ADYEN ยักษ์ใหญ่ FinTech ขยายธุรกิจสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว จับมือ Grab | Techsauce

ADYEN ยักษ์ใหญ่ FinTech ขยายธุรกิจสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว จับมือ Grab

ช่วงนี้ต้องยอมรับว่า FinTech ยักษ์ใหญ่ซีกโลกตะวันตกเริ่มให้ความสำคัญในตลาดเอเชียมากขึ้น ก่อนหน้านี้ Stripe ก็มีพนักงานอยู่ที่สิงคโปร์แล้ว Transferwise ก็เช่นกัน ล่าสุด Adyen หนึ่งใน FinTech Unicorn ด้าน Payment จากเนเธอแลนด์ก็ประกาศเปิดสาขาในสิงคโปร์ เตรียมเจาะตลาดภูมิภาคนี้ ที่น่าสนใจคือได้พาร์เนอร์ตัวแรงอย่าง Grab ด้วย

Adyen

Adyen ตั้งออฟฟิสในใจกลางสิงคโปร์นำเสนอโครงข่าย (infrastructure) ด้าน payment แบบครบวงจรสำหรับบริษัทชั้นนำต่างๆ ของโลก ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทชื่อดัง อาทิ Cathay Pacific, Daniel Wellington และ Spotify สามารถรับการชำระเงินหลากหลายรูปแบบจากผู้ใช้ชาวเอเชีย

การมาสิงคโปร์ครั้งนี้จับมือกับบริษัท Startup ชื่อดังอย่าง Grab เพื่อขยายธุรกิจ GrabPay แพลตฟอร์มในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ซึ่ง Adyen นั้นรองรับการชำระเงินจากทั่วโลกกว่า 250 รูปแบบ

Screen Shot 2559-08-25 at 11.53.25 PM

ลูกค้าของ Grab นอกจากเดิมที่จ่ายผ่านบัตรเครดิตหรือเดบิตได้อยู่แล้ว ลูกค้าที่เดินทางมาจากต่างประเทศสามารถใช้ช่องทางการชำระเงินของประเทศตัวเองที่  Adyen รองรับได้ด้วย อย่างไทยก็จะรองรับการชำระผ่าน 123 (จ่ายผ่านเคาเตอร์ได้) และจ่ายผ่าน Online Banking

Screen Shot 2559-08-25 at 11.53.58 PM

ในขณะที่บริษัทสามารถออกค่าใช้จ่ายให้กับพนักงานได้ด้วยการใช้บริการผ่าน Grab for Work

Screen Shot 2559-08-25 at 11.53.06 PM

 

โดยWarren Hayashi หัวเรือใหญ่ของ Adyen ใน APAC กล่าวว่า ตลาดเอเชียมีความ active ด้านธุรกิจอีคอมเมิร์ซมาก ซึ่งบริษัทเห็นโอกาสนี้และจะช่วยผลักดันทั้งธุรกิจอีคอมเมิร์ซและ omni-channel ในภูมิภาคนี้ให้เติบโต ด้วยโซลูชั่นสำหรับผู้ขาย โดยนำเสนอประสบการณ์การใช้งาน mobile payment ที่ดีให้กับลูกค้าทั้งจากในแอปฯ และผ่านโมบายเวปฯ ด้วยการใช้แพลตฟอร์มของ Adyen ผู้ขายสามารถเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคที่ cross-channel ได้ด้วย

การเปิดออฟฟิสในสิงคโปร์ถือเป็นสาขาที่ 3 ของภูมิภาคนี้ตามมาจากเซี่ยงไฮ้และซิดนี่  ปีที่แล้ว Adyen มี transaction volume ทั้งหมดอยู่ที่ 50 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และรายได้อยู่ที่ 350 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเติบโตจากเดิมกว่า 100% จากปีก่อนหน้า โดยบริษัทนั้นทำกำไรได้ตั้งแต่ปี 2011 ปัจจุบันมูลค่าบริษัทอยู่ที่ 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และหนึ่งในนั้นมีนักลงทุนในสิงคโปร์ลงทุนด้วยอย่าง Temasek

ที่มา: Fintechnews.sg

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

พาสปอร์ตสิงคโปร์ ครองแชมป์พาสปอร์ตทรงอิทธิพลที่สุดในโลก ปี 2025

พาสปอร์ตสิงคโปร์ครองอันดับ 1 ใน Henley Passport Index 2025 ด้วยสิทธิ์เดินทางไร้วีซ่า 195 ปลายทาง สะท้อนความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจ การเมือง และการทูตระดับโลก...

Responsive image

ส่องแผน UK ปั้นประเทศอย่างไร ให้กลายเป็นมหาอำนาจ AI โลก

Keir Starmer นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร ได้ออกมาประกาศถึงความต้องการที่จะทำให้ UK กลายเป็น ‘มหาอำนาจ’ ด้านปัญญาประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ เพื่อสร้างความก้าวหน้า ความมั่นคั่ง และทำให้ A...

Responsive image

Xiaohongshu คือแอปฯ อะไร? ทำไมชาวเมกันถึงหันไปใช้ หลัง TikTok ส่อแววโดนแบนในสหรัฐ

ท่ามกลางกระแสข่าวเรื่องการแบน TikTok ในอเมริกาวันที่ 19 มกราคมนี้ ทำให้แอปวีดีสั้นจากจีนที่ชื่อว่า Xiaohongshu หรือที่รู้จักกันในชื่อ RedNote ได้รับความนิยมพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ...