Metaverse ต้องใช้เวลา 5-10 ปีจึงจะเป็นจริง? ฟังความเห็นด้านนวัตกรรมของ Meta และ AWS บนเวที APEC CEO Summit 2022 | Techsauce

Metaverse ต้องใช้เวลา 5-10 ปีจึงจะเป็นจริง? ฟังความเห็นด้านนวัตกรรมของ Meta และ AWS บนเวที APEC CEO Summit 2022

ในงาน APEC CEO Summit 2022 มีการเสวนาหัวข้อสำคัญทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมีตัวแทนของ 2 บริษัทชั้นนำได้แก่ Meta และ Amazon Web Services: AWS ที่มาเล่าถึง 2 เทคโนโลยีสำคัญได้แก่ Metaverse และ Cloud พร้อมทั้งให้ความเห็นเกี่ยวกับการกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีของภาครัฐ

5-10 ปี Metaverse จะเกิดขึ้นจริง?

อย่างที่ทราบกันดีว่าตั้งแต่ Facebook เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Meta และทำให้ Metaverse กลายเป็นเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่หลายบริษัททั่วโลกให้ความสนใจ แต่ก็เกิดคำถามมากมายว่า Metaverse จะเกิดขึ้นจริงได้เมื่อไหร่ ซึ่งคุณไซมอน มิลเนอร์ รองประธานฝ่ายนโยบายสาธารณะ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท เมตา แพลตฟอร์มส์ (Meta) ได้เผยถึงคำตอบนี้ว่า Metaverse คือนวัตกรรมแห่งอนาคตที่แสดงถึงพลังของการสร้างสรรค์ที่จะช่วยเพิ่มการรับรู้ของผู้คน ซึ่งเทคโนโลยีนี้อาจต้องใช้เวลาอีก 5-10 ปี ที่จะนำออกสู่ตลาด  

ในขณะที่คุณไมเคิล พังก์ รองประธานด้านนโยบายสาธารณะ เอมะซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (Amazon Web Services: AWS) ได้เล่าถึงเทคโนโลยีที่จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของการสร้างนวัตกรรมอย่างคลาวด์ว่า

ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) การเรียนรู้ของเครื่องจักร (machine learning) และ 5G –เทคโนโลยีเหล่านี้ดำรงอยู่ได้เพราะมีระบบคลาวด์รองรับ – ไมเคิล พังก์ 

โดยเมื่อไม่นานนี้ AWS ได้ประกาศแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ ด้วยการเปิดตัว AWS Region ในประเทศไทย ที่จะมีชื่อว่า AWS Asia Pacific (Bangkok) ที่จะช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้งานและจัดเก็บข้อมูลในประเทศไทยได้อย่างปลอดภัยในขณะที่ให้บริการผู้ใช้ปลายทางด้วยเวลาแฝงที่ต่ำ โดยมีการวางงบประมาณลงทุนมากกว่า 5 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือ 1.9 แสนล้านบาท) ในระยะเวลา 15 ปี 

ทั้งนี้เทคโนโลยีแห่งอนาคตก็มีหลายประเด็นที่มีความท้าทาย หนึ่งในนั้นคือเรื่องการกำกับดูแลของรัฐบาล ซึ่งในประเด็นนี้ทั้งมิลเนอร์และพังก์เห็นตรงกันว่า เป็นภารกิจที่ท้าทายของรัฐบาลในการกำกับดูแลการใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม และหาจุดสมดุลว่าทำอย่างไรจึงจะปกป้องประชาชนโดยไม่ฉุดรั้งพลังของนวัตกรรม

เราเชื่ออย่างยิ่งว่า บริษัทด้านเทคโนโลยีจะต้องได้รับการจัดระเบียบ เราจำเป็นต้องใคร่ครวญถึงสิ่งนี้ – ไซมอน มิลเนอร์

มิลเนอร์ยืนยันว่า ในฐานะบริษัท Meta เชื่อว่าเทคโนโลยีต้องได้รับการกำกับ และบริษัทต้องมีการควบคุม เขายกตัวอย่างภูมิภาคเอเชีย ว่าเป็นต้วอย่างของการวางนโยบายที่ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถร่วมมือกันเพื่อหาทางออกที่ยอมรับได้ทุกฝ่าย 

ทั้งคู่มีความเห็นตรงกันว่า การทำให้ผู้ใช้เข้าใจเทคโนโลยี และการสร้างความไว้วางใจ เป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้ยังเผยถึงการมีส่วนร่วมของผู้หญิงในวงการเทคโนโลยีว่ามีมีส่วนสำคัญอย่างมากในการสร้างความหลากหลาย ตัวอย่างเข่น นักพัฒนา AR และ VR จำนวนมากเป็นผู้หญิง

เทคโนโลยียังทำอะไรได้อีกมากเพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานแก่กลุ่มสตรี – ไมเคิล พังก์

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...