AI ชี้พนักงานออฟฟิศมี 6 แบบ แล้วคุณเป็นพนักงานแบบไหน ? | Techsauce

AI ชี้พนักงานออฟฟิศมี 6 แบบ แล้วคุณเป็นพนักงานแบบไหน ?

เมื่อบริษัทต่าง ๆ เริ่มตระหนักว่า พนักงานมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของบริษัท จึงพยายามหาทางสนับสนุนและผลักดันให้พวกเขามีความสุขกับงานที่ทำ แล้วบริษัทควรทำยังไง ในเมื่อพนักงานแต่ละคนล้วนมีความต้องการต่างกัน 

ล่าสุด McKinsey เปิดผลรายงาน พนักงาน 6 แบบที่เจอได้ในบริษัท เพื่อที่หัวหน้างานจะได้เข้าใจพนักงานของตัวเองได้ดีขึ้น  โดยรายงานชุดนี้ทำขึ้นมาจาก AI ด้วยการสังเกตพฤติกรรมของพนักงานในบริษัท รวบรวมข้อมูลและนำมาให้ AI วิเคราะห์ 

มาดูกันว่าคุณมีพนักงานแบบไหน หรือเป็นพนักงานประเภทไหนกันแน่ !

พนักงาน 6 แบบที่เจอได้บ่อยในบริษัท

1. The Quitters

ลักษณะของพนักงานประเภทนี้คือ คนที่ดูเหมือนยากลาออกจากงาน จากการศึกษาพบว่าจะมีพนักงานประเภทนี้อยู่ราว ๆ 10% สิ่งที่ทำให้พวกเขาเป็นแบบนี้ คือ พวกเขาไม่มีความสุขและไม่มีแรงจูงใจให้ยากทำงาน

บริษัทจึงควรหาต้นตอของปัญหาที่ทำให้คนกลุ่มนี้ไม่มีความสุขกับงาน และเร่งแก้ไขก่อนที่พวกเขาจะลาออกไปจริง ๆ ซึ่ง AI ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการช่วยเหลือพนักงานกลุ่มนี้ คือ การพูดคุยกันตัวต่อตัว สร้างแรงจูงใจในการทำงาน ให้โอกาสในการเติบโตในหน้าที่การงาน หรือการให้รางวัลเพื่อทำให้พวกเขารู้สึกถึงการประสบความสำเร็จ สิ่งเหล่านี้ช่วยให้รู้สึกดีกับงานมากขึ้น

2. The Disruptors

ลักษณะของพนักงานประเภทนี้คือ คนที่ไม่มีความสุขกับงานที่ทำและอาจแสดงพฤติกรรมไม่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน จึงเป็นพนักงานประเภทที่บริษัทต้องรีบรับมือ เพราะคนเหล่านี้มีส่วนที่ทำให้คนในที่ทำงานรู้สึกแย่ พนักงานเหล่านี้มีประมาณ 11% ของพนักงานทั้งหมด

สาเหตุหลัก ๆ ที่คนเหล่านี้มีพฤติกรรมแบบนี้ก็เพราะ พวกเขารู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติที่ไม่ยุติธรรม ดังนั้นสิ่งที่บริษัทควรทำคือ แสดงให้พนักงานกลุ่มนี้เห็นว่างานที่เขาทำก็มีความสำคัญต่อบริษัท และพวกเขาเองก็มีโอกาสเติบโตในหน้าที่การงานที่ทำอยู่เช่นเดียวกัน

3. The Mildly Disengaged

ลักษณะของพนักงานประเภทนี้คือ รู้สึกเบื่อหน่ายและไม่กระตือรือร้นกับงาน โดยพนักงานประเภทนี้จะไม่มีความคิดริเริ่ม พยายามทำงานให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่ค่อยมุ่งมั่นกับงานเท่าไหร่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้กับพนักงานที่อาจจะไม่ทำงานตามความสนใจ โดยมีถึง 32% จากพนักงานทั้งหมด

สิ่งที่บริษัทสามารถช่วยเหลือคนเหล่านี้ได้ก็คือ การให้อิสระและความยืดหยุ่นในการทำงาน เปิดโอกาสให้พนักงานกลุ่มนี้ได้มีสิทธิในการควบคุมการทำงานของตนเอง โดยที่ไม่ต้องให้ใครมาคอยตรวจสอบการทำงานของพวกเขา จะช่วยให้คนกลุ่มนี้กล้าที่จะทำ เรียนรู้ และเติบโตได้

4. The Double-Dippers

ลักษณะของพนักงานประเภทนี้คือ คนที่ทำงานหลายตำแหน่ง พนักงานประเภทนี้จะมีอยู่ประมาณ 5% ในบริษัท ปัญหาหลัก ๆ คือเมื่อบทบาทหน้าที่ไม่ชัดเจนทำให้พวกเขาต้องทำงานที่ไม่ถนัดในบางครั้ง สิ่งที่ทำออกมาจึงอาจไม่โดดเด่น ซึ่งจุดนี้อาจทำให้พวกเขามองไม่เห็นถึงการเติบโตในหน้าที่การงาน

สิ่งที่บริษัทจะช่วยให้พวกเขาพอใจและมีความสุขกับงานมากขึ้น ก็คือ การเพิ่มค่าตอบแทนให้แก่พนักงานเหล่านี้ รวมถึงพูดคุยถึงบทบาทหน้าที่ของพวกเขาให้ชัดเจน

5. The Reliable and Committed

ลักษณะของพนักงานประเภทนี้คือ คนที่มีความสุขกับงานและมุ่งมั่นตั้งใจทำงานเพื่อบริษัท มีพนักงานแบบนี้อยู่ถึง 38% ถึงแม้ดูเหมือนว่าพนักงานกลุ่มนี้จะทำดีอยู่แล้ว บริษัทไม่จำเป็นต้องช่วยเหลืออะไร แต่ในความจริงแล้วยิ่งมีพนักงานที่ดีอยู่ในมือมากเท่าไหร่ ก็ควรจะพยายามรักษาพวกเขาไว้มากเท่านั้น

โดยบริษัทสามารถให้คนเหล่านี้ได้จับชิ้นงานที่สำคัญหรืองานใหญ่ ๆ ที่ได้แสดงศักยภาพ รวมถึงทำให้พวกเขาเห็นว่าบริษัทพร้อมให้การสนับสนุนพวกเขาอยู่เสมอ

6. The Thriving Stars

ลักษณะของพนักงานประเภทนี้คือ คนที่ทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมและทำให้บริษัทดีขึ้น เป็นเหมือนดาวเด่นของบริษัท ซึ่งมีพนักงานประเภทนี้อยู่ประมาณ 4% คนในกลุ่มนี้นอกจากจะทำงานดีแล้ว ยังทำให้เพื่อนร่วมงานรอบข้างรู้สึกดีอีกด้วย เพราะเป็นคนที่คอยช่วยเหลือและสนับสนุนเพื่อนในทีม

แต่ปัญหาใหญ่ที่คนกลุ่มนี้มักจะเจอก็คือ การที่ต้องเหนื่อยและเครียดมากกว่า เพราะบริษัทเชื่อใจให้คนเก่ง ๆ ทำงานยาก ๆ เมื่อเป็นแบบนี้งานส่วนมากจึงตกมาที่คนกลุ่มนี้ ดังนั้นบริษัทควรดูแลและตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานดาวเด่นไม่มีภาระงานที่มากเกินไป และมี Work-life balance ที่ดีอยู่เสมอ

อ้างอิง: inc

ถึงเป็นธุรกิจเล็ก วัฒนธรรมองค์กรก็สำคัญ
เริ่มเปลี่ยนวันนี้ก่อนสาย

.
หากองค์กรของคุณกำลังเจอปัญหา … พนักงานหมดไฟ…ทุกการตัดสินใจล่าช้าเพราะต้องรอ CEO … พนักงานลาออกเยอะ แต่ไม่รู้สาเหตุ และอีกมากมายปัญหาในองค์กรที่คุณแก้ไม่ตก
.
Peoplesauce ช่วยธุรกิจ SMEs /Startups ที่กำลัง Scale up สร้าง “คน” และ“Culture” เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

เริ่มเปลี่ยนไปพร้อมกับเราได้ตั้งแต่วันนี้ที่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก Brian Niccol เจ้าพ่อธุรกิจ Chain Restaurant และ CEO ป้ายแดงของ Starbucks

Starbucks ก็ดึงตัว Brian Niccol (ไบรอัน นิคโคล) ผู้บริหารธุรกิจร้านอาหารมือทองจาก Chipotle Maxican Grill ธุรกิจอาหารแม็กซิกันจานด่วนมาดำรงตำแหน่ง CEO คนใหม่...

Responsive image

บทเรียนผู้นำธุรกิจในยุคที่ AI ครองโลก

วิธีที่ผู้นำธุรกิจ โดยเฉพาะในประเทศไทย จะส่งเสริมการใช้งาน AI และยกระดับศักยภาพองค์กร รวมถึงทักษะที่ผู้นำต้องมีในยุคดิจิทัล...

Responsive image

วิธีปั้นคนในยุค AI ในแบบฉบับ SCBX บริษัทที่ตั้งเป้าใน 3 ปี รายได้ 75% จะมาจาก AI

เคยสงสัยไหมว่าการทำงานในยุคที่ AI เป็นแรงขับเคลื่อนหลัก องค์กรจะสร้างบุคลากรอย่างไรให้เหมาะสมกับยุค ?...