ฟังทัศนะ Bill Gates : ปัญหาโลกร้อนแก้ไม่ได้หากขาดนวัตกรรม | Techsauce

ฟังทัศนะ Bill Gates : ปัญหาโลกร้อนแก้ไม่ได้หากขาดนวัตกรรม

Bill Gates มหาเศรษฐีอันดับ 5 ของโลก ได้ให้สัมภาษณ์ผ่าน Zero Podcast ของ Bloomberg ที่เผยแผร่เมื่อวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา เกี่ยวกับมุมมองทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่จะช่วยควบคุมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กองทุนของเขาที่ลงทุนในพลังงานสะอาด ไปจนถึงกรณี Inflation Reduction Act ที่ถูกบัญญัติมาเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด และการขึ้นภาษีบางประเภทเพื่อลดอัตราเงินเฟ้อในระยะยาว  โดยในบทความนี้ Techsauce ขอนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจมาให้ทุกท่านได้อ่านกัน

ภาพจาก : https://www.facebook.com/BillGates

การขอให้ผู้บริโภคใช้น้อยลง ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหา 

ทุกภาคส่วนเศรษฐกิจทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิต, ภาคอุตสาหกรรม, การขนส่งและคมนาคม, การเกษตร ฯลฯ ล้วนเป็นต้นเหตุของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สะสมมานานหลายทศวรรษ โดยที่ผ่านมาการรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว มักถูกส่งสารออกมาให้เราช่วยกันลด ละ เลิก หรือใช้ให้น้อยลง เพื่อรักษาสิ่งที่อยู่ไม่ให้เสียหายไปมากกว่า ซึ่ง Gates มองว่าเป็นวิธีที่เกิดขึ้นได้ยากมาก

ผมไม่คิดว่ามันสมเหตุสมผล ถ้าเราบอกให้ผู้คนเปลี่ยนวิถีชีวิตทั้งหมดของพวกเขา เพราะต้องคอยกังวลเกี่ยวกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ

Gates เชื่อว่า “การเปลี่ยนนิสัยของปัจเจกมนุษย์” ที่ทำให้พวกเขาสะดวกสบายน้อยลงเพื่อแก้ปัญหาระดับโลกเป็นสิ่งที่ยากเกินไป และถึงแม้จะมีคนที่ปรับเปลี่ยนได้ ก็ยังไม่เพียงพอต่อการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อควบคุมปัญหาสภาพอากาศที่เกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์อยู่ดี

และถึงแม้ว่า สมัยนี้ประเทศที่ร่ำรวย บริษัทที่ร่ำรวยจะจ่ายเงินเพื่อซื้อทางออกจากปัญหา ในที่นี้เขายกตัวเองอย่างว่าเขาต้องจ่ายเงินชดเชยถึง 9 ล้านดอลลาร์ต่อปีต่อปีกับโครงการด้านสภาพอากาศ แต่นั่นก็ไม่ได้มีส่วนในการแก้ไขปัญหาได้จริง ๆ ในระยะยาว การหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนผู้คนเป็นทางออกเดียวที่เป็นไปได้ "การแก้ปัญหาคือการหานักประดิษฐ์ที่สร้างบริษัทที่มีนวัตกรรมเหล่านี้"

Gates ชี้ให้เห็นถึงประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “ช่องว่างระหว่างต้นทุน” สำหรับทางเลือกของความพยายามในการพยายามที่จะช่วยให้โลกหรือส่วนต่างที่ต้องจ่ายมากกว่าเพื่อวันพรุ่งนี้  ตัวเขาเองได้พูดเรื่องนี้มาอย่างยาวนาน เกี่ยวกับช่องว่างระหว่างต้นทุนของการทำบางสิ่งที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกับขั้วตรงข้าม หรือที่ Gates เรียกว่า Green Premium ยกตัวอย่างเช่น หากคุณโดยสารเครื่องบินที่ใช้น้ำมันเครื่องบินปกติ จะมีค่าใช้จ่าย 2.22 ดอลลาร์ต่อแกลลอน แต่หากคุณเลือกใช้เชื้อเพลิงชีวภาพแทน คุณจะต้องจ่ายประมาณ 5.35 ดอลลาร์ต่อแกลลอน 

Gates เคยตอบคำถามผ่านเว็บบอร์ด Reddit เกี่ยวกับ Green Premium ว่า หากผู้บริโภคหนึ่งคนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ราคาแพงกว่าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลง นั่นดูเป็นการลงทุนที่แทบไม่ได้มีผลอะไร แต่หากมีผู้บริโภคจำนวนมากพอซื้อของพวกนั้น ความต้องการจะเพิ่มขึ้น และผลักดันให้ราคาสินค้าทางเลือกเหล่านั้นลงลง และจะทำให้ค่า Green Premium ลดลงด้วย

สร้างนวัตกรรมที่นำไปสู่ทางเลือกที่ดีกว่า 

Gates เชื่อว่าภาครัฐสามารถมีส่วนทำให้ค่า Green Premium ลดลงได้ ผ่านการใช้นโยบายลดราคาสินค้ารักษ์โลกและเพิ่มราคาสินค้าทั่วไปให้สูงกว่าเดิม เช่นเดียวกันกับองค์กรและนักลงทุนทั้งหลายก็สามารถช่วยกันลดค่าส่วนต่างตรงนี้ได้โดยการเลือกผลิตภัณฑ์หรือลงทุนในนวัตกรรมสีเขียว 

Gates เคยกล่าวว่า “นวัตกรรมไม่ใช่แค่การเขียนเช็คจ่ายเงิน” เทคโนโลยีสภาพภูมิอากาศ ไม่ใช่แค่เรื่องทางการเงินเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่มีต้นทุนสูงเกิดกว่าที่หลายคนคาดคิด

และถึงแม้ว่าสหรัฐฯจะออกพระราชบัญญัติ Inflation Reduction Act ในปี 2022 ซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นร่างกฎหมายที่ใช้งบประมาณสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ นั่นก็ไม่อาจเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า การแก้ไขปัญหาสภาพอากาศจะกลายเป็นประเด็นสำคัญ เพราะการลงทุนในเทคโนโลยีนวัตกรรมนั้นมากับค่าใช้จ่ายจำนวนมาก หรือแม้แต่การกำหนดค่าใช้จ่ายในการก่อมลพิษ ซึ่งนั่นก็อาจจะมีปัญหาเมื่อผู้ตัดสินใจที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก * บทสัมภาษณ์นี้ถูกบันทึกไว้ก่อนที่ร่างกฎหมาย  Inflation Reduction Act จะผ่านการพิจารณา

โซลูชันตามความเห็นของ Gates คือ เทคโนโลยีในราคาเท่ากันหรือถูกลง แต่ส่งมอบคุณประโยชน์เดียวกันหรือมากกว่าเดิม ทำให้เขามีพยายามที่จะสร้างทางเลือกที่ว่าให้เป็นจริงเป็นจังอย่างต่อเนื่อง หากใครที่เคยอ่านหนังสือ How to Avoid A Climate Disaster ก็จะทราบถึงมุมมองที่ Gates นำเสนอทั้งสิ่งที่คนเราในฐานะพลเมืองและผู้บริโภคทำได้ บทบาทจากภาครัฐ รวมถึงบทบาทของภาคธุรกิจและนักลงทุนที่ควรทำ และโต้แย้งด้วยเหตุผลที่มีน้ำหนักว่า การบริจาคเงินจำนวนมากของเขาเป็นไปเพื่อการค้นหาโซลูชันที่ปลอดภัยกว่า Low-Waste มากกว่า

Without innovation, you will never solve climate change

ด้วยความต้องการจะลดส่วนต่างที่สังคมต้องเผชิญ  Gates ได้ก่อตั้ง Breakthrough Energy Ventures กองทุนไม่แสวงหาผลกำไรขึ้นในปี 2015 เพื่อลงทุนใน Startup ช่วง Early stage ที่ทำนวัตกรรมพลังงานสะอาด โดยบริษัทนั้น ๆ นอกจากต้องดึงดูดนักลงทุนได้แล้ว จะต้องสามารถสร้างนวัตกรรมที่มีศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกอย่างน้อยครึ่งกิกะตันทุกปีได้

เป้าหมายของ BEV ถูกตั้งขึ้นเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานในทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจ โดยกองทุนเองก็มีผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้ง และพร้อมจะสนับสนุนผู้ประกอบการที่มีวิสัยทัศน์ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ทั้งทางด้านเทคโนโลยี การดำเนินธุรกิจ การค้นคว้าและวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรม เพื่อความพยายามลดค่า Green Premium ลงให้ได้ ปัจจุบันภายใต้ BEV มีบริษัทสตาร์ทอัพในเครือเกือบ 60 แห่งด้วยกัน 

โดยระหว่างการสัมภาษณ์ Gates แย้มว่ากองทุนของเขาจะระดมทุนรอบที่สามในปีหน้าเพื่อเดินหน้าลงทุนและเร่งการพัฒนา Climate Startups เหล่านี้ต่อไป แม้ตอนนี้บรรยากาศการลงทุนทั่วโลกรวมถึงการลงทุนในบริษัทด้าน Climate Tech จะซบเซาลง

Gates หวังว่างานของเขากับ BEV จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก และทำให้โลกขยับเข้าใกล้ชิดกับ โลกที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ มากขึ้น หวังว่าทุกภาคส่วนจะสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมและจัดการความท้าทายที่ทุกคนต้องเผชิญไปพร้อมๆกัน

อ้างอิง : 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

4 เสาหลักสู่นวัตกรรม ความสำเร็จที่ยั่งยืน ที่องค์กรขาดไม่ได้

ปัญหาจริงของการขาดนวัตกรรมคือ "คุณภาพ" รวมถึงวิธีการ ”เลือก” ไอเดียที่เหมาะสมเพื่อนำไปพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าได้จริง จากการวิจัย องค์กรที่ประสบความสำเร็จในด้านนวัตกรรมมักม...

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...

Responsive image

เมื่อพายุเศรษฐกิจโหมเข้า CFO จะขับเคลื่อนองค์กรอย่างไร? ดีลอยท์ชวรรู้จัก CFO Trilemma

CFO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยการสร้างสมดุลระหว่างการฟันฝ่าวิกฤต สร้างคุณค่าระยะยาว และพัฒนาขีดความสามารถของทีม เพื่อความยั่งยืนขององค์กร...