6 ประเภทภาวะผู้นำเป็นพิษ (Toxic Leadership) พร้อมวิธีรับมือ เพื่อสร้างประสิทธิภาพการทำงานและสุขภาพจิตที่ดี | Techsauce

6 ประเภทภาวะผู้นำเป็นพิษ (Toxic Leadership) พร้อมวิธีรับมือ เพื่อสร้างประสิทธิภาพการทำงานและสุขภาพจิตที่ดี

ออฟฟิศอาจไม่ใช่สถานที่ทำงานในฝัน หากมีเจ้านาย toxic บทความนี้จึงรวบรวมวิธีรับมือกับ Toxic Leadership ในที่ทำงาน เพื่อการทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพและมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

Toxic Leadership คืออะไร?

Toxic leadership หรือ ภาวะผู้นำที่เป็นพิษ แปลแบบเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เจ้านายที่ toxic ซึ่งมีพฤติกรรม ทัศนคติ หรือการกระทำในเชิงลบ มักให้ความสําคัญกับความต้องการและความชอบของตัวเองมากกว่าสมาชิกในทีม ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของพนักงาน และบรรยากาศในที่ทํางาน

เจ้านาย Toxic มีหลายประเภท

  • เจ้านายเผด็จการ  (Authoritarian boss) เข้มงวด ใช้อํานาจในเชิงกดขี่ ไม่รับฟังข้อเสนอแนะ และสร้างบรรยากาศที่น่ากลัวชวนอึดอัด เจ้านายประเภทนี้มักต้องการให้ลูกน้องเชื่อฟังโดยไม่ตั้งคำถาม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะบริหารงานแบบจุกจิกมากเกินไป
  • เจ้านายชอบบูลลี่ (Bullying boss) ควบคุมคนด้วยการใช้คำพูดข่มขู่ คุกคาม ทำให้ผู้ฟังเกิดความอาย เจ้านายประเภทนี้อาจกําหนดเป้าหมายไปที่ใครคนใดคนหนึ่งหรือสร้างบรรยากาศให้ลูกน้องรู้สึกถูกคุกคาม
  • เจ้านายจอมเล่ห์เหลี่ยม (Manipulative boss) หลอกลวง ใช้การเมืองในองค์กร (Office politics) เอาอำนาจนอกระบบมาหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง ชอบเล่นเกมจิตวิทยา ยุให้พนักงานตีกันเอง แล้วแบ่งพรรคแบ่งพวก
  • เจ้านายหลงตัวเอง (Narcissistic boss) เชื่อว่าตัวเองอยู่เหนือกว่าคนอื่น ต้องการความสนใจและคำชื่นชม มักจะเอางานของลูกน้องมายกเครดิตเป็นของตัวเอง ไร้ความเห็นอกเห็นใจ
  • เจ้านายเจ้าอารมณ์ (Intemperate boss) โมโหง่าย ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ มักใช้คำพูดด่าทอลูกน้อง
  • เจ้านายใจดำ (Callous boss) ขาดความเมตตาและความเห็นอกเห็นใจ  ไม่สนใจความต้องการของคนอื่น 

สัญญาณบ่งบอก ระวังเจ้านาย Toxic

องค์กรที่มีเจ้านาย toxic มักจะมีอัตราพนักงานลาออกสูง หรือหยุดงานบ่อย ไม่ค่อยได้มีส่วนร่วมในการทำงาน ยิ่งไปกว่านั้น หากขาดความไว้วางใจ ขาดการสื่อสารกันภายในทีม หรือมีความขัดแย้งกัน แย่งชิงตำแหน่งอยู่บ่อยครั้ง ก็อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกได้เลยว่าองค์กรนั้นมีผู้นําที่ toxic ให้หลีกเลี่ยงองค์กรที่มีวัฒนธรรมการทำงานแบบสร้างความกลัวและความอึดอัดใจ

เจ้านาย Toxic ทำร้ายพนักงานยังไง?

พนักงานที่มีเจ้านาย toxic มักประสบปัญหาด้านสุขภาพจิต เครียด วิตกกังวล เหนื่อยล้า และหมดแรงใจในการทำงาน จนนําไปสู่ผลผลิตที่ลดลง ขาดงานเพิ่มขึ้น และค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้นสําหรับองค์กร อีกทั้งเจ้านายที่ toxic ยังเพิ่มความกลัวและความไม่น่าไว้วางใจในการทำงาน ขัดขวางการทํางานร่วมกัน และความคิดสร้างสรรค์ภายในออฟฟิศ

รับยังไงมือกับเจ้านาย Toxic

ตระหนักรู้ จัดการตัวเอง

ทําความเข้าใจอารมณ์ จุดแข็ง จุดอ่อน และสิ่งกระตุ้นของตัวเอง สามารถควบคุมอารมณ์ พฤติกรรม และการตอบสนองของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional intelligence) รู้จักควบคุมการโต้ตอบและการแสดงออกทางอารมณ์ของตัวเอง ป้องกันตัวเองจากความ toxic โดยกำหนดขอบเขตและลิมิตเมื่อต้องพูดคุยกับเจ้านาย

หาคนรับฟัง ขอคำปรึกษา 

การที่ต้องรับมือกับเจ้านายสุด toxic อาจทำให้รู้สึกโดดเดี่ยว แต่จงจําไว้ว่าคุณไม่ได้ตัวคนเดียว ลองพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน หรือคนรอบข้างที่สนิทใจที่ให้คําแนะนําและรับฟังเราได้ เพราะบางทีการแชร์ประสบการณ์กับคนอื่นอาจได้แนวทางในการรับมือกับปัญหาเพิ่มมากขึ้น

ปกป้องตัวเอง กล้าจะปฏิเสธ

เจ้านาย toxic มักจะกดดันพนักงานจนเกินขีดจํากัด คาดหวังให้พวกเขาทำได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งการปกป้องตัวเองคือ การกล้าที่จะพูดคำว่า "ไม่" เมื่อได้งานเพิ่มมากเกินความจำเป็นจนชีวิตขาด Work-life balance

กําหนดขอบเขตอย่างชัดเจนว่าอันไหนยอมได้ อันไหนยอมไม่ได้ แล้วบันทึกสิ่งที่พบเจอหรือถูกกระทำ คอยตระหนักถึงนโยบายและสิทธิในที่ทํางาน หากจําเป็นให้ขอคําแนะนําหรือความช่วยเหลือทางกฎหมาย แต่ถ้ายังไม่มีอะไรดีขึ้น ก็ลาออกหางานอื่นกันได้เลย ไม่ต้องทนให้สุขภาพจิตเสีย

โฟกัสไปที่ความก้าวหน้าในอาชีพ

เจ้านาย toxic มักจะเล่นจุดอ่อนของลูกน้อง โดยทําลายความมั่นใจและคุณค่าของพวกเขา ซึ่งคุณสามารถตอบโต้กลับโดยการโฟกัสที่จุดแข็ง และยอมรับความสำเร็จของตัวเอง เราสามารถสู้กับพฤติกรรมที่ไม่ดีของเจ้านายได้ด้วยการเห็นคุณค่าในตัวเองและรักษาภาพลักษณ์ที่ดีเอาไว้ 

มี Mindset ดี คิดบวก

วิธีนี้จะช่วยให้รับมือกับสถานการณ์ยาก ๆ ได้โดยมีความยืดหยุ่นและมองโลกในแง่บวก รักษาความมั่นใจในตัวเองไว้ เชื่อมั่นในคุณค่าและความสามารถของตัวเอง มองสิ่งเหล่านั้นเป็นการเรียนรู้ ไม่จมปลักกับมัน เช่น หากเจ้านายเริ่มขึ้นเสียงใส่ ก็เรียนรู้ว่าจะทำยังไงดีให้เจ้านายสงบลง

อ้างอิง : lifehacker , forbes

ถึงเป็นธุรกิจเล็ก วัฒนธรรมองค์กรก็สำคัญ
เริ่มเปลี่ยนวันนี้ก่อนสาย

.
หากองค์กรของคุณกำลังเจอปัญหา … พนักงานหมดไฟ…ทุกการตัดสินใจล่าช้าเพราะต้องรอ CEO … พนักงานลาออกเยอะ แต่ไม่รู้สาเหตุ และอีกมากมายปัญหาในองค์กรที่คุณแก้ไม่ตก
.
Peoplesauce ช่วยธุรกิจ SMEs /Startups ที่กำลัง Scale up สร้าง “คน” และ“Culture” เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

เริ่มเปลี่ยนไปพร้อมกับเราได้ตั้งแต่วันนี้ที่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...

Responsive image

รู้จัก Brian Niccol เจ้าพ่อธุรกิจ Chain Restaurant และ CEO ป้ายแดงของ Starbucks

Starbucks ก็ดึงตัว Brian Niccol (ไบรอัน นิคโคล) ผู้บริหารธุรกิจร้านอาหารมือทองจาก Chipotle Maxican Grill ธุรกิจอาหารแม็กซิกันจานด่วนมาดำรงตำแหน่ง CEO คนใหม่...

Responsive image

บทเรียนผู้นำธุรกิจในยุคที่ AI ครองโลก

วิธีที่ผู้นำธุรกิจ โดยเฉพาะในประเทศไทย จะส่งเสริมการใช้งาน AI และยกระดับศักยภาพองค์กร รวมถึงทักษะที่ผู้นำต้องมีในยุคดิจิทัล...