สภาดิจิทัลฯ ผนึก 36 องค์กร-แพทยสภา หนุนเทคโนโลยีใช้ใน รพ.สนาม - จุดฉีดวัคซีนแก่ประชาชน | Techsauce

สภาดิจิทัลฯ ผนึก 36 องค์กร-แพทยสภา หนุนเทคโนโลยีใช้ใน รพ.สนาม - จุดฉีดวัคซีนแก่ประชาชน

สภาดิจิทัลฯ ประกาศความร่วมมือกับพันธมิตร 36 องค์กรดิจิทัล ผนึกกำลังระดมเสริมศักยภาพด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล สนับสนุนทีมแพทย์โรงพยาบาลสนามฝ่าวิกฤต Covid-19 ระลอกใหม่ นำร่อง 3 รพ.ต้นแบบ จุฬาฯ-กรมแพทย์ทหารอากาศ-ธรรมศาสตร์ สู่การเป็น“SMART FIELD HOSPITALS” พร้อมวางแผนสนับสนุนจุดฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในลำดับถัดไป 

คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ภายใต้สถานการณ์ Covid-19 ที่มีการแพร่กระจายเป็นวงกว้าง ในระลอก 3 ทำให้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามขึ้นมาเพื่อรองรับผู้ป่วยที่มีจำนวนมากขึ้น ตลอดจนศูนย์การฉีดวัคซีน ซึ่งมีแผนงานที่จะฉีดต่อประชาชนจำนวนมาก สภาดิจิทัลฯจึงขอประกาศความร่วมมือกับพันธมิตร 36 องค์กรดิจิทัล และทางแพทยสภา ระดมเสริมศักยภาพด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล สนับสนุนทีมแพทย์และโรงพยาบบาลสนาม ฝ่าวิกฤต Covid-19 ระลอก3 

โดยจะนำร่อง 3 โรงพยาบาลต้นแบบ ได้แก่ โรงพยาบาลสนาม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลสนามกองทัพอากาศ ดอนเมือง และโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ พร้อมทั้งแสดงการสนับสนุนแผนการจัดหาและฉีดวัคซีนของรัฐบาล ซึ่งจะครอบคลุมคนไทยภายในสิ้นปีนี้ทั้งหมด 

สำหรับวัตถุประสงค์ในความร่วมมือครั้งนี้ 

ประการแรก : เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนาม 

ประการที่สอง : การเชื่อมโยงเทคโนโลยีระหว่างโรงพยาบาลและสนาม รวมถึงการดูแลตัวเองต่อเนื่องไปจนถึงที่บ้าน

ประการที่สาม : การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมของพัทมิตรในอุตสาหกรรมดิจิทัล เพื่อบรรเทาผลกระทบในสถานการณ์วิกฤต 

สำหรับรายนามเอกชน 12 ราย เบื้อต้นมีดังนี้ 

1)บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT)

2)บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)

3)บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (DTAC)

4)บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด

5)บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด (Microsoft)

6)บริษัท เอคเซนเชอร์โซลูชั่นส์ จำกัด (Accenture)

7)บริษัท แซดทีอี (ไทยแลนด์) จํากัด

8) บริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด (CISCO)

9)บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด (Ericson)

10)บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด

11)บริษัท ออราเคิล คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (Oracle) 

12)บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) (True) 

กลุ่ม Startup 

1) บริษัท คิวคิว (ประเทศไทย) จำกัด / เป็ดไทยสู้ภัย  

2) บริษัท ชีวีบริรักษ์ จำกัด  

3) บริษัท เดย์เวิร์ค (ประเทศไทย) จำกัด  

4) บริษัท สราญ เทคโนโลยี จำกัด และ 

5) บริษัท ไอร่า คอนเซปท์ จำกัด

ในส่วนของพันธมิตรที่ร่วมขับเคลื่อนความร่วมมือในครั้งนี้ ประเภทสมาคม ได้แก่ 

1)สมาคมการค้าธุรกิจศูนย์บริการทางโทรศัพท์ไทย  

2) สมาคมการค้าผู้ประกอบการเคเบิ้ลทีวี 

 3) สมาคมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 

4) สมาคมซีไอโอ 16 

5)สมาคมดิจิทอลคอนเทนท์ไทย 

6)สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย 

7) สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย 

8) สมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ไทย

 9) สมาคมผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและคลาวด์ไทย    

 10) สมาคมศึกษาและพัฒนาโอเพ่นซอร์ส 

11) สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีไซเบอร์  

12) สมาคมสมองกลฝังตัวไทย 

13) สมาคมสมาพันธ์โอเพนซอร์สแห่งประเทศไทย  

14) สมาคมอีเลิร์นนิงแห่งประเทศไทย 

15)  สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย 

 16) สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย  

17) สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ 

 18) สมาคมไทยไอโอที 

19) สมาพันธ์สมาคมดิจิตอลคอนเทนต์บันเทิงไทย

สำหรับรูปแบบที่จะเข้าช่วยเหลือคือการเข้าร่วมสนับสนุน ในรูปแบบของ SMART FIELD HOSPITALS  ซึ่งจะเน้นการออกแบบให้สอดคล้องกับความต้องการของแพทย์กับคนไข้ รวมถึงโรงพยาบาลหลักกับโรงพยาบาลสนาม ให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันด้วยความมั่นใจ ปลอดภัย ลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรค และสามารถขยายการให้บริการหากมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งประกอบด้วย

1.อุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart Device) ที่ถูกออกแบบมาให้ใช้งานง่ายเหมาะสมกับประชาชนทั่วไป สำหรับผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ใช้    

2.ระบบเฝ้าติดตามอาการและการเก็บข้อมูลที่ปลอดภัย (Secure Patient Monitoring & Records)  ระบบเฝ้าติดตามอาการผู้ป่วยแต่ละรายโดยเจ้าหน้าที่ไม่ต้องสัมผัสใกล้ชิด และระบบบันทึกข้อมูลของผู้ป่วย (ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลสัญญาณชีพ อุณหภูมิร่างกาย ระดับออกซิเจนในเลือด ความดันโลหิต และอัตราการเต้นของหัวใจ และข้อมูลการรักษา) ที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน   

3.ระบบนัดหมายและสื่อสาร (Scheduling & Communication) : ระบบรองรับการนัดหมายและการจัดคิวในการสื่อสารระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ในหลายรูปแบบ ได้แก่ การประชุมด้วยวีดิทัศน์ (Video Conferencing) การประชุมด้วยเสียง (Voice Call) การแชท (Chat) และการขอความช่วยเหลือฉุกเฉินโดยผู้ป่วย  

4.การลดความเครียดและให้ความรู้ (Stress Relief & Education) : ข้อมูล ข่าวสาร และความบันเทิงเพื่อลดความเครียดและให้ความรู้ผู้ป่วยระหว่างอยู่ใน รพ. สนาม

5.ระบบเฝ้าติดตามสภาพแวดล้อมและ รพ. สนาม (Environment & Facility Monitoring) ระบบเฝ้าติดตามสภาพแวดล้อม เช่น ระดับแสง อุณหภูมิ ระดับความชื้นของพื้นที่ และ รพ. สนามเพื่อรายงานแก่เจ้าหน้าที่เพื่อประเมินสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้ป่วย

6.โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (Digital Infrastructure: Network and Data Centers) โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อรองรับการประมวลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารที่รวดเร็วและปลอดภัย

คุณศุภชัย กล่าวเสริมว่า ลำดับต่อไปต้องการที่จะเข้าสนับสนุนศูนย์หรือว่าจุดการฉีดวัคซีนซึ่งจะต้องมีการฉีดเพิ่มมากขึ้นถึง  10 ล้านโดสต่อเดือน ตามเป้าหมายที่รัฐบาลวางไว้เพื่อให้เข้าถึงประชาชนคนไทยอย่างรวดเร็วและทั่วถึง








ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รวมเรื่องที่ต้องรู้ของไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ Omicron

ทำความรู้จักกับที่มาของไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ ‘Omicron’...

Responsive image

รู้จักกับอาการ Long COVID ภัยเงียบที่คนหายจากโควิดแล้ว ยังคงต้องเฝ้าระวัง

ลองโควิด (Long COVID) เป็นอาการตกค้างที่เกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อ COVID-19 และรักษาหายแล้ว แต่ไม่ได้ส่งผลเพียงแค่ระบบทางเดินหายใจเท่านั้น ยังส่งผลได้กับทุกระบบในร่างกาย...

Responsive image

ผลสำรวจ เผย วัคซีนโควิด AstraZeneca นานาชาติยอมรับสูงสุดกว่า 119 ประเทศ ฉีดแล้วเดินทางเข้าประเทศได้

ข้อมูลจากเว็บไซต์ท่องเที่ยว VisaGuide.World เผยว่าวัคซีนที่ประเทศต่าง ๆ ให้การยอมรับมากที่สุดถึง 119 ประเทศ คือวัคซีนที่ผลิตขึ้นโดย AstraZeneca ร่วมกับ Oxford University แต่เงื่อนไ...