Overqualified ปัญหาของคนเก่งเกินงาน ที่มักถูกบริษัทปฏิเสธรับเข้าทำงาน | Techsauce

Overqualified ปัญหาของคนเก่งเกินงาน ที่มักถูกบริษัทปฏิเสธรับเข้าทำงาน

‘ดีเกินไปบางทีก็ไม่ดี’ เมื่อบริษัทปฏิเสธจะรับคนเก่งเกินไปเข้าทำงาน รู้จักคำว่า Overqualified ทำไมบริษัทไม่รับคนแบบนี้ และถ้าเราเป็นผู้ถูกเลือก (ให้ผิดหวัง) คนนั้น จะรับมือยังไง? 

เก่งแล้วไม่ดียังไง สาเหตุที่บริษัทไม่รับผู้สมัครที่ Overqualified

นอกจากเรื่องความสามารถแล้ว ยังมีอีกหลายปัจจัยที่บริษัทต้องนำมาพิจารณาว่าผู้สมัครคนนี้เหมาะสมมากน้อยแค่ไหน ซึ่งสาเหตุที่บริษัทมักจะไม่รับผู้สมัครที่ Overqualified ได้แก่

1. กลัวจะอยู่กับบริษัทไม่ยาว: บริษัทส่วนใหญ่มักตีความว่า เมื่อคนเก่ง ๆ สมัครเข้ามาทำงานในตำแหน่งที่ต่ำกว่าความสามารถ อาจเป็นเพราะคนเหล่านี้กำลังหาอะไรทำชั่วคราวไปก่อน เพื่อรอโอกาสที่จะพบกับงานที่ดีกว่าบริษัทส่วนใหญ่จึงกังวลว่าผู้สมัครเหล่านี้จะอยู่ทำงานได้ไม่นานและลาออกไป เลยเลือกที่ไม่รับพวกเขาเข้าทำงานแต่แรก

2. สู้เงินเดือนไม่ไหว: เมื่อมีผู้สมัครที่มีความสามารถหรือมีประสบการณ์มาสมัครในตำแหน่งที่ต่ำกว่าความสามารถ บริษัทจึงกลัวว่าจะไม่สามารถจ่ายเงินเดือนให้มากตามความสามารถของผู้สมัครเหล่านี้ รวมถึงถ้าบริษัทเสนอเงินเดือนที่น้อยกว่าความต้องการ ผู้สมัครเหล่านี้ก็จะปฏิเสธบริษัทอยู่ดี จึงตัดไฟตั้งแต่ต้นลมปัดตกคนเหล่านี้ไปแทน

3. งานไม่ท้าทาย: บริษัทกลัวว่าผู้สมัครที่ Overqualified อาจจะรู้สึกเบื่องาน เพราะมันง่ายและไม่ท้าทายความสามารถของพวกเขา เมื่อพนักงานเบื่องานก็มักจะขาดแรงจูงใจในการทำงาน ซึ่งส่งผลกระทบให้พวกเขามีประสิทธิภาพการทำงานลดลง

4. เข้ากับเพื่อนร่วมงานได้ยาก: การรับพนักงานใหม่บริษัทก็มักจะมองถึงการทำงานร่วมกับทีมเดิมด้วย ซึ่งถ้าผู้จัดการและสมาชิกเดิมของทีมมีประสบการณ์และความสามารถน้อยกว่าผู้สมัคร บริษัทก็อาจจะมองว่าคงทำงานร่วมกันยาก รวมถึงยิ่งมีประสบการณ์มากกว่าหัวหน้า การฟังความเห็นหรือรับคำสั่งจากหัวหน้าที่ประสบการณ์น้อยกว่าอาจสร้างความไม่พอใจกับผู้สมัคร และเป็นปัญหาในการทำงานระยะยาวได้

ผู้สมัครที่ Overqualified ต้องทำยังไง ?

อย่าพึ่งคิดว่าการมีคุณสมบัติเกินเกณฑ์แล้วจะไม่ได้งาน เพราะในการพิจารณารับพนักงานเข้าทำงานไม่ได้มองเพียงแค่ทักษะและความสามารถเพียงอย่างเดียว ยังมีอีกหลายประเด็นที่ผู้สมัครแบบ Overqualified สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อให้ได้งานที่ต้องการ ได้แก่

1. ศึกษาจากคนที่ทำงานในสายงานที่คุณสนใจ: บางทีการเริ่มต้นจาก 0 อาจจะทำให้จับต้นชนปลายไม่ถูก จึงอาจจะเริ่มดูจากโปรไฟล์ของคนอื่น ๆ บนแพลตฟอร์มหางาน เช่น LinkedIn เพื่อศึกษาว่างานที่คุณสนใจต้องการคนแบบไหน และต้องเตรียมตัวอย่างไรเพื่อได้งานนั้น

2. เริ่มพูดถึงเรื่องที่บริษัทกังวลเกี่ยวกับ Overqualified:  สิ่งนี้ควรเขียนอธิบายไว้ใน Cover Letter โดยเริ่มจากการเกริ่นถึงข้อกังวลของบริษัทที่มีต่อคุณ แล้วตามด้วยการอธิบายว่าทำไมบริษัทไม่ควรกังวลในเรื่องนั้น เล่าถึงความตั้งใจของตัวเองให้บริษัทได้รับรู้ เป็นจุดที่อาจทำให้บริษัทเปิดใจและไม่ปัดคุณตกไปก่อน

3. ทำให้ Overqualified เป็นจุดแข็ง ไม่ใช่จุดอ่อน: เป็นสิ่งที่ต้องแสดงให้บริษัทเห็นในตอนสัมภาษณ์ว่า คุณตื่นเต้นและกระตือรือร้นที่จะได้ทำงานนี้ เพราะเป็นงานที่สอดคล้องกับความสนใจของคุณ รวมถึงพรีเซนต์ให้บริษัทเห็นว่าทักษะและประสบการณ์ของคุณมีประโยชน์ต่อบริษัทอย่างไรและคุณสามารถใช้มันเพื่อช่วยทีมบรรลุเป้าหมายได้ แต่อย่าลืมว่าคุณต้องวางตัวเป็นคนเก่งที่พร้อมจะพาทีมเก่งไปด้วย ไม่ใช่มุ่งมั่นที่จะเก่งนำคนในทีม

อ้างอิง: betterup

ถึงเป็นธุรกิจเล็ก วัฒนธรรมองค์กรก็สำคัญ
เริ่มเปลี่ยนวันนี้ก่อนสาย

.
หากองค์กรของคุณกำลังเจอปัญหา … พนักงานหมดไฟ…ทุกการตัดสินใจล่าช้าเพราะต้องรอ CEO … พนักงานลาออกเยอะ แต่ไม่รู้สาเหตุ และอีกมากมายปัญหาในองค์กรที่คุณแก้ไม่ตก
.
Peoplesauce ช่วยธุรกิจ SMEs /Startups ที่กำลัง Scale up สร้าง “คน” และ“Culture” เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ

เริ่มเปลี่ยนไปพร้อมกับเราได้ตั้งแต่วันนี้ที่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

"Founder Mode" วิถีแห่งผู้นำยุคใหม่หรือแค่ One-Man Show ที่กำลังจะล้าสมัย?

Silicon Valley ดินแดนแห่งนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่ซึ่งไอเดียใหม่ๆ ผุดขึ้นราวกับดอกเห็ด แต่ท่ามกลางกระแสแห่งความคิดสร้างสรรค์นี้เอง กลับมีคำศัพท์ใหม่ที่จุดประกายความขัดแย้งขึ้น นั่นค...

Responsive image

ไขความลับ Gen AI โอกาส ข้อจำกัด และวิธีใช้ ในการวางกลยุทธ์สำหรับ CEO

เรากำลังประเมินความสามารถของ AI สูงเกินไปหรือไม่? และ AI จะสามารถช่วยเหลือในด้านใดของการวางแผนกลยุทธ์? บทความนี้จะตอบคำถามเหล่านี้ผ่านกรณีศึกษาสองกรณีเกี่ยวกับการใช้ gen AI ในการวา...

Responsive image

รู้จัก Brian Niccol เจ้าพ่อธุรกิจ Chain Restaurant และ CEO ป้ายแดงของ Starbucks

Starbucks ก็ดึงตัว Brian Niccol (ไบรอัน นิคโคล) ผู้บริหารธุรกิจร้านอาหารมือทองจาก Chipotle Maxican Grill ธุรกิจอาหารแม็กซิกันจานด่วนมาดำรงตำแหน่ง CEO คนใหม่...