การประชุม APEC CEO Summit 2022 หนึ่งในหัวข้อสำคัญของวันแรกที่ทุกคนจับตาคือการเสนาในหัวข้อ PROMOTING INCLUSIVE GROWTH AND DEVELOPMENT IN APEC โดยมีผู้ร่วมอภิปรายประกอบไปด้วย คุณจาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ , คุณคาราน ภาเทีย รองประธานด้านรัฐกิจสัมพันธ์และนโยบายสาธารณะ บริษัท กูเกิล , และคุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ และ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งได้มาร่วมเสวนาถึงความสำคัญของ INCLUSIVE GROWTH
คุณจาซินดา ได้เผยว่า ตั้งแต่ได้เข้ามาเป็นรัฐบาลในปี 2560 รัฐบาลของเธอมีความมุ่งมั่นอย่างมากต่อแนวคิดในการวัดความก้าวหน้านอกเหนือจากด้านเศรษฐกิจ ดังนั้นเราจึงสร้างสิ่งที่เรียกว่างบประมาณเพื่อความเป็นอยู่ที่ดี wellbeing budget เราได้พยายามปรับทิศทางงานของเราให้ไม่เน้นประเด็นทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว การเติบโตจะต้องปรับปรุงความเป็นอยู่ที่ดีของคนของเราทุกคนอย่างรอบด้าน นั้นคือ Inclusive growth สำหรับฉัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพของเด็ก สุขภาพจิต ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เราพยายามปรับทิศทางงานของเราใหม่เพื่อไม่เน้นเฉพาะประเด็นทางเศรษฐกิจเหล่านั้น แต่มูลนิธิสุขภาพจิตคืออะไร? สุขภาพของลูกเราเป็นอย่างไร? และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของเราคืออะไร ซึ่งภาคธุรกิจก็ต้องมีส่วนร่วมกับรัฐบาลในการดำเนินงานตามที่ประชาชนของเราคาดหวัง
ในขณะที่คุณกอบกาญจน์ ได้ให้ความเห็นว่าความสำเร็จใด ๆ ก็ตามไม่ควรวัดจากผลลัพธ์ในระยะสั้น แต่ควรวัดจากความยั่งยืนในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ ทุกภาคส่วนของสังคม รวมทั้งภาคธุรกิจ และภาครัฐ ควรให้ความสำคัญกับการสร้างอนาคตที่ดีสำหรับคนรุ่นหลัง ซึ่ง Inclusive Growth ต้องดำเนินไปอย่างยั่งยืน
ด้านคุณคาราน ได้กล่าวเสริมในฐานะตัวแทนชุมชนเทคโนโลยีว่า เทคโนโลยีสามารถเป็นตัวกระตุ้น Inclusive Growth ได้อย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีสิ่งที่ต้องลงมือทำอีกมาก อย่างการประชุม APEC ครั้งนี้ ยังมีคนหลายกลุ่มที่รู้สึกว่าสิ่งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับตัวเอง หรือเป็นเรื่องไกลตัว ซึ่งคุณคารานมองว่า ภารกิจสำคัญประการหนึ่งของเอเปค คือการสร้างภูมิภาคที่บูรณการในทุกภาคส่วน โดยภาครัฐและเอกชนต้องร่วมกันสร้างโอกาสในการเติบโต และย้ำว่าเทคโนโลยีและการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล มีส่วนสำคัญในการเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจและปัจเจกชนในการพัฒนาด้านต่างๆ
ในการเสวนาครั้งนี้คุณจาซินดายังได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับสภาวะปัญหาต่างๆ ที่หลายประเทศกำลังเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นเงินเฟ้อ ความเหลื่อมล้ำ ปัญหาด้านอาหาร ที่ในฐานะนักการเมือง เธอคิดว่าการพูดอย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา พร้อมการวางนโยบายที่สร้างความหวังไม่ใช่ความกลัว คือสิ่งที่รัฐบาลควรทำ
การสร้างความกลัวเป็นเรื่องง่าย การให้ความหวังต่างหากที่ต้องใข้ความพยายาม” – จาซินดา อาร์เดิร์น
ทั้งนี้ในช่วงยากลำบาก คุณจาซินดามองว่าผู้หญิง และชนพื้นเมืองได้รับผลกระทบมากที่สุด เธอได้มีหลายนโยบายที่มาในการสนับสนุนผู้หญิงให้มีโอกาสทางการทำงานและการฝึกงาน เธอกล่าวว่า "ให้การศึกษากับเด็กผู้หญิงหนึ่งคน เท่ากับเปลี่ยนชีวิตของชุมชนทั้งหมด”
ในช่วงท้ายของงานคุณกอบกาญจน์ได้กล่าวปิดท้ายถึงเรื่องความร่วมมือว่า “การร่วมมือไม่ได้หมายถึงการเซ็น MoU อีกฉบับหนึ่ง เราต้องมีศรัทธาว่าเราสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ การเปลี่ยนแปลงเริ่มได้จากตัวเรา”
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด