เปิดมุมมอง 3 ทายาทธุรกิจชั้นนำ เมื่อ Mindset กลายเป็นสิ่งท้าทายต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรในยุค Disruption | Techsauce

เปิดมุมมอง 3 ทายาทธุรกิจชั้นนำ เมื่อ Mindset กลายเป็นสิ่งท้าทายต่อการเปลี่ยนแปลงองค์กรในยุค Disruption

Mindset หนึ่งในสิ่งสำคัญที่มีความผูกพันกับ Human หรือ ทรัพยากรบุคคล ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโต โดยเฉพาะท่ามกลางกระแส Disruption รุนแรงในยุคปัจจุบัน และยังถือเป็นสิ่งแรกที่ต้องปรับ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีของธุรกิจ ผ่านมุมมองของ 3 ทายาทธุรกิจชั้นนำของประเทศไทย นั่นคือ  ซีพี เนสกาแฟ และบุญรอดฯ ซึ่งได้มาแชร์ประสบการณ์และแนวความคิดในการบริหารให้ธุรกิจในงานสัมมนาประจำปี Forbes Forum 2019 : The Next Tycoon จัดโดยนิตยสาร Forbes Thailand

 

Mindset ต้องปรับเพื่อการขับเคลื่อนองค์กร

ธนิศร์ เจียรวนนท์ หนึ่งในทายาทเครือซีพี ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ LOTS Wholesale Solution ได้ให้มุมมองในการไปเปิดตลาดในประเทศอินเดีย ว่า ถือเป็นการขยาย Core Business จากประเทศไทย โดยการนำธุรกิจเดิมไปเปิดตลาดในประเทศใหม่ ซึ่ง LOTS Wholesale Solution ก็เหมือนเป็นการไปบุกเบิกสยามแมคโครในประเทศอินเดีย ปัจจุบันดำเนินการมาได้ประมาณ3ปีแล้ว 

สำหรับอินเดียถือเป็นประเทศที่มีความท้าทายเป็นอย่างมาก เพราะหากพูดถึงการดำเนินธุรกิจค้าปลีกและค้าส่งก็ยังไม่ได้เป็นตลาดที่ดีเท่าที่ควร อีกทั้งยังถือเป็นตลาดที่มีความซับซ้อน และความหลากหลายค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงต้องมีการศึกษาตลาดให้ดีในระดับหนึ่งก่อนถึงจะเข้าไป เพื่อที่จะสามารถทำความเข้าใจตลาด และเรียนรู้ Mindset ของผู้คนที่นั่น

ถ้าพูดถึงคำว่า Disruption ผมมองว่ามันเป็นเรื่องของ Mindset ซึ่งเราเองต้องมีการเรียนรู้ว่าโลกมันเปลี่ยนแปลงอย่างไร โดยจากการดำเนินธุรกิจอย่างที่บอกว่า อินเดียเป็นประเทศที่ Modern Trade ไม่ได้เติบโต ซึ่งมีสัดส่วนเพียงแค่ 8-9% ของเศรษฐกิจเท่านั้น

แต่ในขณะที่ E-Commerce กลับโตเร็วมาก จากที่เห็นตอนนี้ Amazon ก็เข้าไปลงทุนค่อนข้างมาก เมื่อเห็นเช่นนี้แล้วก็ต้องรู้แล้วว่าจะดำเนินธุรกิจอย่างไร และต้องแน่ใจว่าทีมงานของเรารู้ว่าเทรนด์ของอินเดียคืออะไร และจะรับมือกับมันอย่างไร ซึ่งก็ทำให้ผมขับเคลื่อน LOTS Wholesale Solution ให้เข้าสู่ Omni Channel 

นอกเหนือจากความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว และดำเนินการให้เข้าสู่เทรนด์ของเขา ก็ต้องคิดไปอีกว่าเราจะเป็น Disruption Creator ได้อย่างไร แม้จะเป็นสินค้าที่ขายเหมือนกับที่อื่น ซึ่งผมได้วางเป้าหมายไว้ว่าจะทำให้ 20%  ของสินค้าที่ขาย เป็นสินค้านำเข้าจากประเทศไทย เนื่องจากสินค้าของไทย ถ้ามองในแง่ของ Process มันเหนือกว่าที่อินเดีย ดังนั้นก็จะดึงดูดให้ลูกค้ามาซื้อกับเรา เพราะเรามีจุดต่างคือ สินค้าของเราเป็นสินค้า Import 

การทำงานในอินเดียไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะอย่างบริษัทยักษ์ใหญ่ อย่าง Metro อยู่มาสิบกว่าปี ตอนนี้แค่กำลังจะถึงจุดคุ้มทุน ส่วน Walmart อยู่มาสิบปีแล้ว ปัจจุบันยังขาดทุน ดังนั้นโจทย์หลัก คือ ทำอย่างไรให้ถึงจุดคุ้มทุนเร็วที่สุด  ปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนโจทย์ดังกล่าว คือ Mindset ของคนในองค์กร

ทีมงานเรามักมี Mindset ที่ยึดติดกับประสบการณ์แบบเดิม ๆ ว่า  อินเดียเป็นตลาดที่ยาก ต้องใช้ระยะเวลาเป็นสิบ ๆ ปีกว่าจะมีกำไร ซึ่งการมี Mindset แบบนี้ คือสิ่งที่ต้องปรับ ต้องดึงให้ทีมงาน อย่ามี Mindset เช่นนั้น ต้องให้คิดว่าจะ Drive ธุรกิจอย่างไรให้คุ้มทุนเร็วที่สุด ดังนั้นต้อง set up พวกเขา

สำหรับการที่จะทำให้ทีมงานของเราปรับ Mindset ได้นั้น มันต้องมี small success ให้เห็นด้วย อย่างเช่น ในบางครั้งยอดขายของเราลดลงอย่างมหาศาล ผมเลยต้องบอกว่า เราต้อง Back to basic ว่าธุรกิจค้าปลีกค้าส่งทุกอย่างมันจะต้อง come back to pricing ภายในเดือนเดียวยอดขายเราขึ้น 70-80 ล้านรูปี อันนี้ก็เป็น success อันหนึ่ง ซึ่งเราก็จะต้อง Build ให้เขาเห็นว่ามันทำได้  

ทรัพยากรมนุษย์ คือ สิ่งที่ต้องไม่ถูก Disrupt 

เฉลิมชัย มหากิจศิริ ที่รู้จักกันในฐานะทายาทเนสกาแฟ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งทั้ง President & CEO บมจ.โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์  และ CEO บริษัท พีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด เล่าว่า  จากการที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในแทบทุกด้าน โดยเฉพาะการรับรู้ ข้อมูลข่าวสารของคนในปัจจุบัน ดังนั้นในการทำธุรกิจก็ไม่ควรจะตามกระแสจน เกินไป แต่ให้มองถึงการเติบโตในอนาคตเป็นหลักด้วย โดยการดำเนินธุรกิจในยุคของตนได้มีการหา New Frontiers เข้ามาเสริมธุรกิจหลักหลายอย่างเพื่อเป็นการสนับสนุนการเติบโตให้กับธุรกิจ

ส่วนมุมมองในเรื่องของ Disruption  ต้องบอกว่าเมื่อพูดถึงคำนี้หลายคนจะไปนึกถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยี ซอฟต์แวร์  สิ่งใหม่ และความรวดเร็ว แต่จริง ๆ แล้วในการทำธุรกิจ สิ่งสำคัญในการขับเคลื่อน คือ Human หรือ ทรัพยากรบุคคล ดังนั้นสิ่งที่ต้องตระหนัก คือ ทำอย่างไรให้คนไม่โดน Disrupt ? 

จริง ๆ แล้ว Disruption ไม่ได้เป็นสิ่งที่พูดถึงกันเพื่อให้องค์กรเกิดการ panic แต่เป็นสิ่งที่เปรียบเสมือนอุปสรรคที่แน่นอนว่าทุกองค์กรต้องเจอ กับการที่จะมีสิ่งใหม่ ๆ เข้ามา ดังนั้น องค์กรที่เข้มแข็งและสามารถที่จะอยู่แนวหน้าได้ องค์กรนั้นจะต้องเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา และรู้จักยอมรับการเปลี่ยนแปลง 

แต่ในทางกลับกันถ้าองค์กรไหนที่ยังยึดติดแต่กับสิ่งเดิมๆ และคิดว่าธุรกิจสามารถทำกำไรได้ตลอดเวลา โดยที่ไม่มองเลยว่าคู่แข่งเป็นอย่างไร ไม่สนใจว่าโลกจะเปลี่ยนไปขนาดไหน อันนั้นเป็นสิ่งที่น่ากลัว ผมก็พยายามที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆตลอด เรียกว่าผมเองต้อง 3 T คือ Talk Trust Try 

  • Talk : ต้องมีการพูดคุยกันเพื่อหาความรู้ และดูว่าสิ่งที่จะเข้ามา Disrupt มันมีอะไรบ้าง และเป็นอย่างไร
  • Trust : เชื่อในสัญชาตญาณ จากการพูดคุย ถ้าหากเห็นว่าอะไรก็ตามที่จะเข้ามามีผลกระทบต่อธุรกิจ ต้องลองศึกษา
  • Try : ต้องลองทำ เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาก็จะลงเงินเพื่อซื้อไอเดีย และเรียนรู้ไปด้วยกัน ในบรรดาเทคโนโลยีใหม่ๆที่เข้ามา จากการที่ได้ลองศึกษาและเรียนรู้ดู โอกาสของสิ่งที่จะประสบความสำเร็จจริง ๆ มีอยู่ประมาณไม่ถึง 10% แต่อย่างน้อยเงินที่ลงทุนไป ถือเป็นเงินลงทุนไปเพื่อเรียนรู้จากประสบการณ์ 

ขณะเดียวกันลักษณะสำคัญของคนในองค์กรที่ต้องมี ก็คือ ความมีใจ  ถ้าหากในองค์กรมีคนที่เก่งก็จริง แต่ไม่มีใจในการทำงานให้บริษัท เราก็แค่มีคนเก่งที่ทำงานในองค์กรของเรา แต่ถ้าเขามีความสามารถด้วยและมีใจด้วย เขาจะเอาความสามารถทุกอย่างที่มี รวมถึงมีความพยายามที่จะร่วมกันพัฒนาองค์กร

สิ่งที่พยายามทำ คือ การปลูกฝังเรื่องความรัก และทำให้บริษัทเป็นเหมือนบ้านหลังที่สองของพนักงาน ซึ่งตรงนี้จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานที่ดีขึ้น คนในองค์กรมีความมั่นใจ มีPassion  และมีพลังบวกในการทำงานมากขึ้น

ลดช่องว่างทางความคิดของคนต่างวัย

ปิติ ภิรมย์ภักดี ที่รู้จักกันในนามทายาทกลุ่มบุญรอดฯ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีอาร์เอฟ โลจิสติกส์ จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจ Supply  Chain  และเป็นแม่ทัพของ บริษัท ฟู้ด แฟ็คเตอร์ส จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันการดำเนินธุรกิจของกลุ่มบุญรอดฯ ที่ขยายออกไป ส่วนใหญ่ก็เป็นการอาศัยอยู่บนพื้นฐานของ Core Business ไปในหลากหลายมิติมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โลจิสติกส์ หรือว่าอาหาร ก็จะเติบโตไปตามตัวธุรกิจหลัก 

เมื่อพูดถึง Disruption หลายต่อหลายครั้งมักจะมีการใช้คำว่า Digital Disruption ซึ่งก็จะนำไปสู่การคิดค้นนวัตกรรมต่างๆ เพื่อช่วยกำจัด pain point ของผู้ประกอบการ แต่จริง ๆ แล้วไม่ได้ถือว่าเป็นสิ่งแปลกใหม่ เพราะในการทำธุรกิจการปรับเปลี่ยน เพื่อให้ธุรกิจเป็นไปตามความต้องการของผู้บริโภคถือเป็นเรื่องปกติ 

ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าหลาย ๆ อย่างที่ออกมาเพื่อ Disrupt สามารถที่จะทำได้จริง มีแค่ไม่ถึง 1% เท่านั้น ดังนั้นอย่างที่บอกว่า การเข้ามาของสิ่งใหม่ ๆ คือเรื่องดี เพราะทำให้เราต้องปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดี แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความพร้อม และความมั่นใจไม่ใช่ความกลัว 

ในขณะเดียวกันความท้าทายอีกอย่างหนึ่งที่มาพร้อมกับกระแส Disruption ก็คือ เรื่องของคน ถือเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจ และอาศัยความพยายามเป็นอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงความคิด โดยเฉพาะคนที่แตกต่างกันในเรื่องของวัย หรือที่เรียกว่า Gap Generation 

จากการที่พวกเขามีประสบการณ์ที่เป็น success story ในอดีต มันก็อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะทำให้เขายอมรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เข้ามาด้วยความรวดเร็ว ดังนั้น Disruption ที่มากไปกว่าเทคโนโลยี นั่นก็คือ  Mindset ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ยากมากที่จะเปลี่ยน สำหรับธุรกิจของผมเป็นธุรกิจครอบครัว จึงจะต้องอาศัยความค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป 

 

เวลาที่ผมพยายามเปลี่ยนแปลงแนวความคิดคนในองค์กร ก็มักจะมีคำถามกลับมาว่า เปลี่ยนแล้วได้อะไร ดังนั้นผมต้องมีการเปรียบเทียบให้เห็นภาพอย่างชัดเจน อาศัยความตั้งใจ มุ่งมั่น และพยายามหลอมรวมวิสัยทัศน์เพื่อให้เป็นหนึ่ง

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...

Responsive image

เมื่อพายุเศรษฐกิจโหมเข้า CFO จะขับเคลื่อนองค์กรอย่างไร? ดีลอยท์ชวรรู้จัก CFO Trilemma

CFO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยการสร้างสมดุลระหว่างการฟันฝ่าวิกฤต สร้างคุณค่าระยะยาว และพัฒนาขีดความสามารถของทีม เพื่อความยั่งยืนขององค์กร...

Responsive image

ทำไมองค์กรยุคใหม่ ต้อง AI Transformation องค์กร

Session AI Tranformation โดย ดร.ลิสา พัทธ์วิวัฒน์ศิริ Chief Digital Officer The King Power Corporation และ คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ CEO & Co-Founder Techsauce ที่ได้ร่วมพูดคุยในหัวข...