เผย 4 เคล็ดลับจาก Stan Lee บุรุษผู้เป็นตำนานแห่งจักรวาล Marvel เรื่องการบริหารคน | Techsauce

เผย 4 เคล็ดลับจาก Stan Lee บุรุษผู้เป็นตำนานแห่งจักรวาล Marvel เรื่องการบริหารคน

Stan Lee

บทความนี้แปลและเรียบเรียงจาก Harvard Business Review

'ซูเปอร์บอส' นั้นไม่ใช่แค่การเป็นเจ้านายที่ดี ที่แค่สร้างองค์กรหรือทำให้บริษัทมีรายได้เกินเป้าเท่านั้น แต่ยังเป็นคนที่สามารถมองเห็น ทำการสร้างและปั้นคนขึ้นมาให้เป็นดาวเด่นหรือ Talent ให้ได้ เหมือนอย่างที่รายการ Dailiy Show ของ Jon Stewart เปิดตัวนักแสดงตลกอาชีพใหม่ ที่ทำได้ก็เพราะพวกเขามองเห็นศักยภาพของคนในองค์กร ขัดเกลาและพัฒนาจนพนักงานประสบความสำเร็จ ซูเปอร์บอสก็เหมือนกับ 'ซูเปอร์ฮีโร่' พวกเขาต้องสร้างอิมแพคที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของตัวเองให้ได้

นอกจากเจ้าพ่อ Marvel อย่าง สแตน ลี (Stan Lee) จะเป็นนักเขียนการ์ตูน บรรณาธิการ นักแสดง โปรดิวเซอร์ ผู้จัดพิมพ์ ผู้มีชื่อเสียงทางรายการโทรทัศน์ชาวอเมริกัน และเป็นอดีตประธานของมาร์เวลคอมิกส์แล้ว 'การสร้างคน' เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแพชชั่นส่วนตัวของเขาเลยก็ว่าได้ เรามาดูกันว่าเขาทำได้อย่างไร

1. มอบหมายงานให้เหล่า Talent ทำอยู่เสมอ

อย่าปล่อยให้พนักงานที่เป็นดาวเด่นว่างงาน หางานให้พวกเขาทำ เพื่อที่พวกเขาจะได้ยุ่งอยู่ตลอดเวลา เขาไม่ชอบปล่อยให้พนักงานนั่งทำงานไร้สาระเปล่าเปลื่อยไปวัน ๆ การไม่ได้ปล่อยให้เหล่าศิลปินใช้ความคิดและความสามารถเต็มที่นั้นเป็นอะไรที่น่าเบื่อ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงต่อการพ่ายแพ้ในการแข่งขัน

นอกจากนี้ การที่พนักงานดิ้นรนหารายได้เพื่อให้เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพนั้นก็รบกวนใจเขาเช่นกัน ดังนั้นเขาต้องจึงสร้างความมั่นใจให้พนักงาน ว่าพวกเขาจะได้รับงานอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าบางครั้งมันจะส่งผลเสียต่อบริษัทก็ตาม

2. อย่าจับผิดพนักงาน ปล่อยให้พวกเขาทำงานของเขาไป 

เขามักจะปล่อยให้เหล่า Talent มองหาวิธีสร้างสรรค์ผลงานเองอยู่เสมอ ไม่มีการจับผิด อย่างในช่วงที่กำลังเขียนการ์ตูนเล่มหนึ่ง เขาใส่คำว่า Pogo Stick (โปโก้สติ๊กของเล่นเด็ก) เข้าไปเป็นหนึ่งในประโยคเด็ด แต่มี Editor คนหนึ่งคิดว่าคำนี้มันไม่ใช่ คนอ่านน่าจะไม่อินแน่นอน เลยเสนอให้ใช้คำว่า Roller skate แทน แม้มันจะฟังดูตลกแต่เขาก็ยอมเปลี่ยนตามที่พนักงานบอก

สำหรับผมแล้วการมานั่งจับผิดการทำงานของพนักงานมันไม่ค่อยเหมาะเท่าไร เมื่อคุณจ้างเหล่าศิลปินให้มาทำงาน คุณก็ต้องปล่อยให้เขาทำงานของเขาไป สำหรับผมแล้ว หากพนักงานกำลังสร้างสรรค์ผลงาน และสามารถหาวิธีที่ดีที่สุดในแบบของเขาเพื่อให้มันออกมาดีได้ คุณก็ต้องปล่อยให้เขาทำมัน

ในปีต่อมา หนึ่งในชุดภาพยนตร์ของมาร์เวลอย่าง The Hulk ได้กลายเป็นรายการโทรทัศน์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เขาประหลาดใจที่ได้เห็นผลของการที่เขายอมปล่อยให้ทีมงานสร้างสรรค์ผลงานอย่างเต็มที่ และสามารถทำให้ The Hulk ประสบความสำเร็จบนแพลตฟอร์มใหม่ได้จริง ๆ

ภาพ Stan Lee & Hulk moment โดย Susumu Komatsu/Flickr

"ในระหว่างที่ผมคุยกับ Ken Johnson ว่าจะทำให้ 'The Incredible Hulk' ออกมาโลดแล่นบนจอทีวีได้อย่างไร ผมได้เรียนรู้อะไรจากเขาเยอะมาก ซึ่งความสำเร็จของโชว์ภายใต้การกำกับของ Ken ถือเป็นการยืนยันอีกเสียงว่ามันสำคัญแค่ไหน ในการมอบหมายงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้อยู่ในมือคนที่เป็นศิลปินจริง ๆ"

Stan Lee ชอบที่จะปล่อยวางจากการทำตัวเป็นบอส แล้วให้พลังนั้นกับพนักงานที่อายุน้อยที่สุดแทน ซึ่งถ้าหากเป็นผู้นำคนอื่น (ที่หัวโบราณหน่อย) ก็อาจจะไม่กล้าลอง หรืออดคิดไม่ได้ว่าพนักงานยังอ่อนประสบการณ์ไปหรือเปล่า

3. ให้เครดิตพนักงานที่สมควรจะได้รับมัน

อีกหนึ่งวิธีคือการให้เครดิตพนักงานโดยการสร้างหน้าให้เครดิตพนักงาน (Credit page) ขึ้นมาโดยเฉพาะ แม้จะฟังดูตรงไปตรงมา แต่ในความเป็นจริงมันก็ค่อนข้างหายากที่จะมีที่ไหนยอมทำ ซึ่งหน้านี้ก็จะมีเอกลักษณ์ในแบบของมัน เขียนด้วยโทนคนช่างพูดหน่อย ๆ อย่าง Written with Passion by Stan Le, Drawn with Pride by Jack Kirby, Inked with Perfection by Joe Sinnott และ Lettered with a Scratchy Pen by Artie Simek

เขายังกล่าวชมพนักงานบ่อยครั้งใน 'The Bullpen Bulletin' จดหมายข่าวรายเดือน ซึ่งการทำแบบนี้ ทำให้คนในองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีความก้าวหน้าในสายงานมากขึ้น อย่างในกรณีช่วงกลางของอาชีพ (Mid-career) ของ Jack Kirby คู่หูที่ประสบความสำเร็จมาด้วยกัน Stan Lee ได้ตั้งชื่อเล่นให้ Jack ว่าเป็น 'King of Comics' อีกทั้งรายงานว่าเขาเป็น 'artists’ artist' ซึ่งปัจจุบัน Jack ก็ได้เป็นที่รู้จักกันในนามของ 'King of Comics' หรือ 'King Kirby' การประกาศแบบนี้ไม่เฉพาะเป็นผลดีกับพนักงานเท่านั้น แต่ยังทำให้นักอ่านรุ่นเยาว์ยกย่องศิลปินคนโปรดของพวกเขามากขึ้นไปอีก

นอกจากนี้ยังทำให้พนักงานรู้สึกว่าตัวเองมีฐานะเป็น 'ศิลปินของมาร์เวล' ทำให้ผู้อ่านรู้สึกใกล้ชิดกับแบรนด์มากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมอาชีพคนเขียนการ์ตูน และผลักดันให้พนักงานประสบความสำเร็จในวงการ เรียกได้ว่าเป็นอีกแพชชั่นของ Stan Lee เลยก็ว่าได้

ภาพ Stan Lee โดย Gage Skidmore/Flickr

4. ฝันให้ไกล

ไม่มีวิธีไหนจะดีไปกว่าการผลักดันพนักงานที่ดีที่สุดให้พัฒนาขึ้นไปอีก ในขณะเดียวกัน เราก็พยายามช่วยพัฒนาพนักงานที่อยู่ในระดับปานกลางด้วย เราพยายามทำให้ [การ์ตูน] สามารถสร้างสิ่งที่ควรจะเป็น อีกทั้งสร้างความถูกต้องมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

สำหรับเขาแล้วหนังสือการ์ตูนมีพลังที่จะเป็นภาพสะท้อนสังคมได้ดี สามารถเสียดสีประเด็นต่าง ๆ ได้อย่างเฉียบแหลม เขาหวังว่าสักวัน คนไม่อายที่จะหยิบการ์ตูนมาอ่านในที่สาธารณะ และเขาก็ไม่หยุดพยายามทำทุกอย่างเพื่อผลักดันเป้าหมายนั้นอยู่ตลอดเวลา

นอกจากนี้เขายังแนะอีกว่าน่าจะมีวิชาเกี่ยวกับการ์ตูนในมหาวิทยาลัยด้วย

หากมีคนเรียนด้านภาพยนตร์ ทีวี ละครโอเปรา บัลเลต์ คอนเสิร์ต ประติมากรรม วาดรูป ศาสต์และศิลป์อื่น ๆ พวกเขาก็ควรศึกษาเรื่องการทำหนังสือการ์ตูนด้วย เพราะมันเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่สามารถทำได้ทั้งการสร้าง ขัดเกลา ผลักดัน ปั้นแต่ง และฝึกความคิดของมนุษย์ได้เช่นเดียวกัน

เขายังแย้งอีกว่า ไม่มีเหตุผลใดที่การ์ตูนจะไม่ถูกมองว่าเป็นงานศิลปะ ซึ่งการที่เขามีทัศนคตินี้ ก็สามารถดึงดูดศิลปินที่ดีที่สุดที่ต้องการทำงานกับเขาได้จริง ๆ

Stan Lee นั้นไม่ได้เพอร์เฟกต์ และแน่นอนว่าไม่มีใครในโลกนี้ที่เพอร์เฟกต์เช่นกัน อย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดแล้ว เขาก็เป็นมืออาชีพในอุตสาหกรรมการ์ตูนและได้เปลี่ยนอุตสาหกรรมนี้ไปตลาดกาล สามารถทำให้การ์ตูนอยู่ในตำแหน่งที่ทุกคนยอมรับ สร้างและผลักดันพนักงานให้ประสบความสำเร็จหลายต่อหลายคน นับว่าเขาคือมรดกล้ำค่า ที่ไม่ว่าบอสคนไหน ๆ ก็ต้องยอมยกให้เขาเป็นสุดยอดบุคคลในตำนาน

 

ภาพ Coverโดย Gage Skidmore/Flickr

แปลและเรียบเรียงจาก What Stan Lee Knew About Managing Creative People by Sydney Finkelstein

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มรดกแนวคิด Steve Jobs ที่ส่งต่อถึง Tim Cook เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของ Apple

Tim Cook ยกหนึ่งคำสอนล้ำค่าในการทำงานจาก Steve Job ที่ทำให้ Apple เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลก ในด้านการส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กร นั่นก็คือ ‘ทุกคนสามารถสร้าง...

Responsive image

ทำไมองค์กรต้องมี ‘Innovation Culture’ พื้นฐานที่ขาดไม่ได้ถ้าอยากสร้างนวัตกรรม

ในบทความนี้ Techsauce ขอพาผู้อ่านไปรู้จักคำว่า Innovation Culture หรือ วัฒนธรรมนวัตกรรม อีกฟันเฟืองสำคัญของการสร้างนวัตกรรมองค์กรที่ขาดไปไม่ได้...

Responsive image

เจาะกลยุทธ์ ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ IKEA ร้านเฟอร์นิเจอร์เก่าแก่เอาตัวรอดในยุคดิจิทัล

กลยุทธสำคัญอย่าง ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ทำให้ IKEA สามารถรักษาเอกลักษณ์อันโดดเด่นของบริษัท ไปพร้อมกับการปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง...