SCG Packaging กับการนำแนวคิด Circular Economy ปรับสู่กระบวนการทำธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน | Techsauce

SCG Packaging กับการนำแนวคิด Circular Economy ปรับสู่กระบวนการทำธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน

สถานการณ์ของโลกในปัจจุบันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เราทุกคนกำลังรับมือกับวิกฤตจากธรรมชาติ โดยหนึ่งสถานการณ์ที่เป็นปัญหาเป็นอย่างมาก คือ เรื่องของสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในเรื่องของขยะ ที่เกิดจากพฤติกรรมมนุษย์ที่มีการผลิตและใช้ แต่ไม่มีการจัดการอย่างถูกวิธี ดังนั้นในระยะหลังจะเห็นได้ว่าหลายองค์กรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ต่างก็ให้ความสำคัญในประเด็นดังกล่าวเป็นอย่างมาก หนึ่งในนั้นคือ การนำแนวคิด circular economy หรือ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ามาปรับใช้ในกระบวนการดำเนินธุรกิจมากขึ้น จากการที่มองว่า สสารบนโลกล้วนหมุนเวียนมาใช้ และก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ซึ่งก็จะนำไปสู่การสร้างความยั่งยืน ที่สามารถอยู่ร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder) ได้อย่างสมดุล

SCG Packaging หนึ่งในธุรกิจในเครือ SCG มีแผนที่จะ spin off ให้ธุรกิจบรรจุภัณฑ์เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เนื่องจากธุรกิจบรรจุภัณฑ์เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง และเป็นผู้นำด้านบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน โดยอัตราการเติบโตของรายได้ย้อนหลัง 4 ปี ตั้งแต่ปี 2559-2562 เฉลี่ยอยู่ที่ 6.1%  ซึ่งหลัก ๆ จะมี 2 สายธุรกิจด้วยกัน ได้แก่ สายธุรกิจบรรจุภัณฑ์แบบครบวงจร (Integrated Packaging Chain) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญใน Supply Chain และตอบสนองลูกค้าในอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ธุรกิจค้าปลีก และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ เหล่านี้ก็จะเป็นบรรจุภัณฑ์จาก Fiber base ที่มีคุณสมบัติแข็งแรงทนทานและสามารถนำมา recycle ได้ถึง 95% 

สายการผลิตที่สอง จะเป็นการผลิตเยื่อและกระดาษ ซึ่งจะเป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทผลิตภัณฑ์ภาชนะสำหรับบรรจุอาหารที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แบรนด์ “เฟสท์” (Fest®) โดยทั้งสองสายผลิตนี้ก็จะมีการผลิตอยู่ 5 ประเทศด้วยกัน ได้แก่  ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ  SCG Packaging ก็ได้มีการขยายการเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยการเข้าซื้อบริษัทที่เกี่ยวข้องในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง 

ทั้งนี้แม้ว่า SCG Packaging จะมีแนวโน้มการเติบโตที่สูงมาก แต่ในขณะเดียวกันการเติบโตนั้นจากต้องควบคู่ไปกับการดูแลสิ่งแวดล้อมเช่นกัน ดังนั้นในบทความนี้ Techsauce ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ ‘วิชาญ จิตร์ภักดี’  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ SCG Packaging ถึงการใช้แนวคิด Circular Economy หรือ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน  เข้ามาเป็นกระบวนการในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งเป็นการนำไปปรับใช้ตั้งแต่ภายนอกและภายในองค์กร เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน รวมไปถึงมีการพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ที่ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภค ที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็ว

การที่ SCG ได้มีการ spin off บริษัทในเครืออย่าง SCG Packaging ออกมาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อขยายการเติบโต แสดงว่ามองเห็นแนวโน้มในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เป็นอย่างไรบ้าง

SCG  Packaging ได้มีการดำเนินธุรกิจครอบคลุมตลาดอยู่ 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์  โดยย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่ก่อนได้มีการสำรวจการเติบโตของอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์พบว่าทั้ง 4 ประเทศนี้มีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 4.8% แต่ในอีก 5 ปีข้างหน้าอัตราการเติบโตจะเพิ่มมาอยู่ที่ 6.2% ซึ่งถือว่าเป็นการเติบโตที่สูงกว่าทางยุโรป อเมริกา หรือญี่ปุ่น โดยมีปัจจัยมาจาก Mega Trend 4 ด้าน ได้แก่ 

  • หนึ่ง การใช้จ่ายภาคครัวเรือน เนื่องจากปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำสูงขึ้น ทำให้คนมีรายได้สูงขึ้น ฉะนั้นความสามารถในการใช้จ่ายก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย มีการซื้อสินค้าที่เป็นอุปโภคและบริโภคมากขึ้น จากนั้นก็มีการใช้บรรจุภัณฑ์มากขึ้น 
  • สอง วิถีการดำเนินชีวิต  ของคนเปลี่ยนไป คนอยู่ที่บ้านสั่งของผ่านอินเตอร์เน็ตก็ต้องใช้บรรจุภัณฑ์ ฉะนั้นก็ส่งผลให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์มากขึ้นไปด้วย 
  • สาม  เทรนด์ของการรักษ์โลก จะเห็นว่าผู้บริโภคเขาจะมีความกังวลเรื่องสิ่งแวดล้อม ดังนั้นบรรจุภัณฑ์ที่ตอบโจทย์เรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ  Fiber base เพราะสามารถ recycle ได้อีกหลายรอบ 
  • สี่ การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของ e-commerce การส่งของก็ต้องใช้บรรจุภัณฑ์ โดยเฉพาะเรื่องของการห่อหุ้มสินค้าไม่ให้เกิดความเสียหาย 

จากปัจจัยของ Mega Trend ทั้ง 4 ด้าน ในอนาคตมองว่าจะมีนวัตกรรมอะไร ที่จะมาเปลี่ยนโลกของบรรจุภัณฑ์ให้พัฒนาได้ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากกว่านี้ได้บ้าง

เดิมทีเมื่อพูดถึงฟังก์ชั่นของบรรจุภัณฑ์ เมื่อก่อนจะมีหน้าที่อยู่ 2 อย่าง ได้แก่ Protect การทำหน้าที่ป้องกันสินค้าไม่ให้เกิดความเสียหาย และ Promote ทำหน้าที่ดึงดูดใจให้ลูกค้าเลือกหยิบสินค้า แต่ปัจจุบันหากมองจาก Mega Trend ที่กำลังเติบโตแล้ว จะเพิ่มไปอีก 2 ฟังก์ชั่น ได้แก่ Preserve ทำหน้าที่ให้สินค้าที่อยู่ข้างในบรรจุภัณฑ์มีอายุที่ยาวนานขึ้น และ Perform ถือเป็นฟังก์ที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวกับการพัฒนาของเทคโนโลยีที่จะทำให้บรรจุภัณฑ์ฉลาดมากขึ้น เพราะตรงนี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ลึกลงไปด้วย 

โดย SCG Packaging จะมี 2 หน่วยงานหลักที่จะทำหน้าที่ช่วยกันพัฒนานวัตกรรมของบรรจุภัณฑ์ ให้สามารถไปถึงตรงนั้นได้ นั่นคือ  R&D Center หรือ PTDC (Product Technology and Development Center) ส่วนอีกหน่วยงานคือ Angering ที่จะทำหน้าที่ทำให้สิ่งที่ได้มีการวิจัยและพัฒนา ขึ้นมาสามารถเอาไปใช้ได้จริง โดยทั้ง 2 หน่วยงานจะทำงานประสานกัน 

ยกตัวอย่าง ในอนาคตอาจจะมีการ integrate censor เข้ามาใน Barcode หรือ QR Code ที่ปรากฎอยู่บนบรรจุภัณฑ์ เพื่อที่จะทำให้เราสามารถตรวจสอบความเป็นไปของสินค้าได้ ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของ การตรวจสอบการสูญหายของสินค้า หรือการตรวจสอบว่าเป็นสินค้าจริงหรือปลอม ก็สามารถทำได้หมด 

นอกจากนี้นวัตกรรมที่ SCG Packaging ได้มีการพัฒนายังมีด้านของการทำให้สินค้า ที่เป็นผลิตภัณฑ์การเกษตร เช่น ผัก ผลไม้ ที่ประเทศไทยมีการส่งออก มีความสดใหม่ และยืดอายุของสินค้าได้อีกด้วย เช่น การใช้โพลีเมอร์ไปหุ้มลูกมะพร้าว โดยปกติแล้วมะพร้าวจะมีระยะเวลาอยู่ได้  30 วัน แต่ใส่นวัตกรรมเข้าไปมะพร้าวจะอยู่ได้ 60 วัน เป็นต้น 

จากการพัฒนาด้านนวัตกรรมทั้งหมดก็จะสามารถตอบโจทย์ผู้โภคตามเทรนด์ที่ได้พูดถึงไป ทั้งในแง่ของสิ่งแวดล้อม และการอำนวยความสะดวก โดยประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม คือ จะต้องทำให้ บรรจุภัณฑ์แบบเดิม ใช้วัสดุในการทำน้อยลง แต่ความแข็งแรงเท่าเดิม และฟังก์ชั่นครบ เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้ win-win กันทั้งลูกค้าและเราเอง สำหรับด้านความสะดวกของลูกค้า มองไปที่การทำให้บรรจุภัณฑ์มีความฉลาดมากขึ้น หรือ Smart Packaging ถือเป็นเรื่องที่เราต้องทำ 

พร้อมกันนี้ SCG Packaging จะเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ โดยใช้ solution เข้ามาตอบสนองเรื่อง product และบริการที่เป็น innovation และเรามีการ track ในเรื่อง customer behavior เพราะเราใช้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ทำให้เราหาวิธีการเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าให้ได้มากที่สุด 

บางครั้งลูกค้าอาจจะมีความต้องการแฝงอยู่ โดยที่เขาไม่รู้ว่าต้องการอะไร ฉะนั้นหน้าที่ของเรา คือ ต้องไปหาความต้องการจริง ๆ ของลูกค้า หรือที่เรียกว่า Job to be done หรือ pain point ลูกค้า ถ้าหาได้แล้วตอบโจทย์ได้ นั่นถึงจะเรียกว่าเป็น solution ที่เราจะไปตอบโจทย์ลูกค้า

ธุรกิจบรรจุภัณฑ์เป็นธุรกิจที่มีแนวโน้มการเติบโตสูงตามดีมานด์ของผู้บริโภค แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นนการสร้างขยะเพิ่มขึ้นไปด้วย SCG Packaging มีวิธีการบริหารจัดการตรงนี้อย่างไร

ก่อนอื่นต้องมาพูดถึงการทำบรรจุภัณฑ์ของ SCG Packaging  โดยเฉพาะหมวด Fiber base packaging ส่วนนี้จะมีอัตราการนำวัตถุดิบกลับมา  recycle อยู่ที่ 95% ส่วนอีก 5% คือเราใช้จากต้นไม้มาทำเยื่อและทำเป็นกระดาษ เนื่องจากลูกค้าล้วนแล้วแต่ต้องการความแข็งแรงของสินค้า เราจึงต้องมีการผสมผสานกันนอกจากนี้ยังมีเรื่องของการ recycling โดยเรื่องนี้ทาง SCG ได้ดำเนินการมากว่า 30-40 ปีแล้ว

พร้อมกันนี้ปัจจุบันเราก็เริ่มทำตู้สำหรับนำกล่องกระดาษหรือขวดน้ำมาใส่ไว้ตามจุดต่าง ๆ  เพื่อที่จะช่วยนำบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ กลับเข้ามาเข้ากระบวนการหมุนเวียนให้สามารถใช้ใหม่ได้อีกครั้ง หรือที่เรียกว่าเป็น Circular Economy นั่นเอง

โดยการดำเนินงานด้วยแนวคิด Circular Economy ของ SCG Packaging จะประกอบไปด้วย 5 business model ด้วยกัน ดังนี้ 

  • Resource recovery : การนำวัตถุดิบที่ไม่ใช่แล้ว หรือ waste กลับมาใช้ใหม่ เช่น การนำน้ำที่ผ่านการใช้งานแล้วมาบำบัดกลับมาใช้ใหม่ เส้นเทปจากกระบวนการผลิตนำไปให้ชุมชนสานตะกร้าเพื่อสร้างรายได้ชุมชน เป็นต้น 
  • Circular supplies : การใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น Solar Renewable Energy 
  • Product life-extension : ขยายวงจรของผลิตภัณฑ์ด้วยการซ่อม หรือ upgrade รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมและการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วย เช่น การนำเยื่อจากไม้ยูคาลิปตัส ไปผลิตเป็น Dissolving Pulp ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ นอกเหนือจากผลิตกระดาษ , การนำกระดาษมาทำ Merchandising Display หรือ เฟอร์นิเจอร์กระดาษ เป็นต้น 
  • Products as a service : New Platform ในการให้เช่าสินค้า (ในรูปบริการ) แทนการเป็นเจ้าของสินค้า เช่น ฟิลิปส์ ให้บริการเปลี่ยนหลอดไฟในสำนักงานนอกเหนือจากการขาย 
  • Sharing Platform : การแบ่งปันการใช้งานกับองค์กรหรือหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อเพิ่มโอกาสการใช้งาน เช่น Application Paper X ที่เอสซีจี แพคเกจจิ้ง สร้างขึ้นในการจัดการรับซื้อเศษกระดาษจากหน่วยงานต่าง ๆ

Circular Economy จะมี 2 คำ Circular คือการใช้ Reduce Reuse Recycle กลับมาใช้ใหม่ คำว่า economy คือทำแล้วต้องได้เงินให้เกิดสภาวะทางเศรษฐกิจ  ซึ่งเป็น กระบวนการสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้

นอกจากการบริหารจัดการภายนอก ที่เป็นเรื่องของการนำแนวคิด Circular Economy มาใช้แล้ว ในแง่ของการบริหารจัดการภายในองค์กร เรามีการทำอย่างไรบ้างที่จะนำแนวคิดดังกล่าวไป ใช้ในการทำธุรกิจให้เกิดความยั่งยืน

จริงๆ เรื่องของความยั่งยืนสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องไม่ใช่แค่ Circular economy แต่ยังมีเรื่อง disruption ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย ประโยคที่ว่า 

"The world is moving faster than breathing and We don’t know the future, everything we know to be change."

 ฉะนั้นสิ่งที่เราพยายามทำมาตลอด คือ การปลูกฝังคนของเราโดยเริ่มตั้งแต่จรรยาบรรณในการทำธุรกิจ 4 ข้อ ได่แก่ การตั้งมั่นในความเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้น stakeholder พนักงาน มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ เราต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เชื่อมั่นต่อสังคม และเชื่อมั่นในคุณค่าของคน จากการที่พฤติกรรมของคนเปลี่ยนไป การที่จะคุมคนให้สามารถขับเคลื่อนธุรกิจต่อไปได้ คือ ต้องทำงานเชิงรุก ไม่ใช่รอให้มีความต้องการแล้วค่อยทำ เมื่อเป็นทำงานเชิงรุกแล้ว วิธีการคือ ต้องเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ไม่ใช่เอาเจ้านายหรือบุคลากรในองค์กรเป็นศูนย์กลาง เพราะเงินทุกบาทมาจากลูกค้า เมื่อเรามีการทำงานเชิงรุกแล้ว หลังจากนั้นเราก็กลับมายังแนวคิด ซึ่งมีอยู่ 2 แนวคิดคือ Open & Challenge 

  • Open คือ Open mind ในการรับฟังทีมงานและการเรียนรู้ ซึ่งมีทั้ง Learn, Unlearn, Relearn สำหรับ SCG packaging เราดำเนินธุรกิจมากกว่า 5 ประเทศและมากกว่า 40 โรงงาน ถ้าแต่ละโรงงานไม่มีการ Open อย่างที่บอก ก็จะไม่ก่อให้เกิด Synergy กันได้ ดังนั้นสิ่งนี้จะช่วยให้คนมีความร่วมมือกันในการทำงานมากขึ้น
  • Challenge เราใช้คำว่า Challenge status มันต้องทำได้ดีกว่านี้ คือ การพัฒนาอย่างอย่างเนื่อง เมื่อทุกคนมีแนวคิดแบบนี้ก็จะเกิด winning mindset ทำและปรับปรุงไปเรื่อยๆ  

ในฐานะที่เป็นผู้นำองค์กรในปัจจุบัน อะไรเป็นความท้าทายสูงสุดในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย

ผมขอแบ่งเป็นความท้าทายทั้งภายในและภายนอก คือ ความท้าทายจากภายนอก เช่น สงครามการค้าระหว่างอเมริกาและจีน ค่าเงินบาทแข็ง หรือแนมโน้มที่จะเกิดสงครามในตะวันออกกลาง ปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยภายนอกทั้งสิ้น ทุกคนโดนเหมือนกันหมด ก็อยู่ที่ว่าใครปรับตัวได้เร็วกว่ากันคนนั้นก็จะได้ประโยชน์จากการปรับตัวเร็ว แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ยังอยู่ในมือเรา นั่นคือความท้าทายภายในที่อยู่ในมือเราและเราสามารถทำได้ มี 4 ปัจจัย คือ 

ปัจจัยที่ 1 คือ manufacturing เกี่ยวกับเรื่องคน เครื่องจักร วิธีการ ปัจจัยเหล่านี้เราสามารถทำได้ พูดได้ว่าทำให้ดีอย่างไรเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ 

ปัจจัยที่ 2 คือ เทคโนโลยี แทนที่เราจะแก้ตัวว่าค่าเงินบาทแข็ง ส่งออกรายได้น้อย เราเอาเวลานั้นมาพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อที่จะลดต้นทุนให้ cover กับสิ่งที่เราสูญเสียไป  

ปัจจัยที่ 3 คือ market excess คือการทำอย่างไรที่จะรู้ว่าพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นอย่างไร ทุกวันนี้พฤติกรรมเขาเปลี่ยนไปอย่างไร เขาสั่งเวลาไหน สั่งวันละกี่รอบ สั่งไปแล้วจะทำอย่างไร มีของเหลือหรือเสียไหม นี่คือ market  excess และการที่เราเป็นที่หนึ่งในอาเซียนทำให้เรามองเห็นว่าเรามีส่วนนี้ค่อนข้างมาก  ดังนั้นจะทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมลูกค้า และสามารถตอบโจทย์หรือแก้ pain point ลูกค้าได้

ปัจจัยที่ 4 คือ Brand ลูกค้าซื้อสินค้าเราเพราะเขาเชื่อว่าสินค้าของเราดี ซื้อไปใช้แล้วไม่เคยมีปัญหา ราคาของบรรจุภัณฑ์เมื่อเทียบกับสินค้า เช่น ทีวี ตู้เย็น ราคาหลักหมื่น แต่บรรจุภัณฑ์ราคาแพง แต่ถ้ากล่องพังและสินค้าได้รับความเสียหาย แล้วใครจะรับผิดชอบ นี่คือ solution ที่เราให้กับลูกค้า สินค้าปลอดภัยตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจนถึงขั้นส่งมอบให้ลูกค้าปลายทาง 

ข้างต้นคือความท้าทาย 4 ปัจจัยภายในที่เราต้องคอยต่อสู้เสมอ ซึ่งก็คือ innovation ที่เราพูดถึงกัน 






ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

4 เสาหลักสู่นวัตกรรม ความสำเร็จที่ยั่งยืน ที่องค์กรขาดไม่ได้

ปัญหาจริงของการขาดนวัตกรรมคือ "คุณภาพ" รวมถึงวิธีการ ”เลือก” ไอเดียที่เหมาะสมเพื่อนำไปพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่สร้างคุณค่าได้จริง จากการวิจัย องค์กรที่ประสบความสำเร็จในด้านนวัตกรรมมักม...

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...

Responsive image

เมื่อพายุเศรษฐกิจโหมเข้า CFO จะขับเคลื่อนองค์กรอย่างไร? ดีลอยท์ชวรรู้จัก CFO Trilemma

CFO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยการสร้างสมดุลระหว่างการฟันฝ่าวิกฤต สร้างคุณค่าระยะยาว และพัฒนาขีดความสามารถของทีม เพื่อความยั่งยืนขององค์กร...