

    ลักษณะและการทำงานของวัคซีน : ใช้ไวรัสโควิด-19 ที่อ่อนแอลงหรือตายแล้วมากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน 

    ข้อดี : GAVI (Global Alliance for Vaccine and Immunization) องค์กรความร่วมมือด้านสาธารณสุขระดับโลกระหว่างรัฐและเอกชน เผยว่าเป็นวัคซีนที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ อีกทั้งผลิตได้ง่ายกว่าวิธีอื่น 

    จุดท้าทาย : ควรปรับปรุงประสิทธิภาพวัคซีนอย่างสม่ำเสมอให้ทันต่อการกลายพันธุ์ไวรัส

ผลิตโดยเวกเตอร์ไวรัส

    วัคซีนที่ใช้ : Oxford-AstraZeneca, Sputnik V

    การทำงานวัคซีน: นำเชื้อไวรัสที่อ่อนแอมามาตัดต่อพันธุกรรมหนามโปรตีนไวรัสโควิด-19 จากนั้นนำมาฉีดเข้าร่างกาย เพื่อกระตุ้นในระบบภูมิคุ้มกันจดจำรหัสพันธุกรรมไวรัสโควิด-19 และกำจัดไวรัสได้ในที่สุด

    ข้อดี: วิธีนี้เป็นที่รู้จักกันดีว่าสามารถกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดเล็กชนิด B ที่สร้างเซลล์แอนติบอดี้เพื่อต่อสู้กับไวรัส และ T ที่ผลิตภูมิคุ้มกันที่กำจัดเชื้อไวรัสออกจากเซลล์มนุษย์ 

    จุดท้าทาย: ประสิทธิภาพต่ำกว่าวิธีอื่น และวิธีการผลิตจะซับซ้อนกว่ารูปแบบอื่น

Protein Subunit Vaccine

    วัคซีนที่ใช้ : Novavax

    ลักษณะและการทำงานของวัคซีน: นำชิ้นส่วนหนามโปรตีนของไวรัสโควิด-19 ที่ไม่เป็นอันตราย มาฉีดเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันต้านไวรัส

    ข้อดี: เป็นวัคซีนที่ได้รับการยอมรับในวงการเทคโนโลยีการแพทย์มาแล้ว ซึ่งเคยใช้ในการผลิตวัคซีนต้านไวรัสตับอักเสบบี ไข้กาฬหลังแอ่น โรคติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus Pneumoniae และเชื้องูสวัด

    จุดท้าทาย: ขั้นตอนการผลิตซับซ้อนกว่าวิธีอื่น และต้องปรับปรุงการพัฒนาวัคซีนให้ทันต่อการแพร่กระจายไวรัส

บทความที่คุณอาจสนใจ

DeFi 101 เริ่มต้นเรียนรู้โลก DeFi ฉบับมือใหม่ โอกาสทางการเงินแห่งอนาคต

รู้จักกับ Unicorn ในวงการสตาร์ทอัพ พร้อมทิศทางการเกิด Unicorn ในไทย


รวบรวมข้อมูลจาก

https://www.healthcareitnews.com/news/emea/four-types-covid-19-vaccine-snapshot

https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/different-vaccines/mRNA.html


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เปิดกลยุทธ์ธุรกิจยุคใหม่ พลิกข้อมูล สู่ขุมทรัพย์ด้วย analyticX ด้วยพลัง Telco Data Insights และ GenAI

ยุคนี้ใคร ๆ ก็พูดถึง Data แต่จะใช้ Data อย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่างหากคือกุญแจสำคัญ! ในสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟ "Unlocking Data-Driven Decisions with Telecom Data Insights" ที่จั...

Responsive image

‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ด้านความยั่งยืน หนุน SMEs เปลี่ยน Vision เป็น Action

บทสัมภาษณ์ คุณอัมพร ทรัพย์จินดาวงศ์ และคุณพณิตตรา เวชชาชีวะ เกี่ยวกับ ‘UOB Sustainability Compass’ เครื่องมือออนไลน์ที่เข้ามาช่วย SMEs เริ่มดำเนินการด้านความยั่งยืนอย่างเข้าใจและไม...

Responsive image

Intel พลาดอะไรไป ? ทำไมถึงต้องเปลี่ยน CEO กะทันหัน ? ถอดบทเรียนราคาแพงจากยุค Pat Gensinger

การ ‘เกษียณ’ อย่างกะทันหันของ Pat Gelsinger อดีตซีอีโอ Intel ในต้นเดือนธันวาคม สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่ววงการเทคโนโลยี หลายฝ่ายมองว่าเป็นการบีบให้ออกจากบอร์ดบริหาร อันเนื่องมาจากผล...