"การศึกษาของไทย" ในหัวข้อ ปัญหาการศึกษาไทย ใครแก้? ในทัศนะของ สราวุฒิ อยู่วิทยา
เราพัฒนาด้านการศึกษามานานมากแต่ทำไม ปัญหาดูเหมือนไม่น้อยลงไปเลยสุดท้ายเราต้องกลับมามองว่าการเเก้ปัญหาเรามาถูกทางเเล้วหรือยัง ?
ปัญหานี้ไม่ใช่เเค่คนใด คนหนึ่งต้องเเก้ไข เเต่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันช่วย ซึ่งปัญหาด้านการศึกษาเหมือนเป็นอะไรที่สะสมเเละเพิ่มขึ้นตามเวลาของยุคสมัยที่เปลี่ยนไปทำให้การแก้ปัญหาต้องมองหลายมิติโดยการมองถึงอนาคตด้วย รวมถึงการมองในมุมหลักสูตรการศึกษาที่ต้องตอบโจทย์ยุคปัจจุบันเด็กต้องสามารถนำไปใช้ได้จริง
การเข้ามาของ Covid-19 เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เหมือนเข้ามาปลดล๊อคในด้านการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ซึ่งเร่งให้ถูกนำมาใช้เร็วขึ้น รวมถึงสร้างความตะหนักให้หลักสูตรด้านความรู้ดิจิทัลถูกจับตามองมากขึ้น เเต่่สุดท้ายนับว่าเรื่องการเปลี่ยนผ่านยังคงมีจุดอ่อนที่เป็นปัญหาอยู่การเปลี่ยนผ่านจึงต้องมองถึงการค่อยๆ ปรับระหว่างการเรียนแบบปกติและออนไลน์
การสนับสนุน Startup ด้านการศึกษาที่มีความมุ่งมั่นในการสร้างความเท่าเทียมด้านการศึกษา การให้คนเข้าถึงด้านการศึกษามากขึ้น หากมองด้านการสนับสนุนระยะยาวภาครัฐต้องเห็นความสำคัญโดยสนับสนุน หรือ ปลดล๊อคด้านทุน เพื่อให้กลุ่ม Startup ที่มีเเนวคิดดีๆ สามารถอยู่ได้ หากในระยะสั้นอาจต้องมองการร่วมมือกับองค์กรหรือบริษัท ในด้านการสนับสนุนหรือร่วมมือกันเพื่อให้ Startup อยู่ได้
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่โอกาสเสมอไปเราจะเห็นว่าอีกอุปสรรคหนึ่งของเด็กคือ ความอยากเรียนรู้ และอุปสรรคด้านภาษา เราจะเห็นว่าสมัยนี้นอกจากเเพลตฟอร์มไทย มหาวิทยาลัยในไทย โอกาสด้านการเรียนรู้มีมาให้เราเลือกมากมาย อาทิ มหาวิทยาลัยจากต่างประเทศที่มีชื่อเสียงหลายเเห่งเปิดคอร์สเรียนออนไลน์ให้เรียนฟรี หรือ คอร์สเรียนฟรีจากองค์กรใหญ่ อย่าง google ซึ่งมีมาให้เราเห็นกันเเต่ปัญหาหนึ่งที่เป็นอุปสรรคคือภาษา ที่ทำให้ความอยากเรียนน้อยลงไป ในอีกด้านหนึ่งคือบางทีสิ่งที่มีให้เรียนรู้ไม่ได้ตอบโจทย์ความสนใจทำให้โอกาสที่มีไม่ได้รับความสนใจมากนัก
สุดท้ายในด้านการสนับสนุนอยากให้องค์กร กลุ่มบริษัท ซึ่งเป็นภาคเอกชน หันมามองปัญหาด้านการศึกษามากขึ้น ไม่อยากให้มองว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาของภาครัฐ หรือกระทรวงการศึกษาเท่านั้นที่ต้องมาดูเเล เพราะทุกฝ่ายสามารถมาช่วยกันได้
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด