Zoom คิดค้นเทรนด์ Hybrid Workplace สร้างประสบการณ์ทำงานแบบผสม ระหว่าง Work From Home กับ เข้าออฟฟิศ | Techsauce

Zoom คิดค้นเทรนด์ Hybrid Workplace สร้างประสบการณ์ทำงานแบบผสม ระหว่าง Work From Home กับ เข้าออฟฟิศ

ช่วงโควิดนี้ใครที่ Work From Home แล้วคิดถึง Office บ้าง ? แล้วถ้าให้กลับไปทำงาน Office ทุกวัน ใครบ้าง ที่อยากกลับมา  Work From Home ? 

zoom hybrid workplace

จะดีกว่าหรือไม่ ถ้าทั้งสองแนวทางสามารถผสมผสานกันได้ แม้จะ Work From Home แต่ก็เกิดการสื่อสารที่เสมือนการมาทำงานจริงในบริษัท เพื่อสร้างการมีปฏิสัมพันธ์กันแม้ว่าจะทำงานอยู่ที่บ้านก็ตาม 

ด้วยเหตุนี้ Zoom จึงคิดค้นเทรนด์ Hybrid Workplace ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างการทำงานทางไกลกับการทำงานในออฟฟิศขึ้นมา รวมถึง CNBC ได้สำรวจผู้บริหารระดับสูงในหลายภาคส่วน พบว่า บริษัทส่วนใหญ่ก็กำลังวางแผนที่จะสร้างรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Work ด้วย

เอริก หยวน ผู้ก่อตั้งและ CEO ของแอปพลิเคชัน Zoom และ แฮร์รี โมสลีย์ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงของแอปฯ ดังกล่าว ได้เข้าร่วมการอภิปรายเกี่ยวกับบทบาทของ Zoom ในโลกการทำงานแบบ Hybrid มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้

โจทย์ใหม่ของธุรกิจในช่วงโควิด-19: ทำอย่างไรให้การประชุมเสมือนจริงมากที่สุด

ในช่วงเริ่มต้นของการเกิดโรคระบาด Zoom มีผู้เข้าใช้งานรายวันเพิ่มขึ้น 30 เท่า จากเดิม 10 ล้านคน เป็นมากกว่า 300 ล้านคนแล้ว นอกจากนี้ จำนวนนาทีที่ใช้งานต่อปีก็เพิ่มขึ้นจาก 1 แสนล้านนาที ในเดือนมกราคม 2020 เป็น 3 ล้านล้านนาทีภายในเดือนตุลาคม อีกทั้งบริษัทยังเพิ่มฐานพนักงานเป็นสองเท่าถึง 5,000 คนอีกด้วย

แฮร์รี โมสลีย์ กล่าวว่า “เราต้องเผชิญกับความท้าทายอยู่บ้าง แต่มันก็ทำให้เราพยายามที่จะขยายตัวแอปฯ ให้ใช้ประโยชน์ได้มากกว่าเดิม”

เป็นไปได้ว่า สภาพสังคมการทำงานหลังเหตุการณ์โรคระบาดนี้นั้นก็ยังคงต้องใช้รูปแบบการทำงานแบบ Hybrid Work หรือแบบผสมผสานอยู่ ดังนั้น Zoom จึงสร้างเครื่องมือสื่อสารและการทำงานร่วมกันแบบใช้ซ้ำในครั้งต่อไปได้ เพื่อช่วยส่งเสริมให้บริษัทต่าง ๆ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในสังคมการทำงานแม้ว่าพนักงานจะไม่ได้อยู่ด้วยกันต่อหน้าก็ตาม

ทั้งฟังก์ชัน Smart gallery, ห้องประชุมที่เปิดใช้งาน AI และการแชร์หน้าจอ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Zoom ที่โมสลีย์กล่าวว่าจะช่วยให้การประชุมเป็นไปอย่างเสมือนจริงมากที่สุดในยุคของการทำงานช่วงโควิด-19 เขากล่าวว่า “Zoom ตั้งคำถามมาตั้งแต่แรกว่า เราจะทำให้การทำงานในโลกออนไลน์ดีเท่ากับการทำงานในออฟฟิศจริง ๆ ได้อย่างไร” ตัวอย่างเช่น ในระหว่างการประชุมในสถานที่จริง คนหลายคนไม่สามารถใช้ whiteboard พร้อมกันได้ แต่ใน Zoom นั้นมีฟังก์ชันให้แชร์หน้าจอได้เพื่อความสะดวกสบายและการทำงานร่วมกันแบบเรียลไทม์

สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจปัญหาของผู้ใช้งาน

โมสลีย์ เสริมว่า ฟังก์ชันทั้งหมดของ Zoom นี้ เน้นหลักสำคัญ 5 ประการอันเป็นหลักการดั้งเดิมของ Zoom โดยหนึ่งในนั้นรวมถึง ความสะดวกในการใช้งาน ความน่าเชื่อถือ และนวัตกรรมที่ทันสมัย นอกจากนี้ ยังมีการทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นของผู้ใช้งานซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของการพัฒนาแอปพลิเคชันด้วย

Zoom ได้ติดต่อกับองค์กรต่าง ๆ ที่เรียกว่าเป็น “สภาอุตสาหกรรม (Industry council)” ซึ่งรวมถึงหน่วยงานที่ให้บริการทางการเงินและการรักษาพยาบาล ในการติดต่อสื่อสารเพื่อคอยอัปเดตสถานการณ์ในภาคเศรษฐกิจว่ามีอะไรเกิดขึ้นในภาคส่วนดังกล่าวบ้าง และในทางกลับกัน Zoom จะแชร์ข้อมูลให้แก่สภาเกี่ยวกับเรื่องฟีเจอร์และฟังก์ชันใหม่ ๆ ของแอปฯ และขอให้สภาเหล่านั้นจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่พวกเขาคิดว่าจำเป็นต้องมีมากที่สุด

เนื่องจาก Zoom ยังคงเป็นช่องทางที่จำเป็นสำหรับเหล่าพนักงานในการที่จะติดต่อสื่อสารกัน แม้ว่าบางส่วนจะเริ่มกลับมาทำงานที่ออฟฟิศบ้างแล้วก็ตาม ทั้งนี้ เอริก หยวน ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความน่าเชื่อถือของ Zoom โดยระบุว่า ในช่วงเริ่มต้นของโรคระบาด Zoom ได้ย้ายบริการจำนวนมากที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายไปยังคลาวด์ เพื่อเพิ่มความจุศูนย์ข้อมูลสำหรับผู้ใช้งาน การทำเช่นนี้ทำให้ Zoom เป็นแพลตฟอร์มที่มีความน่าเชื่อถือมากขึ้นในการที่จะเข้ามาใช้งาน 

หยวน เสริมว่า “เราต้องการแน่ใจว่าไม่มีจุดไหนพลาดแม้แต่จุดเดียว และต้องทำให้ห้องประชุมบนแพลตฟอร์มนี้มีความปลอดภัยที่สุด”

การทำงานนอกออฟฟิศนั้น จำเป็นจะต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างเข้มงวดเพื่อป้องกันการเกิดเหตุการณ์ที่เป็นภัยต่อองค์กร ดังนั้น นอกจาก Zoom จะคิดค้นฟังก์ชันต่าง ๆ ขึ้นมาเพื่อช่วยการอำนวยความสะดวกในการทำงานแบบ Hybrid แล้ว Zoom ยังมีการคำนึงถึงระบบรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานอีกด้วย ปัจจุบัน แอปพลิเคชัน Zoom จึงกลายเป็นแอปพลิเคชันยอดฮิตสำหรับการทำงานบนโลกเสมือนจริงไปโดยปริยาย

อ้างอิง  CNBC 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Translucia เผยแผนพัฒนา Metaverse โลกเสมือนที่ใช้ Gen AI ขยายตลาดและการเติบโต

บทสัมภาษณ์ คุณพิมสาย ชี้เจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Translucia (ทรานส์ลูเซีย) ทั้งในด้านมุมมอง โอกาส ความท้าทาย ไปจนถึงแผนพัฒนาแพลตฟอร์มเมตาเวิร์ส (Metaverse) ในยุค Generative AI...

Responsive image

เชื่อมทุกช่องทางสื่อสารกับลูกค้า ต่อยอดข้อมูลธุรกิจด้วย MarTech

ทำความรู้จัก True CPaaS แพลตฟอร์มที่เชื่อมต่อทุกแอปพลิเคชันการสื่อสารไว้ในที่เดียว เพื่อรองรับการตลาดแบบ Omni-channel และสามารถเก็บข้อมูล (Data) ลูกค้า เพิ่มยอดขายได้ในแบบ MarTech...

Responsive image

รู้จัก “AI ผู้ช่วยด้านการเงิน” งานที่ AI agents จะเข้ามาช่วยทำในอนาคต

พบกับอนาคตของ AI Agents ที่ช่วยจัดการชีวิตการเงิน ตั้งแต่การชำระเงิน จองตั๋ว ไปจนถึงการค้าอัตโนมัติ พร้อมความเชื่อมั่นด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เช่น Blockchain และ Authentication Too...