พัฒนาองค์กรสู่นวัตกรรม ด้วยการปลุกพลังของ Passioneer สัมภาษณ์พิเศษ Chief Disruption Officer แห่ง Food Passion | Techsauce

พัฒนาองค์กรสู่นวัตกรรม ด้วยการปลุกพลังของ Passioneer สัมภาษณ์พิเศษ Chief Disruption Officer แห่ง Food Passion

เมื่อพูดถึงบริษัทที่ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม และปลูกฝังให้คนในองค์มีความกระตือรือร้น กล้าคิดนอกกรอบ เปิดรับสิ่งใหม่ๆ หลายคนคงจะคิดถึงบริษัทที่มีพื้นฐานมาจากธุรกิจดิจิทัลก่อน แต่ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกภาคธุรกิจ อยู่ที่หัวเรือใหญ่ ผู้นำองค์กรตระหนักและเห็นความสำคัญมากน้อยแค่ไหน โดยวันนี้เราจะไปพูดคุยกับธุรกิจที่ไม่ได้เริ่มต้นจากมาจากดิจิทัล แต่เป็นร้านอาหารชื่อดังที่ใครหลายคนรู้จักกันดี และมีกิจกรรมที่สร้างวัฒนธรรมในองค์กรที่แข็งแรงมาอย่างต่อเนื่อง

บริษัทนั้นคือ Food Passion ผู้นำธุรกิจร้านอาหาร เจ้าของแบรนด์ดังอย่าง BBQ Plaza ซึ่งดำเนินธุรกิจมากว่า 30 ปีแล้ว เริ่มต้นจากธุรกิจครอบครัว และปัจจุบันขยับขยายสาขาไปทั่วประเทศ ทีมงานผู้บริหารคือกลุ่มคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่เข้าใจถึงความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กร นำทีมโดย ชาตยา สุพรรณพงศ์ Chief Engagement Officer และ เรืองชาย สุพรรณพงศ์ Chief Disruption Officer  โดยตำแหน่งหลังนี้ถือเป็นตำแหน่งที่อาจไม่คุ้นชินในบ้านเรานัก แต่ในต่างประเทศเราเริ่มเห็นตำแหน่งนี้กันมากขึ้น โดยเฉพาะในองค์กรที่ให้ความสำคัญด้านนวัตกรรม (Corporate Innovation) โดยตรง เป็นหัวเรือใหญ่ที่คอยดูความเคลื่อนไหวของภาคธุรกิจองค์รวมทั้งในส่วนนวัตกรรม โมเดลธุรกิจประเภทไหนที่จะถูกปฏิวัติเปลี่ยนแปลงไป?  และจะปรับตัวอย่างไรในช่วงที่เทคโนโลยีเข้ามามีผลกระทบแบบก้าวกระโดดอย่างทุกวันนี้? โดยหนึ่งในภารกิจที่เป็นรากฐานสำคัญ คือการเตรียมความพร้อมให้กับบุคคลากรนั่นเอง

ช่วงต้นปี 2017 ในงานแถลงข่าวผลประกอบการของ Food Passion ได้เผยถึงกลยุทธ์สำคัญหนึ่งออกมาก่อนหน้า นั่นคือ คิดแบบ Startup เน้นให้เกิดประสบการณ์ (experimental) ใหม่ๆ เรียนรู้จากสิ่งนั้น และปรับตัวอย่างรวดเร็ว ผ่านไปหนึ่งปี เป็นอย่างไรกันบ้าง เราไปติดตามกรณีศึกษานี้กัน

โครงการสร้าง Passioneer ในองค์กร

ปีที่ผ่านมาเราพัฒนาโครงการที่ชื่อ Passion LAB ​#ห้องทดลองของคนมีของ เรามีความเชื่อว่าความสุขที่ยั่งยืน เกิดจากการมีชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยนวัตกรรม เราแบ่งโครงการออกมาทั้งหมดเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกเลยก็คือ Incubate บ่มเพาะไอเดียของคนในองค์กร สร้าง Passioneer ขึ้นมา เปิดโอกาสให้พนักงานที่สนใจที่มีไอเดียดีๆ อยากแก้ปัญหาอะไรบางอย่างในสังคม สามารถมานำเสนอ โดยทีมที่เข้ารอบจะได้

  1. เข้ามาเรียนรู้ เราจัดหลักสูตรพิเศษที่นำมาใช้ในการพัฒนาโครงการไอเดียของพวกเขาให้ตลอด 4 เดือน ฝึกวิธีคิดแบบ Design Thinking วิธีการทำงานแบบ Scrum
  2. เชิญ mentor ที่ปรึกษานอกองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องนั้นๆ โดยตรงมา
  3. เงินทุนในการพัฒนาไอเดีย
  4. ที่ปรึกษาคล้ายๆ ครูประจำชั้น ที่จะคอยแนะนำให้กับคุณตลอดเส้นทาง

และในอนาคตจะมีโอกาสพัฒนานวัตกรรมร่วมกับ Startup ภายนอก และรวมถึงการลงทุนในรูปแบบกลยุทธ์เพื่อนำเทคโนโลยีกลับมาใข้ในองค์กร

อะไรคือแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้คนอยากมาร่วมโครงการเพราะงานเดิมตัวเองก็มีเยอะอยู่แล้ว?

จุดนี้สำคัญมากเพราะบางคนอาจกังวลเรื่องงานประจำที่ทำอยู่ เราจึงมีการกำหนดข้อตกลงกับหัวหน้างานเอาไว้อย่างชัดเจนก่อน และงานเดิมก็ต้องไม่เสีย อย่างเช่น เวลาที่ต้องใช้กับโครงการนี้เป็นอย่างไร ถ้ากำหนดข้อตกลงเอาไว้ให้ชัดเจนแต่แรกเรื่องนี้ก็จะลดลงไป

แน่นอนว่าการเข้าร่วมโครงการสำหรับทีมผู้ชนะทั้ง 3 ทีมเรามีเงินรางวัลให้ จริงๆ แล้วแม้ไม่ใช่เงินจำนวนมากอะไร แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเราสัมผัสได้ คือ ความภูมิใจของ Passioneer ทุกคนที่มีโอกาสได้ทำตามฝันและไอเดียของพวกจริงๆ นอกจากนั้นยังได้โอกาสเรียนรู้จากหลักสูตรพิเศษที่เราจัดให้ ซึ่งไม่ใช่เป็นแค่ประโยชน์ในโครงการนี้เท่านั้น ยังเป็นประโยชน์และดีต่อตัวพวกเขาเองด้วย

ย้อนกลับมาที่องค์กรของทาง Food Passion เองได้อะไร

จากที่ได้ดำเนินโครงการดังกล่าว ในปีผ่านมา เราพบว่า Passion Lab สามารถสร้างคุณค่าและประโยชน์แก่บุคลากร และวัฒนธรรมองค์กรได้โดยตรง

  • Talent Activator : จากโครงการนี้เราได้เห็น Talent ของหลายๆ คนที่มาร่วมโครงการอย่างชัดเจนว่าใครถนัดอะไร ใครเก่งอะไร เราจะพัฒนาพวกเขาไปต่อได้อย่างไร
  • หลักสูตรที่เรานำมาสอน working methodology เป็นแบบใหม่ สิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้หลังจากจบโครงการสามารถนำกลับไปใช้กับงานหลักที่มีอยู่ได้ และทุกครั้งที่จะพัฒนาอะไรขึ้นมา ทุกคนจะมองไปถึงเราจะช่วยอะไร “ลูกค้า” ก่อนเสมอ
  • วัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรง ที่พร้อมรองรับคนมีไฟ มีฝัน มี passion มีไอเดีย มีความกระตือรือร้น

หลังจากโครงการนี้เราจะได้เห็นอะไรต่อ?

ปีนี้เราก็จะมีการจัด Batch 2 อีก และนำเอาประสบการณ์ที่ได้จาก Batch 1 ไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น และอย่างที่เกริ่นไว้ก่อนหน้านี้ ด้วยโครงการนี้เราจะเริ่มสร้างนวัตกรรมที่ทำงานร่วมกับภายนอกมากขึ้นด้วย

ถ้าให้นิยาม "Secret Sauce" สูตรความสำเร็จของ Food Passion คืออะไร

สำหรับ Secret Sauce ของเรา  ทุกอย่างคือมองย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นมาจากแก่นวิสัยทัศน์และความตั้งใจหลักขององค์กร ทุกอย่างเราเริ่มต้นถามตัวเองก่อนว่า Why? ตามด้วย How? แล้วค่อย What? ไม่ใช่บอกว่าเราจะทำอะไรเลย สำหรับ Food Passion การดูแลผู้คนให้มีความสุข โดยมีอาหารเป็นสื่อกลาง นี่คือหน้าที่หลักขององค์กร และสิ่งนี้จะถูกนำไปอิมพลีเมนต์ในส่วนต่างๆ อย่างโครงการของ Passion LAB ก็เช่นเดียวกัน ด้วยโจทย์ที่เราอยากสร้างความสุขที่ยั่งยืน แล้วจะทำได้อย่างไร? เราก็มองว่า ต้องมีนวัตกรรมเข้ามาช่วย แต่การที่จะทำให้เกิดนวัตกรรมได้ คนของเราก็ต้องพร้อม ต้องมีทักษะเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ซึ่งเหล่านี้สะท้อนออกมาในรูปแบบของหลักสูตรที่สอนพนักงานที่เข้าร่วมโครงการนั่นเอง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

เปิดลิสต์ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC สนใจมากที่สุดในปี 2025

ค้นพบ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC ให้ความสนใจในปี 2025 ตั้งแต่โซลูชัน AI เฉพาะด้าน โครงสร้างพื้นฐาน AI ไปจนถึงระบบที่น่าเชื่อถือและยืดหยุ่น พร้อมโอกาสใหม่ในการสร้างธุรกิจที่...

Responsive image

วิเคราะห์บทบาท AI ด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่านมุมมองผู้เชี่ยวชาญจาก AI House ที่ดาวอส

ในการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่จัดขึ้นที่ Davos นั้นหัวข้อสำคัญที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขามาร่วมพูดคุยถึง...