สรุป F8 2019 เมื่ออนาคตคือความเป็นส่วนตัวและทุกสิ่งที่คุณควรรู้ | Techsauce

สรุป F8 2019 เมื่ออนาคตคือความเป็นส่วนตัวและทุกสิ่งที่คุณควรรู้

  • F8 งานพบปะนักพัฒนาของ Facebook เผยแนวทางใหม่ของ 5 Product หลัก ได้แก่ Facebook, Messenger, Whatsapp, Instagram และ Oculus
  • เผยเครื่องมือต่อยอดภาคธุรกิจที่ดีกว่าเดิม โดยเฉพาะใน Instagram, Messenger และ Oculus
  • ย้ำจุดยืนใหม่ เน้นเรื่องความเป็นส่วนตัว พร้อมประกาศแนวคิดการพัฒนา AI ที่ลด Hate Speech และเผยมาตรฐานการพัฒนา AI เพื่อให้เข้าถึงใช้งานได้อย่างเท่าเทียมทั่วถึง

ในช่วงนี้ของทุกปี Facebook จะจัดงาน F8 หรือ Facebook Developer Conference เพื่อความคืบหน้าใหม่ๆ แก่ Developer แต่ด้วย Impact ที่มากขึ้นจากขนาดที่ใหญ่โตของ Facebook งานครั้งนี้จึงกลายเป็นสิ่งที่ทุกคนที่ใช้ Facebook ควรรู้ไปแล้ว เราจึงขอสรุปข่าวคราวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในงานนี้มาให้ทุกท่านได้ติดตามกัน

อนาคตคือความเป็นส่วนตัว

ช่วงปีที่ผ่านมาเรียกได้ว่า Facebook โดนพูดถึงในแง่เสียหายจากกรณีที่ไม่สามารถปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ได้ จึงทำให้มีมาตรการเข้มงวดออกมาอย่างต่อเนื่อง จนถึงงาน F8 ซึ่งเป็นงานแถลง Tools และ Product ใหม่สำหรับ Developer โดยปีนี้ แกนที่ Mark Zuckerberg ผู้สร้างและหัวเรือใหญ่ของ Facebook เน้นออกมาชัดเจนที่สุดคือความเป็นส่วนตัว (Future is Privacy) เพื่อให้ทุกคนเชื่อมต่อถึงกันตามที่ต้องการ ซึ่งแนวคิด Future is Privacy ได้สะท้อนออกมายังเครื่องมือและแนวคิดใหม่ที่ประกาศในปีนี้ด้วย

ยกเครื่อง 5 Product หลัก

Facebook - ปรับ User Interface ใหม่ โดยลดบทบาทของ News Feed ลง เน้นการใช้งาน Group และ Event มากขึ้น ประกอบด้วยการคง Tabs ของ Group กับ Event ในหน้าต่างๆ พร้อมรวม Highlight ของ Group กับ Event เอาไว้ และปรับให้เข้าถึง Event ต่างๆ ให้ง่ายขึ้น ปรับระบบแนะนำเพื่อนให้สอดคล้องกับชีวิตมากขึ้น เช่น เพื่อนร่วมโรงเรียนหรือที่ทำงานเดียวกัน โดย Design ใหม่ที่ถูกเรียกว่า FB5 จะทยอยอัพเดทใน iOS, Android และ Web Browser ภายในเดือนพฤษภาคมนี้

Instagram - เพิ่ม Feature ใหม่ ได้แก่ Create Mode สำหรับสร้างสรรค์ Interactive Content ใหม่, เปิดระบบขายสินค้าใน Platform และที่สำคัญคือการทดสอบระบบ “ซ่อนจำนวน Like” โดยมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ใช้เน้นคุณภาพของ Content มากขึ้น

Whatapps - เปิดตัว Whatapps Verifcation Code for Account Kits ให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปฯ ที่ลงทะเบียนใช้งานด้วยเบอร์โทรศัพท์และ E-mail ด้วย Whatapps โดยไม่ต้องกรอก Password

Messenger - ปรับ User Interface ไปในแนวทางเดียวกับ Facebook ลดขนาดไฟล์ติดตั้งของ Messenger บน iOS ให้มีขนาดไม่เกิน 30 MB และเปิดตัว Messenger App บน Desktop ทั้ง Windows และ Mac OS และมีการยกระดับ Messenger ให้รองรับการใช้งานในภาคธุรกิจมากขึ้น (จะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป)

Oculus - เปิดตัว Oculus Rift S และ Oculus Quest จำหน่ายใน 22 ประเทศ พร้อมเปิดตัว Oculus for Business 2.0 (จะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป)

Web XR เปลี่ยน Web Content ให้น่าสนใจขึ้นด้วย VR

อีกหนึ่ง Feature ที่น่าสนใจในปีนี้คือการเปิดตัว Web XR ซึ่งเป็น Platform ที่ช่วยให้เว็บไซต์แสดงผลบนแว่น VR ได้ โดยปัจจุบันมีบางเว็บไซต์เริ่มเปิดให้ใช้งานลักษณะนี้ได้แล้ว นอกจากนี้ ยังสามารถนำเนื้อหาจากใน Facebook อย่างวิดีโอกับรูปภาพ 360 องศา และรูปภาพ 3D บน Platform ของ Facebook มาแสดงผลด้วยแว่น VR ผ่านการประมวลผลบนเว็บไซต์ เรียกได้ว่าเป็นมิติใหม่ของการพัฒนา Content บนเว็บที่น่าสนใจทีเดียว

เปิด Messenger รองรับนักพัฒนาเพิ่ม Feature สำหรับภาคธุรกิจ

การใช้ช่องทาง Messenger สำหรับภาคธุรกิจถือว่ามาแรงทีเดียว โดย Facebook ระบุว่ามีข้อความระหว่างบุคคลทั่วไปกับภาคธุรกิจถึงเดือนละกว่า 20,000 ล้านข้อความ จึงต้องมีการปรับปรุงครั้งใหญ่เพื่อรับกับเทรนด์ที่เกิดขึ้นนี้

ปีนี้ Messenger ได้เปิด Platform ให้นักพัฒนาได้ใช้ต่อยอดให้ Messenger กลายเป็น Virtual Assistant ของลูกค้าเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการจองบริการผ่านช่องทาง Chat การสร้าง Customer Experience ในช่องทาง Messenger ที่สามารถดูแนวโน้มความสนใจจนนำไปสู่คนที่พร้อมจะเป็นลูกค้าและปิดการขายได้ และการสร้างประสบการณ์ในการดูแลลูกค้าด้วย Virtual Assistant ที่สะดวกกว่าเดิม ได้รับความพึงพอใจจากลูกค้ามากขึ้น และลดค่าใช้จ่ายในการดูแลลูกค้าแต่ละราย

Oculus Business 2.0

เรียกได้ว่า Facebook ไม่ได้เอา Oculus มาแค่ Support ด้าน Hardware เท่านั้น แต่ยังมองไปถึงการพัฒนา Solution ด้าน VR ที่ตอบโจทย์อุตสาหกรรมอย่างหลากหลาย โดยในงาน F8 ปี 2019 พวกเขาได้เปิดตัว Oculus Busness 2.0 ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อการใข้งานอุตสาหกรรมที่หลากหลายกว่าเดิม ทั้งยังมีราคาถูกลงด้วย

Oculus Business เวอร์ชันล่าสุดนี้ เป็นการยกระดับทั้ง Hardware และ Software เริ่มที่ส่วนของ Hardware ที่มาพร้อม VR Headset Enterprise Grade อย่าง Oculus Go ซึ่งเป็น Headset น้ำหนักเบา เหมาะสำหรับงามรับชมสื่อ ในราคา 599 ดอลลาร์สหรัฐฯ และ Oculus Quest เป็น Headset ระดับมืออาชีพด้วย รองรับการแสดงภาพละเอียดแบบ 6 Degree of Freedom สำหรับการปฏิบัติงานต่างๆ ในราคา 999 ดอลลาร์สหรัฐฯ

ในส่วนของ Software นั้น ยังคงรองรับการทำงานทั้งการชมสื่อและการ Interaction กับ Media ต่างๆ เช่นเดิม โดยสำหรับ Oculus Business จะขาย Software แบบรายปี ปีละ 180 ดอลลาร์ พร้อมทั้งมีบริการหลังการขายสำหรับลูกค้าองค์กรโดยเฉพาะ

ยับยั้ง Hate speech และ Bullying ด้วย NLP และ Computer Vision

เป็นที่รู้กันดีว่า Facebook ใช้ AI ในการคัดสรรเนื้อหาบน Platform ซึ่งในงาน F8 ปีนี้ พวกเขาได้พัฒนา AI ขึ้นไปอีกขั้นเพื่อให้การใช้งาน Facebook มีความปลอดภัยมากขึ้น ด้วยการให้ AI คอยตรวจสอบสื่อที่มี Hate Speech และมีเนื้อหาเชิง Bully เพื่อยับยั้งการเผยแพร่เนื้อหาดังกล่าว โดยเทคโนโลยีที่ใช้ประกอบด้วย NLP และ Computer Vision

สำหรับ NLP หรือ Natural Language Process จะสามารถอ่านข้อความได้อย่างเข้าใจไม่ต่างจากมนุษย์ ผ่านการฝึกฝนบนฐานข้อมูลที่มีมากกว่า 93 ภาษาจากทั่วโลก แน่นอนว่าระบบ NLP อาจไม่ได้เข้าใจบริบทความหยาบคายในแต่ละภาษา แต่ก็สามารถใช้วิธี “เทียบเคียง” เอาจากภาษาอื่นๆ ในตระกูลเดียวกันหรือพื้นที่เดียวกันได้

ส่วน Computer Vision จะใช้ตรวจสอบรูปภาพและวิดีโอที่มีเนื้อหารุนแรง โดยภาพจะใช้เทคโนโลยีที่ชื่อว่า panoptic feature pyramid network ที่สามารถจับภาพละเอียดขึ้น เข้าใจภาพหน้าฉาก หลังฉาก ทำให้ระบุวัตถุได้แม่นยำกว่าเดิม ส่วนวิดีโอใช้เทคโนโลยีที่มีชื่อว่า spatiotemporal convolutional neural network โดยจะแบ่งวิดีโอเป็นช่วงสั้นๆ แล้ววิเคราะห์ภาพและเสียงทีละช่วง ทำให้พบเนื้อหาสุ่มเสี่ยงในวิดีโอได้ง่ายขึ้น ไม่เพียงเท่านี้ AI ยังเรียนรู้ลักษณะของภาพและเสียงผ่าน Hashtag ที่กำหนดโดยมนุษย์ จึงเรียนรู้เนื้อหาต่างๆ ได้แม่นยำมากขึ้น

ตั้งมาตรฐานการพัฒนา AI ให้ใช้งานเต็มที่โดยไม่แบ่งแยก

แม้จะมีข้อมูลให้ AI เรียนรู้มากขึ้น แต่บางครั้ง ข้อมูลเหล่านั้นก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้ AI ก้าวข้ามขีดจำกัดจากมุมมองของผู้ป้อนข้อมูล โดยเฉพาะการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคนที่ละเอียดอ่อนและไม่ควรพลาด ด้วยเหตุนี้ Facebook จึงตั้งมาตรฐานการพัฒนา AI ทึ่ช่วยให้นักพัฒนาและนักวิจัยมีแนวทางการทำงานตั้งแต่ขั้นตอนจัดสรรข้อมูล พัฒนา Algorithm ไปจนถึงการตรวจสอบการใช้งานระบบ โดยทั้งหมดจะต้องยืนอยู่บนแนวคิดโอบรับความหลากหลายด้านเชื้อชาติ สีผิว บุคลิก ไปจนถึงเพศสภาพ

Ethical Design งานออกแบบ Platform ที่คำนึงถึงจริยธรรม

อีกประเด็นที่ Facebook ให้ความสนใจคือเรื่องของแนวคิดการออกแบบที่เชื่อว่ามีผลต่อการเลือกต่างๆ ทั้งการเลือกรับข้อมูลข่าวสาร การเลือกรับข้อมูล ไปจนถึงการเลือกซื้อสินค้า ยกตัวอย่างเช่น ในการต่อสู้กับข่าวปลอม Facebook เลือกใช้การออกแบบที่แสดงข้มูลด้านความน่าเชื่อถือให้สังเกตง่ายขึ้น เพื่อให้คนมีข้อมูลพิจารณาได้ชัดเจนยิ่งขึ้น อีกแนวคิดหนึ่งที่น่าสนใจคือ หากมีผู้ใช้ Facebook เสียชีวิต ทีมงานก็จะเพิ่มหน้า Tribute แยกออกมาจาก Timeline เพื่อให้เพื่อนๆ เข้ามาแบ่งปันความรู้สึกถึงผู้เสียชีวิตอย่างเป็นระบบ

ขอขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก Facebook

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

'บ้านปู' ประกาศกลยุทธ์ใหม่ Energy Symphonics เตรียมมุ่งสู่ปี 2030 เปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างยั่งยืน พร้อมเป้าหมาย Net Zero ในปี 2050

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านพลังงานที่หลากหลาย ประกาศกลยุทธ์ใหม่ 'Energy Symphonics' หรือ “เอเนอร์จี ซิมโฟนิกส์” เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่ปี 2030 เน้นการเปลี่ยนผ่านพลังงานอ...

Responsive image

Google เผยเศรษฐกิจดิจิทัลไทย โตอันดับ 2 ใน SEA มูลค่า 1.61 ล้านล้านบาท ขับเคลื่อนด้วยอีคอมเมิร์ซและการท่องเที่ยวเป็นหลัก

เศรษฐกิจดิจิทัลไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว คาดว่าในปี 2567 มูลค่ารวมของสินค้าดิจิทัลหรือ GMV จะเพิ่มขึ้นถึง 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.61 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566...

Responsive image

AMD ประกาศลดพนักงาน ราว 1,000 คนทั่วโลก หวังเร่งเครื่องสู่ตลาดชิป AI

AMD ผู้ผลิตชิปรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ประกาศแผนปรับโครงสร้างองค์กรครั้งสำคัญ โดยจะปลดพนักงานประมาณ 1,000 คน หรือคิดเป็น 4% ของพนักงานทั้งหมด 26,000 คนตามข้อมูลที่บริษัทยื่นต่อสำนักง...