ปัจจุบันมีการใช้งานเครื่องบินโดยสารที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ non-CO2 สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก
สายการบินทั่วโลกกำลังร่วมกันจัดตั้งหน่วยงานเพื่อจัดการกับการปล่อยก๊าซที่ไม่ใช่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (non-CO2) โดยจะเพิ่มมาตรการในการจัดการกับริ้วเมฆที่เรียกว่า contrails ซึ่งเป็นเมฆที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาใหญ่รองลงมาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ส่งผลให้เกิดปัญหาโลกร้อนในปัจจุบัน
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) ซึ่งเป็นตัวแทนของสายการบินหลักประมาณ 300 แห่ง ได้เตรียมหารือเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดของเมฆ contrails เป็นครั้งแรกในการประชุมประจำปีที่อิสตันบูลในสัปดาห์หน้า ซึ่งเมฆนี้เกิดขึ้นในสภาพอากาศที่ชื้น และเกิดมาจากผลึกน้ำแข็งที่เยือกแข็ง ถึงแม้ว่ามันไม่ได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา แต่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า เมฆเหล่านี้มีความสามารถในการดักจับรังสีและสะท้อนกลับมายังโลกได้ ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน
IATA กล่าวว่า คณะทำงานจะนำเอาความตั้งใจของนักวิจัยและสายการบินในการกำจัดการสร้าเมฆ contrails เพื่อกระตุ้นให้ภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินการมากขึ้น โดยมีแนวทางคือ วิเคราะห์เงื่อนไขที่เอื้อให้เกิดการก่อตัวของริ้วเมฆ และลดความเสี่ยงในการเพิ่มขึ้นของเชื้อเพลิงเมื่อหลีกเลี่ยงการก่อตัวของริ้วเมฆ
ผู้เชี่ยวชาญอ้างมีงานวิจัยระบุว่า การปล่อยก๊าซ non-CO2 สามารถสร้างความผลกระทบที่อันตรายต่อโลกได้มากพอกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ กล่าวคือ 10% ของการใช้เครื่องบินโดยสารนั้นเป็นสาเหตุหลักที่สร้างผลกระทบต่อโลก ซึ่งเมฆนี้สามารถก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนได้มากกว่า CO2 ถึง 2 เท่า
บริษัทอย่าง SATAVIA ในอังกฤษ และ Estuaire ในปารีสใช้ดิจิตอลโมเดลเพื่อช่วยติดตามร่องรอยของหย่อมอากาศชื้นที่ทำให้เกิดเมฆ contrails มากที่สุด และยังเสนอเส้นทางอื่นที่ไม่สร้างร่องรอยบนท้องฟ้าไว้ด้วย
ในปัจจุบัน มีเพียงไม่กี่สายการบินที่ประกาศว่าจะลงมือป้องกันการเกิดเมฆเหล่านี้ ในขณะที่สายการบินอื่นกำลังถกเถียงถึงเรื่องแผนการบินใหม่ที่หลบอากาศชื้นจนทำให้เกิดการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่สูงขึ้นและปล่อยคาร์บอนมากขึ้น บ้างก็บอกว่านักวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังผลกระทบของเมฆ contrails มีอำนาจไม่มากพอ
ซึ่ง European regulators กำลังให้ความสำคัญกับประเด็นนี้มากขึ้นหลังได้รับแรงกดดันจาก Green Groups กฎใหม่ของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนการปล่อยมลพิษที่จะมีผลบังคับใช้ในปี 2025 โดยมีมาตรการให้สายการบินติดตามและรายงานการปล่อยก๊าซ non-CO2 กับสหภาพยุโรป
โดยสายการบินต่าง ๆ ตกลงว่าจะเลิกปล่อยคาร์บอนให้ได้ภายในปี 2050 โดยจะหันไปใช้เชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (SAF) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่หายากและผลิตจากแหล่งหมุนเวียน เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพหรือเชื้อเพลิงสังเคราะห์ ซึ่งใช้เป็นพลังงานให้กับเครื่องบิน
ทางบริษัท SATAVIA ประเทศอังกฤษ กล่าวว่าการสนใจในเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนจะทำให้อุตสาหกรรมต้องจ่ายเงินมากขึ้นในการแก้ไขปัญหาและใช้เวลาหลายปีกว่าจะเห็นผล เพราะค่าใช้จ่ายของการกำจัด SAF นั้นมีมูลค่าประมาณล้านล้าน ในขณะที่การแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซ non-CO2 นั้นอาจมีมูลค่าแค่ประมาณสิบล้านเท่านั้น
อ้างอิง: reuters
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด