รู้จัก Choice Mapping วิธีที่เหนือและดีกว่าการ Brainstorm | Techsauce

รู้จัก Choice Mapping วิธีที่เหนือและดีกว่าการ Brainstorm

เพื่อที่จะให้อุตสาหกรรมพัฒนาต่อไป เราต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ หลายองค์กรใช้วิธีระดมสมอง (Brainstorming) ในการรวบรวมความคิด แต่สำหรับ Sheena Iyengar ผู้เขียนหนังสือ Think Bigger: How to Innovate มองว่านี่ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ 

แน่นอนว่าการระดมสมองนั้นเป็นวิธีที่น่าสนใจ สนุก และเป็นที่นิยมในคนหมู่มาก แต่แท้จริงแล้วมันเป็นวิธีการที่สร้างความอคติขึ้นมาอย่างไม่รู้ตัว ในความเห็นของ Iyengar นักวิทยาศาสตร์และศาสตราจารย์ฝ่ายบริหารด้านธุรกิจที่ Columbia Business School ทำให้ต้องการหาวิธีใหม่ที่ดีกว่าการระดมสมอง

เธอได้รับแรงบันดาลใจจากคำพูดของนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส Henri Poincaré ที่กล่าวว่า “การประดิษฐ์คือการหลีกเลี่ยงการสร้างเครื่องมือที่ไร้ประโยชน์และสร้างการผสมผสานที่มีประโยชน์จากส่วนประกอบเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มีอยู่มากมายมหาศาล”

Iyengar ได้เสนอแนวทาง 6 ขั้นตอนขึ้นมาแทนการ brainstorm เรียกว่า 'choice mapping'

1. เลือกปัญหา

เลือกปัญหาที่จะแก้ไขก่อน Iyengar มองว่าควรสร้างกรอบให้กับปัญหาที่เราต้องการแก้มัน จากนั้นหาวิธีการแก้ไขจากมุมมองที่หลากหลาย อะไรที่เราแก้ได้ และมันคุ้มค่าที่จะแก้

"ไอน์สไตน์เคยกล่าวไว้ว่า 'ถ้าฉันมีเวลาหนึ่งชั่วโมงในการแก้ปัญหา ฉันจะใช้เวลา 55 นาทีในการคิดเกี่ยวกับปัญหาและอีก 5 นาทีในการคิดวิธีแก้"

2. แบ่งปัญหาออกเป็นส่วน ๆ 

เพื่อก้าวข้ามข้อจำกัดต่าง ๆ ให้แบ่งปัญหาออกเป็นปัญหาย่อย ในที่นี้อาจจะแยกออกมาได้หลายปัญหาแต่เลือกมาไม่เกิน 5 ปัญหาย่อย และถ้าแก้ปัญหาย่อยเหล่านี้ได้ คุณก็จะแก้ปัญหาได้ถึง 90% ของปัญหาทั้งหมด

ซึ่งการแบ่งปัญหาออกเป็นปัญหาย่อยถือเป็นการฝึกความคิด ยิ่งจดจ่อตั้งใจกับมัน ก็จะแก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น

3. หาความต้องการของเรา

เรารู้สึกยังไงเมื่อแก้ปัญหา ? ต้องหาให้เจอ หลายครั้งที่ผู้คนพร่ำบอกว่า อยากทำอะไรให้สำเร็จ มีเป้าหมายอะไร ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นรูปธรรมเกินไป เราเป็นมนุษย์ไม่ใช่หุ่นยนต์ ดังนั้นจึงควรถามว่าเรามีความรู้สึกอย่างไรเมื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น ความรู้สึกนี้จะเป็นเกณฑ์ที่เราใช้หาวิธีแก้ปัญหา อะไรที่ฝืนกับสิ่งที่เรารู้สึก เราก็ไม่อยากจะยอมรับมัน 

4. คิดทั้งในกรอบและนอกกรอบ

ด้วยปัญหาที่แบ่งออกเป็น 5 ปัญหาย่อย หาวิธีการแก้ไขปัญหาย่อยจากมุมมองภายในองค์กรมา 2 วิธี และมุมมองจากนอกองค์กรอีก 3 วิธี

คนส่วนใหญ่เมื่อเจอปัญหา พวกเขามักจะไปดูว่าคู่แข่งทำอย่างไรบ้างแล้วนำมาปรับใช้ และสำหรับวิธีการของ choice map มีเพียง 20% เท่านั้นที่มุ่งแก้ไขปัญหาด้วยแนวคิดของตัวเอง ถ้าต้องการแก้ไขปัญหาอย่างนอกกรอบ ก็ต้องดูว่าคนอื่น ๆ เขามีวิธีการอย่างไร

ตัวอย่างเช่น อุตสาหกรรมการบินต้องการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโลจิสติกส์ ก็ไปศึกษาวิธีการจากอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่คล้ายกัน ไม่ว่าจะเป็น การขนส่งรูปแบบอื่น หรือบริษัทในอุตสาหกรรมอื่น ๆ 

5. สร้างแผนผังทางเลือก

เลือกหนึ่งวิธีแก้ปัญหาต่อหนึ่งปัญหาย่อย จากนั้นเอามาพิจารณาว่าจะนำตัวเลือกทั้งหมด มาผสมผสานและแก้ไขหาคำตอบได้ไหม

อีกวิธีหนึ่งคือ แยกกันคิด ไม่ต้องอยู่รวมกัน เพราะวิธีแก้ปัญหาของทุกคนต่างกันออกไปตามมุมมองที่ไม่เหมือนกัน ด้วยการทำแบบนี้จะช่วยให้เรามีวิธีแก้ที่หลากหลายมากขึ้น 

6. ทำการทดสอบผ่านมุมมองของบุคคลที่ 3

เมื่อเราอยู่ในห้องประชุมที่ทุกคนเป็นทีมของเรา มันก็อาจมีบางครั้งหรือหลายครั้งที่ความคิดทั้งมันจะวนเวียนอยู่แค่กับคนกลุ่มนั้น ลองอธิบายไอเดียของคุณกับใครสักคน คนที่เป็นบุคคลที่สามของปัญหา แล้วจากนั้นให้พวกเขาทวนไอเดียที่เราบอกไปให้ฟัง

คุณจะได้เห็นว่าพวกเขาเข้าใจมุมมองของคุณอย่างไร และพวกเขาอาจจะบอกแนวคิด หรือมุมมองใหม่ ๆ ที่คุณนึกไม่ถึงเข้ามา ซึ่งนี่ก็อาจจะทำให้คุณได้รับไอเดียในการแก้ไขปัญหาใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นได้ 

Iyengar กล่าวว่า brainstorming เป็นวิธีการยอดฮิตในการรวบรวมไอเดีย แต่ไอเดียที่ได้ส่วนใหญ่นั้นห่วยแตก ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนให้มีวิธีการคิดไอเดียอย่างมีคุณภาพ และรู้ถึงกระบวนการคิดพิจารณา เพราะหัวใจหลักคือการสร้างตัวเลือกที่หลากหลาย โดยที่ไม่ได้มาจากการให้แต่ละคนคิดอย่างอิสระ แต่ต้องมาจากการไตร่ตรองถึงโครงสร้างและข้อจำกัดต่าง ๆ 


อ้างอิง: fastcompany

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...

Responsive image

เมื่อพายุเศรษฐกิจโหมเข้า CFO จะขับเคลื่อนองค์กรอย่างไร? ดีลอยท์ชวรรู้จัก CFO Trilemma

CFO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยการสร้างสมดุลระหว่างการฟันฝ่าวิกฤต สร้างคุณค่าระยะยาว และพัฒนาขีดความสามารถของทีม เพื่อความยั่งยืนขององค์กร...

Responsive image

ทำไมองค์กรยุคใหม่ ต้อง AI Transformation องค์กร

Session AI Tranformation โดย ดร.ลิสา พัทธ์วิวัฒน์ศิริ Chief Digital Officer The King Power Corporation และ คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ CEO & Co-Founder Techsauce ที่ได้ร่วมพูดคุยในหัวข...