ทำไมจีนถึงขึ้นแท่นผู้นำด้าน AI ของโลก ล้ำหน้ากว่ายุโรปและสหรัฐฯ | Techsauce

ทำไมจีนถึงขึ้นแท่นผู้นำด้าน AI ของโลก ล้ำหน้ากว่ายุโรปและสหรัฐฯ

ในยุคนี้ และหลังจากนี้  AI จะถูกใช้เป็นรากฐานของการพัฒนาธุรกิจหลายแขนง โดยเฉพาะ จีน ที่ช่วงเวลานี้มีการพัฒนาทางด้าน AI ที่ล้ำหน้า เพื่อเข้าสู่ยุคแห่งการใช้เทคโนโลยีอย่างเต็มตัวในทุกภาคส่วน อีกทั้งยังแซงหน้าการพัฒนา AI ของทั้งยุโรปและสหรัฐ ซึ่งในบทความนี้จะพาไปดูกันว่า จีน ประสบความสำเร็จขนาดนี้ได้อย่างไร

AI

ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 5 ปีก่อน สิ่งที่ทำให้จีนหันมาสนใจพัฒนาเทคโนโลยี AI เริ่มมาจากการจัดแข่งขันเกมกระดานโกะ ซึ่งผู้เข้าแข่งขัน AlphaGo ปัญญาประดิษฐ์หนึ่งเดียวในการแข่งขัน พัฒนาโดย Startup นามว่า DeepMind ซึ่งถูกเข้าซื้อโดย Google ในปี 2014 สามารถเอาชนะแชมป์เก่าทั้งสองรายของโลกได้ สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับคนในประเทศเป็นอย่างมาก ส่งผลให้เกิดการพัฒนาต่อ จนปัจจุบัน Kai-Fu Lee นักเขียนชื่อดัง เจ้าของผลงาน AI Superpowers ก็ได้นิยามช่วงเวลาแห่งการพัฒนาที่ล้ำหน้านี้ว่า ‘Sputnik Moment’ ให้กับจีน

จากการศึกษาแบบพลวัตเชิงเปรียบเทียบกับระบบนิเวศการดำเนินการทาง AI ในสหรัฐฯ จีน และยุโรป เชื่อกันว่า ระบบนิเวศการดำเนินการมักถูกกำหนดโดยสภาพแวดล้อมระดับชาติ ซึ่งก็จะมีความแตกต่างกันในแง่ของเงื่อนไขทางวิชาการ การค้า การเมือง กฎระเบียบ และวัฒนธรรม 

แต่หัวใจสำคัญของการพัฒนาและการก่อตัวของระบบนิเวศเทคโนโลยี ได้แก่ การตอบสนองของภาคส่วนรัฐบาล สถาบัน และองค์กรต่างๆในการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทั้งประเทศร่วมกันมองว่าเทคโนโลยีคือ ความสำคัญเชิงกลยุทธ์ โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการพัฒนาระบบนิเวศ AI สรุปออกมาได้ 3 ประการประกอบด้วย

  • การส่งเสริมความสามารถในท้องถิ่นเพื่อเป็นการวางรากฐานสู่ความสำเร็จ 

ในประเด็นนี้มหาวิทยาลัยในจีนได้มีการดำเนินนโยบายในการก่อตั้งแผนกวิจัย AI และเพิ่มหลักสูตรระดับปริญญาตรีและปริญญาโทที่เกี่ยวข้องกับ AI จาก 64 หลักสูตรในปี 2016 เพิ่มเป็น 392 หลักสูตรในปี 2017 และเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดกว่า 14 เท่าเป็น 902 หลักสูตรในปี 2018 

โดยในปี 2017 พบว่า มีการร่วมลงทุนในธุรกิจของจีนที่เกี่ยวข้องกับ AI คิดเป็น 48% ของการลงทุนทั่วโลก แซงหน้าบริษัทในสหรัฐฯเป็นครั้งแรก และในปี 2020 จีนได้มีการยื่นสิทธิบัตรด้าน AI มากกว่าทุกประเทศในโลก พร้อมทั้งมีบริษัท Startup ที่มีการใช้ AI ในประเทศพุ่งทะลุ 1,100 ราย นับเป็นอันดับสองรองจากจำนวน Startup ในสหรัฐฯ 

และที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดจีนได้รับการสนับสนุนระบบนิเวศทางเทคโนโลยีจากรัฐบาล รวมทั้งจากองค์กรและมหาวิทยาลัยต่างๆ ก็คือแรงผลักดันที่ได้เริ่มต้นการพัฒนาเทคโนโลยี AI ที่แท้จริง

  • การสร้างความไว้วางใจในสังคมก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากในการใช้งานเทคโนโลยี AI 

จากการสำรวจของ MIT-BCG ในปี 2020 พบว่า ผู้บริโภคในจีนมีความมั่นใจในเทคโนโลยี AI รวมทั้งมีความอดทนกับการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้มากกว่าทางด้านสหรัฐฯและยุโรป โดยระบุว่า 86% ของผู้ใช้ในจีนไว้วางใจในการตัดสินใจของระบบ AI 

ในขณะที่ในสหรัฐฯมีเพียง 39% และยุโรป 45% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากทัศนคติที่แตกต่างทางด้านวัฒนธรรมและการเมืองที่มีต่อข้อมูลและความเป็นส่วนตัว

นอกจากนี้ ผู้ใช้ในจีนยังเลือกที่จะผลักดันการใช้เทคโนโลยี AI พร้อมทั้งมีอิทธิพลต่อประเภทของแอพพลิเคชั่นที่บริษัทต่างๆจะพัฒนา ในสัดส่วน 87% และ 89% ตามลำดับ ด้วยความที่ผู้ใช้และซัพพลายเออร์ต้องการข้อเสนอที่มีการขับเคลื่อนด้วย AI ทางด้านสหรัฐฯ พบว่ามีสัดส่วน 61% และ 72% ตามลำดับ และยุโรปมีสัดส่วน 63% และ 69% 

  • การสร้างระบบ AI ในจีนแตกต่างจากภูมิภาคอื่นด้วยเหตุผลสำคัญหลายด้าน 

รัฐบาลจีนได้สนับสนุนให้ยักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัลของจีนสร้างห้องสมุด AI, AI Platform และ AI Framework ที่จะกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือกับผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมมากขึ้น และยังทำให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึง AI ในต้นทุนที่ต่ำ ซึ่งจะทำให้ระบบนิเวศของทุกธุรกิจสามารถพัฒนาชุดส่วนประกอบในสัดส่วนที่เท่าเทียมกัน และเพื่อให้มั่นใจว่ายักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัลได้รับส่วนแบ่งของมูลค่าจาก AI ได้มากขึ้น 

ซึ่งแตกต่างกับวิธีการของบริษัทในแถบฝั่งตะวันตก ที่มองว่าแหล่งข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้มีไว้สำหรับการวิจัยในขั้นต้น แต่ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจ ซึ่งหมายความว่ามันถูกออกแบบมาเพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้จำนวนมากขึ้น โดยทำให้เข้าถึงผู้ใช้ที่ไม่ได้ผ่านการรับรองเหมือนอย่างผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลจาก Silicon Valley เข้าถึงได้มากขึ้น กล่าวคือ ในจีนมีข้อจำกัดในการให้ผู้ใช้ได้ใช้บริการแบบ Freemium 

เช่นใน Paddle-paddle ของ Baidu, PAI ของ Alibaba และ TI ของ Tencent คือ ไม่ได้มีการแจกเครื่องมือ AI เหมือนอย่างสหรัฐฯ แต่จะเป็นการใช้ในทางธุรกิจมากกว่า ด้วยเหตุนี้ บริษัทจีนเกือบหนึ่งในสามจึงได้ประกาศถึงผลประโยชน์ทางธุรกิจที่มาจาก AI ในขณะที่สหรัฐฯมีเพียงแค่ 13% ตามการศึกษาของ BCG-MIT ครั้งล่าสุด

AI ภาพจาก Pexels

อย่างไรก็ตามเพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติ รัฐบาลจีนได้คัดเลือกบริษัทที่จะเป็นผู้นำแห่งเทคโนโลยี AI ในแต่ละด้าน โดยเลือกบริษัทเทคโนโลยีของจีนให้เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมคอมพิวเตอร์ ดังนี้

  • Tencent สำหรับภาพทางการแพทย์
  •  Baidu สำหรับการขับขี่อัตโนมัติ
  •  Alibaba สำหรับ Smart City
  • Sense Time สำหรับนวัตกรรมการจดจำใบหน้า 
  • iFlytek สำหรับความฉลาดทางเสียง 

ในปี 2019 รัฐบาลจีนได้สร้าง ‘หน่วย AI เฉพาะกิจ’ ภายใต้การดำเนินงานของ 15 บริษัท โดยขอความร่วมมือกับผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมในด้านข้อมูล อัลกอริทึม โมเดล การวิจัยเชิงทฤษฎี และแอพพลิเคชั่น เพื่อเพิ่มจำนวนผู้นำ AI ในด้านต่างๆ พร้อมทั้งรักษาการดำเนินการของผู้นำในแต่ละส่วน และเพื่อสร้างผลกระทบโดยเป็นแรงกระตุ้นในเชิงบวก จึงเห็นได้ว่า บริษัท AI ในจีนกำลังเตรียมระบบนิเวศร่วมกับผู้บุกเบิกอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในอนาคต พร้อมสำหรับข้อมูลใหม่ๆ และยังได้ผลตอบแทนเป็นการเข้าถึงระบบ AI ได้มากขึ้นในทุกๆ ภาคส่วน 

ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้จะเห็นได้ว่า ยักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัลและ Startup ในสหรัฐฯกำลังกลายเป็นอุตสาหกรรมที่ปรับใช้เทคโนโลยี AI ได้ไม่เร็วพอ ในขณะที่ผู้บุกเบิกในยุโรปกำลังสร้างตัวเองใหม่เพื่อเดินหน้าขับเคลื่อน AI โดยสร้างระบบนิเวศร่วมกับพันธมิตรดิจิทัลเพื่อสร้างระบบการแบ่งแยกด้วย AI และพันธมิตรใหม่ๆที่โดดเด่น ซึ่งพบว่ามีเพียงประเทศจีนเท่านั้นที่ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาครัฐ โดยมีการจัดการระบบนิเวศ AI และทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้ริเริ่มเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล 

ด้วยเหตุนี้ ระบบนิเวศที่เอื้อของประเทศจีนจึงทำให้บริษัทต่างๆไล่ตามคู่แข่งระดับโลกได้ และยังช่วยให้มั่นใจได้ว่า....ธุรกิจในประเทศจีนจะก้าวไปข้างหน้าในโลกที่ขับเคลื่อนด้วย AI ด้วยข้อมูลและแอปพลิเคชันที่จะเป็นตัวแทนของพรมแดนทางนวัตกรรม ที่เหนือกว่าทฤษฎีและการวิจัย

อ้างอิง Flia.org , Fortune


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

KBTG เผย ‘Horizontal Core Banking’ บิ๊กโปรเจกต์ขยายระบบหลังบ้าน KBank รองรับการเติบโตได้ถึงปี 2031

เจาะอินไซด์การขยายระบบหลักของธนาคารกสิกรไทย เพื่อรองรับการเติบโตของลูกค้ายาวถึงปี 2031 ใน ‘Core Banking Horizontal Scale Project’ โดยทีม KBTG และทีม KBank รวมแล้วพันคน มาร่วมแรงร่ว...

Responsive image

DeepSeek และ Qwen: เมื่อ AI ราคาถูกเปลี่ยนโฉมโลก

DeepSeek และ Qwen จาก Alibaba กำลังเปลี่ยนแปลงวงการ AI ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง ส่งผลต่อเศรษฐกิจ ธุรกิจ และระบบนิเวศ AI ทั่วโลก สุภาวดี ตันติยานนท์ วิเคราะห์ผลกระทบและแนวทางที่ประเทศไทยค...

Responsive image

ทำไม Deepseek อาจยังไม่ใช่การก้าวกระโดดของเทคโนโลยี ฟังความเห็น ดร.พัทน์ แห่ง MIT Media Lab

DeepSeek R1 คือ AI จากจีนที่ถูกมองว่าอาจท้าทาย ChatGPT-O1 ของ OpenAI แต่ ดร. พัทน์ ภัทรนุธาพร วิเคราะห์ว่า DeepSeek อาจยังไม่ใช่ "breakthrough" ที่แท้จริง...