Frasers Property รวบ Golden Land เพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ปั้นอาณาจักรสู่อสังหาฯแสนล้านในเครือเจ้าสัวเจริญ | Techsauce

Frasers Property รวบ Golden Land เพิกถอนออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ปั้นอาณาจักรสู่อสังหาฯแสนล้านในเครือเจ้าสัวเจริญ

เป็นอีกหนึ่งดีลหลายคนจับตามองกันมาสักระยะกับบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ Frasers Property ในการประกาศเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)หรือ Golden Land  ซึ่งได้มีการคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดเสร็จสิ้น และได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 95.65% เมื่อเดือนสิงหาคม 2562  ที่ผ่านมา 

ล่าสุดเฟรเซอร์สก็ได้ดำเนินการขอเพิกถอนGolden Landออกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยทำคำเสนอขอซื้อหุ้นที่เหลือทั้งหมดในราคาหุ้นละ 8.5 บาทต่อหุ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 19  พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา 

สำหรับวัตถุประสงค์ที่เฟรเซอร์ขอเพิกถอน Golden Land ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯนั้น มีดังนี้

  • เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการบริหาร และการพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ให้มีประสิทธิภาพและครบวงจร อย่างไรก็ดี กิจการ ในฐานะบริษัทลูกของเฟรเซอร์ โดยยังคงได้รับการสนับสนุนในการดําเนินธุรกิจจากเฟรเซอร์อย่างต่อเนื่อง 
  • Golden Land ไม่มีความจําเป็นในการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยหาก Golden Land มีความจําเป็นที่จะต้อง ระดมทุนเพิ่มเติมในอนาคต Golden Land มีความสามารถในการหาแหล่งเงินทุนโดยการกู้ยืมจากสถาบัน การเงิน รวมถึงการได้รับการสนับสนุนด้านเงินทุนเพิ่มเติมจากเฟรเซอร์
  •  ลดภาระค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวเนื่องกับการดํารงสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ฯ 
  • ลดภาระหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องที่ Golden Landต้องปฏิบัติตามใน ฐานะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ 

ทำความรู้จัก 'Frasers Property'

บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน)  เดิมชื่อ บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จํากัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นในปี 2533 เป็นบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ปัจจุบันมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ได้แก่ บริษัท เฟรเซอร์ส แอสเซ็ทส์ จํากัด  และบริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ (ประเทศไทย) จํากัด 

เฟรเซอร์ส เติบโตมาจากการเป็นผู้พัฒนาและบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม (Industrial Property) ให้เช่า โดยภายใต้บริบทที่เปลี่ยนแปลงไปของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการ ประกอบธุรกิจจากการพัฒนาสิ่งปลูกสร้างและการสร้างรายได้แบบดั้งเดิม (Brick-and-mortar) ไปสู่การ ให้บริการที่เกี่ยวเนื่องอย่างครบวงจรเพื่อมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม และเสริมสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า 

ปัจจุบันบริษัทได้ลงทุนในธุรกิจเกี่ยวเนื่องต่าง ๆ ได้แก่ ธุรกิจดาต้า เซนเตอร์ (Data Centre) ธุรกิจสมาร์ทโซลูชัน (Smart Solution) และเมืองอุตสาหกรรม (Township) ซึ่งธุรกิจใหม่นี้ยังอยู่ในช่วงการพัฒนาและยังไม่สร้างรายได้อย่างมีนัยสําคัญให้กับบริษัท นอกจากนี้ บริษัทได้มีการลงทุนในทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เพื่ออุตสาหกรรม เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (FTREIT)

อ่านมุมมอง New Normal ต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จากเฟรเซอร์ส เพิ่มเติม

'Golden Land' ดำเนินกิจการอะไรบ้าง

Golden Land ดําเนินธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ประกอบด้วย 2 ธุรกิจหลัก ซึ่งได้แก่ ธุรกิจพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย และธุรกิจพัฒนาโครงการ อาคารเชิงพาณิชกรรม

ธุรกิจพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย : มีธุรกิจจัดสรรบ้านและที่ดิน พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบ โดยเป็นการพัฒนาโครงการที่อยู่ อาศัยแนวราบภายใต้แบรนด์ที่หลากหลายในรูปแบบของบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และทาวน์เฮ้าส์ พร้อมการพัฒนา สาธารณูปโภคต่าง ๆ ในโครงการให้ครอบคลุมทุกระดับราคา และเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละ กลุ่มที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2563 GOLD มีโครงการที่อยู่อาศัยเปิดดําเนินการจํานวน 61 โครงการ

ธุรกิจพัฒนาโครงการอาคารเชิงพาณิชยกรรม : มีนโยบายมุ่งเน้นให้เกิดรายได้ค่าเช่า ค่าบริการใน ระยะยาว โดยแผ่นดินทองมีนโยบายที่จะพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนอง ความต้องการของลูกค้าและเสริมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเพิ่มอัตราค่าเช่า และทําให้แผ่นดินทองสามารถรับรู้รายได้เพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีโครงการอาคารเชิงพาณิชยกรรมซึ่งประกอบด้วยธุรกิจประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • โรงแรม และ เซอร์วิสอพาร์ทเม้นท์ ได้แก่ โมเดน่า บาย เฟรเซอร์ กรุงเทพฯ, เดอะ แอสคอท สาทร และเมย์แฟร์ แมริออท เอ็กเซคคิวทีฟ อพาร์ทเม้นท์ 
  • อาคารสํานักงาน ได้แก่ โกลเด้นแลนด์ บิวดิ่ง และ เอฟวายไอ เซ็นเตอร์ 
  • โครงการเชิงพาณิชยกรรมแบบผสมซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ได้แก่ สามย่าน มิตรทาวน์

อ่านเรื่องราวเบื้องหลังการสร้าง สามย่าน มิตรทาวน์ เพิ่มเติม

Frasers Property ได้อะไรจากดีลนี้

จากการที่Golden Landมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่ อาศัยและเชิงพาณิชยกรรม ประกอบกับทีมผู้บริหารที่มีความสามารถและเป็นบริษัทภายใต้กลุ่ม Frasers Property ซึ่ง มีวิสัยทัศน์ในการทําธุรกิจที่สอดคล้องและส่งเสริมกันกับแผนการดําเนินธุรกิจในอนาคตของเฟรเซอร์สที่ต้องการเป็นผู้พัฒนาและบริหารอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร (Integrated Real Estate) ดังที่กล่าวข้างต้น การเข้าทําคําเสนอซื้อกิจการของแผ่นดินทองเพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ GOLD ออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้น จะส่งผลให้บริษัทได้รับประโยชน์ดังต่อไปนี้

  • เพิ่มความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการร่วมมือดําเนินงานกันระหว่างเฟรเซอร์สและแผ่นดินทอง
  • เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเป็นผู้นําการให้บริการแพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร (Integrated Real Estate) ซึ่งรวมถึงธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อุตสาหกรรม โครงการเชิงที่อยู่อาศัย และเชิงพาณิชยกรรม รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงาน การบริหารงาน และการบริหารต้นทุนจากการประหยัดจากขนาดในอนาคต

ทั้งนี้ข้อมูลจาก Forbes Thailand ระบุว่า การรวบซื้อหุ้นของGolden Landจะทำให้เฟรเซอร์สกลายเป็นบริษัทอสังหาฯ ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 3 ของตลาด ที่มีการพัฒนาโครงการอสังหาฯครอบทุกรูปแบบ ถือว่าตอบโจทย์ต่อวัตถุประสงค์ที่เฟรเซอร์ต้องการก้าวไปเป็นผู้นําการให้บริการแพลตฟอร์มอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร (Integrated Real Estate) พร้อมกันนี้การรวมกิจการจะทำให้เฟรเซอร์สกลายเป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์รวมมากกว่า 1 แสนล้านบาทเช่นกัน 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Amity Solutions และบริษัทแม่ ปิดดีลรอบซีรีส์ C ที่ 2.2 พันล้านบาท มุ่งสร้างฮับ GenAI

Amity Solutions พร้อมด้วย Amity Corporation บริษัทแม่ ประสบความสำเร็จในการระดมทุนรอบซีรีส์ ซี (Series C) ปิดดีลได้ที่ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 2.2 พันล้านบาท)...

Responsive image

ปิดดีล! LG เข้าซื้อหุ้น 80% ของ Athom บริษัทแพลตฟอร์มสมาร์ทโฮม Homey พร้อมเร่งขยายธุรกิจ LG ThinQ ที่ขับเคลื่อนด้วย Gen AI

บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ จำกัด เข้าซื้อหุ้น 80% ของ Athom บริษัทแพลตฟอร์มสมาร์ทโฮมสัญชาติดัตช์ Homey พร้อมตั้งเป้าเข้าซื้อหุ้นที่เหลืออีก 20% ภายใน 3 ปีข้างหน้า และขยายธุรกิจ LG ...

Responsive image

ดีลประวัติศาสตร์! MUFG แบงก์ยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น ทุ่มงบกว่า 7.2 พันล้านบาท ลงทุนใน Ascend Money สตาร์ทอัพ FinTech เครือ CP ผู้พัฒนา TrueMoney Wallet

Mitsubishi UFJ Financial Group (MUFG) ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น และเป็นบริษัทแม่ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ประกาศลงทุนใน Ascend Money บริษัทสตาร์ทอัพด้านการเงินในเครือ CP หรือ...