วิกฤตการเงินโลกกระทบกลุ่ม Startup ก่อให้เกิดกระแสการเลิกจ้างงานครั้งใหญ่ | Techsauce

วิกฤตการเงินโลกกระทบกลุ่ม Startup ก่อให้เกิดกระแสการเลิกจ้างงานครั้งใหญ่

ในช่วงที่ผ่านมาวงการธุรกิจเทคโนโลยีและการลงทุนใน Tech Startup กำลังตกอยู่ในช่วงขาลง เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจระดับมหภาคได้ส่งผลกระทบต่อบริษัทต่างๆ สั่นคลอนให้เกิดความหวาดกลัวจากนักลงทุน ดังที่เราจะเห็นการเทขายหุ้นเทคโนโลยีและกระแสของบริษัทเทคโนโลยีทั่วโลกเลิกจ้างพนักงานในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นในระดับที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น Meta, Twitter หรือ Netflix ซึ่งสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า สตาร์ทอัพที่บูมในช่วง Covid-19 ที่ผ่านมาดูเหมือนจะสิ้นสุดวงจรแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Edtech ไปจนถึง E-commerce และ Healthtech 

จนบรรดา VC อย่าง Y Combinator, Target Global, OTB Ventures, TheVentureCity รวมถึง Sequoia Capital ได้ออกโรงเตือนให้ทุกคนเตรียมรับสภาพ Downturn อย่างจริงจัง อย่างไรก็ตามยังมีนักลงทุนบางกลุ่มที่ยังมั่นใจที่จะวางเดิมพันในภาคเทคโนโลยีต่อไป โดยที่ไม่กลัวจะประวัติศาสตร์ของวงการสตาร์ทอัพจะซ้ำรอเดิมเหมือนเหตุการณ์ Dot-com bubble ปี 2001 สถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมและแนวทางในการระดมทุนของเหล่า VC ที่น่าติดตามหลังจากนี้  

แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาวงการธุรกิจเทคโนโลยีและการลงทุนใน Tech Startups กำลังตกอยู่ในช่วงขาลง จากผลกระทบของวิกฤตการเงินโลกและความหวาดกลัวของนักลงทุน แต่ก็ยังมีนักลงทุนบางกลุ่มที่ยังมั่นใจที่จะวางเดิมพันในภาคเทคโนโลยีต่อไป โดยไม่กลัวประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย

การเลิกจ้างครั้งใหญ่ของสตาร์ทอัพเทคโนโลยี

เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พนักงานจาก Thrasio สตาร์ทอัพยูนิคอร์นด้านสินค้าอุปโภคและบริโภคได้รู้สึกถึงวิกฤติทางการเงินที่กำลังใกล้เข้ามา หลังจากได้รับอีเมล์ที่ส่งไปทั่วทั้งบริษัทว่า Thrasio ตัดสินใจที่จะลดขนาดทีมงานลง และทำการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้แน่ใจว่าบริษัทจะสามารถเติบโตต่อไปได้ในโลกธุรกิจ

ซึ่งนับตั้งแต่มีการประกาศลดจำนวนของพนักงานลง 20% นั้น Thrasio กลายเป็นเหยื่อในช่วงเวลาของการเลิกจ้างพนักงานในอุตสาหกรรมสตาร์ทอัพเทคโนโลยี หลังจากอัตราการเลิกจ้างของหลาย ๆ บริษัทนั้นอยู่ต่ำกว่า Thrasio อย่างมาก เช่น Reef Technology ผู้ให้บริการเทคโนโลยี Ghost Kitchen ได้ประกาศที่จะเลิกจ้างพนักงานเพียง 750 คน ซึ่งคิดเป็น 5% ของพนักงานทั้งหมดเท่านั้น 

Layoffs.fyi ซึ่งได้ทำการสำรวจจำนวนของคนที่ตกงานในบริษัทสตาร์ทอัพเทคโนโลยีทั่วโลกมาตั้งแต่ช่วงการระบาดครั้งใหญ่เมื่อเดือนมีนาคม ปี 2020 ได้รายงานว่า ตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงพฤษภาคมมีจำนวนของพนักงานที่ถูกเลิกจ้างกว่า 20,514  คน บ่งชี้ว่าตลาดแรงงานในภาคของธุรกิจสตาร์ทอัพเทคโนโลยีนั้นแย่ลงไปมาก เมื่อเทียบกับสถานการณ์การเลิกจ้างพนักงานในช่วงวิกฤติโรคระบาดเมื่อเดือนเมษายน-มิถุนายนในปี 2020 และการเลิกจ้างส่วนใหญ่มักจะเกิดในสตาร์ทอัพอเมริกาทั้งสิ้น

    Job Cuts at the World’s Tech Startups from Layoffs.fyi

สถานการณ์ที่เปลี่ยนไปกระทบถึงเหล่านักลงทุน 

ก่อนหน้านี้ CB Insights รายงานว่า จำนวนของบริษัทสตาร์ทอัพเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากเหมือน 2 ปีที่แล้ว การประเมินมูลค่าของสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน นี่จึงเป็นสาเหตุที่บริษัท VC และธุรกิจอื่น ๆ ต้องแข่งขันกันชิงหุ้นเพื่อที่จะทำกำไรให้ได้ในการลงทุนใน series A และบรรดาสตาร์ทอัพที่ระดมทุนได้เป็นจำนวนมากก็จะใช้เงินทุนที่ได้รับมาเพื่อดึงผู้ที่มีความสามารถจากบริษัทใหญ่ ๆ มาร่วมสนับสนุน แต่ตอนนี้สถานการณ์ของการผลิตยูนิคอร์นนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

Jeff Richards หุ้นส่วนผู้จัดการของ GGV Capital ได้กล่าวว่า “การที่ตลาด IPO หยุดงะชัก และ Nasdaq ด้านเทคโนโลยีลดลงประมาณ 30% ตั้งแต่ต้นปี รวมถึงการเสนอขายหุ้นทั่วโลกลดลง 50% ในไตรมาสแรกจากปีก่อนหน้า ทำให้ปีนี้เป็นปีที่ยากลำบากที่สุดของการลงทุนนับตั้งแต่เผชิญวิกฤติการเงินโลก”

“การเสนอขายหุ้น IPO ทำให้ตัวเลือกการระดมทุนสำหรับสตาร์ทอัพแคบลง และหากว่าเหล่า VC ยังไม่ได้รับการชดเชยการลงทุนจากการลอยตัวของหุ้นก็จะเท่ากับว่าโอกาสที่พวกเขาจะผูกมัดในการระดมทุนใหม่นั้นมีอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น”

การเดินหมากที่ผิดพลาดของ SoftBank

หลังจากที่ SoftBank ได้รายงานผลขาดทุนประจำปีของ Vision Fund เนื่องจากการเทขายหุ้นเทคโนโลยีที่ได้กระทบต่อ Vision Fund มากถึง 20.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ได้ก่อให้เกิดกระแสในภาคการระดมทุนด้านเทคโนโลยี ณ ตอนนี้เงินทุนจำนวนมหาศาลจากนักลงทุนเพียงสองคนเท่าก็สามารถเป็นแนวทางในการเพาะพันธุ์ยูนิคอร์นได้ 

ด้าน Masayoshi Son ประธานและซีอีโอของ SoftBank ได้กล่าวว่า Japan Group ได้วางกลยุทธ์ในการป้องกันเพื่อช่วยให้บริษัทรับมือกับความสูญเสียรายได้ของแต่ละไตรมาสครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยให้คำมั่นว่าจะลดขนาดการลงทุนใหม่เมื่อเผชิญกับการขายหุ้นเทคโนโลยี ด้วยจุดยืนในการป้องกันการลงทุนที่เข้มงวดยิ่งขึ้น

ความเชื่อมั่นของนักลงทุนยังคงมีอยู่

แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาจะมีปัญหามากมายเกิดขึ้นในสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยี แต่เมื่อเดือนพฤษภาคม Talos แพลตฟอร์มซื้อขาย Cryptocurrency กลับระดมทุนได้กว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐในรอบ series A ทำให้บริษัท Talos มีมูลค่าสูงถึง 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในการประเมินครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่านักลงทุนก็ยังคงมีความมั่นใจที่จะวางเดิมพันในภาคเทคโนโลยีซึ่งกำลังมาแรงใน ณ ขณะนี้ 

สอดคล้องกับรายงานจาก PitchBook ที่ระบุไว้ว่า ในไตรมาสแรกของปี 2022 นั้น บริษัทร่วมทุนของสหรัฐฯ มีเงินลงทุนใหม่รวมกว่า 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่าจำนวนเงินลงทุนในระหว่างปี 2551 ถึง 2553 หรือช่วงก่อนและหลังวิกฤตการเงินโลก หมายความว่า นี่อาจจะเป็นช่วงเวลาสำคัญที่น่าจับตามองสำหรับนักลงทุนและอาจเป็นโอกาสที่ดีสำหรับสตาร์ทอัพในบางอุตสาหกรรมหรือไม่ 


อ้างอิง    NIKKEI Asia    BloomBerg

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...