ปีนี้เรียกได้ว่าเป็นปีแห่งการพัฒนาครั้งใหญ่ของ LINE (ไลน์) ก็ว่าได้ ตั้งแต่
ล่าสุดทางเราได้มีโอกาสเข้าร่วมงาน LINE Developer Day 2016 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ภายในงานนี้ประกอบไปด้วยเนื้อหาเชิงเทคนิคของไลน์ มากกว่า 10 หัวข้อ เล่าว่า เทคโนโลยีเบื้องหลังในแต่ละฟีเจอร์เป็นอย่างไรบ้าง ส่วนสำหรับ Techsauce เราคัดเลือกเฉพาะหัวข้อที่เป็นเทรนด์ทิศทางใหม่ล่าสุดของไลน์ ที่ Developer หรือ Startup ดูแล้วสามารถเกิดไอเดียการนำไลน์ไปต่อยอดกับโปรเจ็กต์ของตนได้
เวลาจะสมัครสมาชิกในเว็บไซต์ต่างๆ เราคงจะเคยเห็นปุ่ม Login with Facebook หรือ Login with Google กันบ่อยๆ อยู่แล้ว และตอนนี้ทางไลน์เองก็จะเปิดให้นักพัฒนาสามารถนำ Login with LINE ไปใช้ได้แล้วเช่นกัน
ผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะเปิดเผยข้อมูลอะไรได้บ้างให้กับระบบที่ตนล็อคอิน ระบบเหล่านั้นสามารถนำข้อมูลมาใช้ได้เลย เช่น ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องกรอกใหม่ รองรับ User experience ดี เหมาะกับพฤติกรรมคนไทยหลายคนที่ใช้ไลน์เป็นหลัก นอกจากนี้ในอนาคต ทางไลน์เองก็กำลังพิจารณาการทำ Social API เพื่อรองรับไปถึงการดึงข้อมูลเพื่อน ข้อมูลโพสต์ต่างๆ ให้นักพัฒนาสามารถนำไปใช้ได้ (เหมือน Facebook App)
ปีนี้เรียกได้ว่ากระแส Chatbot มาแรงมาก อย่าง Facebook เองเราก็ได้เห็นตัวอย่างการประยุกต์ใช้มาบ้าง เช่น การเป็น Marketing assistant, Use case กับแบรนด์ต่างๆ เป็นต้น
สำหรับไลน์นั้น ได้เริ่มเปิดตัวเวอร์ชัน Developer Trial มาตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งรองรับให้ Bot สามารถส่งข้อความได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ Text, Image, Video, Audio, Location, Sticker และ Rich message และในวันที่ 29 ที่ผ่านมาก็ได้เปิดตัว Messaging API เวอร์ชัน 2.0 เป็นที่เรียบร้อย
อธิบายกันก่อนว่าประเภทของ LINE Bot นั้นมีอยู่สองประเภทหลักๆ
คือเอา API ไปผูกไว้กับ Web service อื่นๆ แล้วตั้งว่าเมื่อมี event อะไรเกิดขึ้น ให้ส่ง notification เด้งขึ้นมาที่ LINE
นอกจากนี้หากคุณใช้ Services อย่าง GitHub หรือ IFTTT อยู่แล้ว ก็สามารถใช้ร่วมกับ LINE Notify ได้แล้ววันนี้ (อาจเป็นความพยายามชิงส่วนแบ่งมาจาก Slack แอปแชทที่โดดเด่นด้าน Integration ที่ Developer ชอบใช้)
LINE Messaging API เป็น Bot หรือผู้ช่วยในการพูดคุยโต้ตอบ เราสามารถดีไซน์message การโต้ตอบที่อยากคุยกับลูกค้าไว้แล้ว แค่ดูว่าต้องดึงค่าอะไรมาโชว์ ตอนนี้รองรับ SDK รองรับภาษา Java, golang, Ruby, PHP และ Perl5 ส่วนรูปแบบของข้อความก็รองรับรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ได้แก่ Button, Confirm และ Carousel ดังภาพด้านบน
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้กับ NAVITIME ซึ่งเดิมทีเป็นเว็บและแอปที่ให้คำแนะนำเรื่องการเดินทาง การต่อรถ ในญี่ปุ่น ปัจจุบัน NAVITIME ขยายการให้บริการมารองรับรูปแบบแชทด้วย
ตัวอย่างกับ IoT เชื่อมต่อกับระบบรดน้ำต้นไม้
ภายหลังการบรรยาย เรามีโอกาสได้สัมภาษณ์คุณ Tokuhiro Matsuno และทีมนักพัฒนาคนอื่นๆ หนึ่งในคำถามก็คือ เราถามไปว่า "คิดว่าอะไรคือจุดเด่นที่ทำให้ LINE Bot แตกต่างจากการพัฒนา Bot บนแพลตฟอร์มอื่นๆ?" สิ่งที่ทางทีมคิดว่าเป็นจุดเด่นสำคัญที่สามารถพัฒนาไปต่อได้มีอยู่สองข้อ ข้อแรกก็คือ การใช้ LINE Bot ร่วมกับ LINE Login หรือบริการต่างๆ ของไลน์ โดยตั้งใจจะทำให้เกิดการเชื่อมโยง หรือจบสมบูรณ์ในแอปไลน์ให้ได้มากที่สุด ส่วนข้อสองก็คือ ไลน์มีจุดเด่นเรื่อง Group chat เป็นแอปแชทที่ผู้ใช้นิยมสร้างกลุ่มสนทนากัน ลองคิดถึงบอทสำหรับกรุ๊ป จินตนาการก็ออกมาได้มากมายไม่สิ้นสุด เช่น บอทช่วยจองเลือกและจองร้านอาหาร หากเพื่อนๆ จะนัดทานข้าวกัน เป็นต้น
ปัจจุบัน LINE Bot รองรับการสร้างบอทสำหรับกรุ๊ปออกมาแล้ว และกำลังจะมีทิศทางต่างๆ ที่รองรับให้นักพัฒนาจากภายนอก สามารถเข้ามาพัฒนาแอปสำหรับรองรับการใช้งานของ Group chat ได้เพิ่มเติม (คล้ายการพัฒนา Google Chrome Extension) (ข้อมูลเพิ่มเติมจากมุมมองความคิดของ Speaker คุณ Ryohei Miyota)
เมื่อครู่เราได้กล่าวถึงจุดแข็งของไลน์ในเรื่องกรุ๊ปแชท และไอเดียที่สามารถทำได้กันไปแล้ว จากจุดแข็งนี้จะเห็นได้ว่า ไลน์สามารถต่อยอดจากแชท และคอนเทนต์ต่างๆ อย่างเกม และคอนเทนต์อื่นๆ ไปในรูปแบบของ "แพลตฟอร์มเพื่อการใช้ชีวิต" ได้มากมาย "Life Platform" คือทิศทางในอนาคตของไลน์ น่าสนใจว่า Startup, SMEs หรือองค์กรใดๆ ที่มีไอเดียในเรื่องแอปพลิเคชันสำหรับชีวิตประจำวัน ก็สามารถมาลองดูแพลตฟอร์มนี้เพื่อใช้ต่อยอดธุรกิจเพิ่มเติมได้ นอกเหนือจาก LINE@ Account ที่มีอยู่
ตัวอย่างการใช้ไลน์ ร่วมกับอุปกรณ์ Beacon มอบส่วนลดเมื่อมาถึงร้านค้า
LINE กำลังเปลี่ยนจากระบบปิด เป็นระบบเปิดมากขึ้น บางทีนี่อาจจะเป็นโอกาสสำหรับคนที่มองหาช่องทางการทำ Startup เพราะแพลตฟอร์มโซเชียลอย่าง Facebook และ Instagram เอง ก็เป็นที่พักพิง มีผลให้ Startup ไทย สาย Social commerce เกิดไปแล้วหลายราย และ Facebook Chatbot เอง ก็เริ่มมีการนำไปใช้เสริมจุดแข็งในหลาย Startup แล้ว (เช่น BentoWeb, Siam Outlet เป็นต้น)
อย่างไรก็ตาม จากการได้มีโอกาสสัมภาษณ์พูดคุยกับ Speaker ในงาน ก็ต้องบอกว่า อาจจะต้อง 'รอดู' ความเปลี่ยนแปลงกันไปยาวๆ เพราะขณะนี้ LINE ที่เป็น Messaging App แกนหลัก กำลังอยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีกันอยู่ อีกทั้งกรณีศึกษาและความคืบหน้าต่างๆ ก็มักจะเกิดขึ้นให้เห็นที่ประเทศญี่ปุ่นก่อนเป็นหลัก แต่สำหรับ LINE ประเทศไทย เองก็ถือว่าไม่ธรรมดา มีตัวอย่างโปรดักส์ใหม่อย่าง LINE Man ที่เชื่อมต่อกับ Startup รายใหญ่อย่าง Wongnai และ Lalamove มาแล้ว จะมีโปรดักส์พิเศษอะไรออกมาหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องที่น่าติดตามอีกเช่นกัน
สำหรับผู้ที่สนใจเทคโนโลยีส่วนอื่นๆ เพิ่มเติม ที่ Slideshare ของ LINE ได้อัปโหลดสไลด์การบรรยายของ LINE Developer Day 2016 ทั้งหมดเอาไว้แล้ว สำหรับผู้ที่สนใจ ลองคลิกเข้าไปดูได้ค่ะ
อ่านข่าวเกี่ยวกับไลน์ทั้งหมดได้ที่นี่
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด