คุยกับ ZipEvent ทีมพัฒนาแอปรวมงาน Event ที่น่าสนใจของไทยกับก้าวต่อไปในปี 2558 - Techsauce

คุยกับ ZipEvent ทีมพัฒนาแอปรวมงาน Event ที่น่าสนใจของไทยกับก้าวต่อไปในปี 2558

IMG_0671

ท่ามกลางงาน Event ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในแต่ละเดือน มีให้ได้ติดตามมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งปกติเราจะรับรู้และติดตามได้จากผู้จัดงานเอง หรือเป็นการ PR บอกต่อๆ กันไป ซึ่งบางครั้งกว่าเราจะรู้งานก็จัดไปแล้วเรียบร้อย แต่ในตอนนี้มีผู้ช่วยที่จะช่วยให้การติดตามงาน Event ต่างๆ สามารถทำได้ง่ายขึ้นผ่านสมาร์ทโฟน โดยวันนี้เราจะคุยกับทีม ZipEvent กัน (เพิ่งจะเป็น Winner ในงาน Start it up Conference 2015 มาสดๆ ร้อนๆ)

จุดเริ่มต้นของ ZipEvent คือ ทีมของเราไปสมัคร AIS The Startup 2013 (รุ่นเดียวกับ noonswoon)

ตอนนั้นเราทำในนาม Venue เข้ารอบ 20 ทีมสุดท้าย แต่ไม่ได้เข้ารอบ 5 ทีมสุดท้าย

และช่วงนั้นเราได้ไปเดินงาน Expo บ่อยๆ เราเห็นช่องทางที่จะเข้าไปปรับปรุงได้พอสมควร ตั้งแต่ตอนลงทะเบียน ไปกี่ทีก็ต้องกรอกข้อมูลลงกระดาษเหมือนเดิม ไปกี่ปีก็ทำเหมือนเดิม เดินไปรอบงานก็ได้โบรชัวร์ ได้มาแล้วก็ทิ้งไป เลยมีความรู้สึกว่ามันเป็นกระบวนการที่เสียทั้งเวลาและทรัพยากรมากๆ 10 ปีที่แล้วเป็นอย่างไร ณ เวลานี้ก็เป็นอย่างเดิม แม้จะเริ่มมีระบบลงทะเบียนมาช่วยบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่ตอบความต้องการเท่าไหร่

อีกอย่างก็คือ ช่วงที่เราเข้า Startup ใหม่ๆ เราก็ไม่รู้ว่ามี Event ไหนบ้าง เราก็ต้องอาศัยตามอ่านข่าวจากเว็บนั้นเว็บนี้ตลอดเวลา และความต้องการของแต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน อย่างเราสนใจ IT เราก็อยากรู้ว่ามีงานประเภทไหนบ้าง บางคนไม่สนใจเรื่อง IT เน้นของกิน เขาก็อยากจะได้เช่นกัน หรือห้างใกล้ๆ บ้านเรามี Event อะไรที่จัดอยู่บ้าง เพราะมันไม่มีสิ่งที่จะทำให้เรารู้ได้ เลยเป็นที่มาในการทำ ZipEvent ขึ้นมา

หลังจากทำไปสักพัก ก็เจอปัญหาที่ต้องตอบตัวเองให้ได้

ประมาณ 3-4 เดือนหลังจากเราเริ่มทำ ด้วยไอเดียที่ยังไม่ Solid นัก ความไม่พร้อมหลายๆ อย่าง เวลาไปคุยกับลูกค้าก็คุยแล้วไม่เข้าใจกัน บางทีก็ผิดกลุ่ม เลยตั้งคำถามขึ้นมาว่า สิ่งที่เราทำอยู่มันจะ Work ไหม รวมทั้งมีจังหวะนึงที่เราจะเก็บเงินผู้ใช้งานด้วย เลยตัดสินใจพัก ZipEvent ไปก่อนไปทำ Startup อีกตัวชื่อ WonderMe (เป็น Job Matching สำหรับเด็กในมหาวิทยาลัย เน้น Cultural Fit, Personality Fit ) ทุกวันนี้ก็ยังอยู่แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรมันมากแล้ว

ตอนนี้รายได้มาจากงาน Expo เป็นหลัก, เริ่มมีส่วนของการขายตั๋วให้งานสัมมนาเข้ามาบ้างแล้วเหมือนกัน, ส่วนงานเชิง Lifestyle จะเป็นการดีลในเชิงของ Partnership เป็นส่วนใหญ่ ส่วนการ Raise Fund ยัง มีการคุยกับ VC ไว้บ้างเหมือนกัน แต่ก็ยังไม่ถึงระดับที่จะหาเงินทุนจริงๆ จังๆ ส่วน นอกจากเรื่องเงินแล้ว เราอยากได้ VC ที่จะเอา Connection ที่จะสามารถเบิกทางเราเข้าไปสู่ผู้จัดงานใหญ่ๆ ภายในประเทศ และช่วยให้เราสามารถ Scale ต่างประเทศได้

คู่แข่งในต่างประเทศ เรามีการแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ Event Board ที่รวมหน้างาน Event, Ticketing Platform ระบบขายตั๋ว และ Branded App ที่เป็น White Label ทำขึ้นมาเฉพาะงานนั้นๆ ซึ่งตัว ZipEvent เองไม่ได้มีคู่แข่งที่ชนตรงๆ สักเจ้า จะเป็นการชนในส่วนใดส่วนหนึ่งของแอปเท่านั้น โดยมองว่าเราจะทำตัวเป็น Total Solution ของทั้งหมดมาอยู่ในแอปของเรา โดยเรามีจุดยืนว่า ZipEvent จะตอบโจทย์ทั้งผู้เข้าร่วมงาน, ผู้จัดงาน และผู้ออกบูธในงานด้วย

เรามองว่าการที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถหา Event เข้าร่วมงานได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้าง Engage ให้มาใช้งานแอปและอยากจะใช้ของเรา โดยเรามองว่าจุดนี้เป็นจุดที่สำคัญสำหรับเรามากๆ เพราะหลายแพล็ตฟอร์มเน้นเฉพาะตัวผู้จัดงานเพียงอย่างเดียว เช่น Eventbrite คนเข้าไปใช้ก็เพราะอยากจะ Engage กับผู้จัดงาน แต่สิ่งที่เราอยากทำคือ อยากให้ผู้ใช้งานสามารถ Engage กับแพล็ตฟอร์มได้ด้วย

ข้อได้เปรียบของ ZipEvent เพราะเราทำเรื่อง Event อยู่แล้ว

cover-sm

ปกติ Startup จะหา User ผ่าน Event แต่ของเราเป็นงานด้าน Event อยู่แล้วเราก็สามารถเข้าไปหากลุ่มที่คนที่เขาเข้ามาร่วมงานจริงๆ ได้โดยตรงแล้วเราก็ดึงมาเป็น User เราได้ แต่ถ้าถามว่าจะมีการวิเคราะห์พฤติกรรมการค้นหา การดูงานบ้างไหม

ฐานผู้ใช้งานในตอนนี้อยู่ที่ 22,000 ราย Monthly Active Users อยู่ที่ประมาณ 7,500 ราย

อุปสรรคที่เจอก็คือการไป Deal กับรายใหญ่ๆ ด้วยตัวเองโดยตรงไม่ได้

สิ่งที่เราเจอเมื่อต้องเข้าไป deal กับรายใหญ่ๆ คือ เราไปคุยกับคนที่ไม่ใช่เป็นคนเคาะหรือตัดสินใจขั้นสุดท้าย สุดท้ายคุยกันทุกอย่างโอเคแล้ว ก็ไม่ได้อะไรขึ้นมาเพราะเรื่องไปไม่ถึง

ทีมที่ใหญ่ขึ้น?

จากซ้ายไปขวา บน ทรี-ทวีเกียรติ กิตติญาณปัญญา, โบ้ต-กิตติ์โภคิน อังศุธรนิธิวิกุล , ล่าง ขวัญ-ณฐพงศ์ ทองคำคูณ, ณิชา ชินสิริกุล, แบงค์-สิทธินันท์ พลวิสุทธิ์ศักดิ์ , เจ-ภาโรจน์ เด่นสกุล

ทีมเราตอนนี้เป็นเด็กวิศวะซะ 5 คน สถาปัตย์ 1 คน แต่ แบงค์กับเจจะเป็นวิศวะที่ไม่ใช่สายวิศวะแบบตรงๆ ส่วนคนในทีมจะเป็น Logical มากกว่าซึ่งก็เข้าข่ายในทีม Programming ไป

แต่หากถามว่าจะขยายขนาดไหน เอาจริงๆ แล้ว เราอยากจะ Keep Size ขนาดนี้เอาไว้ เพราะเราไม่ได้เองอยากจะมีบริษัทแบบใหญ่ๆ โตๆ อย่าง WhatsApp เองเขาก็มีคนแค่ 30-40 คน แต่ด้วยแอปที่เราทำอยู่มันจะเน้นไปในด้านการทำ Content การหาข้อมูลค่อนข้างเยอะ ดังนั้นแล้วหากเราจะเสริมนอกจากด้าน Development แล้วก็คงต้องเป็นด้าน Content เป็นส่วนแรกๆ เพราะเราเน้นว่า นอกจากเราจัดที่ให้ดูว่ามี Event อะไรแล้ว เราก็อยากจะให้มีข้อมูลเกี่ยวกับ Event ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดต่างๆ การรีวิว ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้ผู้ใช้งานเข้ามา Discover ได้ ซึ่งเราก็พยายามที่จะเป็น Media ที่อยากให้คนสนใจงาน Event ได้เข้ามาดูได้ด้วย ซึ่งเราอยากจะให้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายคือ ทางผู้จัดก็จะได้ในแง่การทำ PR ไปด้วย เพราะเท่าที่เราได้คุยมาพบว่า ผู้จัดเจอปัญหา “อยากขายได้ มากกว่าอยากขายง่าย” ส่วนผู้ที่สนใจเขาก็จะเลือกงานมาได้ตรงกับความต้องการกับเขา คนที่จัดก็ได้ลูกค้าตรงกลุ่มตามที่ต้องการด้วย

การทำ Content Marketing คือ Key ในการทำให้ ZipEvent ดีขึ้น มีประโยชน์มากขึ้น ในแง่ของ Conversion มันน่าจะเกิดได้ง่ายขึ้นจากการทำ Content

การขยายสู่ด้านอื่นๆ เพื่อความหลากหลาย

นอกจากสิ่งที่เราทำอยู่นี้ เราก็พยายามเข้าไปสู่งานอื่นๆ เช่น SET in the city การขยายเพื่อรองรับงานด้านอื่นๆ ก็จะช่วยให้เติมเต็มความต้องการของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้นด้วยความหลากหลาย ซึ่งไม่ใช่แค่ Content เฉยๆ แต่เราสามารถทำเป็น Interactive กับผู้ใช้งานผ่าน ZipEvent ได้ เช่น Interactive Indoor Map, Get Promotion, Q&A กับ Speaker เป็นต้น แต่ทุกอย่างก็ต้องค่อยๆ ปล่อยออกเพื่อรอให้ตลาดพร้อมที่จะรับและเราก็เข้าไปได้ทันทีเพราะเรามีแล้ว

Five Fest คืองานที่ประสบความสำเร็จอย่างมากของ ZipEvent

ภาพจากคุณ Purmloveme จากกระทู้ Pantip http://www.pantip.com/topic/34301702

จากคนร่วมงาน Five Fest ทั้งหมดพันกว่าคน มีคนโหลดและใช้ ZipEvent ครึ่งนึง มีคนเข้ามาดู Event ของ Five Fest กว่า 3000 ครั้ง มีคนถามคำถาม Q&A 200 ครั้ง และมีการทำ Questionaire ประมาณ 150 ครั้ง โดยที่เจ้าของงานไม่ได้บอกให้ทำ เป็นการเข้าไปทำเองของผู้ใช้งานและผู้เข้าร่วมงาน ซึ่งผู้จัด (Stock2morrow) ชอบการเก็บข้อมูลนี้มาก

มองปี 2558 ZipEvent จะมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง?

เราจะพยายามขยายให้ครอบคลุมมากขึ้น อย่างตอนนี้เราเริ่มทำ Life Style, Investment, Education หลากหลาย Segment ซึ่งจริงๆ เหตุผลที่ tap in เข้าไปในอีเวนท์หลายรูปแบบ เพราะว่าเราเชื่อว่าคนๆ นึงมีความสนใจใน event มากกว่า 1 อีเวนท์ คนที่ชอบเดินทาง Life Style อาจจะชอบลงทุนด้วยก็เป็นได้ ซึ่งถ้าเราสามารถ serve เขาได้หลายๆ งาน ตามความต้องการของเขา เขาก็จะเปลี่ยนจาก Listener เป็น Fan ของเรา เพราะแต่ละงานเขาก็จะมีการจัดในต่างประเทศด้วยเช่นกัน ซึ่งหากเขาโอเค เราก็น่าจะได้ไปกับเขาด้วย โดยเราตั้งเป้าผู้ใช้งานในระบบของเราในปี 2558 อยู่ที่ 200,000 - 300,000 คน รวมไปถึงเราก็พยายามหาพันธมิตรเรื่อยๆ เพื่อทำให้มันเป็น Awareness มากขึ้น ส่วนเมืองนอกด้วยพันธมิตรที่เรากำลังคุยกันอยู่ก็เป็น Multi-National อยู่แล้ว คิดว่าถ้าเราเอา ZipEvent ไปใช้ในงานของเขาแล้วก็น่าจะเอาไปใช้ในต่างประเทศด้วย ส่วน AEC เราก็เริ่มไปคุยกับผู้จัดงานที่พม่าแล้ว เขาก็สนใจที่จะเอาของเราไปใช้ด้วย โดยทั้งหมดเราจะเข้าไปในแนว Expo ก่อนที่จะขยายไปในส่วนอื่นๆ อย่าง Lifestyle

โดย ZipEvent ก็จะยังคง Focus ที่ไทยอยู่ เราต้องทำให้แข็งแกร่งในนี้ก่อน

ZipEvent มอง Startup ในเมืองไทยตอนนี้เป็นอย่างไร

มองว่าเป็นช่วงเวลาที่ดีมากในการทำ เริ่มช้ากว่านี้อาจจะไม่ได้ ถึงแม้ว่าเราจะมองอนาคตไม่ได้และถือว่าเป็นความเสี่ยง แต่ตอนนี้ทุกอย่างมีพร้อมทุกอย่างแล้ว มี Ecosystem ที่พร้อมจะพาเราไปหาสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

ถ้าจะให้แนะนำคนที่ทำงานบริษัทอยู่ที่สนใจอยากทำ Startup จะแนะนำอย่างไร?

อย่างแรกเลยคือเขาต้องวิเคราะห์ตัวเองก่อน รู้จักตัวเองก่อนว่าเขาเหมาะที่จะทำหรือเปล่า นอกจากวิเคราะห์แล้ว อยากให้เขาไปคุยกับคนที่ทำ Startup จริงๆ อย่างตอนที่เราเริ่ม เราก็ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วมันเป็นอย่างไร แล้วก็ต้องมาลองทำเอง วิธีการเดี๋ยวนี้งานมาก เช่น อาจจะลองไปที่งานอย่าง Startup Weekend เพื่อที่จะได้เรียนรู้ว่าวิถีและการทำงานเป็นอย่างไร เพราะกว่าเราจะตัดสินใจลาออกจากบริษัทมาทำ Startup นี่ใช้เวลาประมาณปีนึงก่อนจะตกลงมาทำ Startup

Next Step ต่อไปของ ZipEvent จะเป็นอะไร ในเมื่อตอนนี้เหมือนเป็น Tank สำหรับงาน Event แล้ว

ตอนนี้ระบบของ ZipEvent สามารถขายตั๋วได้แล้ว เพราะฉะนั้นเราจะสามารถ serve Organizers ได้ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ กล่าวคือการประชาสัมพันธ์/ขายตั๋ว/ลงทะเบียน (Pre-event), Engagement ภายในงาน (In-Event) และการเก็บ feedback/วิเคราะห์ผล (Post-Event)

คุยกับทีมงาน ZipEvent ที่ออกมาจากงานบริษัทและมาเริ่มงานที่ ZipEvent เป็นที่แรก

นอกจากนี้เรายังได้คุยกับสมาชิกในทีมที่ร่วมงาน ZipEvent ที่มีทั้งแบบเคยทำงานบริษัทมาแล้ว และมาเริ่มทำใน Startup เลยก็มี

เริ่มกันที่คนดูแลด้าน UX/UI คือ น้องณิชา แต่เดิมทำบริษัทเป็น Software House ทำแอป ทำมาได้สักพักเริ่มเบื่อระบบการทำงานของบริษัทที่มีข้อจำกัดเยอะ รวมทั้งเราไม่ได้คุยกับลูกค้าตรงๆ พอทำออกมาก็ไม่ตรงกับความต้องการ บวกกับว่าเจอเจพอดี เลยได้เข้ามาร่วมทีมกัน การเข้ามาทำในบริษัท Startup รู้ว่าจะเป็นประมาณไหนมาบ้างแล้ว เพราะพี่ชายเองก็ทำอยู่ที่ ShopSpot ซึ่งพอได้เข้ามาทำจริงๆ แล้วมันก็สนุกกว่าทำงานบริษัทตามที่คิดเอาไว้ รวมไปถึงว่าเราได้ใช้ทักษะในการทำงานที่ได้เรียนมาหลากหลายมากขึ้นเรื่องการออกแบบ เพราะตอนที่ทำงานบริษัทได้ทำแค่ออกแบบแอปเพียงอย่างเดียว เป็น Startup ต้องทำได้หลากหลาย อีกคนมาแหวกแนวเพราะจบวิศวกรรมนาโน นั่นคือ ขวัญ ซึ่งจริงๆ แล้วเรียนปริญญาโทที่ต่างประเทศด้วย แต่พอได้เรียนจริงๆ แล้วกลับเฉยๆ แต่ด้วยพื้นฐานที่ตัวเองชอบเขียนโปรแกรมอยู่แล้ว ก็เลยอยากลองหางานที่เกี่ยวกับเขียนโปรแกรม พอดีว่าไปดูงาน AIS The Startup ที่ทาง Venue ไปแข่งพอดี สุดท้ายได้คุยกันก็เลยได้มาร่วมงานกันเพราะทีมขาด iOS พอดี

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image
Responsive image

9 ทักษะดิจิทัล ปี 2024 สร้างมูลค่าให้บริษัทด้วย Tech Skills แห่งอนาคต

ทักษะดิจิทัล หรือทักษะด้านเทคโนโลยี (Tech Skills) ถือเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ทีมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ธุรกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด...

Responsive image

AI ล้ำหน้าหรือภัยอนาคต? แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ล่าหรือเหยื่อ | Tech for Biz EP.17

ในยุคที่ AI เติบโตอย่างรวดเร็ว จนมีการคาดการณ์ว่ากว่า 300 ล้านตำแหน่งจะหายไป คำถามคือ คุณจะยืนอยู่ฝ่ายไหนระหว่างเหยื่อที่ถูกแทนที่ หรือนักล่าที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ? แล้วต้องปรับต...