‘TOP Ventures’ CVC จากบริษัท Thai Oil เดินหน้าเฟ้นหา Startup ในกลุ่มธุรกิจ Deep Tech | Techsauce

‘TOP Ventures’ CVC จากบริษัท Thai Oil เดินหน้าเฟ้นหา Startup ในกลุ่มธุรกิจ Deep Tech

คำว่า "Startup" ในมุมมองของ TOP Ventures ไม่ใช่เพียงแค่บริษัทหนึ่งเท่านั้น แต่เป็นผู้เล่นที่สำคัญในการสร้างธุรกิจใหม่ๆ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน โดย TOP Ventures เฟ้นหาสตาร์ทอัพในกลุ่ม Deep Tech ที่สามารถเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหา พัฒนาโลกให้น่าอยู่และเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง นั่นหมายความว่า ทีม TOP Ventures เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน New Business ของกลุ่มบริษัท Thai Oil 

คุณดนุสา สงวนน้อย ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และคุณลักษมณ์ สาระยา ผู้จัดการกองทุน CVC และกรรมการอำนวยการ บริษัท ท็อป เวนเจอร์ส จำกัด

มาทำความรู้จัก 6 สตาร์ทอัพ ใน Portfolio ของ TOP Ventures

คุณลักษมณ์ สาระยา ผู้จัดการกองทุน CVC และกรรมการอำนวยการ บริษัท ท็อป เวนเจอร์ส จำกัด เล่าถึงที่มาที่ไปในการก่อตั้งบริษัท TOP Ventures ว่าเป็น Corporate Venture Capital ที่ Thai Oil ตั้งขึ้นสำหรับการลงทุนในกองทุนและธุรกิจสตาร์ทอัพ เพื่อเป็นการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงและเป็นการต่อยอดธุรกิจของ Thai Oil เอง ซึ่งก็คือ ธุรกิจโรงกลั่น โดยในช่วงแรกของทีมเริ่มจากการมีพนักงานเพียงแค่ 3 คนเท่านั้น และแต่ละคนมีประสบการณ์การทำงานที่หลากหลายและต่างแผนกกันไป อย่างเช่น ตัวคุณลักษมณ์เอง เคยทำงานเป็นวิศวกร (Process Engineer) เป็นนักวิเคราะห์การค้า (Commercial Analyst) รวมถึงงานพัฒนาธุรกิจ (Business Development) ทำให้เห็นว่า การดำเนินธุรกิจมีหลายสิ่งให้เรียนรู้และลงมือทำ ที่สำคัญ ประสบการณ์ที่ได้รับยังเอื้อต่อการทำความเข้าใจและบริหารธุรกิจการลงทุนอีกด้วย  โดยคุณลักษมณ์กล่าวว่า 

เราต้องหาสิ่งที่เหมาะสมที่สุดที่จะ execute การสร้างธุรกิจของ Thai Oil ไปสู่ธุรกิจใหม่ สุดท้ายก็ระบุได้ว่า CVC เป็นเครื่องมือที่เหมาะสมที่สุด ที่จะทำงานร่วมกันกับหน่วยงาน R&D, Business Development โดย CVC จะเป็น ‘กลุ่มคนที่อยู่ในธุรกิจที่รับความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่งและพาธุรกิจไปจนถึงจุดที่สเกลได้’ จึงมีการจัดตั้งขึ้นมาเป็น TOP Ventures พร้อมทั้งเชื่อว่า หากสามารถทำได้สำเร็จ จะสร้างอิมแพ็กต่อบริษัทได้มหาศาล

ในด้านการลงทุน TOP Ventures ระบุ 3 ยุทธศาสตร์การลงทุนใน Deep Tech หรือ Hard Tech ไว้อย่างชัดเจน นั่นคือ 1) Manufacturing Technology เพื่อแก้ pain point ในภาคอุตสาหกรรมและเพิ่มความปลอดภัย, 2) Sustainability Technology เพื่อต่อยอดสู่นวัตกรรมสีเขียวและพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดียิ่งขึ้น และ 3) Hydrocarbon Disruption Technology เพื่อเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลกับธุรกิจเดิมซึ่งเป็นโรงกลั่นปิโตรเลียม และเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) โดยสตาร์ทอัพที่ตรงตามแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว มี 6 รายที่ได้รับการสนับสนุนการลงทุน รวมมูลค่าราว 30 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 1,000 ล้านบาท ดังนี้

  • UnaBiz (Manufacturing Technology)
    สตาร์ทอัพสิงคโปร์ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ IoT และให้บริการแบบ one-stop service โดยมีการให้บริการตั้งแต่การออกแบบเซ็นเซอร์ การผลิตอุปกรณ์ รวมถึง Data platform service

  • Everactive (Manufacturing Technology)
    สตาร์ทอัพอเมริกาผู้พัฒนาเทคโนโลยี IoT (Industrial IoT) ที่ผลิตผลิตภัณฑ์เซ็นเซอร์ไร้สายเพื่อใช้ในการวัดค่าหรือติดตามทรัพย์สินต่างๆ ได้โดยใช้พลังงานสิ่งแวดล้อมจากความร้อนและแสงมาทดแทนการใช้พลังงานจากแบตเตอรี่

  • Mineed Technology (Sustainability Technology) 
    สตาร์ทอัพไทยจากจุฬาฯ ผู้พัฒนาแพลตฟอร์มการนำส่งยาเข้าสู่ชั้นใต้ผิวหนังด้วยเทคโนโลยี Microneedle ที่มีความแม่นยำสูง และประยุกต์ใช้ได้กับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ ฯลฯ เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง

  • IncreBio (Sustainability Technology) 
    สตาร์ทอัพไทยที่เป็นบริษัทด้าน Food biotech ผู้บุกเบิกพัฒนาเทคโนโลยีลดน้ำตาลธรรมชาติในน้ำผลไม้ โดยการใช้จุลินทรีย์ และสามารถต่อยอดการใช้จุลินทรีย์ในการสร้างผลิตภัณฑ์เชิงชีวภาพอื่นๆ ในอนาคต

  • Versogen (Hydrocarbon Disruption Technology) 
    สตาร์ทอัพด้านพลังงานจากอเมริกาที่ผลิต membrane สำหรับใช้ใน AEM Electrolyzer ซึ่งนับว่าเป็นเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ที่ก่อให้เกิด Green Hydrogen ที่มีต้นทุนในการผลิตต่ำ และกำลังพัฒนา AEM Electrolyzer เพื่อใช้ในอนาคต

  • Ground Positioning Radar (Hydrocarbon Disruption Technology) 
    สตาร์ทอัพอเมริกาผู้บุกเบิกเทคโนโลยีเรดาร์ระบุตำแหน่งบนภาคพื้นเพื่อให้ยานยนต์อัตโนมัติขับเคลื่อนได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเชื่อมกับ Thai Oil ได้ในส่วนที่เป็น Mobility 

ในฝั่งกองทุน TOP Ventures บริษัทลงทุนไปแล้ว 3 กอง ได้แก่ 1) AEF GBA (Alibaba Fund) กองทุนในฮ่องกง 2) Grove Ventures กองทุนในอิสราเอล และ 3) Rhapsody Venture Partners กองทุนในอเมริกา และในอนาคตมีการมองหากองทุนในโซนยุโรปเป็นกองต่อไป 

ส่วนฝั่งของ Ventures Building บริษัทกำลังมี Project ร่วมกับ สตาร์ทอัพใน Portfolio อย่าง UnaBiz ซึ่งทาง TOP Ventures พร้อมที่จะช่วยเหลือและสนับสนุน และแน่นอนว่า ไม่ใช่การสนับสนุนเพียงแค่เรื่องทุนทรัพย์เท่านั้น ยังมีด้านเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญ และคอนเนคชันต่างๆ ที่พร้อมพาสตาร์ทอัพเติบโตไปในทิศทางที่ดีขึ้น

สเต็ปต่อไปของ TOP Ventures 

ปัจจุบัน TOP Venture มีทีมงานที่มาจากคนในองค์กรและบุคลากรหน้าใหม่รวม 8 คน ทั้งยังเปิดรับเพิ่มเติมเพื่อเติมเต็มความหลากหลายทางด้านประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ  (Diversity) รวมทั้งคนที่มีประสบการณ์ในการสร้างเทคสตาร์ทอัพ ขณะที่ฝั่งการลงทุนยังคงเฟ้นหาสตาร์ทอัพสาย Deep Tech กองทุนร่วมลงทุน (VC Fund) และพันธมิตรทางธุรกิจ (Partnership) อย่างต่อเนื่อง

Top Ventures

คุณดนุสา สงวนน้อย ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) มีประสบการณ์การด้านการทำงานที่หลากหลาย ทั้งด้านการวางแผนงาน ด้านการเงิน ด้านการพัฒนาธุรกิจก๊าซ และขยับมาเป็นผู้ช่วยซีอีโอที่บริษัท Thai Oil ปัจจุบันได้เข้ามาเป็นส่วนสำคัญในทีม TOP Ventures โดยกล่าวถึงแนวคิดและย้ำความต้องการขององค์กรว่า

“บริษัทเรา (Thai Oil) เป็นโรงกลั่น ตอนนี้มีเรื่อง Net Zero Emission เข้ามา ทำให้ธุรกิจน้ำมันและก๊าซเป็นธุรกิจที่มีผลกระทบอย่างมากโดยตรง เราจึงต้องมีธุรกิจ Non Hydrocarbon ขึ้นมาและสรรหาธุรกิจใหม่ โดยทำทั้งการควบรวมกิจการ (M&A) และ CVC ในขณะเดียวกัน เรื่องสตาร์ทอัพ เราหาจากประเทศไหนก็ได้และต้องบาลานซ์สิ่งที่บริษัทต้องการกับสิ่งที่สตาร์ทอัพต้องการเพื่อตอบโจทย์ Benefit ที่บริษัทอยากได้ นี่เป็น Challenge ของทีม”

การสร้างหน่วยงาน CVC ที่มีความอิสระ เช่นบริษัท TOP Ventures ทำให้บริษัทฯ เลือกลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพได้ ทั้งยังวางแผนรายไตรมาสและรายปีได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยังมีการสนับสนุนและให้แนวทางในเรื่อง ‘เงินลงทุน’ การวางแผนงาน และกระบวนการที่เหมาะสมจากทางบริษัทฯ 

เมื่อถามถึง Stage ที่บริษัทสนใจลงทุน คุณลักษมณ์ตอบว่า ส่วนใหญ่ลงทุนในสตาร์ทอัพช่วง Early Stage 

"ตอนนี้เรากำลังจะก้าวไปสู่ Venture Building ในสโคปที่เป็น Sensors, IoT และกำลังพยายามสร้างสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ โดยภายในปี 2025 เราอาจจะเริ่มมีธุรกิจที่ขนาดอาจจะไม่ใหญ่มาก แต่เราเชื่อว่ามีอนาคต มีความเป็นไปได้ที่จะกลายเป็นกลุ่มธุรกิจใหม่ของ Thai Oil โดยเราอยู่ในระหว่างการวางแผนถึงกองทุนถัดไปของเรา ที่คาดว่าจะอยู่ที่ขนาด 50 ล้านดอลลาร์”

คุณลักษมณ์ให้ข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับกลุ่มธุรกิจที่บริษัทสนใจและต้องการลงทุน ซึ่งมีอยู่ 4 กลุ่มได้แก่ 

  1. ตัวดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon capture and storage)
  2. วัสดุชีวภาพ (Bio-based material)
  3. วัสดุที่คิดค้นขึ้นเป็นพิเศษ (Specialty material)
  4. ไฮโดนเจน (Hydrogen)

Top Ventures

จากนั้นอธิบายถึงธุรกิจกลุ่มที่ 4 ว่า “ในด้านไฮโดรเจน เราเป็น Consumer ที่ใหญ่มาก และกำลังจะมีหน่วยการผลิตไฮโดรเจนใหญ่ที่สุดอยู่ที่โรงกลั่นของเรา เราจึงมองหาพาร์ทเนอร์ที่สามารถค่อยๆ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต Hydrogen จาก Grey Hydrogen ให้มีความสะอาดขึ้น เป็น Blue และไปเป็น Green Hydrogen ทั้งเพื่ออนาคตที่เราเป็นผู้ใช้เอง เพื่อซัพพอร์ตสตาร์ทอัพ และยังมองหาโมเดลธุรกิจอื่นเพื่อซัพพอร์ตห่วงโซ่อุปทานด้วย” 

ในด้าน Venture Building คุณลักษมณ์เผยว่า TOP Ventures มีการพูดคุยกับทางมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และอาจได้เห็นบริษัท MOU ด้าน Deep Tech กับสถาบันการศึกษาภายในปีนี้ ส่วนเป้าหมายของ TOP Ventures นั้น คุณลักษณ์กล่าวปิดท้ายว่า

เรามีเป้าว่าจะเป็น Leading CVC Deep Tech  ใน SEA ภายในปี 2025 เพราะเราเชื่อว่า เทคโนโลยีที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกในกลุ่มที่เป็น Science-based, Engineering-based ยังมีช่องว่างและเป็นโอกาสที่เราสามารถให้การสนับสนุนได้

TOP Ventures จึงเป็น CVC ที่ใช้กระบวนการ Venture Investment และ Venture Building ในการสร้างธุรกิจใหม่ ซึ่งขาของการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพและการมุ่งสร้างสตาร์ทอัพขึ้นมาเองนั้น เป็นโอกาสของสตาร์ทอัพสาย Deep Tech และคนที่กำลังมองหางานที่ท้าทายความสามารถ หากใครมีความสนใจในสายการลงทุนหรือการสร้างธุรกิจใหม่ สามารถส่ง Resume มาได้ที่ E-mail : [email protected] หรือเข้ามาทำความรู้จักกับ TOP Ventures ได้มากขึ้นที่ Website : www.topventures.co.th

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...

Responsive image

เมื่อพายุเศรษฐกิจโหมเข้า CFO จะขับเคลื่อนองค์กรอย่างไร? ดีลอยท์ชวรรู้จัก CFO Trilemma

CFO ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจ โดยการสร้างสมดุลระหว่างการฟันฝ่าวิกฤต สร้างคุณค่าระยะยาว และพัฒนาขีดความสามารถของทีม เพื่อความยั่งยืนขององค์กร...

Responsive image

ทำไมองค์กรยุคใหม่ ต้อง AI Transformation องค์กร

Session AI Tranformation โดย ดร.ลิสา พัทธ์วิวัฒน์ศิริ Chief Digital Officer The King Power Corporation และ คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ CEO & Co-Founder Techsauce ที่ได้ร่วมพูดคุยในหัวข...