ม้วนเดียวจบ รวมข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค ตามติดสถานการณ์ COVID-19 แพร่ระบาด | Techsauce

ม้วนเดียวจบ รวมข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค ตามติดสถานการณ์ COVID-19 แพร่ระบาด

โรคติดเชื้อ COVID-19 คืออะไร และมีอาการอย่างไร

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มโคโรนาที่ทำให้มีไข้ และอาการระบบทางเดินหายใจ โดยผู้ป่วยผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เป็นโรคนี้มักมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจลำบาก บางรายอาจมีปอดอักเสบรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้                                           

โรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (มีผลบังคับใช้วันที่ 1 มีนาคม 2563) โดยประชาชนจะต้องดการเดินทางไปเขตโรคติดต่ออันตราย หลีกเลี่ยงการเดินทางไปพื้นที่ที่มีการรระบาดต่อเนื่อง หรือพื้นที่พบผู้ป่วยตามรายงานขององค์การอนามัยโลก เพราะเชื้อโรคจะสามารถติดต่อจากคนสู่คน แพร่โรคเมื่อมีอาการ และอาการแสดงแล้ว ผ่านทางการละอองเสมหะทางการไอ จามของผู้ที่มีเชื้อและสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย โดยผู้ป่วย 1 คน สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ 2-4 คน และเชื้อมีระยะฟักตัว 2-14 วัน

หากสงสัยมีอาการ สามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงจาก รพ.ราชวิถีก่อน ได้ที่นี่  

ภาพรวมสถานการณ์การแพร่ระบาดเป็นอย่างไร                                       

สำหรับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มต้นที่ประเทศจีน ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2562 ต่อมาได้พบผู้ป่วยยืนยันในหลายประเทศทั่วโลก และทางองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้ประกาศให้เป็นโรค COVID-19 ระบาดใหญ่ (Pandemic) เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยมีจำนวนผู้ป่วย และผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อย่างรวดเร็ว และมีอัตราการเสียชีวิตจากโรคประมาณร้อยละ 4.2 กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงส่วนมากเป็นผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน 

ตามติดสถานการณ์ผู้ติดเชื้อจากทั่วโลกได้ ที่นี่

มาตรการเฝ้าระวังในประเทศไทยเป็นอย่างไร

ประเทศไทย ได้ดำเนินการเฝ้าระวัง คัดกรอง และป้องกันควบคุมโรค ดังนี้

1. ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ 46 แห่ง คัดกรองผู้เดินทางเข้า-ออกประเทศ

• ท่าอากาศยาน 6 แห่ง คือ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ เชียงราย ภูเก็ต และ กระบี่

• ท่าเรือ 6 แห่ง คือกรุงเทพมหานคร แหลมฉบัง พาณิชย์เชียงแสน ภูเก็ต สมุยและกระบี่

• ด่านพรมแดนทางบก 34 แห่ง

2. สถานพยาบาล (ภาครัฐและเอกชน) คัดกรองผู้ที่มีไข้ ร่วมกับมีอาการระบบทางเดินหายใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจลำบาก และมีประวัติเสี่ยง เช่น

• มีประวัติเดินทางจากเขตติดโรคอันตราย และพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง ภายใน 14 วัน

• ประกอบอาชีพสัมผัสใกล้ชิดนักท่องเที่ยวที่มาจากเขตติดโรคอันตราย/พื้นที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่อง

• บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุขที่สัมผัสกับผู้ป่วยตามเกณฑ์เฝ้าระวัง

3. เฝ้าระวังในชุมชน ให้ความรู้ประชาชน เมื่อพบนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากเขตติดโรคอันตรายหรือพื้นที่ที่ระบาดอย่างต่อเนื่อง มีไข้ ร่วมกับมีอาการ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจลำบาก อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้แจ้งบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค DDC Hotline 1422

กรมควบคุมโรคได้มีการสรุปสถานการณ์รายวันในประเทศไทย คลิกที่นี่

มาตรการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงในการแพร่ระบาด

ข้อกำหนดสำหรับผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง

  • ผู้เดินทางมาจากเขตติดโรคติดต่ออันตรายเดินทางเข้าประเทศไทย ต้องแสดงใบรับรองแพทย์ตามเงื่อนไขที่กำหนด และหลักฐานการทำประกันสุขภาพ ให้กับสายการบินก่อนการเช็คอินที่สนามบินต้นทาง  รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
  • ผู้เดินทางมาจากพื้นที่มีการระบาดต่อเนื่องเข้าประเทศไทย จะถูกคุมไว้สังเกตอาการภายในที่พักอาศัย 14 วัน  รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
  • ผู้เดินทางมาจากพื้นที่อื่น ให้ดูแลสุขภาพ สุขอนามัย และป้องกันตนเอง พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด  รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่





ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รวมเรื่องที่ต้องรู้ของไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ Omicron

ทำความรู้จักกับที่มาของไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์ ‘Omicron’...

Responsive image

รู้จักกับอาการ Long COVID ภัยเงียบที่คนหายจากโควิดแล้ว ยังคงต้องเฝ้าระวัง

ลองโควิด (Long COVID) เป็นอาการตกค้างที่เกิดขึ้นหลังจากการติดเชื้อ COVID-19 และรักษาหายแล้ว แต่ไม่ได้ส่งผลเพียงแค่ระบบทางเดินหายใจเท่านั้น ยังส่งผลได้กับทุกระบบในร่างกาย...

Responsive image

ผลสำรวจ เผย วัคซีนโควิด AstraZeneca นานาชาติยอมรับสูงสุดกว่า 119 ประเทศ ฉีดแล้วเดินทางเข้าประเทศได้

ข้อมูลจากเว็บไซต์ท่องเที่ยว VisaGuide.World เผยว่าวัคซีนที่ประเทศต่าง ๆ ให้การยอมรับมากที่สุดถึง 119 ประเทศ คือวัคซีนที่ผลิตขึ้นโดย AstraZeneca ร่วมกับ Oxford University แต่เงื่อนไ...