ช ทวี บริษัทไทย จัดตั้ง SPAC ในตลาด NASDAQ ผลักดัน Startup ระดมทุนเข้าตลาดหุ้นในอเมริกา โดยไม่ต้อง IPO | Techsauce

ช ทวี บริษัทไทย จัดตั้ง SPAC ในตลาด NASDAQ ผลักดัน Startup ระดมทุนเข้าตลาดหุ้นในอเมริกา โดยไม่ต้อง IPO

บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งหนังสือต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่า ตามที่ปัจจุบันการระดมทุนมีหลายรูปแบบ เนื่องด้วยกิจการที่บริษัทฯ ทํานั้น มีเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น จึงมีความจําเป็นที่จะต้องมีการระดมทุนเพื่อส่งเสริมกิจการในด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ซึ่งหากใช้รูปแบบเครื่องมือทางการเงินที่มีอยู่ในประเทศไทยจะมีระบบการระดมทุนที่มีข้อจํากัด 

 ดังนั้นในการประชุมคณะกรรมการบริษัทจึงได้มีมติอนุมัติมอบหมายให้คุณ สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  มีอํานาจในการดําเนินการเกี่ยวกับขั้นตอนต่างๆ ตามอํานาจกรรมการบริษัทเกี่ยวกับการเตรียมการเพื่อระดมทุนในรูปแบบ Special Purpose Acquisition Company (SPAC) ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยให้ดําเนินการ ดังนี้ 

 1) จัดตั้งบริษัท Sponsor เพื่อเข้าไปถือหุ้นในบริษัท SPAC 

2) จัดตั้งบริษัท SPAC เพื่อนําเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ

ทั้งนี้ บริษัท SPAC จะยังไม่มีกิจการใดๆ เมื่อจดทะเบียนและระดมทุนได้แล้ว จะนําเงินดังกล่าวไปซื้อบริษัทเป้าหมาย (Target Company) ต่อไป

 SPAC

รายละเอียดการจัดตั้งบริษัทมีดังนี้

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2564 ทาง ช ทวี ได้จัดตั้ง Koo Dom Investment Limited Liability Company (Koo Dom) ทุนจดทะเบียน 100 เหรียญสหรัฐ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่ง ช ทวี ถือหุ้นใน  Koo Dom 100% โดยมีวัตถุประสงค์ดำเนินธุรกิจโดยสนับสนุนด้านเงินลงทุนค่าใช้จ่ายในการดําเนินการต่างๆ แก่บริษัท SPAC ที่จะถูกจัดตั้งขึ้นมา กล่าวคือทําหน้าที่เป็นบริษัท Sponsor ตามกฏเกณฑ์การระดมทุนในรูปแบบ SPAC 

ในขณะเดียวกัน ทาง ช ทวี ก็ได้จัดตั้ง AROGO Capital Acquisition Corporation (AROGO) ทุนจดทะเบียน 287.50 เหรียญสหรัฐฯ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยเช่นเดียวกัน และมี Koo Dom (บริษัทย่อยของ CHO) ถือหุ้น 100% ใน AROGO โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจดทะเบียนบริษัทมหาชน ในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ สหรัฐอเมริกา กล่าวคือทำหน้าที่เป็นบริษัท SPAC ตามกฎเกณฑ์การระดมทุนในรูปแบบ SPAC 

และเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ทาง ช ทวี รับโอนหุ้นทั้งหมดมาจากคุณสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย และคุณนัทธมน ทวีแสงสกุลไทย ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนบริษัทในการก่อตั้งและถือหุ้นแทน เนื่องจากตามกฎหมายการ จัดตั้งบริษัทในประเทศสหรัฐอเมริกาบุคคลธรรมดาเท่านั้นสามารถเป็นผู้ก่อการจัดตั้งบริษัทได้

SPACภาพจาก Unsplash

สำหรับ SPAC : Special Purpose Acquisition Companies คือบริษัทที่จดทะเบียนเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ และระดมเงินจากนักลงทุนแล้ว แต่ไม่มีแผนธุรกิจแน่ชัด (Blank check) อาจจะเป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นเพื่อลงทุนในธุรกิจอื่นโดยเฉพาะ หรือมีความตั้งใจจะควบรวมหรือเข้าซื้อกิจการอื่น 

โดยธุรกิจที่ได้ควบรวมกิจการกับบริษัท SPAC ก็จะสามารถระดมเงินทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ได้ภายใต้ชื่อของธุรกิจนั้นเลย และได้รับความช่วยเหลือจากบริษัท SPAC ผ่านเงินทุนและทรัพยากร 

ถ้าพิจารณาจากตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะของสหรัฐอเมริกา ในปี 2020 ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าการเติบโตของบริษัทที่เข้ามาลงทุนควบรวมกิจการกับบริษัท SPAC เพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์สหรัฐมากขึ้นถึง 131 แห่ง มีดีลเกิดขึ้นกว่า 248 ดีล มูลค่ารวมกว่า 8.3 พันล้านเหรียญ

และตั้งแต่ต้นปี 2021 ที่ผ่านมาการระดมทุนเข้าตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา ผ่าน  SPAC เป็นที่นิยมในบรรดา Startup ทั่วโลกมากขึ้น  ยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวอย่างในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มี Startup ระดับยูนิคอร์นอย่าง Grab ที่เตรียมเข้าตลาดหุ้นอเมริกาผ่าน SPAC โดยมีการคาดการณ์ว่ามูลค่าบริษัทของ Grab จะพุ่งแตะ 40 ล้านเหรียญสหรัฐเลยทีเดียว  


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

โตโยต้า เปิดแผนการลงทุน พร้อมทุ่มงบ 4.7 แสนล้านบาทพัฒนารถ EV และ AI

โตโยต้า ประกาศแผนการลงทุนเพื่อส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีไฮโดรเจน เผยผลประกอบการอยู่ที่ 5.3 ล้านล้านเยน (1.2 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้น 96.4% จากปีที่ผ่าน รายได้รวมอยู่ที่ ...

Responsive image

LINE MAN Wongnai เตรียม IPO ไทย-สหรัฐฯ ปี 2025 มุ่งสู่การเป็นมากกว่าแอปฯ สั่งอาหาร

LINE MAN Wongai แพลตฟอร์มบริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ยอดนิยมของไทย กำลังพิจารณาการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะครั้งแรก (IPO) ในตลาดหลักทรัพย์ไทยหรือสหรัฐฯ ภายในปี 2025 ตามข้อมูลจากคุณยอด ชิน...

Responsive image

Techsauce Global Summit 2024 พร้อมเดิมหน้าจัดงานใน 3 ประเทศ “ไทย-อินโด-เวียดนาม”

Techsauce Global Summit 2024 พร้อมเดิมหน้าจัดงานใน 3 ประเทศ “ไทย-อินโด-เวียดนาม” สู่เป้าหมายการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็น Tech Gateway ของภูมิภาค...