เปิดฉากงาน APEC CEO Summit 2022 การประชุมสุดยอดผู้นำภาคเอกชน 'BCG คือวาระสำคัญ' | Techsauce

เปิดฉากงาน APEC CEO Summit 2022 การประชุมสุดยอดผู้นำภาคเอกชน 'BCG คือวาระสำคัญ'

เริ่มต้นขึ้นแล้ว กับงาน APEC CEO Summit 2022 การประชุมสุดยอดผู้นำภาคเอกชนของเอเปค ซึ่งมีทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงและผู้นำจากภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม โดยงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2565 ที่จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ‘Embrace Engage Enable’ โดยมีเป้าหมายส่งเสริมความมั่งคั่งและการเติบโตของประชาชน และสังคมในเอเชียแปซิฟิกสู่การปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางด้านการค้า การลงทุน ตลอดจนการแบ่งปันแง่มุมทางนวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างการเติบโตร่วมกัน ทั้งนี้ Techsauce ได้เข้าร่วมเป็น Media Partner ในงานครั้งนี้ด้วย

ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์ ประธาน APEC CEO Summit 2022 และรองประธานกรรมการหอการค้าไทย ได้เปิดเผยว่า เป็นเรื่องน่าภูมิใจที่ผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่านได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการประชุมแบบพบหน้ากันครั้งแรกหลังการระบาดของโควิด-19 ที่แม้ว่าจะบรรเทาลงแล้ว แต่ทุกประเทศยังมีความท้าทายอีกมายที่ต้องเผชิญ เช่น สงคราม ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ภาวะเงินเฟ้อ การก่อการร้าย การขาดแคลนอาหาร พลังงาน ความยั่งยืน เทคโนโลยีที่สร้างความพลิกผัน ตลอดจนภัยคุกคามอื่นๆ ดังนั้นการประชุมครั้งนี้จะเป็นพื้นฐานสำหรับการพูดคุยเพื่อนำไปสู่การหาทางออกและกลยุทธ์ต่อไป  

เราเชื่อมั่นว่าความร่วมมือและความมุ่งมั่นของเรา จะนำพาเราให้ผ่านพ้นความผันผวนต่าง ๆ ที่โลกกำลังเผชิญ โดยตระหนักว่าโลกของเรา ต้องการวิธีการแก้ปัญหาที่อยู่บนพื้นฐานของความยั่งยืน ความครอบคลุม และนวัตกรรมใหม่ ๆ – ดร.พจน์ อร่ามวัฒนานนท์

คุณสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้เปิดเผยว่า ประเทศไทยได้นำโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ หมุนเวียน และสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model: BCG) มาเป็นกลยุทธ์ในการฟื้นฟูประเทศหลังการระบาดของโควิด-19 ซึ่งถือเป็นวาระสำคัญของการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค

ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตของประเทศ รวมถึงการก่อสร้างทางหลวงและมอเตอร์เวย์เพิ่มขึ้นถึง 271% ในปี 2564 การสร้างทางรถไฟเพื่อเชื่อมต่อเมืองและศูนย์ด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ขณะที่สนามบินสุวรรณภูมิได้เพิ่มศักยภาพการรองรับผู้โดยสารอีก 17% เป็น 139 ล้านคน

เสถียรภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจ ประกอบกับการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและสุขภาพ ทำให้ประเทศไทยอยู่ในสถานะที่ได้เปรียบ – สนั่น อังอุบลกุล 
 

ซึ่งหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ประเทศไทยได้แสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่น ขณะที่การเข้าถึงระบบสวัสดิการได้รับการพัฒนาจนได้รับความชื่นชมจากนานาชาติว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่รับมือกับการระบาดใหญ่ได้ดีที่สุดประเทศหนึ่ง

ทั้งนี้ในงานยังได้รับเกียรติจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมปาฐกถาเปิดงานครั้งนี้ด้วย

โดยพลเอกประยุทธ์ ได้กล่าวถึง บทบาทของภาคเอกชนในการสนับสนุนนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ที่ไทยนำมาเป็นแผนแม่บทสำหรับการพัฒนาและการเติบโต ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อสร้างคุณค่า เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และส่งเสริมความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งยังประกาศว่าประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในอนาคตอันใกล้ และความยั่งยืนเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดสำหรับปีนี้ 

โดยนายกฯ ได้กล่าวต่อว่าปัจจุบันเศรษฐกิจดิจิทัลมีมูลค่า 14% ของ GDP ซึ่งประเทศไทยตั้งเป้าจะขยายให้เป็น 30% ภายในปี 2030  

ความร่วมมือที่เข้มแข็งและความมุ่งมั่นจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความร่วมมือระหว่างรัฐกับเอกชน เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและครอบคลุม – พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ไทยจะเสนอให้ผู้นำเอเปครับรองเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจ BCG ในปลายสัปดาห์นี้ ซึ่งจะกำหนดทิศทางของเอเปคไปสู่เป้าหมายด้านความยั่งยืน สนับสนุนความพยายามในการจัดการการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ขับเคลื่อนการค้าและการลงทุนที่ยั่งยืน ผลักดันการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และปรับปรุงการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดขยะให้เป็นศูนย์ ซึ่งความสำเร็จนี้ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจากภาคเอกชน และการเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคธุรกิจเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ภูมิภาคก้าวไปข้างหน้า และเติบโตไปด้วยกันสู่อนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และสมดุล โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

อดีตซีอีโอ Nissan เตือน การควบรวมกิจการกับ Honda อาจทำให้เจอ 'ปัญหา' การลดต้นทุนครั้งใหญ่

Carlos Ghosn อดีตซีอีโอของ Nissan ออกมาเตือนว่า บริษัทอาจต้องเผชิญกับ "หายนะ" จากการลดต้นทุนครั้งใหญ่ หากตัดสินใจควบรวมกิจการกับ Honda โดยเขาให้เหตุผลว่า ทั้งสองบริษัทมีความซ้ำซ้อน...

Responsive image

เชื่อหมอมากกว่า TikTok ? วิจัยชี้ คำแนะนำทางการแพทย์เกือบครึ่ง 'มั่ว'

Tebra บริษัทวิจัยด้านสุขภาพ ได้ทำการวิเคราะห์วิดีโอบนแพลตฟอร์ม TikTok กว่า 5,000 รายการ ที่มีความเกี่ยวข้องกับคำแนะนำทางการแพทย์ เพื่อทำการประเมินความถูกต้องของ ซึ่งผลลัพธ์แสดงให้เ...

Responsive image

Zoom เผย 10 เทรนด์ AI ในการทำงาน ที่ต้องจับตา ปี 2025

ในปี 2568 บริษัทซูม วิดีโอคอมมิวนิเคชันส์ (Zoom) มองว่าเทคโนโลยี AI อาจเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จในหลายๆด้าน บริษัทที่ใช้ AI เป็นหลัก จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพพนักงาน สร้างประสบการ...