เปลี่ยนมิติการเรียน AI ให้ skill ตอบโจทย์ตลาด สาระจากงานจัดตั้ง “สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์” | Techsauce

เปลี่ยนมิติการเรียน AI ให้ skill ตอบโจทย์ตลาด สาระจากงานจัดตั้ง “สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์”

นับเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าในวงการศึกษา AI ของไทย เมื่อสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัย CMKL ประกาศความร่วมมือกับอีก 4 มหาวิทยาลัยและหน่วยงานเอกชนชั้นนำ ขานรับนโยบาย อว. เพื่อจัดตั้ง “สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI Engineering Institute: AIEI)” พร้อมจัดงานแถลงและเชิญหน่วยงานชั้นนำเข้าร่วมเสวนาด้านหลักสูตรซึ่งจะเปิดให้นักศึกษาเรียนรู้ AI ข้ามสถาบันได้ โดยจะเริ่มการสอนในเดือนสิงหาคม ปีการศึกษา 2565 นี้

สู่การเปิดหลักสูตร AI Sandbox แห่งแรกของไทย

การจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ เป็นความร่วมมือที่ทาง สจล. และมหาวิทยาลัย CMKL ได้รับจากอีก 4 มหาวิทยาลัยชั้นนำ ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการบูรณาการหลักสูตร AI ไปพร้อมกับภาคหน่วยงานเอกชนชั้นนำ เนื่องจาก AI เป็นที่ต้องการของตลาดสูง ทั้งนี้นโยบายการศึกษาที่จัดนั้นจะต่างจากหลักสูตรทั่วไป โดยอาศัยหลักการ AI Sandbox เพื่อให้ทุกคนร่วมกันทดลอง ร่วมกันเรียนรู้ สู่การแบ่งปันทรัพยากรร่วมกัน 

โดยภายในงาน ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ให้เกียรติเป็นสักขีพยาน พร้อมแสดงการสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการวิจัยด้าน AI เนื่องมาจากในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ทั่วโลกมี AI แพร่หลาย จนเกิดการแข่งขันทางเทคโนโลยี ซึ่งการจัดตั้งหลักสูตรนี้ถือเป็นโอกาสของไทยที่จะลดช่องว่างในการแข่งขันกับประเทศที่พัฒนาแล้วและยิ่งในภาวะปัจจุบันที่เราอยู่ในภาวะ Macro Uncertainty ที่ความไม่แน่นอนส่งผลกระทบกับทุกคนทั่วโลก ทั้งการการแข่งขันเรื่องชิป ภาวะสงครามและไอที ขณะเดียวกันไทยยังไม่พร้อมรับแรงกระแทกเหล่านี้ เพราะฉะนั้น AI จึงเป็นทางออกที่จำเป็น

พัฒนากำลังคนขั้นสูงและพัฒนาความเป็นเลิศด้าน AI

นอกจากนี้ทางอว.ยังเห็นความสำคัญของการพัฒนากำลังคนในปริมาณมหาศาล โดยส่งเสริมให้แรงงานเข้ามาทำงานทั้งแบบ degree และ non-degree เพื่อการสร้างคนที่มีคุณภาพ ในปริมาณมาก และในเวลาที่รวดเร็วสู่ตลาด ทั้งนี้ยังได้ตั้งเป้าไว้สู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วภายในปี พ.ศ. 2580

ขณะเดียวกันยังมีข้อมูลที่เป็นที่น่าสนใจโดย อธิการบดีมหาวิทยาลัย CMKL รศ. ดร.สุพันธุ์ ตั้งจิตกุศลมั่น ได้กล่าวว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า ภาคดิจิทัลและ AI จะมีความต้องการบุคลากรเป็นจำนวนสูงถึง 34,505 ตำแหน่ง แต่กลับกัน นักศึกษากลับมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปีการศึกษา 2564 มีนักศึกษาใหม่ 17,485 คน ลดลงมากกว่าปี 2560 ถึงร้อยละ 7.6 ดังนั้น CMKL จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การจัดตั้งสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ในครั้งนี้ จะช่วยลดอุปสรรคด้านการเรียนรู้ด้วยพัฒนาหลักสูตรแบบเน้นสมรรถนะของผู้เรียน (Competency-based Education) ได้

การเสวนา “บทบาท AI ในปัจจุบัน กับแนวทางการพัฒนาประเทศ”

หลังจากในช่วงแรกสถาบันการศึกษาได้กล่าวความสำคัญของการเป็นฝ่ายป้อนแรงงานสู่ตลาดแล้ว ในช่วงถัดมานั้นเป็นการเสวนาระหว่างบริษัทเอกชนที่พูดในฐานะฝ่ายผู้รับแรงงาน จากทั้งทาง Western Digital, Microsoft, UN Habitat, สมาคมหน่วยบ่มเพาะธุรกิจและอุทยานวิทยาศาสตร์ไทย (Thai-BISPA), True Digital Park, T.C.C Technology, เอก-ชัย ดิสทริบิวชัน ซิสเต็ม (Lotus), AIS และ กสิกร บิสซิเนส เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) โดยมีผศ.ดร.วรรณรัช สันติอมรทัต ผอ.สถาบันวิจัยและนวัตกรรมดิจิทัล เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

โดยคุณศิรินุช ศรารัตน์จาก Microsoft ประเทศไทย กล่าวว่า Microsoft เห็นความสำคัญบนพันธกิจการศึกษานี้ และกล่าวเสริมว่า AI ไม่ได้เข้ามาแย่งงาน แต่เป็นการมาช่วยเรื่องพื้นฐานที่ Automate ได้ เพื่อให้เราได้ใช้เวลาไปทำในเรื่องซับซ้อนอื่นๆ อื่นที่จำเป็นมากกว่า และที่สำคัญ นอกจากการพัฒนานักเรียนแล้ว อาจารย์ก็ต้องเป็นผู้ที่พัฒนาตัวเองอยู่เสมอเพราะเป็นผู้หล่อหลอมแนวความคิดที่เป็นตัวอย่างแก่นักเรียน พร้อมกันนี้ทางคุณศิรินุชยังแนะนำการเข้าใช้งาน Azure และหลักสูตรออนไลน์ที่ทาง Microsoft พัฒนาเพื่อสามารถใช้เป็นอีกแหล่งที่เป็นหลักสูตรให้ทุกสถาบันอุดมศึกษามานำไปใช้ได้ ซึ่งนับว่าเป็นส่วนสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิด Tech learning ecosystem

นอกจากนี้ทางคุณพรรณิสา นิรัตติวงศกรณ์ จากทาง UN habitat ได้ยกหัวข้อการเสวนาสู่ส่วนที่น่าสนใจในเรื่อง Smart city ในอนาคต เพราะ AI เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเราทั้งหมด และยิ่งเกี่ยวข้องเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ SDG  โดยในอนาคตแหล่งที่อยู่อาศัยอาจได้รับผลกระทบจากปัจจัยคุกคามต่างๆ ทางคุณพรรณิสาคิดว่า AI จะเข้ามาแก้ปัญหาในเรื่องคุณภาพชีวิตและการอยู่อาศัยอย่างแน่นอน แต่ทั้งหมดนี้อยากให้การใช้ AI นั้นนำมาใช้โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และอยากให้ปลูกฝังเรื่อง AI Ethics จรรยาบรรณผู้ใช้เทคโนโลยี ขอให้อยู่บนพื้นฐานหลักมนุษยธรรมอันสากล

มอบเหรียญ DLI Tokens และโปรเจกต์สาธิต A.I. จากในงาน

นอกเหนือไปจากการแถลงความร่วมมือ และการจัดเสวนาแล้ว ในช่วงท้ายของงาน ทาง NVIDIA ยังได้มอบ DLI Tokens และ CIP training courses ให้แก่ทางสถาบัน

โดย Keith Strier - Worldwide VP of AI Nation Partnership and Member of US AI Nation Program, NVIDIA กล่าวว่า“เนื่องจาก AI เข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงในทุกอุตสาหกรรม เป็นจังหวะที่ดีที่ทั้ง 6 มหาวิทยาลัยได้ร่วมกันก่อตั้ง สถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ทั้งนี้ทาง NVIDIA Deep Learning Institute มีทรัพยากร และการอบรมที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาในการสร้างทักษะและความรู้อันมีค่าในด้าน AI เราจะร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการพัฒนาผู้มีความสามารถที่จำเป็นสำหรับ AI ecosystem 

นอกจากนี้ยังมีการสาธิตยกระดับสินค้าชุมชนเข้าสู่แพลตฟอร์ม e-Commerce ได้แก่ น้องพอใจ เอไอผู้ช่วยสื่อสารภาษาถิ่นกับระบบรู้จำเสียงอัตโนมัติที่คล้ายคลึงกับที่มีอยู่ในระบบต่างๆ ทั้ง Siri, Alexa, Google Assistant ให้เข้าใจภาษาถิ่นทุกภูมิภาคของไทย เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสินค้าชุมชนสามารถใช้ภาษาถิ่นในการนำสินค้าเข้าสู่ช่องทางออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

----------------------------------------------------------------------------------------------------

มหาวิทยาลัย CMKL เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ภายใต้ความร่วมมือของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) และ มหาวิทยาลัยคาร์เนกีเมลลอน (Carnegie Mellon University) สถาบันการศึกษาที่เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์อันดับ 1 ของโลก ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายใต้แนวคิด “Enabling Endless Possibilities” 

สำหรับหลักสูตรนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อมหาวิทยาลัย CMKL เว็บไซต์ www.cmkl.ac.th เพจเฟซบุ๊ก www.facebook.com/CMKLUniversity โทรศัพท์ 065-878-5000 หรือสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โทรศัพท์ 02-329-8321 เพจเฟซบุ๊ก https://th-th.facebook.com/kmitl001

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มรดกแนวคิด Steve Jobs ที่ส่งต่อถึง Tim Cook เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของ Apple

Tim Cook ยกหนึ่งคำสอนล้ำค่าในการทำงานจาก Steve Job ที่ทำให้ Apple เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลก ในด้านการส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กร นั่นก็คือ ‘ทุกคนสามารถสร้าง...

Responsive image

ทำไมองค์กรต้องมี ‘Innovation Culture’ พื้นฐานที่ขาดไม่ได้ถ้าอยากสร้างนวัตกรรม

ในบทความนี้ Techsauce ขอพาผู้อ่านไปรู้จักคำว่า Innovation Culture หรือ วัฒนธรรมนวัตกรรม อีกฟันเฟืองสำคัญของการสร้างนวัตกรรมองค์กรที่ขาดไปไม่ได้...

Responsive image

เจาะกลยุทธ์ ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ IKEA ร้านเฟอร์นิเจอร์เก่าแก่เอาตัวรอดในยุคดิจิทัล

กลยุทธสำคัญอย่าง ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ทำให้ IKEA สามารถรักษาเอกลักษณ์อันโดดเด่นของบริษัท ไปพร้อมกับการปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง...