ยุคของมนุษย์เป็ดสร้างนวัตกรรม การเลือกคนที่ใช่และ DODEE ในแบบ WEDO | Techsauce

ยุคของมนุษย์เป็ดสร้างนวัตกรรม การเลือกคนที่ใช่และ DODEE ในแบบ WEDO

ไม่ว่าในยุคไหน แม้รูปแบบของการทำงานหรือโครงสร้างองค์กรจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร องค์กรทั้งใหญ่และเล็ก จากภาครัฐหรือภาคเอกชน ต่างก็ต้องการคนที่ใช่เข้ามาอยู่ในองค์กรเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายได้

 อย่างที่ทุกองค์กรรู้ว่าการดึงดูดคนเก่งเพียงอย่างเดียวไม่สามารถสร้างทีมที่ดีที่สามารถตอบโจทย์ขององค์กรได้ การกำหนดให้ชัดเจนว่าองค์กรต้องการจะมีคนที่มี Mindset และทักษะเป็นอย่างไรจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กรได้

ในบทความนี้ Techsauce จะพาผู้อ่านไปเรียนรู้มุมมองของดิจิทัลออฟฟิศของ SCG อย่าง WEDO ถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ ‘คน’ มาตลอด 3 ปี ทั้งทักษะที่จำเป็นในการทำงานเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่  และการเลือกคนที่ใช่กับทีม ที่ WEDO ได้ไปแบ่งปันสิ่งที่ถือเป็น Secret Sauce ในงาน Thailand HR Tech 2022 ที่ผ่านมา

ยุคของนวัตกรรม ยุคของเป็ด

อย่างที่หลายคนทราบกันว่า SCG นั้นเป็นหน่วยงานที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการบริหารจัดการคนในองค์กร เมื่อมี Digital Office อย่าง WEDO เกิดขึ้นเมื่อ 3 ปีก่อน แน่นอนว่าการให้ความสำคัญเกี่ยวกับคนก็ยังเป็นหนึ่งภารกิจหลัก ร่วมไปกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อให้ตอบโจทย์การใช้งานของคน 

ในยุคแห่งการสร้างนวัตกรรมในปัจจุบันที่ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวให้ทำซ้ำ การมีทักษะเชิงลึกเฉพาะทางเพียงสาขาเดียวในลักษณะรูปตัว I อาจไม่ได้ตอบโจทย์การสร้างนวัตกรรมที่ต้องคิดเส้นทางใหม่ วิธีการใหม่ และกล้าเปลี่ยนแปลงได้อีกต่อไป

ในทางกลับกัน คนที่เรานิยมเรียกกันว่า ‘เป็ด’ เคยเป็นความหมายที่ถูกมองว่าแม้จะว่ายน้ำได้แต่ดำน้ำไม่ได้ บินได้แต่ไม่สูง เดินได้แต่ไม่เร็ว แต่ลืมไปว่าการเป็นเป็ดของมัน ทำให้มันเข้าใจการบินบนอากาศแบบนก เข้าใจการเดินบนพื้นแบบเสือชีตาห์ เข้าใจการว่ายน้ำของสัตว์น้ำ เปรียบเสมือนกับมุมมองของ WEDO ที่การสร้างนวัตกรรมต้องมองให้ครบทั้ง 3 มิติ คือ

  • สามารถตอบโจทย์การใช้งานของผู้ใช้ (Desirability) ที่มองถึงการใช้งานที่ทำให้ชีวิตของผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้น ที่หากเรามัวแต่สร้างเทคโนโลยีให้ล้ำหน้าที่สุดเพียงอย่างเดียว คงจะไม่ตอบโจทย์ตรงนี้แน่ ๆ
  • สามารถทำได้จริง (Practicality) หลายครั้งที่ไอเดียของเราสามารถตอบโจทย์ผู้ใช้ได้ แต่ยังไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้จริง มันก็จะเป็นเพียงไอเดียเท่านั้น นวัตกรรมที่ดีจึงต้องสามารถสร้างให้เกิดขึ้นได้จริง จึงจะเป็นประโยชน์กับผู้ใช้ได้
  • สามารถสร้างรายได้ได้ (Feasibility) นวัตกรรมที่ดีจะต้องทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจได้ด้วย เพราะการทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจนอกจากจะทำให้ผู้คิดค้นหรือองค์กรอยู่ได้แล้ว ยังเป็นโอกาสที่จะสร้างรายได้ให้แก่ประเทศได้อีกด้วย

คน DODEE (ดูดี) ในแบบ WEDO

WEDO เพิ่งสร้าง SCG Digital Innovation Garage พื้นที่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การสร้างนวัตกรรมแก่นวัตกร (Innovator) แต่ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมที่ดีอย่างต่อเนื่องคือ ‘คนหรือตัวนวัตกรเอง’ ที่จะต้องเป็น ‘คนที่ใช่’

ก่อนที่จะสร้างหรือเลือกคนให้เหมาะสมกับองค์กร แค่เก่งเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้แน่ ๆ หรือแม้จะนิสัยดีมีทักษะแต่ทำงานร่วมกับคนอื่นไม่ได้ก็จะไม่ได้เป็นผลดีกับทีม WEDO ได้ใช้เวลามาตลอด 3 ปี ค้นหาและกำหนดลักษณะของคนที่ใช่กับองค์กรเองขึ้น และเรียกคนที่ตรงกับลักษณะนี้ว่าเป็นคนที่ DODEE (ดูดี) ที่สอดคล้องกับ DO ใน Digital Office และคำว่า ดูดี ในภาษาไทย

คน DODEE ของ WEDO จะต้องเป็นคนที่มีครบทั้ง 3 ด้าน คือ Mindset ที่ดี มี Skillset (ชุดทักษะ) ที่ดี และ Contribution (สร้างความเปลี่ยนแปลง) ที่ดี อันประกอบเป็น secret sauce หรือสูตรลับแห่งการทำนวัตกรรม

นวัตกรที่ดี เริ่มจากความคิด

Mindset Dee การมี Mindset ที่ดีหรือมีทัศนคติและชุดความคิดที่ถูกต้อง การตั้งโจทย์ของนวัตกรก็มีแนวโน้มที่จะไปในทางที่ดี โดยดูได้จากคุณลักษณะดังนี้

  • Humble ไม่สนใจแต่ตัวเอง เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น มีจิตใจที่อยากช่วยเหลือแบ่งปัน และเปิดรับฟังทุกความเห็นมาเพื่อปรับปรุง
  • Passionate นวัตกรรู้ถึงคุณค่าของงานและตั้งโจทย์ที่มีคุณค่า (Start with Why) มองปัญหาและอุปสรรคเป็นการพัฒนาตัวเอง และมีความรับผิดชอบอยากให้งานสำเร็จและดีขึ้น
  • Fearless กล้าที่จะออกจาก Comfort zone ไปทำสิ่งที่ไม่คุ้นเคย มีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ และคิดอย่างมีวิสัยทัศน์ มองข้ามช็อตไปไกลกว่าคนอื่น

โดยคุณกานดา สุภาวศิน Head of Digital Resource Development, WEDO ได้เล่าให้ฟังว่า จาก Mindset ที่เริ่มต้นจาก 3 ส่วนประกอบสำคัญนี้ทำให้เกิดนวัตกรของ WEDO ที่กล้าที่จะแตกต่างและยืนหยัดกับความคิดของตัวเอง จนสามารถสร้างผลงานทางด้าน innovation ที่ตอบโจทย์และเป็นประโยชน์กับผู้คนในวงกว้างได้

    “The easy day was yesterday, ให้วันนี้ เราได้ทำในสิ่งที่ยากกว่าเมื่อวาน”

ชุดทักษะทั้ง Soft และ Hard ให้เป็น

Skillset Dee การเป็นเป็ดที่สามารถสร้างนวัตกรรมและทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ต้องมีทักษะที่หลากหลาย โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. Soft skills เพราะการสร้างนวัตกรรมต้องมีการร่วมมือกับผู้อื่น ทั้งคนที่เป็นเหมือนเรา คนที่เชี่ยวชาญแตกต่าง หรือคนที่มีมุมมองไม่เหมือนเรา เพื่อให้ได้มุมมองครบทั้ง 3 มิติ (Desirability, Practicality, Feasibility) ศาสตร์ของการเป็นมนุษย์จึงมีความจำเป็น

  • เมื่อพูดถึงมนุษย์ก็ย่อมจะมีอารมณ์เป็นธรรมดา แต่การมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ (Emotional maturity) เพื่อให้สามารถจัดการการตัดสินใจให้มีเหตุผล (Reasoning) และคิดเชิงวิพากษ์ (Critical thinking) ได้
  • ในการทำงานเป็นทีมในยุคใหม่ ไม่มีทักษะที่จำกัดเฉพาะหัวหน้าอีกต่อไป คนในทีมจึงต้องสามารถบริหาร (Manage) นำ (Lead) และถ่ายทอดสิ่งที่ตัวเองถนัดหรือเรียนรู้มาได้ (Coach)
  • หัวใจสำคัญของการสร้างสิ่งใหม่ แน่นอนว่าต้องกล้าที่จะมีความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) และจินตนาการ (Imagination) นอกกรอบเดิม ๆ
  • เมื่อคิดได้ ทำได้ ก็จะต้องสามารถทำงานร่วมกับคนอื่น ๆ ในทีมได้ การสร้างความร่วมมือ การสนับสนุน และการเจรจา (Collaboration, facilitation and negotiation) จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในทุก ๆ วันของการทำงาน โดยการเจรจานี้ไม่ได้หมายความถึงการต่อรองให้ไอเดียของตัวเองชนะ แต่เป็นการเจรจาเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดและหาข้อสรุปจากความแตกต่างให้ได้
  • การสื่อสาร (Communication) เป็นปัญหาคลาสสิกและเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สามารถสร้างปัญหาใหญ่ให้แก่ทีมได้ การสื่อสารเรื่องราว (Storytelling) การฟังเพื่อเข้าใจผู้พูด (Deep Listening) และความเข้าใจผู้อื่น (Empathy) จึงเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการทำงานร่วมกับทีม

2. Hard skills จากเดิมที่ในยุคอุตสาหกรรม ทีมต้องการแต่ละคนมาเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (ทักษะเชิงลึกแบบตัว I) แล้วนำตัว I มาต่อกันจนเกิดเป็นทีมส่งผ่านงานกันเป็น Process ซ้ำ ๆ ไป แต่ในยุคนวัตกรรมนี้ การทำงานวนเป็น Process ไม่สามารถเป็นสูตรสำเร็จได้อีกต่อไป WEDO จึงมองหาคนที่เป็นเป็ดแบบ T-shape คือรู้ลึกในด้านของตัวเอง และรู้บ้างในด้านของคนอื่น    

จาก 3 มิติของนวัตกรรม คนคนนึงอาจจะรู้ลึกในการเข้าใจผู้ใช้งาน (Desirability) ทำให้สามารถสร้างนวัตกรรมตอบโจทย์คนใช้ได้ดีมาก เขาก็จะต้องเข้าใจว่าไอเดียแบบไหนจะทำได้จริง (Practicality) และสามารถทำให้เกิดรายได้ได้ (Feasibility) จึงถือว่าเป็น ‘เป็ด’ ที่มีทักษะรองรับต่ออนาคตในยุคนวัตกรรม

“ปัจจุบันเทคโนโลยีมัน (เปลี่ยนแปลง) ไปเร็วมาก ๆ การที่เราเปิดใจเพื่อรับสิ่งใหม่ ๆ เข้ามา จะทำให้เราเป็นนวัตกรที่ดีได้” ดร.พิมพ์พร เหมยน้อย Senior Technology Evangelist, WEDO

คิดดี ทักษะดี Contribution ต้องดีด้วย

Contribution Dee เป็นส่วนที่ WEDO นำมาใช้เพื่อให้คนในทีมนำ ‘ของ’ ที่มีมาใช้ให้เกิดแรงกระเพื่อมจริง เพราะเมื่อมี Skillset Dee แล้ว มี Mindset Dee แล้ว สิ่งต่อไปคือการส่งต่อทั้งองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะออกไป จนเกิดความเปลี่ยนแปลงและสร้างแรงบันดาลใจผ่านการ

  • ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าความคาดหวัง จนเกิด Impact แก่สังคมในวงกว้าง
  • ร่วมมือและเชื่อมต่อกับพันธมิตรในส่วนอื่น ๆ เพราะการทำร่วมกันย่อมสร้างแรงกระเพื่อมได้มากกว่า
  • แบ่งปันความรู้หรือประสบการณ์ระหว่างกัน เพื่อไม่ให้เขาต้องเสียเวลาค้นหาคำตอบ และร่วมสร้างสิ่งใหม่ที่ดีและถูกต้องไปด้วยกัน
  • สร้าง Community แห่งนวัตกรรม ผ่านการทำให้คนเข้าใจการทำนวัตกรรมและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน
  • เปิดพื้นที่และสร้างโอกาสให้คนอื่น ๆ ในการเข้าถึงความรู้ด้านนวัตกรรม

ซึ่ง Contribution Dee นี้เป็นส่วนที่ WEDO มองไปถึงเศรษฐกิจใหม่ในระดับประเทศ เพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอกและการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของไทย คน DODEE ของ WEDO จึงต้องเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลงนี้ เมื่อเกิดแรงกระเพื่อมบนผิวน้ำมากพอก็จะสามารถสร้างให้เกิดคลื่น จนเกิดการขับเคลื่อนและนำประเทศไปสู่เศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์

“สิ่งที่จะทำให้น้อง ๆ ของ WEDO อยู่ด้วยกันกับเราไปนาน ๆ คือการให้เขาทำในสิ่งที่มี Value กับเขา” คุณหฤทัย สายทินกร Senior Technical Resource & Community Development Manager, WEDO

ยก Garage และบทเรียนมาไว้ที่บูธ

จากแนวคิดในการเลือกและพัฒนาคนข้างต้น WEDO จึงได้มาเข้าร่วมงาน Thailand HR Tech 2022 เพื่อแบ่งปันแนวคิดในครั้งนี้ อันเป็น Contribution Dee ที่จะแบ่งปันและสร้าง Community ของนวัตกรรมขึ้น ด้วยแนวคิดในการยกนวัตกรรมบางส่วนจาก SCG Digital  Innovation Garage มาไว้ในบูธ เพื่อสร้างให้เกิดแรงบันดาลใจและเปิดให้ผู้สนใจมาพูดกับนวัตกรของ WEDO ได้ในงาน

นวัตกรรมต่าง ๆที่นำมาแสดงในงานมีที่มาที่หลากหลาย ทั้งก็อกน้ำพูดได้ที่เป็น Smart Living หรือนวัตกรรมอื่น ๆ ในฝั่งของ Smart Industrial, Smart Mobility หรือ Smart city โดยมีนวัตกรยืนประจำผลงานของตัวเองในบูธ ที่พร้อมจะส่งต่อแรงบันดาลและแนวคิดตั้งแต่ตอนที่เริ่มต้นคิด การทำ Research การนำมาทำเป็น Tech Demonstrator และการสร้างขึ้นจริงเพื่อนำมาแสดงในงาน

โดยบูธของ WEDO ในงานนี้ถือเป็นการใช้ซ้ำเป็นครั้งที่ 3 แล้ว โดยเริ่มจากการสร้างขึ้นเพื่อใช้งานในงาน Techsauce Global Summit 2022 และต่อมาก็นำไปใช้ต่อในงาน Sustainability Expo 2022 จากนั้นจึงนำมาใช้อีกครั้งในงาน Thailand HR Tech 2022 ซึ่งการนำมาใช้ได้ซ้ำหลายครั้งนั้นไม่ใช่การนำข้อมูลเก่ามาแสดงซ้ำ แต่เป็นเพราะในบูธประกอบด้วยจอต่าง ๆ ที่สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลที่ใช้แสดงได้อย่างลื่นไหล (Fluid)

เพื่อให้สามารถสร้างแรงกระเพื่อมของ Community แห่งนวัตกรรม WEDO จึงไม่ได้มาขาย Solution หรือบริการในงาน แต่ยกบูธใช้ซ้ำได้ (Reusable Booth) มาเพื่อเล่าสิ่งที่ตัวเองเรียนรู้มาใน 3 ปี เพื่อให้องค์กรอื่น ๆ นำไปต่อยอดเพื่อหาคุณลักษณะของคนที่องค์กรนั้นต้องการ ให้สามารถเลือกและพัฒนาคนที่เหมาะกับเป้าหมายขององค์กร โดยแม้จะไม่สามารถจ้างคนที่ตรงกับลักษณะที่ต้องการทั้งหมด แต่การเลือกคนจาก Mindset ที่ต้องการนั้น จะช่วยให้องค์กรได้คนที่ไปพัฒนาต่อจนเป็น Talent คนสำคัญได้

“Hire from mindset and attitude, train for skills” 


บทความนี้เป็น Advertorial


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Gartner คาด Everyday AI จะบูม! ใน Digital Workplace ภายใน2 ปี องค์กรต้องปรับตัวรับด้วย DEX

Gartner บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาชั้นนำ ได้เผยแพร่รายงาน Hype Cycle for Digital Workplace Applications, 2024 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กำลังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญ...

Responsive image

Techsauce ประกาศความร่วมมือ Outcome เปิดตัว Innovation Accounting Service เพื่อช่วยองค์กรวัดผลด้าน Innovation อย่างมีประสิทธิภาพ

Techsauce ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ Outcome ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านนวัตกรรม เพื่อนำเสนอบริการ Innovation Accounting Service ภายใต้ชื่อ SATORI...

Responsive image

Thrive Among Uncertainties: เปิดแนวคิดผู้นำองค์กรแห่งอนาคตกับ Michelle Bligh

ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ผู้นำจะพาองค์กรอยู่รอดได้อย่างไร? Michelle C. Bligh ผู้บริหารระดับสูงจากมหาวิทยาลัย Claremont ได้มาร่วมแบ่งปันแนวคิดสำคัญสำหรับผู้นำอ...