KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2022 Pitching Day เสริมแกร่งสตาร์ทอัพไทย ตอบรับการมุ่งสู่ ESG | Techsauce

KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2022 Pitching Day เสริมแกร่งสตาร์ทอัพไทย ตอบรับการมุ่งสู่ ESG

กว่า 8 สัปดาห์ของโครงการ  KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2022 ที่จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ภายใต้คอนเซ็ปต์ Jumpstart your idea through entrepreneurial mindset ที่เป็นการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากความสำเร็จในระดับสากลและส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจให้กับสตาร์ทอัพในประเทศไทยให้สามารถสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจของตนเองและนำความรู้ดังกล่าวไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม โดยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยภายใต้ Stanford Thailand Research Consortium นำโดยรองศาสตราจารย์ Charles (Chuck) Eesley จากมหาวิทยาลัย Stanford ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถเข้าถึงองค์ความรู้จากช่องทางของ Stanford Online ได้

โดยเนื้อหาของหลักสูตรมีทั้งเรียนออนไลน์ผ่าน Webinar และ Workshop ที่มี Mentor ผู้เชี่ยวชาญจากทั้งไทยและต่างประเทศมาช่วยให้คำแนะนำและถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่สตาร์ทอัพ และกิจกรรม Networking ที่จัดในรูปแบบออฟไลน์เพื่อให้ผู้เรียนได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ก่อนจะมาสู่รอบ Pitching Day ณ อาคาร K+ Building

ไอเดียผู้ชนะจาก KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2022

โดยผู้ชนะในโครงการ KATALYST STARTUP LAUNCHPAD 2022 ที่ได้รับรางวัลไปกว่า 3,000 ดอลลาร์ หรือราว 100,000 บาทได้แก่ คุณปริวรรต วงษ์สำราญ Founder of Project EV นี้  เจ้าของโปรเจกต์ อีวี (Project EV) ที่เป็นผู้ให้บริการโซลูชันแบบครบวงจรเพื่อดัดแปลงรถยนต์สันดาปภายใน (ICE) ให้เป็นรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับธุรกิจขนส่งโลจิสติกส์ ที่ครอบคลุมถึงบริการติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่ศูนย์กระจายสินค้าหรือใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าของพันธมิตรทั่วประเทศ พร้อมทั้งมีศูนย์บริการซ่อมบำรุงรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงตลอดระยะเวลาการใช้งาน 

การใช้รถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงสามารถช่วยลดต้นทุนเชื้อเพลิงและลดภาษีคาร์บอน (Carbon Tax) ให้กับบริษัทขนส่งโลจิสติกส์ได้อย่างมาก ปัจจุบัน โปรเจกต์ อีวี ให้บริการดัดแปลงรถกระบะไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ เหมาะสำหรับบริษัทขนส่งโลจิสติกส์ที่มีศูนย์กระจายสินค้าระยะการขนส่งไม่เกิน 250 กิโลเมตรต่อวัน สามารถคืนทุนภายในระยะเวลา 2 ปีครึ่ง ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลงได้ประมาณ 30.8 ตันต่อคันต่อปี ในรถกระบะที่วิ่งประมาณ 90,000 กิโลเมตรต่อปี ขณะนี้อยู่ในระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพและสมรรถนะการใช้งานจริงร่วมกับบริษัทขนส่งโลจิสติกส์

คุณปริวรรตได้เผยถึงแนวคิดของโซลูชันในครั้งนี้ว่าหลายประเทศกำลังมุ่งสู่นโยบายการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) โดยมีการส่งเสริมการผลิตและการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศซึ่งเป็นเทรนด์ทั่วโลก ประเทศไทยเองก็มีนโยบาย 30@30 คือตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) รถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 แต่ปัจจุบันประเทศไทยยังผลิตได้แต่รถยนต์สันดาปภายในและมีการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ จึงได้ริเริ่มโปรเจกต์นี้ขึ้นมาเพราะมองว่าประเทศไทยมีรถยนต์สันดาปภายในที่อายุการใช้งานมากกว่า 10 ปีเป็นจำนวนมากและเหมาะสมสำหรับการดัดแปลงเป็นรถยนต์ไฟฟ้า สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศไทยได้ โดยโฟกัสที่รถกระบะเชิงพาณิชย์สำหรับองค์กรเป็นหลัก ซึ่งคุณปริวรรตเล่าว่าโปรเจกต์นี้เป็นการต่อยอดทางธุรกิจจากเทคโนโลยีการดัดแปลงรถยนต์ไฟฟ้าที่ทางมหาวิทยาลัยบูรพาได้พัฒนาขึ้นมาภายใต้การสนับสนุนของคณะทำงานพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC

“เราพบว่าบริษัทขนส่งโลจิสติกส์หลายแห่ง มีเป้าหมายมุ่งสู่การเป็น Green Logistics ชัดเจนมาก เพราะแรงกดดันจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนเชื้อเพลิงและภาษีคาร์บอน ในปีที่ผ่าน ๆ มา การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์จึงเป็นทางออกที่สำคัญ โดยเฉพาะรถกระบะที่แต่ละบริษัทฯมีอยู่จำนวนมาก

อีกทั้งความประทับใจกับหลักสูตรนี้ เรื่องแรกคือเนื้อหาหลักสูตรสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางการสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าได้จริงอย่างเป็นระบบ สามารถเข้าใจความต้องการของลูกค้าจริง ๆ เรื่องที่สองคือ การให้ฟีดแบคที่ดีและตรงไปตรงมาจาก mentor ทำให้เราได้มีมุมมองที่แตกต่างจากที่เคยมอง มีหลายฟีดแบคที่ดีนำมาปรับใช้ในโปรเจกต์นี้ได้ดีขึ้นมาก 

นอกจากนี้ทางโครงการฯ ได้มีการติดตามและกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น ตั้งใจเรียนอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นโอกาสที่ดีจริง ๆ ที่ได้มาเข้าร่วมโครงการฯ นี้” คุณเต๊ะกล่าวทิ้งท้าย

นวัตกรรมและไอเดียที่ดีในมุม KBTG Labs

หากมองไปที่ไอเดียของทั้ง 8 ทีมสุดท้ายที่มานำเสนอในวันนี้จะพบว่าสตาร์ทอัพไทยหลายเจ้าตอบรับ Trend และกระแสเรื่องความยั่งยืนกันเป็นอย่างมาก คุณเชษฐพันธุ์ ศิริดานุภัทร Managing Director, KLabs ได้ให้ความเห็นต่อนวัตกรรมในอนาคตต่อจากนี้ว่า มุมมองในฐานะกรรมการสำหรับปีนี้คือ มี Deep Tech, Green Tech,  Health Tech เยอะมากขึ้น ไอเดียที่เป็นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ค่อนข้างเยอะ 

“ในอนาคตอันใกล้ Green Tech เป็นเทรนด์ที่เห็นได้อย่างชัดเจน เช่นเดียวกับ KBank ที่ต้องการไปในทางนั้นและชัดเจนขึ้นมาก ตอนนี้หลายภาคธุรกิจก็หันมาทำนวัตกรรมและ Solution ใหม่ ๆ ได้มากขึ้น ไม่ใช่เพียงการตอบโจทย์ลูกค้าแต่เป็นการตอบโจทย์ทางธุรกิจด้วย”

โดยนวัตกรรมที่ดีนั้น ไม่เพียงแค่ตอบรับกับเทรนด์หรือสามารถแก้ไขปัญหาของลูกค้าได้ แต่ยังต้องเริ่มตั้งแต่การตั้งโจทย์ของนวัตกรรมให้ถูกต้องและยังต้องมีแผนทางธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้ได้จริง

“นวัตกรรมหรือโซลูชันที่ดีคือ Painpoint ต้องมีจริงเป็นเหมือนกระดุมเม็ดแรก เพราะหากมันไม่มีจริงที่ตามมาหลังจากนั้นจะผิดหมด และที่สำคัญต้องใหญ่ด้วย อันต่อมาคือเราจะทำเงินได้อย่างไร บางครั้งเราสร้างนวัตกรรมแล้วไม่ได้มีลูกค้าใช้ พอไม่ได้คิดแต่แรกแล้วมาคิดทีหลังมันจะไม่เวิร์ค” 

คุณเชษฐพันธุ์ใช้สองข้อนี้ในการตัดสินในการพิชชิ่งวันนี้ ซึ่งส่วนตัวคุณเชษฐพันธุ์ชอบ Business Model ที่เรียบง่าย (Simple) อธิบายแล้วใคร ๆ ก็เข้าใจ เพราะโมเดลที่อธิบายยากก็มีโอกาสที่จะนำไปใช้จริงไม่ได้

ESG ทิศทางสำคัญต่อจากนี้ของ KBank

สำหรับในการสร้างธุรกิจนั้นต้องสนใจที่ Impact และเทรนด์ ESG นั้นก็เป็นสิ่งที่สังคมกำลังให้ความสำคัญ ธุรกิจจึงต้องให้ความสำคัญกับประเด็นด้าน ESG โดยคุณธนพงษ์ ณ ระนอง กรรมการผู้จัดการ, Beacon VC ได้เปิดเผยว่า “โครงการนี้ทำมาเป็นปีที่ 3 เน้นให้ความรู้ด้าน Academic เพื่อให้สตาร์ทอัพเริ่มต้นได้อย่างถูกต้องและเติบโตอย่างมีคุณภาพ ปัจจุบันสภาพตลาดเปลี่ยนไปมาก สตาร์ทอัพต้องเริ่มคิดใหม่ เช่น อาจต้องคิดเรื่องเกี่ยวกับ ESG ให้ความสำคัญมากขึ้น เพราะเป็นจุดขายสร้างความแตกต่างได้ และตอบโจทย์นักลงทุน 

เกือบทุกบริษัทในประเทศไทยให้ความสำคัญกับเรื่อง ESG มากขึ้น โดยทาง Beacon VC ก็เน้นการลงทุนในเรื่องที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องพื้นฐานอยู่แล้ว ที่จริงในเรื่องของ ESG จะมี Governance อยู่ด้วย ซึ่งทาง KBank ให้แนวทางกับ Beacon VC อยู่แล้วที่เราต้องลงทุนในบริษัทที่มี Governance ดี ตอนนี้กองทุนในต่างประเทศที่ได้รับความนิยมมากขึ้นคือ กองทุนที่เน้นลงทุนในเรื่องเกี่ยวกับ ESG”

“สิ่งที่เราให้ความสำคัญคือเรื่อง Governance ที่นักลงทุนจะมองในการลงทุน และน่าจะเป็นแนวทางสำคัญของ VC อื่น ๆ เช่นกัน”

สำหรับโครงการ KATALYST ในปีต่อต่อไป คุณธนพงษ์กล่าวว่า เราสนับสนุนโครงการนี้เพราะเราเชื่อว่าการให้ความรู้จะสามารถต่อยอดให้ Startup เหล่านี้ได้ และเติบโตเป็นทางเลือกใหม่ ๆ ให้กับ Ecosystem ในประเทศไทยได้ และยังมีแผนที่จะทำโครงการ KATALYST ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ทุกปี เพราะถึงแม้จะเป็นโครงการที่ไม่ได้ Impact โดยตรงกับธุรกิจของธนาคาร แต่มองว่าโครงการนี้ยังมีประโยชน์ต่อสังคมไทย โดยส่วนที่น่าประทับใจคือผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนในปีก่อนหน้าก็ยังคงให้ความช่วยเหลือ แม้จะจบโครงการแล้ว ซึ่ง 8 ทีมสุดท้ายในปีนี้เองก็มีศักยภาพมากพอที่จะเติบโต จนเข้าไปอยู่ในพอร์ตการลงทุนของ Beacon VC ได้ในอนาคตเช่นกัน

“ซึ่งในอนาคต Beacon VC มีแผนจะเปิดกองทุนที่ลงในเรื่อง ESG โดยตรงเน้นโครงการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมหรือสังคมที่ KBank สามารถนำไปต่อยอดได้” คุณธนพงษ์กล่าวทิ้งท้าย


บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มรดกแนวคิด Steve Jobs ที่ส่งต่อถึง Tim Cook เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของ Apple

Tim Cook ยกหนึ่งคำสอนล้ำค่าในการทำงานจาก Steve Job ที่ทำให้ Apple เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลก ในด้านการส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กร นั่นก็คือ ‘ทุกคนสามารถสร้าง...

Responsive image

ทำไมองค์กรต้องมี ‘Innovation Culture’ พื้นฐานที่ขาดไม่ได้ถ้าอยากสร้างนวัตกรรม

ในบทความนี้ Techsauce ขอพาผู้อ่านไปรู้จักคำว่า Innovation Culture หรือ วัฒนธรรมนวัตกรรม อีกฟันเฟืองสำคัญของการสร้างนวัตกรรมองค์กรที่ขาดไปไม่ได้...

Responsive image

เจาะกลยุทธ์ ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ IKEA ร้านเฟอร์นิเจอร์เก่าแก่เอาตัวรอดในยุคดิจิทัล

กลยุทธสำคัญอย่าง ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ทำให้ IKEA สามารถรักษาเอกลักษณ์อันโดดเด่นของบริษัท ไปพร้อมกับการปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง...