ความเร็วและนวัตกรรมเป็นปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญในโลกดิจิทัลในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการปฏิวัติทางดิจิทัลที่ความต้องการและข้อเสนอแนะจากผู้บริโภคแพร่กระจายขยายวงกว้างผ่านทางโซเชียลมีเดียได้อย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งความคาดหวังพื้นฐานของลูกค้าสำหรับนวัตกรรมที่แตกต่างก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน
เมื่อความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมควบคู่กับเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว การทดสอบผลิตภัณฑ์รวมไปถึงการบริการดิจิทัลในตลาดอย่างสม่ำเสมอได้กลายเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน แต่บริษัทต่าง ๆ จะทำอย่างสม่ำเสมอและประสบความสำเร็จด้วยผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลในวงกว้างได้อย่างไร? แล้วองค์กรต่าง ๆ จะปรับตัวรับทันกระแส Next Normal ใหม่นี้อย่างไรให้รอด!
มาร่วมถกประเด็นแห่งปัจจุบันและอนาคต จากเวที Vertical Stage งาน Techsauce Global Summit 2022 ในหัวข้อ “Innovation at Speed: The Next Normal of Corporate Innovation” ร่วมพูดคุยโดยสามสปีคเกอร์ผู้เชี่ยวชาญ
คุณธนุสได้กล่าวว่า ความเร็ว (Speed) เปรียบดั่งจุดเด่นของบริษัทที่ประสบความสำเร็จในยุคดิจิทัล และเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ว่าคุณจะดำเนินองค์กรหรือรูปแบบธุรกิจแบบใดก็ไม่ควรมองข้ามและควรให้ความสำคัญเรื่องนี้เป็นอันดับต้น ๆ เพราะความพร้อมเตรียมตัวรับมือ การประยุกต์และการปรับตัวให้เท่าทันจะทำให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้
พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของคนยุคใหม่ที่เกิดจากการเปลี่ยนผันจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้ปัจจุบันผู้บริโภคชอบอะไรที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายแบบ Anywhere,Anytime รวมถึงมีความคาดหวังที่ท้าทายให้องค์กรและธุรกิจต่าง ๆ ต้องสามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันไปของผู้บริโภคแต่ละคนได้ (Custom)
หลังจากมีโรคระบาดครั้งยิ่งใหญ่ การใช้ชีวิตแบบปกติใหม่ (New Normal) ดูเหมือนจะไม่ใช่เรื่องใหม่อะไรสำหรับผู้คนและองค์กร แต่สิ่งนี้กลับส่งผลกระทบในวงกว้างให้ผู้คนคำนึงถึงความยั่งยืนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นชีวิตความเป็นอยู่ ทรัพยากร ไปจนถึงสิ่งแวดล้อมและสังคมที่ยั่งยืน (ESG)
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการพัฒนาของเทคโนโลยี ทำให้เกิดวิถีชีวิตที่คนและเทคโนโลยีต้องพึ่งพาซึ่งกันและกัน จนทำให้ Business Model ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากคู่ขนานไปกับความเร็วที่เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง
ผู้คนยุคใหม่ที่เติบโตมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่รวดเร็ว การมีโซเชียมีเดียทำให้พวกเขาเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้มากขึ้นทั้งเรื่องของผู้คน สังคม สิ่งแวดล้อมและปัญหาความโปร่งใสต่าง ๆ จึงทำให้พวกเขากล้าในการแสดงออกและลงมือทำเพื่อหาทางออกให้เกิดความยั่งยืนมากขึ้น
คุณธนุสได้เสริมว่า นอกจากแนวคิด ESG จะสามารถช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่องค์กรและธุรกิจแล้ว ยังสามารถสะท้อนบทบาทความรับผิดชอบขององค์กรที่มีต่อสังคม เพื่อให้สามารถดำเนินงานในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนได้อีกด้วย
1. Speed of Business focus
องค์กรและธุรกิจต่าง ๆ ควรมี Innovation portfolio เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณา พัฒนา ขับเคลื่อนและจัดสรรทรัพยากรสำหรับการดำเนินการด้านการจัดการทรัพยากรทั้ง คน เวลา และงบประมาณเพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินการขององค์กรหรือธุรกิจ
2. Speed of Solution
รู้จักลูกค้าให้เร็วที่สุดและลึกซึ้งที่สุด โดยการเก็บข้อมูล “Customer Insights” ในทุกมิติ เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ บริหาร แก้ไขและต่อยอดให้กับองค์กร
3. Speed of Implementation
รู้จักประยุกต์และใช้เครื่องมือเทคโนโลยี Business Model Canvas และแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ เช่น IoT เป็นต้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการทำงานขององค์กรตั้งแต่การค้นหา วิจัย เก็บข้อมูล วางแผน ผลิตผลิตภัณฑ์และบริการ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์และโฆษณา
4. Speed of Product Market Fit
สร้างการเรียนรู้ Loop Learning ของกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด เพื่อให้องค์กรสามารถติดตามปรับปรุง และกำหนดมาตรฐานหรือแนวทางที่ควรเพื่อให้องค์กรหรือธุรกิจพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้ทันท่วงที
5. Speed of Going Together
แนวคิดในการทำธุรกิจให้รอดของหลายองค์กรในยุคใหม่คือ การหาพาร์ทเนอร์ธุรกิจที่สามารถตอบโจทย์ ทำให้องค์กรประหยัดต้นทุนด้านทรัพยากรและมีศักยภาพที่ดี ส่งเสริมให้องค์กรและธุรกิจของเราเติบโตขึ้นได้
ความเร็วถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ไม่ว่าจะในแง่มุมของนวัตกรรม การคาดการณ์ทางธุรกิจ การใช้งานโซลูชันต่าง ๆ ให้เหมาะสมตลาดของผลิตภัณฑ์หรือบริการขององค์กรหรือธุรกิจ แต่หากองค์กรหรือธุรกิจนั้นไม่สามารถทำทุกอย่างได้ด้วยตัวเองได้เร็วขนาดนั้น การมี Ecosystem Partnerships จึงเป็นสิ่งที่ดี เพื่อให้องค์กรต่าง ๆ สามารถการเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกันได้
ทำไมเราถึงต้องทำงานวิจัยเพราะเราต้องการสร้างแหล่งความรู้และองค์ความรู้ใหม่ ๆ ทำไมเราถึงทำธุรกิจเพราะเราต้องการสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม
รศ.ดร.สรณะกล่าวว่า โดยพื้นฐานแล้วสิ่งที่พวกเราสามารถทำได้ร่วมกันคือ การสร้างความรู้ให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจ และสิ่งที่เราทำได้ นั่นคือการสร้าง Playground เพื่อการศึกษาวิจัย ให้ภาคธุรกิจสามารถทำงานร่วมกัน และสร้างข้อได้เปรียบทางการแข่งขันใหม่ ๆ
คุณอภิรัตน์ ได้เสริมว่า กระบวนการพัฒนานวัตกรรมของ SCG เปิดกว้างทางความคิด ถ้าเรื่องใดไม่มีความเชี่ยวชาญจะสร้างความร่วมมือกับพันธมิตร ทั้งมหาวิทยาลัย องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งเราได้นำการวิจัยจากมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่แท้จริง
การสร้างความร่วมมือนี้ทำให้กระบวนการดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและรวดเร็วขึ้นมาก หากลองคิดว่า ถ้าเราต้องทำวิจัยเองทุกอย่างอาจใช้เวลานานแต่การร่วมมือกับพันธมิตรอย่างเช่น มหาวิทยาลัยซึ่งมีความรู้ในด้านนั้น ๆ อยู่แล้วผนวกกับบริษัทเอกชนอื่น ๆ ที่ชำนาญตลาดสินค้าด้านนั้น ๆ เราก็สามารถใช้เวลาสั้นลงในการทำงานให้สำเร็จ โดยไม่ต้องลงทุนเสียเวลาหรือสินทรัพย์ที่เสี่ยงมากเกินความจำเป็น และสิ่งนี้เองที่ทำให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจใหม่
หากเราอยากขับเคลื่อนประเทศของเราให้มีนวัตกรรมเป็นของตัวเองและผลิตเองได้ เราต้องเดินออกจากโซนที่เราเป็นเพียงประเทศที่รอซื้อและรอใช้ของคนอื่น ฉะนั้นต้องสิ่งที่ต้องทำคือเริ่มต้นจากการวิจัยเพราะนี่คือแหล่งความรู้ที่แท้จริงและเป็นพื้นที่การเรียนรู้ที่น่าสนใจ เพื่อนำไปผลิตผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถสร้างอิมแพ็คที่แท้จริงให้กับผู้คนได้
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด