สรุปความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Digital Transformation ที่ไม่จำเป็นต้อง Disrupt ธุรกิจเดิมเสมอไป | Techsauce

สรุปความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ Digital Transformation ที่ไม่จำเป็นต้อง Disrupt ธุรกิจเดิมเสมอไป

หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า การทำ Digital Transformation ต้องเอา Digital เข้ามา Disrupt และค้นหาโมเดลธุรกิจใหม่เท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้ว องค์กรสามารถเริ่มต้นได้ง่ายกว่านั้น โดยการนำมาประยุกต์ใช้ในส่วนต่างๆ ใน value chain ขององค์กร


สรุปความเข้าใจผิดที่มักเกิดขึ้นบ่อยเกี่ยวกับการทำ Digital Transformation

1. ในหลายองค์กรมักจะมองว่าการทำ Digital Transformation ต้องมุ่งไปที่การ Disrupt โมเดลธุรกิจเดิม เปลี่ยน Value Proposition เดิมที่มีอยู่ ค้นหาน่านน้ำ โมเดลธุรกิจใหม่ แต่อันที่จริงแล้ว ไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้นเสมอไป เราควรมองที่ความต้องการลูกค้าเป็นหลัก และดูว่าเราจะนำ Digital มาเป็นเครื่องมือเพื่อตอบสนองและช่วยพวกเขาให้ดีขึ้นได้อย่างไร

ยกตัวอย่างเช่น Maersk (เมอร์สก) บริษัทขนส่งจากเดนมาร์ค เล็งเห็นปัญหาใน Supply Chain ว่าค่าใช้จ่ายที่สูงอันเกิดจากการขนส่ง อาจมาจากการกีดกันทางการค้า และการขนส่งระหว่างประเทศที่ยังไม่มีประสิทธิภาพพอ รวมถึงการขาดความโปร่งใส

Maersk จึงได้จับมือกับ IBM นำเทคโนโลยี Blockhain มาใช้ใน Supply Chain แบบ End to End ช่วยลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ ให้บริการได้อย่างรวดเร็วขึ้น และสร้างความโปร่งใสในการจัดการ ซึ่งจะเห็นได้ว่า เมอร์สกไม่ได้หาธุรกิจที่เป็นน่านน้ำใหม่ แต่ปรับกระบวนการให้ดีขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วย

อย่างไรก็ตามอย่าเข้าใจผิดว่าการ Disrupt จะไม่เกิดขึ้น ธุรกิจยังคงต้องจับตาอยู่ ไม่ว่าภาคธุรกิจของคุณจะอยู่ในกลุ่มสุ่มเสี่ยงการโดน Disrupt มากน้อยแค่ไหนก็ตามจากคู่แข่ง ธุรกิจยังต้องตื่นตัวตลอดเวลา แต่ต้องอย่าลืมว่า การระบุและเข้าใจปัญหาและความต้องการของลูกค้าอย่างชัดเจน แล้วค้นหาแนวทางเพื่อตอบโจทย์พวกเขาเป็นเรื่องสำคัญที่สุด 

2. แม้ว่าดิจิทัล จะเป็นสิ่งที่เข้ามาช่วยลดขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน และในขณะเดียวกันสามารถลดต้นทุนไปด้วยนั้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเข้ามาทดแทนรูปแบบธุรกิจทางกายภาพ (physical) ได้ทั้งหมด มันควรผสมผสานกันระหว่างกายภาพและดิจิทัล ให้สามารถทำงานควบคู่กันไปได้ ไม่ว่าธุรกิจจะเริ่มจากฟากออฟไลน์มาก่อน หรือมาจากออนไลน์ก็ตาม

ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัด อาทิ  ธุรกิจค้าปลีก ที่หลายองค์กรต่างก็ใช้วิธีผสมผสานการช็อปปิ้งแบบอีคอมเมิร์ซ และหน้าร้านเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อนำเสนอประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้าตลอดเส้นทางที่มีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรนั้นๆ หรือแม้กระทั่งธุรกิจจากโลกออนไลน์ทุกวันนี้ อย่าง Google หรือ Amazon ยังต้องมี Smart Home Device เพื่อเข้าถึงผู้ใช้โดยตรง

3. บางองค์กรขนาดใหญ่มักจะเข้าใจว่าการดึงเอาเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาคือการลงทุนหรือเข้าซื้อกิจการ Startup แล้วนำมา Integrate กับระบบในองค์กรเท่านั้น แต่ควรต้องระวังอย่าไปทำลายวัฒนธรรมองค์กรของ Startup และ DNA ที่ทำให้พวกเขาเป็นองค์กรนวัตกรรมที่สามารถคิดค้น และพัฒนาสิ่งใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว องค์กรใหญ่ควรต้องปกป้องวัฒนธรรมของพวกเขา และให้อิสระในการทำงาน นอกจากนี้องค์กรใหญ่ก็ควรเรียนรู้การทำงานในวิถีนี้เช่นกัน ถึงจะนำมาซึ่งการ Synergy และได้ประโยชน์มากที่สุดทั้ง 2 ฝ่าย

 4. หลายองค์กรมักจะคิดว่า Digital Transformation เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีเป็นหลัก แต่จริงๆ แล้ว คือ เรื่องความต้องการของลูกค้าและธุรกิจจะทำให้ลูกค้าของพวกเขาดีขึ้นได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการปรับให้ระบบ operation ภายในทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรือการนำเสนอสิ่งใหม่ๆ ให้กับลูกค้า 

ดังนั้นหัวใจหลักต้องกลับไปที่ศักยภาพของบุคลากร และทีมงานขององค์กรเอง ซึ่งจะเห็นว่ามันไม่ใช่แค่การนำเทคโนโลยีมาใช้ แต่จะเกี่ยวข้องกับ โครงสร้างองค์กร และทรัพยากรบุคคลที่ต้องมีการปรับเปลี่ยน บุคลากรที่ได้รับการคัดเลือกมี mindset ที่ใช่ รูปแบบการทำงานที่มีความคล่องตัว มีโครงสร้างแบบ Agile ซึ่งแน่นอนว่าการปรับเปลี่ยนย่อมมีความท้าทายภายในองค์กรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่ต้องทำ

5.องค์กรแม้มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนระบบ backend legacy system เดิม แต่การยกเครื่องทั้งหมดเป็นเรื่องที่อันตรายมาก สิ่งที่ควรทำคือ พัฒนาระบบ front-end application และเชื่อมโยงกับ backend ผ่าน middleware ผ่าน API และค่อยๆ ทดแทนระบบ legacy ทีละ module โดยทยอยไล่ฟังก์ชั่น

บทส่งท้าย

ธุรกิจไม่จำเป็นต้องมองเพียงแค่นำ Digital มาเพื่อ disrupt สร้างโมเดลธุรกิจใหม่เสียทีเดียว แต่สามารถปรับปรุงธุรกิจเดิมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ และขณะเดียวกันค้นหาโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจผ่านทาง Digital ไปด้วย

สุดท้ายหัวใจความสำเร็จ คือ การโฟกัสที่ความต้องการลูกค้า, การปรับตัว ความยืดหยุ่นขององค์กรในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง, และจงให้คุณค่าและยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นทีละเล็กทีละน้อย

บทความนี้เรียบเรียงจาก Harvard Business Review เขียนโดย Nathan Furr และ Andrew Shipilov แห่ง INSEAD 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

5 วิธีทำให้ลูกค้ารัก! เปิด Strategy 'เหนือชั้น' ไม่ใช่แค่ขายของ แต่ต้อง 'ครองใจ' ในยุคดิจิทัล

ในยุคที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องปรับตัวและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบสนองความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของลูกค้า คุณปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท...

Responsive image

Gartner คาด Everyday AI จะบูม! ใน Digital Workplace ภายใน2 ปี องค์กรต้องปรับตัวรับด้วย DEX

Gartner บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาชั้นนำ ได้เผยแพร่รายงาน Hype Cycle for Digital Workplace Applications, 2024 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI กำลังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญ...

Responsive image

Techsauce ประกาศความร่วมมือ Outcome เปิดตัว Innovation Accounting Service เพื่อช่วยองค์กรวัดผลด้าน Innovation อย่างมีประสิทธิภาพ

Techsauce ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ Outcome ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านนวัตกรรม เพื่อนำเสนอบริการ Innovation Accounting Service ภายใต้ชื่อ SATORI...