รู้จัก ยิบอินซอย บริษัทอายุเกือบ 100 ปีที่เตรียมเข้าซื้อ Robinhood

‘ยิบอินซอย (Yip In Tsoi)’ ชื่อที่อาจจะฟังดูไม่คุ้นหูสำหรับคนรุ่นใหม่ แต่เมื่อเร็วๆ นี้ กลับกลายเป็นที่พูดถึงมากขึ้นในโลกโซเชียล เมื่อชื่อนี้โผล่ในลิสต์บริษัทที่กำลังเข้าซื้อ Robinhood แพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรีจาก SCBx  

เชื่อว่าหลายคนอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นบริษัทน้องใหม่ที่เพิ่งก้าวเข้าสู่วงการ แต่ความจริงแล้ว ยิบอินซอย มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน และเป็นหนึ่งในบริษัทที่อยู่คู่กับวงการธุรกิจไทยมาเกือบ 100 ปี บทความนี้ Techsauce จึงอยากพาไปทำความรู้จักกับว่าที่เจ้าของใหม่ Robinhood เขาเป็นใครมาจากไหน และทำธุรกิจอะไรอยู่ !

ยิบอินซอย คือใคร ?

ชื่อบริษัทที่ฟังดูแปลกหูอย่าง ยิบอินซอย นั้น มาจากชื่อของผู้ก่อตั้งบริษัท ซึ่งเป็นนักธุรกิจชาวจีนที่เติบโตมาในครอบครัวที่ทำการค้า ครอบครัวยิบอินซอยเริ่มขยายโอกาสธุรกิจของตนจากจีนเข้ามายังภาคใต้ของไทยในช่วงที่อุตสาหกรรมเหมืองแร่และแร่ธาตุกำลังเป็นที่นิยม

จุดเริ่มต้นของเรื่องราวนี้เกิดขึ้นในปี 1926 เมื่อ Yip In Tsoi & Co ถูกก่อตั้งที่หาดใหญ่ ประเทศไทย โดยเริ่มต้นจากธุรกิจอุตสาหกรรมเหมืองแร่ดีบุกที่กำลังเป็นที่นิยม ต่อมาในปี 1930 ยิบอินซอยและหุ้นส่วนได้จดทะเบียนบริษัทด้วยทุน 150,000 บาท และเปลี่ยนชื่อเป็น Yip In Tsoi & Company Limited ก่อนจะย้ายสำนักงานมายังกรุงเทพฯ

ในช่วง 8 ปีหลังจากนั้น บริษัทได้เปลี่ยนทิศทางมาเป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์ระดับโลกเป็นเจ้าแรกของไทย อาทิ น้ำมัน Texaco, รถบรรทุก Isuzu และผลิตภัณฑ์จาก 3M พร้อมขยายธุรกิจไปยังประกันภัย และปุ๋ยเคมีคุณภาพสูงจากประเทศเยอรมนี ภายใต้เครื่องหมายการค้า “ตราใบไม้” จนถึงปี 1954 ยิบอินซอยก้าวเข้าสู่โลกเทคโนโลยีในฐานะตัวแทนจำหน่ายเครื่องคิดเลขสำนักงาน

เมื่อถึงปี 1963 คุณธวัช ยิบอินซอย ลูกชายรุ่นที่ 2 เข้ามาสานต่อธุรกิจ โดยมุ่งเน้นในด้านเทคโนโลยี เขานำเข้าคอมพิวเตอร์ Burroughs และพัฒนาเวอร์ชันที่สามารถพิมพ์ภาษาไทยได้ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ บริษัทเติบโตอย่างรวดเร็วจากการติดตั้งคอมพิวเตอร์หลักให้กับลูกค้าสำคัญ เช่น ธนาคารกสิกรไทยและหน่วยงานรัฐบาล

ในปี 1997 ท่ามกลางวิกฤตการเงินเอเชีย รุ่นที่ 3 ของครอบครัวได้เข้ามาบริหารงาน โดยมีคุณมรกต ยิบอินซอยและคุณสุภัค ลายเลิศนำทีม ผ่านการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้ และสร้างความร่วมมือกับบริษัทระดับโลก เพื่อขยายธุรกิจเข้าสู่วงการการเงิน ธนาคาร และอุตสาหกรรมอื่นๆ 

ปัจจุบัน ยิบอินซอยเติบโตเป็นองค์กรใหญ่มีพนักงานถึง 1,900 คน และมีบริษัทในเครือถึง 9 แห่ง ครอบคลุม 4 ธุรกิจหลัก ได้แก่ IT Digital Solutions, High Technology, Trading & Manufacturing, Insurance Broker โดยมีศูนย์บริการกว่า 32 แห่งทั่วประเทศไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในปีนี้ 2567 บริษัทตั้งเป้าหมายเน้นการให้บริการกลุ่มลูกค้าธุรกิจการเงินและการธนาคาร โทรคมนาคม พลังงาน, สุขภาพ (Healthcare) และองค์กรขนาดใหญ่ทั้งภาครัฐและเอกชน ด้วยการคัดสรรเทคโนโลยีจากพันธมิตรชั้นนำระดับโลกต่างๆ เช่น HPE,  AWS, Google, NetApp, Trend Micro ให้กับลูกค้า อาทิ

  • Cloud and Infrastructure Modernization 
  • Cyber Security 
  • Digital Business Solutions 
  • Data & Analytic Solutions 
  • Financial & Banking Services 

และในอนาคตจะมีธุรกิจด้าน Clean Energy & Smart Agri-Tech Solutions และ Nano Bio Technology มาเสริมทัพอีกด้วย

ผ่างบการเงินที่ผ่านมาของ ‘ยิบอินซอย’

ปี 2562

  • รายได้หลัก: 4.2 พันล้านบาท (4,295,633,870)
  • รายได้รวม: 4.3 พันล้านบาท (4,376,636,014)
  • กำไร(ขาดทุน) สุทธิ: 30 ล้านบาท (30,299,463)

ปี 2563

  • รายได้หลัก: 4.8 พันล้านบาท (4,836,664,900)
  • รายได้รวม: 4.8 พันล้านบาท (4,885,331,715)
  • กำไร(ขาดทุน) สุทธิ: 148 ล้านบาท (148,298,106)

ปี 2564

  • รายได้หลัก: 4.9 พันล้านบาท (4,925,865,880)
  • รายได้รวม: 5 พันล้านบาท (5,012,350,463)
  • กำไร(ขาดทุน) สุทธิ: 166 ล้านบาท (166,339,422)

ปี 2565

  • รายได้หลัก: 5 พันล้านบาท (5,001,704,279)
  • รายได้รวม: 5 พันล้านบาท (5,107,425,978)
  • กำไร(ขาดทุน) สุทธิ: 11 ล้านบาท (11,999,302)

ปี 2566

  • รายได้หลัก: 5 พันล้านบาท (5,836,595,888)
  • รายได้รวม: 5 พันล้านบาท (5,963,583,905)
  • กำไร(ขาดทุน) สุทธิ: 129 ล้านบาท (129,211,079)

การเข้าซื้อกิจการ Robinhood โดยยิบอินซอยถือเป็นก้าวสำคัญในแผนการขยายธุรกิจของบริษัท โดยเฉพาะในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลและแพลตฟอร์มออนไลน์มีบทบาทสำคัญต่อธุรกิจ ยิบอินซอยที่เคยเป็นผู้นำในการนำเข้าผลิตภัณฑ์ระดับโลก เช่น Texaco และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในไทย กำลังเตรียมพร้อมก้าวสู่ความสำเร็จครั้งใหม่ ด้วยการลงทุนในอุตสาหกรรมฟู้ดเดลิเวอรีที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

อนาคตของ Robinhood ภายใต้การดูแลของยิบอินซอย คาดว่าจะเต็มไปด้วยโอกาสใหม่ ๆ และการพัฒนาเทคโนโลยีที่น่าติดตาม

อ้างอิง: yipintsoi, datawarehouse

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Noland Arbaugh มนุษย์คนแรกที่ควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วยความคิดผ่าน Neuralink

Noland Arbaugh วัย 30 ปี เป็นผู้ป่วยรายแรกของ Neuralink ได้ออกมาเล่าถึงประสบการณ์หลังการฝังชิปลงสมองในพอดแคสต์ของ Joe Rogan พอดแคสเตอร์ผู้โด่งดังในสหรัฐฯ...

Responsive image

ปฐมา จันทรักษ์ ฝาก 5 ข้อถึงผู้หญิง สู่ตำแหน่ง 'ผู้นำ' ในงาน EmpowerHer Asia LEADERSHIP FORUM 2025

สรุปจากที่คุณปฐมา จันทรักษ์ Country Managing Director, Accenture Thailand กล่าวในงาน 'EmpowerHER ASIA LEADERSHIP FORUM 2025, BRIDGING THE LEADERSHIP GAP IN TECH' เวทีสนับสนุนและส่ง...

Responsive image

คมความคิดของผู้หญิงสายเทค และความท้าทายที่ต้องเผชิญ จากงาน SCBX Tech Horizon EP15

สรุปแนวคิดผู้นำที่เป็นผู้บริหารหญิงจากงาน SCBX Tech Horizon EP15 ช่วง Panel Session : Breaking Barriers & Leading the Future เวทีที่เจาะลึกความท้าทายของผู้หญิงในบทบาทการบริหารกลยุท...