เรียนรู้บทบาทงานด้าน Sustainability และแนวทางพัฒนาของ Thai AirAsia ที่ยึด Low- cost เป็นหัวใจหลัก | Techsauce

เรียนรู้บทบาทงานด้าน Sustainability และแนวทางพัฒนาของ Thai AirAsia ที่ยึด Low- cost เป็นหัวใจหลัก

Sustainability (การพัฒนาอย่างยั่งยืน) เริ่มเข้ามามีบทบาทกับองค์กรธุรกิจและผู้คนมากขึ้นทุกที จนปัจจุบันจึงมีมืออาชีพในหลายระดับที่ถูกมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพที่เข้ามาวางกลยุทธ์และขับเคลื่อนให้นโยบาย Sustainable Development (SD) เกิดผลอย่างแท้จริง ครั้งนี้ Techsauce ได้มีโอกาสคุยกับ   ทอปัด สุบรรณรักษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร สายการบิน Thai AirAsia (บจ. ไทยแอร์เอเชีย) ซึ่งจะมาให้คำตอบถึงรูปแบบการทำงานและจุดหมายที่กำลังมุ่งไป เพื่อตอบโจทย์เที่ยวบินแห่งความยั่งยืนที่ยึด Low- cost เป็นแก่น พร้อมชูโครงการ Journey D พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ส่งผ่านกลยุทธ์ Good Green และ Growth อย่างเป็นรูปธรรม

Sustainabilityอะไรคือความหมายที่แท้จริงของ Sustainability

Sustainability คือต้องเติบโต แบบเก่งและดี คือ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน คนส่วนใหญ่มักมองว่า Sustainablity หรือ Sustainable Development (SD) เป็นเรื่องโลกสวย หรูหรา ยังไม่จำเป็นในวันนี้ ประมาณว่า Nice to have บริษัทเล็กๆ ยังไม่ต้องเร่ิมทำ ต้องรวยก่อนถึงจะทำได้ หรือในบริษัทใหญ่ทำเรื่องนี้ไว้เพื่อส่งรายงาน SD Report ให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ Dow Jones Sustainablity Index (DJSI) หรือบางคนก็ยังเข้าใจว่า SD คือ เรื่องเดียวกับการทำโครงการ CSR (Corporate Social Responsibility) สรุปคือ SD ยังไม่ใช่เรื่องจำเป็นของวันนี้

ทั้งที่ความจริงแล้ว Sustainability ถ้าทำตั้งแต่วันแรกที่เราก่อตั้ง จะทำให้องค์กรเราเติบโตอย่างเก่งและดี ทำงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ มีทิศทาง มี mission ที่ชัดเจน ท้ายที่สุดเรื่องธุรกิจกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนสามารถรวมเป็นเรื่องเดียวกันได้อย่างกลมกลืน เพราะเราทำธุรกิจก็เพื่อให้อยู่ไปยาวๆ นั่นเอง  

แนวทาง Sustainable Development ของ Thai AirAsia เป็นอย่างไร

ยุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนของ Thai AirAsia ครอบคลุม 3 มิติ คือเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งสรุปได้เป็น 3 G คือ Good (ดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี) Green (ให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ และ Growth (ส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตและดูแลสังคมให้มีความเติบโตอย่างยั่งยืนในทุกมิติ) ซึ่งดำเนินการแบบ 360 องศาที่ครอบคลุมทั้งฝ่ายปฏิบัติการและฝ่ายสนับสนุนเพื่อไปสู่เป้าหมายการเป็นองค์กรที่ยังยืน คือ ต้องมีผลประกอบการที่ดี ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ และสร้างคนเก่งคนดีให้ทำงานกับเรา

ทั้งนี้มุมมองด้านความยั่งยืนของ Thai AirAsia เริ่มจาก DNA ของคำว่า Low- cost ซึ่งความหมายในเชิงลึกก็คือการสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ที่เป็นกระดูกสันหลังของความยั่งยืน ที่แยกเป็นส่วนส่วนคือ ส่วนแรกเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มโอกาสในการทำรายได้ อีกส่วนคือการจัดการความเสี่ยงทั้งที่เกิดในธุรกิจและองค์กร ที่สามารถเปลี่ยนความเสี่ยงนี้ให้เป็นโอกาสได้ 

โดยหนึ่งในตัวชี้วัดที่ชัดเจนของการทำงานอยางยั่งยืนคือตัวเลขเที่ยวบินตรงต่อเวลา หรือ OTP (On time Performance) ที่ทาง Thai AirAsia ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานชุดพิเศษเพื่อทำให้ได้ดังเป้าหมายโดยกำหนดตัวเลขชี้วัดความตรงต่อเวลาที่ 87% 

“เราได้รับการจัดลำดับสายการบิน Low-cost ลำดับที่ 3 ที่ตรงเวลาที่สุด และเป็นลำดับที่ 10 ของโลกที่ตรงเวลาที่สุด” 

Sustainability

โครงการ Journey D คืออะไร และมีบทบาทต่อการพัฒนาความยั่งยืนอย่างไร

Journey D หรือ The Journey of Development เป็นส่วนหนึ่งของโครงการลงทุนทางสังคมระยะยาวที่ครอบคลุมทั้ง 3 G ตามยุทธ์ศาสตร์ด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของบริษัทผ่านการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งคนในชุมชนเป็นเจ้าของทรัพยากรมีส่วนในการบริหารจัดการด้วยตัวเอง ที่มีเป้าหมายหลักในการรณรงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกของการเดินทางอย่างรับผิดชอบและยั่งยืน

“เราทำ Journey D ด้วย mission ใหญ่ คือสร้างการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เพราะถ้ามีจุดหมายให้คนไปเที่ยว มีลูกค้ากลุ่มใหม่ที่สนใจการท่องเที่ยวทางเลือก และสินค้าชุมชน ธุรกิจเราก็มีช่องทางสร้างรายได้เพิ่ม และขณะเดียวกันก็ได้ร่วมแก้ปัญหาการท่องเที่ยวเกินสมดุล หรือช่องว่างในการกระจายรายได้”

โดยเริ่มจากร่วมมือกับพันธมิตรคือ Local Alike และ Find Folk เลือกชุมชนจากจุดหมายที่สายบิน Thai AirAsia ให้บริการอยู่เข้ามาในโครงการ และมีความพร้อมที่จะพัฒนาไปด้วยกันได้ เช่น ทัศนคติของคน ทรัพยากร เป็นต้น 

สำหรับกระบวนการพัฒนาจะมีทั้งพันธมิตรและพนักงานของบริษัทเข้าไปร่วมให้ความรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์และทำงานร่วมกับชุมชน ได้แก่ การสอนภาษาอังกฤษ การสอนเรื่องการบริการและการเล่าเรื่อง ที่ Air Asia Academy การอบรมยกระดับมาตรฐานที่พักและการบริการในโฮมสเตย์โดย บมจ. ดิ เอราวัณ กรุ๊ป มาร่วมเป็นพันธมิตร เป็นต้น

โดยปัจจุบันมีชุมชนที่ดำเนินโครงการ ไปแล้ว 12 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนผาหมี จ.เชียงราย ชุมชนเกาะกลาง จ.กระบี่ ชุมชนโคกเมือง จ.บุรีรัมย์ ชุมชนพรหมโลก จ.นครศรีธรรมราช ชุมชนบ้านปง จ.เชียงใหม่ ชุมชนเขมราฐ จ.อุบลราชธานี ชุมชนบางโรง จ. ภูเก็ต ชุมชนท่าฉัตรไชย จ.ภูเก็ต ชุมชนแขนน จ.ภูเก็ต ชุมชนกมลา จ.ภูเก็ต ชุมชนบางเทา จ.ภูเก็ต และชุมชนย่านเมืองเก่า จ.ภูเก็ต

สำหรับเป้าหมายในปี 2563 คือต้องการสร้างเครือข่ายเพิ่มให้ได้ 10 ชุมชน รวมถึงเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนอย่างน้อย 20% ต่อปี เป็นศูนย์กลางของเครือข่ายการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบและเป็นพันธมิตรระยะยาวกับชุมชน มีการขยายโครงการและเชื่อมโยงกับพันธมิตรที่หลากหลาย ตลอดจนพัฒนาละส่งต่อโมเดล  Journey D

หนึ่งในผลสำเร็วที่วัดได้ชัดเจนคือมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์ส่วนเพิ่ม / มูลค่าเงินลงทุนที่ใช้ไปหรือ อัตรา SROI project = 1.5 ซึ่งคิดจากผลประโยชน์ส่วนเพิ่มของ 4 ชุมชนแรกจากโครงการ Journey D อยู่ที่ 18,955,320 บาท เทียบกับมูลค่าเงินลงทุนที่ใช้ไปรวมตลอดโครงการ (ระหว่างปี 2561-2562) อยู่ที่ 12,666,315 ล้านบาท 

“งานที่ทำเพิ่มจาก Journey D มีชื่อว่า ฟาร์มยั่งยืน คือการรวมตัวของ Startup ที่มีความถนัดในแต่ละสาขา เช่น Branding Strategy Communication Strategy อีกกลุ่มทำ Community Engagement และอีกกลุ่มทำ Training โดยมี AAV เป็นผู้ลงทุนใส่เงินก้อนแรก โดยสิ่งที่ทำได้ในฐานะพี่เลี้ยงคือพาไปเจอลูกค้าและหางานเพิ่มให้”

Sustainability

ที่มาของการมาเป็น Head of Sustainability และมีความรับผิดชอบอย่างไร

เริ่มจากที่ริเริ่มโครงการ Journey D มาก่อนแล้วเห็นผลสำเร็จมากขึ้นเรื่อย ๆ และด้วยความที่ยังไม่ได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก็มองว่าโครงการนี้คือเรื่องความยั่งยืน จึงอยากให้ Thai AirAsia มี Sustainability and Governance Board เพื่อเป็นเกาะกำบังให้กับโครงการเดินหน้าได้แม้มีปัจจัยอื่น ๆ มาส่งผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องลดงบประมาณหรือเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร จึงไปเสนอกับที่ประชุมของคณะกรรมการบริษัท แต่พอนำเสนอข้อมูลจบทาง Tony Fernandes (CEO ของ Air Asia ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ Thai AirAsia) จึงตั้งให้เป็น Group Head of Sustainability ของ Air Asia 

ทั้งนี้ด้วยตำแหน่ง Head of Sustainability จึงต้องรับผิดชอบเรื่องการทำรายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน (เป็นข้อบังคับของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศมาเลเซียในตอนนั้น) ซึ่งเมื่อเริ่มศึกษาก็ยิ่งทำให้รู้ว่าโครงการ Journey D ที่ทำในตอนนั้นมันแค่ส่วนเล็กๆ ของ ความยั่งยืน เพราะความยั่งยืนจริงๆ ต้องอยู่ในองค์กรเราก่อน 

แต่ด้วยความโชคดีตรงที่ได้ทุนไปเรียน Management Programme, Sustainable Business and Responsible Leadership ที่ Swedish Institute เมื่อปี 2561 จึงเข้าใจเรื่อง Sustainability มากขึ้น และด้วยภารกิจที่ต้องดูแลเรื่องการให้ข้อมูลเพื่อคัดเลือกให้ Air Asia Group ตอบแบบประเมินดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ หรือ Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) ก็ยิ่งมีส่วนที่ทำให้ได้เห็นกระบวนการพัฒนาความยั่งยืนในภาพรวมของทั้งองค์กรมากขึ้น 

สำหรับปัจจุบันในฐานะที่เป็น Head of Sustainability ของ Thai AirAsia นั้นบทบาทหลักคือวางกลยุทธ์ร่วมกับผู้บริหารระดับสูง และคณะกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืน (Sustainable Development and Governance Board) ซึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการ ประธานกรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ของ บจ. ไทยแอร์เอเชีย มีหน้าที่กำหนดนโยบายด้านความยั่งยืนที่เป็นประเด็นที่มีนัยสำคัญทางธุรกิจของ บจ. ไทยแอร์เอเชีย ไปผนวกในแผนกลยุทธ์ และปฏิบัติงาน โดยมีคณะทำงานที่ประกอบไปด้วยผู้อำนวยการแต่ละฝ่ายซึ่งต้องมีการตั้งเป้าหมายและวัดผลการทำงาน ที่สุดท้ายแล้วจะมีการรวบรวมข้อมูลและนำเสนอใน SD Report (รายงานความยั่งยืน)

มองว่าด้วยประสบการณ์ที่ทำงานด้านสื่อสารองค์กรมาก่อน จึงเป็นประโยชน์สำคัญที่ทำให้บทบาทในฐานะ Head of Sustainability เป็นไปได้ราบรื่นขึ้น เพราะการวางกลยุทธ์ด้าน Sustainability ที่ถูกต้องนั้น นอกจากรับโจทย์จากผู้บริหารสูงสุดมาแล้วยังต้องสามารถ engage คนภายในองค์กร และนำมาสื่อสารสู่ภายนอกได้ด้วย ซึ่งภายใน 2 ปี กลต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) จะประกาศว่าทุกบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต้องทำ One Report

“เราทำทั้งสองฝั่งคือด้าน SD ที่ต้องทำร่วมกับทุกแผนก ต้องรู้ว่าเขาทำอะไร วัดผลอย่างไร และนำข้อมูลมารวมในรายงาน SD Report  ช่วย engage เพื่อให้เขาดีขึ้น อีกฝั่งคือสื่อสารองค์กร นั่นคือเรื่องการขายของ สร้างแบรนด์ สนับสนุนการสร้างรายได้ทุกประการ เรื่อง crisis communication ขณะเดียวกันก็ต้องเอาส่วนนี้มา สื่อสารให้เกิด value ด้วย”

ตัวชี้วัดความสำเร็จของการเป็น Head of Sustainability คืออะไร

ถ้าวัดเป็นสิ่งที่จับต้องได้คือ SD Report เพราะเปรียบเหมือนเล่มตรวจสุขภาพรายปี ซึ่งไม่ใช่เป็นเพียงรายงานที่ไปแจกหน้างานประชุมผู้ถือหุ้น แต่ต้องเป็นรายงานที่สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้องค์กรได้ ให้รู้ว่าต้องประหยัดในส่วนใดได้อีกหรือหรือมีส่วนใดที่ลงทุนมากเกินไป หรือสามารถไปลงทุนในสิ่งที่จำเป็นกว่านี้ได้หรือไม่

“ความฝันของเราคืออยากทำให้เกิด process ของการพัฒนาความยั่งยืนไม่ใช่แค่ทำ report”

แต่ pain ของคนทำงานด้านนี้ หนึ่ง คือ เนื้อหายากเหมือนเรียนปริญญาเอกและต้องเริ่มเรียนรู้ใหม่ทั้งหมดสองคือ การดีลกับคนหลายกลุ่ม ตั้งแต่เจ้านาย คณะกรรมการบริษัท และเพื่อนร่วมงานทุกแผนก ต้องใช้พลังงานและกำลังใจอย่างมหาศาลที่จะชวนคนมาทำความเข้าใจเรื่องนี้ ไม่ให้มองว่า เป็นงานฝาก งานแถม เพราะงานแต่ละคนก็เยอะอยู่แล้ว

อะไรคืออุปสรรคขององค์กรที่ไม่ประสบความสำเร็จในการทำ SD

เข้าใจว่า งานทุกงาน มีอุปสรรคเป็นส่วนประกอบของงานนั้นๆ อยู่แล้ว ในสายงาน SD อยากมองไปที่ คนที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้งานด้านนี้สำเร็จได้ คือ ผู้บริหารระดับสูงที่ต้องเข้าใจและให้การสนับสนุนด้วยความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องว่า SD คือ ความจำเป็นในปัจจุบัน คือ กระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 

Sustainability

มีมุมมองอย่างไรต่อการตื่นตัวเรื่อง SD ของไทย

มองว่าภูมิใจกับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย ที่แม้ว่าตอนนี้ยังไม่มีกฎกติกาใดๆ มาบังคับให้เปิดเผยข้อมูลความยั่งยืน แต่ก็มีหลายบริษัทที่ติดกลุ่มผู้นำอุตสาหกรรมของ DJSI รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนโดยสมัครใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะช่วยดึงดูดนักลงทุนคุณภาพจากทั่วโลกเข้ามาได้ ไม่เพียงเท่านั้นทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังให้ความสำคัญและผลักดันอย่างจริงจังมาก เป็นที่น่าชื่นชม

ความท้าทายสูงสุดในการที่ดูแลงานด้าน SD คืออะไร

การสร้างความเข้าใจและทำงานไปด้วยกัน คำถามยอดฮิตของคนทำงานด้านนี้ไม่ว่าจะทำมานานแค่ไหน ก็ยังมีถามคำถามเดิมๆ ว่าจะ engage คนในบริษัทอย่างไร ให้คนเข้าใจและลงมือทำงานเรื่องความยั่งยืนไปในทิศทางเดียวกัน ทุกวันนี้ความสนใจและความกดดันจาก sustainability landscape รอบๆ ธุรกิจก็มาขึ้น เมื่อก่อนคนจะซื้อหุ้นก็ไม่ได้ดู DJSI หรือคนจะซื้อผลิตภัณฑ์บางอย่างก็ไม่ได้สนใจเรื่องความยั่งยืน แต่ตอนนี้ต่างเกี่ยวข้องกันหมด ก็มีทั้งคนที่เข้าใจและไม่เข้าใจ ตัวอย่างที่แสดงว่าคนยังคงเข้าใจผิดอยู่ เช่น กรณีที่ชวนทำ SD แล้วบอกว่าตอนนี้บริษัทกำลังแย่ ต้องประหยัดต้นทุนก่อน ซึ่งการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพ นี่ คือ SD อย่างแท้จริง 

passion ตอนนี้คือ connect the dot of sustainability ว่าให้ SD เป็นเรื่องของคนทุกคน” ทุกคนมีส่วนที่จะสร้างและได้ประโยชน์จาก SD จริงๆ 




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...

Responsive image

เมื่อพายุเศรษฐกิจโหมเข้า CFO จะขับเคลื่อนองค์กรอย่างไร? ดีลอยท์ชวรรู้จัก CFO Trilemma

CFO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยการสร้างสมดุลระหว่างการฟันฝ่าวิกฤต สร้างคุณค่าระยะยาว และพัฒนาขีดความสามารถของทีม เพื่อความยั่งยืนขององค์กร...

Responsive image

ทำไมองค์กรยุคใหม่ ต้อง AI Transformation องค์กร

Session AI Tranformation โดย ดร.ลิสา พัทธ์วิวัฒน์ศิริ Chief Digital Officer The King Power Corporation และ คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ CEO & Co-Founder Techsauce ที่ได้ร่วมพูดคุยในหัวข...