4 วิธีประเมิน Performance พนักงาน แม้ทำงานแบบ Hybrid | Techsauce

4 วิธีประเมิน Performance พนักงาน แม้ทำงานแบบ Hybrid

หากว่ากันตามตรงคำว่า Hybrid Working แม้จะฟังดูใหม่ แต่จริงๆ ถูกใช้มานานแล้ว โดย Hybrid Working คือ รูปแบบการทำงานที่ผสมผสานระหว่างการทำงานแบบ in-person และ remote work หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ การทำงานแบบที่พนักงานสามารถเลือกทำงานได้ทั้งจากออฟฟิศ บ้าน หรือจากที่ไหนก็ได้ และไม่จำเป็นต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน ทำให้พนักงานมีทางเลือกในการทำงานมากขึ้น 

Hybridซึ่งบริษัทชั้นนำมากมายต่างก็ปรับตัวมาใช้รูปแบบการทำงานนี้ เช่น Google, Twitter, Dropbox หรือแม้กระทั่ง Uber, Barlow ดังนั้นจะเห็นได้ว่ารูปแบบการทำงานแบบ Hybrid ได้รับความสนใจในวงกว้างจากบริษัทชั้นนำของโลก นอกจากนี้ยังมีผู้บริหารองค์กรหลายคนสนับสนุนการทำงานแบบ Hybrid ด้วย เช่นกัน

แน่นอนว่าเมื่อรูปแบบการทำงานเปลี่ยนไป วิธีการประเมินก็เปลี่ยนตามเช่นกัน มาดูกันว่าหลังจากการมาถึงของ Hybrid Working ที่เปลี่ยนรูปแบบการทำงานเป็นจากที่ใดก็ได้นี้ เราจะสามารถปรับ KPIs (Key Performance Indicators) หรือการประเมิน Performance พนักงานให้เข้ากับรูปแบบการทำงานนี้อย่างไร ? มีปัจจัยใดบ้างที่ควรนำมาพิจารณาในการประเมินกับการทำงานรูปแบบใหม่นี้ โดยบทความนี้จะพาไปรู้จักกับ 4 วิธีประเมิน Performance พนักงาน แม้ทำงานแบบ Hybrid กัน

ประเมิน Hybrid Working อย่างไรให้เวิร์ก ?

การมีแนวทางที่ดีในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่ทำงานแบบ Hybrid Working เพื่อที่พนักงานทุกคนได้รับการประเมิน และพัฒนาตามความสามารถของตน โดยที่ไม่ต้องคำนึงว่าจะ “ทำงานจากที่ไหนก็ได้”

ซึ่งหนึ่งในความท้าทายที่ยากที่สุดในเรื่องของการบริหารการทำงานแบบ Hybrid คือ “การหาวิธีที่จะประเมินประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน” ให้ได้อย่างแม่นยำ เนื่องด้วยพนักงานบางคนทำงานในสำนักงาน และมีบางคนทำงานแบบ Hybrid ดังนั้นจึงสำคัญมากที่การประเมินต้องไม่ยึดตามหลักที่ว่าเราต้องเห็นเขาทำงานแบบต่อหน้าต่อตา

Scott Behson จาก Harvard Business Review ได้ทำการสัมภาษณ์ตัวแทนจากกว่า 40 บริษัท ในช่วงที่พวกเขาเจอความท้าทายเรื่องรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไปในช่วงโรคระบาด โดยเน้นการสัมภาษณ์ไปที่การประเมินการทำงานของพนักงาน ซึ่งหลายตัวอย่างชี้ให้เห็นว่าการบริหารงานแบบปกติยังมีความสำคัญอยู่ แต่ในขณะเดียวกันเราก็พบวิธีที่จะทำให้การทำงานแบบใหม่สามารถดึงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานหรือผู้จัดการได้เช่นเดียวกัน นั่นก็คือการทำงานแบบ 'Hybrid' นั่นเอง “และนี่คือสิ่งที่เราได้เรียนรู้ผ่านการสัมภาษณ์ ในการประเมินประสิทธิภาพการทำงานแบบ Hybrid”

เน้นวัฒนธรรม และค่านิยมขององค์กร

สิ่งสำคัญสำหรับของการทำงานแบบ Hybrid คือ การปลูกฝังให้พนักงานทุกคนเข้าใจและปฏิบัติตามค่านิยมขององค์กร โดยต้องไม่คำนึงว่าพวกเขาจะทำงานจากที่ใดก็ตาม

วิธีหนึ่งในการเสริมสร้างค่านิยมขององค์กรร่วมกันคือ การใช้แนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตัวอย่างเช่น Zappos ผู้ค้าปลีกออนไลน์ ทำการประเมินพนักงานทั้งในด้านประสิทธิภาพ และดูว่าพวกเขากำลังส่งเสริมวัฒนธรรม Zappos ในการทำงานประจำวันหรือไม่ 

Tony Hsieh ผู้ก่อตั้งและอดีตซีอีโอ กล่าวว่า “เราจะปลดพนักงานออก หากพวกเขาไม่เหมาะกับวัฒนธรรมองค์กร แม้ว่าพวกเขาจะทำงานได้อย่างสมบูรณ์ก็ตาม” 

ในทำนองเดียวกันการประเมินผลการปฏิบัติงานของ Johnstone Supply ซึ่งเป็นบริษัทจัดหา Heating Ventilation and Air Conditioning ระบบควบคุมสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ในรัฐนิวเจอร์ซีย์ นั้นก็ให้ความสำคัญกับคุณค่าทั้งที่อยู่ตรงหน้าและศูนย์กลางเป็นอันดับแรก 

ด้าน Chief HR Officer หรือ CHRO ของ Chris Geschickter กล่าวว่า "เราทำการตรวจสอบประสิทธิภาพค่านิยมของเรา ซึ่งนั่นคือเกณฑ์หลักของเรา ดังนั้นวิธีที่เราประเมินผลงานส่วนใหญ่คือ การสะท้อนค่านิยมหลักของเรา จากนั้นจึงประเมินว่าพฤติกรรมของพนักงานสอดคล้องกับค่านิยมเหล่านี้หรือไม่ ในแง่ของการบริการลูกค้า การทำงานเป็นทีม และอื่น ๆ ซึ่งสำหรับเราแล้ว การประเมินผลการปฏิบัติงานเปรียบเสมือนบทสนทนาตลอดทั้งปี โดยมีการจัดให้มีการประเมินตนเองเป็นจำนวนมาก”

แนวทางการประเมินตาม Values-based นั่นคือการสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลทั่วไป สำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่ทำงานแบบ Hybrid เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานที่เป็นหนึ่งเดียว แม้ว่าการรวม Values-based เข้ากับการประเมินผลการปฏิบัติงานจะไม่ใช่เรื่องใหม่เสมอไป

ติดตาม 'ชี้วัด' อย่างต่อเนื่อง

Ryan, LLC บริษัทที่ให้บริการด้านภาษี ได้เปลี่ยนมาใช้สภาพแวดล้อมการทำงานที่เน้นผลลัพธ์ในปี 2551 ทำให้พนักงานสามารถทำงานได้จากทุกที่และทุกเวลา โดยการทำงานเช่นนี้ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก และยังสามารถสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้าได้อีกด้วย ทำให้ผลประกอบการของบริษัทฯ เพิ่มสูงขึ้น

จะเห็นได้ว่ากุญแจสำคัญในการดำเนินการคือ แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ใช้ตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน ซึ่งมีการติดตามการทำงานอย่างสม่ำเสมอ และสามารถเข้าถึงได้ทุกเมื่อบน Internet Dashboard ที่สะดวก 

อดีต Chief Human Resource Officer, Delta Emerson อธิบายว่า “ผู้จัดการและพนักงานสามารถเข้าสู่ระบบและดูแดชบอร์ดของพวกเขาได้ โดยจะแสดงเป้าหมายรายได้และเป้าหมายประสิทธิภาพอื่น ๆ รวมถึงจุดยืนที่พวกเขาอยู่และวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งนำไปสู่การจ่ายค่าตอบแทนที่สามารถสร้างแรงจูงใจให้กับพนักงานได้ และสุดท้ายผู้จัดการจะทำหน้าที่รับผิดชอบโดยการติดตามผลประกอบการและประเมินการมีส่วนร่วมในกลุ่มของพวกเขา

สิ่งสำคัญที่เห็นเด่นชัดคือ Ryan ให้ความชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายและการวัดผลประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง สำหรับการทำงานแบบ Hybrid ซึ่งระบบการทำงานของพวกเขายุติธรรมและโปร่งใสทั้งสำหรับพนักงานที่ส่วนใหญ่ทำงานในออฟฟิศ และที่ทำงานแบบ Hybrid 

ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์

เมื่อได้ข้อตกลงว่าจะใช้ตัวชี้วัดในการติดตามประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแล้ว บริษัทก็ควรนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ยกตัวอย่างเช่น บริษัท General Electric ที่ใช้ระบบแอปฯ ให้พนักงานสามารถแชร์เป้าหมายหรือความก้าวหน้ากับคนในทีมของตัวเองได้ ซึ่งการทำแบบนี้จะส่งเสริมให้เกิดการพูดคุยถึงเรื่องประสิทธิภาพและความร่วมมือในการทำงาน 

โดยแนวทางนี้มุ่งเน้นให้พนักงานและผู้จัดการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้จัดการ พนักงานหรือเพื่อนร่วมงานในทีมเข้าถึงและรับรู้ฟีดแบ็คของกันและกันได้ดีขึ้นตลอดช่วงการทำงาน ไม่ว่าจะทำงานจากที่ใดก็ตาม โดยถือเป็นหลักเกณฑ์ในการสนับสนุนการตัดสินใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าในหน้าที่การทำงาน เช่น การเลื่อนตำแหน่ง และโอกาสในการพัฒนาศักยภาพที่สามารถเห็นได้อย่างเด่นชัด

ถ้าสถานที่ทำงานเปลี่ยน การประเมินก็ต้องเปลี่ยนตามเช่นกัน

การเปลี่ยนไปทำงานรูปแบบใหม่ไม่ว่าจะเป็นการทำงานจากที่ไหนก็ได้ หรือการทำงานแบบ Hybrid สำหรับหลายบริษัทถือเป็นเรื่องยุ่งยาก เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่สำหรับหลาย ๆ บริษัท แต่สิ่งที่ไม่เปลี่ยนไปคือ การบริหารแบบเก่ายังคงสำคัญอยู่ ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดเป้าหมาย การรับฟีดแบ็คจากเพื่อนร่วมงาน และการรายงานผลการดำเนินงาน 

โดยความแตกต่างอยู่ที่วิธีการของบริษัทต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่ใช้วิธีการข้างต้นด้วยกันทั้งสิ้น จึงไม่แปลกที่บริษัทเหล่านี้จะประสบความสำเร็จด้วยเหตุผลทั้ง 3 ประการ ได้แก่

  • ประการแรกคือ = ให้ความพึงพอใจของลูกค้า มูลค่าของบริษัท ให้ความสำคัญกับวิสัยทัศน์ของบริษัท กิจกรรมหลัก และความสำเร็จของโครงการ

  • ประการที่สองคือ = ให้ความร่วมมือในการวาง Goal และมี session แลกเปลี่ยนความเห็น

  • ประการที่สาม = ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือกัน เพื่อเสริมสร้างทีมโดยแชร์ Performance ในที่ทำงาน และ Workforce

ดังนั้นบทเรียนที่ได้จากเรื่องนี้ ก็คือการหาแนวทางที่สร้างสรรค์ที่จะประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นไปได้ และจำเป็นต่อการทำงานแบบ Hybrid ด้วย ซึ่งเป็นวิธีเดียวที่จะทำให้มั่นใจได้ว่าพนักงานทุกคนได้รับการประเมินและพัฒนาที่เหมาะสมตามความสามารถของตน  ไม่ว่าพวกเขาจะทำงานจากที่ไหนก็ตาม 

ทั้งหมดนี้อาจจะทำให้ "Hybrid Working" หรือ การทำงานแบบไฮบริด ไม่ใช่แค่เทรนด์อีกต่อไป ซึ่งไม่แน่อาจว่าจะกลายเป็นวิถีการทำงานสมัยใหม่ ที่อาจจะพลิกโฉมการทำงานแบบดั้งเดิมไปโดยปริยาย แต่ก็ต้องย้อนกลับไปดูว่าองค์กรของคุณรองรับแนวทางการทำงานนี้หรือไม่ และประสิทธิภาพงานที่ได้มานั้นจะ "ดี" เทียบเท่ากับการทำงานในออฟฟิศไหม ? ดังนั้นการประเมินผลงานหรือ Performance Appraisal จึงสำคัญมาก ถือเป็นฟันเฟืองชิ้นสำคัญที่ช่วยให้การทำงานแบบ Hybrid นั้นได้ผลลัพธ์ที่ตรงตามต้องการ

อ้างอิง Harvard Business Review

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มรดกแนวคิด Steve Jobs ที่ส่งต่อถึง Tim Cook เบื้องหลังความยิ่งใหญ่ของ Apple

Tim Cook ยกหนึ่งคำสอนล้ำค่าในการทำงานจาก Steve Job ที่ทำให้ Apple เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลก ในด้านการส่งเสริมนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ภายในองค์กร นั่นก็คือ ‘ทุกคนสามารถสร้าง...

Responsive image

ทำไมองค์กรต้องมี ‘Innovation Culture’ พื้นฐานที่ขาดไม่ได้ถ้าอยากสร้างนวัตกรรม

ในบทความนี้ Techsauce ขอพาผู้อ่านไปรู้จักคำว่า Innovation Culture หรือ วัฒนธรรมนวัตกรรม อีกฟันเฟืองสำคัญของการสร้างนวัตกรรมองค์กรที่ขาดไปไม่ได้...

Responsive image

เจาะกลยุทธ์ ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ IKEA ร้านเฟอร์นิเจอร์เก่าแก่เอาตัวรอดในยุคดิจิทัล

กลยุทธสำคัญอย่าง ‘ปรับแต่ไม่เปลี่ยน’ ที่ทำให้ IKEA สามารถรักษาเอกลักษณ์อันโดดเด่นของบริษัท ไปพร้อมกับการปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง...