9 เทรนด์การทำงานที่ผู้นำควรรู้ เพื่อรับมือกับเรื่องที่คาดไม่ถึงในองค์กร | Techsauce

9 เทรนด์การทำงานที่ผู้นำควรรู้ เพื่อรับมือกับเรื่องที่คาดไม่ถึงในองค์กร

ในปี 2022 ผู้บริหารและผู้นำองค์กร ต่างต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่คาดไม่ถึง มากมาย ทั้งนโยบายการกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ การ Turn Over ที่สูงขึ้น ทำให้ปี 2023 องค์กรต่างๆ ยังต้องเผชิญกับความท้าทายที่สำคัญ เช่น ในสภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง พนักงานที่ต่างหมดไฟ แรงกดดันในการควบคุมต้นทุนท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โดยบทความนี้จะเป็นการเปิดเผย 9 เทรนด์สำคัญที่จะช่วยสร้างเส้นทางการทำงานและรับมือให้กับองค์กรตลอดปี 2023 และต่อๆ ไปได้ โดยอ้างอิงจากงานวิจัยของ Gartner ซึ่งจะเน้นแง่มุมของผู้นำองค์กรเป็นหลัก

นายจ้างควรทำ ‘Quiet Hiring’ ตามความสามารถและความต้องการ

ในปี 2022 เรามักจะได้ยินคำว่า ‘Quiet Quitting’ ซึ่งเป็นแนวคิดของพนักงานที่จะปฏิเสธที่จะทำงานให้กับองค์กรจนเกิดเป็น The Great Resignation ทำให้องค์กรต้องสูญเสียทักษะและความสามารถของพนักงานไปแต่ในปี 2023 องค์กรควรจะเปลี่ยนแนวทางมาเป็น ‘Quiet Hiring’ หมายถึงการที่บริษัทเพิ่มความสามารถและทักษะขององค์กรโดยไม่จ้างงานพนักงาน Full-Time เพิ่ม แต่เปลี่ยนมาเน้นที่วิธีการจัดสรรพนักงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคลแทน โดยจะส่งเสริมการเคลื่อนย้ายตำแหน่งผู้มีความสามารถ จัดสรรตำแหน่งให้เหมาะสมกับตามความสามารถของพนักงาน เพื่อชดเชยสำหรับบุคลากรสำหรับบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งให้โอกาสในการยกระดับทักษะที่เฉพาะเจาะจงให้ เพื่อช่วยให้พนักงานตอบสนองความต้องการขององค์กรที่เปลี่ยนแปลงไป หรือ องค์กรจะลองใช้ประโยชน์จากวิธีการอื่นๆ เช่น เครือข่าย alumni ขององค์กร เพื่อนหรือคนรู้จักที่มีทักษะเฉพาะเข้ามาทำงานในองค์กรแทน

พนักงาน Frontline ก็ต้องการความยืดหยุ่นไม่ต่างจากพนักงาน Office

ในขณะที่เราเข้าสู่ยุคของการทำงานแบบผสมผสานที่มากขึ้นสำหรับพนักงานออฟฟิศ แต่ถึงเวลาแล้วสำหรับความเท่าเทียม จะต้องเกิดขึ้นกับพนักงานแนวหน้า เช่น พนักงานในอุตสาหกรรมการผลิต เป็นต้น จากผลสำรวจของ Gartner ในปี 2022 ที่สำรวจพนักงานแนวหน้ากว่า 405 คน พบว่า 58% ขององค์กรที่ว่าจ้างพนักงานแนวหน้า ได้ลงทุนในการปรับปรุงการทำงานและประสบการณ์ให้กับพนักงาน ซึ่งผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าพนักงานแนวหน้าก็ต้องการความยืดหยุ่นในการทำงานเช่นกัน โดยเฉพาะการควบคุมและความมั่นคงในตารางการทำงาน เช่นเดียวกับการลาที่ได้รับค่าจ้าง เช่นกัน

Manager Level จะอยู่กึ่งกลางของความคาดหวังจากผู้บริหารและลูกน้อง

60% ของพนักงานกล่าวว่าผู้จัดการของพวกเขาคือสายสัมพันธ์ที่ตรงที่สุดกับวัฒนธรรมของบริษัท แต่ผู้จัดการฝ่ายบุคคลกำลังประสบปัญหาในการสร้างสมดุลระหว่างความคาดหวังของพนักงานในด้านวัตถุประสงค์ ความยืดหยุ่น และโอกาสในการทำงานกับแรงกดดันด้านประสิทธิภาพจากผู้นำระดับสูง ในปี 2023 องค์กรชั้นนำจะให้การสนับสนุนและการฝึกอบรมใหม่เพื่อลดช่องว่างทักษะการจัดการที่กว้างขึ้น ในขณะเดียวกันก็ชี้แจงลำดับความสำคัญของผู้จัดการและออกแบบบทบาทใหม่เมื่อจำเป็น

เลิกใช้วิธีดั้งเดิมในการรับสมัครพนักงานใหม่ จะช่วยขยายขีดความสามารถ

หลายปีที่ผ่านมา องค์กรต่างๆ ได้วางแผนเชิงกลยุทธ์ของการกระจายความสามารถขององค์กรตามไปป์ไลน์ที่กำหนด ด้วยจำนวนพนักงานที่มากขึ้นอาจทำให้องค์กรประสบปัญหาในการตอบสนองความต้องการของพนักงานด้วยวิธีแบบดั้งเดิม ซึ่งถึงเวลาแล้วที่อาจจะต้องใช้วิธีใหม่ๆ ในปี 2023 องค์กรต้องประเมินผู้สมัครจากทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในบทบาทนั้นๆ แทนที่จะใช้ข้อมูลและประสบการณ์เดิม อาทิ ข้อมูลด้านการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน เป็นต้น แต่ให้ประเมินทักษะที่จำเป็นต่อตำแหน่งที่ว่างอยู่แทน

การรักษาบาดแผลจากการแพร่ระบาดจะเปิดเส้นทางสู่ประสิทธิภาพที่ยั่งยืน

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต่างทำให้พนักงานต้องรับมือกับผลกระทบที่เกิดขั้นทั้งกายและอารมณ์ในระยะยาว ความเครียดและความกังวลของพนักงานเพิ่มสูงขึ้น พนักงานกว่า 60% รายงานว่า พวกเขาเครียดกับงานในทุกวัน ทั้งจากความปั่นป่วนทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองได้แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพในการทำงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด ในปี 2023 องค์กรจะต้องสนับสนุนพนักงานเชิงรุกด้วยการ เช่น 

  • การพักผ่อนเชิงรุกเพื่อช่วยให้พนักงานรักษาความยืดหยุ่นทางอารมณ์และประสิทธิภาพการทำงาน เช่น วันศุกร์ที่ไม่มีการประชุม เวลาเพื่อสุขภาพที่จัดสรรให้ 
  • ให้โอกาสในการอภิปรายเพื่อทำงานผ่านความท้าทายและหัวข้อยากๆ โดยปราศจากการตัดสินหรือผลที่ตามมา
  • เป็นที่ปรึกษาด้าน ฝึกอบรม และ โค้ชผู้จัดการเกี่ยวกับความขัดแย้งในที่ทำงานตลอดจนวิธีการสนทนาที่ยากลำบากกับพนักงาน

องค์กรต่างๆ จะขับเคลื่อน DEI ไปข้างหน้าท่ามกลางแรงผลักดันที่เพิ่มขึ้น

กว่า 42% ของพนักงานเชื่อมั่นใน DEI ขององค์กร นั้นคือ Diversity, Equity และ Inclusion แต่เพื่อรักษาเสถียรภาพ DEI ขององค์กรไว้ แผนก HR จะต้องจัดหาเครื่องมือและกลยุทธ์ให้ระดับ Manager Level เพื่อจัดการกับพนักงานที่ต่อต้าน ก่อนที่จะเกิดความกดดันในองค์กร รวมถึงการสร้างพื้นที่ปลอดภัยเฉพาะกลุ่ม ตามลักษณะสำคัญทางประชากรศาสตร์ของพนักงาน (เช่น เพศ เชื้อชาติ/ชาติพันธุ์) เพื่อระบุปัญหาเชิงรุก ยกระดับทักษะพนักงานด้วยคำแนะนำ "วิธีการ" ที่ชัดเจนซึ่งช่วยให้สามารถเชื่อมโยงพนักงานกับองค์กรได้ โดยแสดงให้พนักงานเห็นว่าพวกเขาสามารถพัฒนาเป้าหมาย DEI ได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านการดำเนินการตามความสามารถและทักษะของพนักงาน ในปี 2023 ผู้นำจะต้องจัดการกับผู้ที่ต่อต้านองค์กรตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่มันจะพัฒนาเป็นก่อกวนที่มากขึ้น

การขอความช่วยเหลือจากพนักงานอย่างเป็นส่วนตัวทำให้เกิดความเสี่ยงด้านข้อมูล

ในองค์กรนั้น การรู้จักพนักงานในฐานะมนุษย์คนหนึ่งอาจเป็นการละเมิดขอบเขตเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัวได้ แม้องค์กรต่างๆ จะใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ทั้ง ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อรวบรวมข้อมูลของพนักงานเช่น ข้อมูลด้านสุขภาพ สถานการณ์ครอบครัว ความเป็นอยู่ สุขภาพจิต แม้ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยตอบสนองความต้องการของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่อีกนัยหนึ่งก็เป็นความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้เช่นกัน ในปี 2023 นี้ องค์กรควรจะมีกฎว่าด้วยสิทธิในข้อมูลของพนักงานเพื่อสนับสนุนความต้องการของพนักงานได้ รวมทั้งแผนก HR ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า องค์กรให้ความสำคัญและโปร่งใสในการจัดเก็บข้อมูลพนักงาน และอนุญาตให้พนักงานปฏิเสธการให้ข้อมูลแก่องค์กรเมื่อเห็นว่าไม่เหมาะสม

อคติในอัลกอริธีม (Algorithmic bias) ต้องนำไปสู่ความโปร่งใสในการว่าจ้าง

องค์กรที่ใช้ AI และ Machine Learning ในกระบวนการจ้างงาน รวมถึง Vendors ที่ต้องพึ่งพาบริการเหล่านี้ จะต้องเผชิญกับแรงกดดันให้มีกฎระเบียบ ตามนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว พวกเขาจะต้องมีความโปร่งใสมากขึ้นเกี่ยวกับวิธีการใช้ AI เผยแพร่การตรวจสอบข้อมูลของพวกเขา และให้พนักงานและผู้สมัครเลือกที่จะไม่เข้าร่วมกระบวนการที่นำโดย AI เมื่อองค์กรต่างๆ เริ่มใช้ AI ในการสรรหาบุคลากรมากขึ้น นัยหนึ่งทางจริยธรรมของแนวทางปฏิบัติเหล่านี้จะต้องมีความเป็นธรรม ความหลากหลาย ความโปร่งใส การเพราะความเป็นส่วนตัวของข้อมูลก็มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ

องค์กรต้องจัดการกับปัญหาทักษะทางสังคมที่ถดถอยของพนักงาน

ความโดดเดี่ยวทางสังคมที่เกิดจากโรคระบาดส่งผลกระทบต่อคนหนุ่มสาวอย่างหนัก 46% ของพนักงาน Gen Z ที่ Gartner สำรวจเมื่อเร็วๆ นี้กล่าวว่าการระบาดใหญ่ทำให้การบรรลุเป้าหมายทางการศึกษาหรืออาชีพทำได้ยากขึ้น และ 51% กล่าวว่าการศึกษาของพวกเขาไม่ได้เตรียมพวกเขาให้พร้อมในตลาดแรงงาน เหล่า Gen Z พลาดการพัฒนา Soft Skills เช่น การเจรจา การสร้างเครือข่าย การพูดอย่างมั่นใจต่อหน้าฝูงชน และการพัฒนาความแข็งแกร่งทางสังคมและความเอาใจใส่ที่จำเป็นต่อการทำงานหลายชั่วโมงในสภาพแวดล้อมแบบตัวต่อตัว การขาดประสบการณ์และการเตรียมพร้อมนี้อาจส่งผลเสียต่อองค์กรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขาตั้งเป้าที่จะจ้างผู้มีความสามารถราคาถูกในตลาดแรงงานที่ตึงตัว แต่ไม่ใช่แค่ Gen Z เท่านั้น ทักษะการเข้าสังคมของทุกคนได้ลดลงตั้งแต่ปี 2020 ความเหนื่อยหน่าย ความอ่อนล้า และความไม่มั่นคงในอาชีพ ทั้งหมดนี้เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงาน องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องนิยามความเป็นมืออาชีพใหม่สำหรับพนักงานทั้งหมดเพื่อรับมือกับความท้าทายนี้

ในสภาพแวดล้อมปัจจุบัน องค์กรจะต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งการรักษาพนักงาน การสนับสนุนพนักงานแบบองค์รวม การใช้ข้อมูลพนักงานอย่างมีจริยธรรม ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องมีการกำหนดกลยุทธ์การทำงานในอนาคตที่แข็งแกร่ง ซึ่งต้องนำหน้าเทรนด์เหล่านี้เพื่อจัดการกับความท้าทายที่เกิดขึ้นในเชิงรุกให้ได้


อ้างอิง

Gartner

Harvard Business Review


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Brian Niccol เจ้าพ่อธุรกิจ Chain Restaurant และ CEO ป้ายแดงของ Starbucks

Starbucks ก็ดึงตัว Brian Niccol (ไบรอัน นิคโคล) ผู้บริหารธุรกิจร้านอาหารมือทองจาก Chipotle Maxican Grill ธุรกิจอาหารแม็กซิกันจานด่วนมาดำรงตำแหน่ง CEO คนใหม่...

Responsive image

บทเรียนผู้นำธุรกิจในยุคที่ AI ครองโลก

วิธีที่ผู้นำธุรกิจ โดยเฉพาะในประเทศไทย จะส่งเสริมการใช้งาน AI และยกระดับศักยภาพองค์กร รวมถึงทักษะที่ผู้นำต้องมีในยุคดิจิทัล...

Responsive image

วิธีปั้นคนในยุค AI ในแบบฉบับ SCBX บริษัทที่ตั้งเป้าใน 3 ปี รายได้ 75% จะมาจาก AI

เคยสงสัยไหมว่าการทำงานในยุคที่ AI เป็นแรงขับเคลื่อนหลัก องค์กรจะสร้างบุคลากรอย่างไรให้เหมาะสมกับยุค ?...