เอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) ประธานาธิบดีฝรั่งเศส ระบุฝรั่งเศสขอแก้ตัวด้วยการสร้างรูปแบบการกำกับดูแลบริษัทด้านเทคโนโลยี ให้แตกต่างจากที่สหรัฐฯ และจีนกำลังทำอยู่ พร้อมติดตามทุกๆ 6 เดือนว่าบริษัทด้านเทคโนโลยีจะสร้าง "เทคโนโลยีเพื่อสิ่งดีๆ" ให้เกิดขึ้นจริงได้หรือไม่
เอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) ประธานาธิบดีฝรั่งเศส กล่าวในงาน VivaTech ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แสดงความคิดเห็นโดยว่า ยุโรปควรจะมีการพูดถึงเรื่องกฎระเบียบ และไม่ควรพูดแค่เรื่องเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว (Privacy) เท่านั้น แต่เขายังพูดถึงเรื่องภาษี, การกลั่นแกล้งบนอินเทอร์เน็ต (Cyberbullying), การคุ้มครองแรงงานอิสระ และอื่น ๆ
สิ่งที่เดิมพันอยู่ตอนนี้ คือ วิธีที่เราสร้าง 'ยุโรปโมเดล' ให้สอดคล้องกับนวัตกรรมและประโยชน์ส่วนรวม - Emmanuel Macron
มาครงเริ่มต้นด้วยข้อมูลด้านตัวเลขใน Tech Ecosystem ของฝรั่งเศส นั่นคือ ปีที่แล้ว Startup ในฝรั่งเศสระดมทุนไปได้ 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (2.5 พันล้านยูโร) ซึ่งเพิ่มขึ้นสามเท่าในปี 2015
"ผมต้องการพูดคุยกับผู้ที่อยู่ใน Ecosystem ของฝรั่งเศสทั้งหมดตั้งแต่วันนี้ สิ่งที่เรากำลังทำอยู่ทั้งหมดเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อประเทศ[ฝรั่งเศส]และโลกของเรา" เขากล่าว
จากนั้นเขาได้ระบุการเปลี่ยนแปลงล่าสุดที่เกิดขึ้นจากรัฐบาลฝรั่งเศส เช่น ภาษีนิติบุคคล, นโยบาย Open Data และ Tech Visa
เขาไม่ได้พูดถึงอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก คุณรู้สึกว่าเขามีจำนวนมากบนจานของเขาในขณะนี้และเทคโนโลยีที่มีมากหรือน้อยภายหลัง.
"ฝรั่งเศสเปลี่ยนไปอย่างบ้าคลั่ง และนั่นคือเหตุผลที่เราสามารถพูดได้ว่าฝรั่งเศสกลับมาแล้ว" มาครงพูดเป็นภาษาอังกฤษเพื่อสรุปสุนทรพจน์ส่วนแรก
"Message ที่สองของผม คือ เพื่อแอฟริกา เพราะคุณตัดสินใจที่จะเชื้อเชิญให้แอฟริกา VivaTech ในปีนี้" เขากล่าว
มาครงได้ประกาศว่า ฝรั่งเศสกำลังจะนำงบประมาณสาธารณะไปลงทุนในสตาร์ทอัพที่เพิ่งเริ่มดำเนินกิจการในแอฟริกา
โดยอีกไม่กี่สัปดาห์หลังจากนี้ หน่วยงานด้านการพัฒนาของฝรั่งเศส (French Development Agency) กำลังเตรียมประกาศโครงการพิเศษที่มีเงินลงทุนจำนวน 65 ล้านยูโร (76 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อแบ่งไปลงทุนในสตาร์ทอัพ[แอฟริกา]แต่ละรายด้วยเงิน 30,000 ยูโร ถึง 50,000 ยูโรอีกด้วย
นอกจากนี้ มาครงยังได้พูดถึงการกำกับดูแลด้านเทคโนโลยีในภาพรวมว่า "ขณะนี้เรากำลังประสบกับการปฏิวัติครั้งใหญ่ ผมเชื่อมั่นในการปฏิวัติครั้งนี้และประเทศของเราก็เชื่อมั่นในเรื่องนี้อย่างแน่นอนด้วยเช่นกัน "เขากล่าว "แต่คุณไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าบางคนในประเทศ[ฝรั่งเศส]และในโลกของเรายังกลัวการเปลี่ยนแปลงอยู่"
"บริษัทด้านเทคโนโลยีก็ไม่ได้เป็นแบบอย่างเสมอที่ดีเสมอไป บางรายยังไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากรและยังสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นไม่ได้ - แม้แต่ผู้ประกอบการชาวฝรั่งเศสก็ด้วยเช่นกัน" มาครงกล่าว
จากนั้น Macron ก็ขอแก้ตัวด้วยการเสนอโครงการของฝรั่งเศสที่ต้องการ "European tax" สำหรับบริษัทด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่ โดยระบุต่อว่าถ้าหากรัฐบาลฝรั่งเศสสามารถโน้มน้าวรัฐบาลประเทศอื่นๆ ให้คล้อมตามประเด็นนี้ได้ ก็จะทำให้บริษัทด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่ถูกหักภาษีจากรายได้ในท้องถิ่นของแต่ละประเทศในยุโรปได้ด้วยเช่นกัน อาจเป็นวิธีหลีกเลี่ยงแผนการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บภาษีด้วยเช่นกัน
ซึ่งประเทศในยุโรปที่มีอัตราภาษีธุรกิจที่ไม่สูงมาก ดูเหมือนจะไม่ค่อยเห็นด้วยสักเท่าไหร่นัก
"ผมเป็นคนมองโลกในดีต่อบริษัทด้านเทคโนโลยีขนาดใหญ่ และประเทศ[ฝรั่งเศส]นี้เชื่อมั่นในนวัตกรรม" เขากล่าว "แต่[การเชื่อมั่น]ก็ไม่เพียงพอต่อการสร้างรายได้, การสร้างงาน และการทำให้ผู้ถือหุ้นในบริษัทเกิดความพึงพอใจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก โดยเฉพาะการสร้างงานในส่วนที่ผมยังเป็นห่วงอยู่"
มาครง ยังได้วิพากษ์วิจารณ์การกำกับดูแลบริษัทด้านเทคโนโลยีในสหรัฐฯ ด้วยว่ารัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ได้ทำอะไรมากพอสำหรับการล่วงละเมิดทางออนไลน์, ภาษี, แรงงานและอื่น ๆ
จากนั้นเขาก็วิพากษ์วิจารณ์การกำกับดูแลบริษัทด้านเทคโนโลยีในจีนว่า รัฐบาลจีนไม่ได้ทำอะไรมากพอ เมื่อมีประเด็นเรื่องของความเป็นส่วนตัว, สิทธิมนุษยชน และความเสมอภาคทางเพศ
"สิ่งที่เดิมพันอยู่ตอนนี้ คือ วิธีที่เราสร้าง 'ยุโรปโมเดล' ให้สอดคล้องกับนวัตกรรมและประโยชน์ส่วนรวม" เขากล่าว "เราต้องทำงานร่วมกันเพื่อสร้างกรอบการทำงานนี้ร่วมกัน"
นอกจากนี้มาครงยังระบุว่า รัฐบาลฝรั่งเศสจะติดตามบริษัทด้านเทคโนโลยีทุกๆ 6 เดือนเพื่อดูว่าได้ทำตามสิ่งที่สัญญาไว้ว่าจะสร้าง "เทคโนโลยีที่ดี" ให้เกิดขึ้นจริงได้หรือไม่อีกด้วย
อ้างอิงข้อมูลจาก TechCrunch
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด