Netflix เอา AI มาใช้กับ Green Screen แต่ยังติดปัญหาระหว่างการทดลอง | Techsauce

Netflix เอา AI มาใช้กับ Green Screen แต่ยังติดปัญหาระหว่างการทดลอง

การถ่ายหนังในปัจจุบันหากต้องการประหยัดต้นทุนในการถ่ายทำ กองถ่ายแต่ละเรื่องอาจถ่ายทำกันที่ Studio และใช้เพียง Green Screen ตัดต่อสถานที่ที่ต้องการออกมา วันนี้ Netflix ได้นำเทคนิคการทำ Green Screen ด้วย AI มาเพิ่มประสิทธิภาพความแม่นยำ แต่ยังติดปัญหาระหว่างการทดลอง

Netflix

แนวทางใหม่ด้วย Magenta Green Screen 

ปกติแล้วการถ่ายทำ Green Screen จะเป็นการสร้างฉากพื้นหลังที่ไม่มีอยู่จริงหรือการนำสถานที่อื่น มาวางเป็นภาพพื้นหลัง เทคนิคนี้ถูกใช้มาตั้งแต่ยุคแรกเริ่มของการสร้างภาพยนต์  เพื่อสร้างบรรยากาศให้เหมือนกับว่าตัวละครอยู่ในสถานที่เหล่านั้นจริงๆ

เป็นเวลาหลายทศวรรษที่วิธีการจัดองค์ประกอบภาพที่ง่ายที่สุดคือการใช้วิธี chroma keying ซึ่งนักแสดงต้องยืนอยู่กับพื้นหลังที่มีสีสันสดใสอย่างพื้นหลังสีเขียวที่นิยมใช้กันซึ่งเดิมที เคยใช้สีน้ำเงินมาก่อน ซึ่งเทคนนิคนี้กลับมีปัญหาถ้าหากวัตถุมีความโปร่งแสงเหมือนกับพื้นหลัง หรือรายละเอียดเล็กๆอย่างเส้นผมก็เป็นปัญหาได้เช่นกัน 

ทีมนักวิจัยของ Netflix จึงทำการค้นคว้าและทดลองผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีเก่าและใหม่เข้าด้วยกันเพื่อแก้ปัญหาทางเทคนิคเก่าๆที่เคยเป็นมาในวงการภาพยนต์ จนในที่สุดก็ออกมาเป็น Magenta Green Screen ที่นำ AI เข้ามาใช้ในเทคนิคการทำ Green Screen 

ภาพจาก : Netflix

Magenta Green Screen จะเป็นการสร้างแสงรอบตัวนักแสดงที่ยืนอยู่หน้าพื้นหลังสีเขียว ด้วยการสาดแสงสีม่วงเข้าไปพร้อมกับให้ AI ทำการแยกพื้นหน้าและพื้นหลังอย่างชัดเจนลดความยุ่งยากจากเทคนิคเดิมอย่าง Chroma Keying ที่ต้องเพิ่มแสงและจัดแสงให้สว่างขึ้น

AI ที่ทีมวิจัยของ Netflix พัฒนาขึ้นมีการทำ Machine Learning ด้วยการถ่ายทำฉากที่คล้ายกัน ไปเรื่อยๆโดยไม่เปิดแสงไฟเพิ่ม ใช้แค่ความสว่างทั่วไปตามเวลาทำให้อัลกอริทึมของ AI สามารถเรียนรู้ ต่อเติมและกู้คืนสีกับส่วนที่ขาดหายไป ซึ่งมีคลิปที่เผยให้เห็นการทดลองที่มีชื่อว่า Netflix invents new green-screen filming method using magenta light

การทดลองที่ต้องใช้เวลาและความไม่คุ้นเคย

เนื่องจากในการทดลองเทคนิค Magenta Green Screen จะต้องสาดแสงสีม่วงกับนักแสดงอีกทั้งยังมีการเปิดสลับเป็นแสงสีเขียวและไม่ได้เพิ่มความสว่างขึ้น ทำให้เจอปัญหาในเรื่องความไม่คุ้นเคย และความกังวลถึงความอันตรายในการทดลองครั้งนี้

ภาพจาก : Netflix

ในการทดลองนี้จะใช้วิธี Time-multiplexing ซึ่งจะมีการเปิดสลับแสงสีม่วงและเขียน 24 ครั้งต่อวินาที หากเป็นแสงที่เข้มขึ้นอาจต้องเปิดสลับกันถึง 144 ครั้งต่อวินาที วิธีการนี้จึงอาจทำให้เกิดความอันตราย และมึนงงต่อนักแสดงและทีมงานได้ 

แม้ว่าการจะเป็นการทดลองอยู่แต่หากวิธีการนี้สำเร็จและปลอดภัยมากขึ้น เทคนิคที่นำ AI เข้ามาใช้ด้วยนี้จะเป็นการยกระดับวงการการถ่ายทำภาพยนตร์

ที่มา : TechCrunch

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำงานสัปดาห์ละ 4 วัน เป็นไปได้จริงด้วย AI ส่องโอกาสและความท้าทายที่ต้องรับมือ

กระแสการทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ แต่การจะก้าวไปสู่การทำงานรูปแบบใหม่นี้ได้จริง จำเป็นต้องมีปัจจัยสนับสนุนที่แข็งแกร่ง และหนึ่งในป...

Responsive image

กระทราง DOGE ใต้การดูแลของอีลอน มัสก์ ปลดพนักงานสำนักงานนิวเคลียร์สหรัฐฯ นับ 300 ชีวิต สั่นคลอนความมั่นคงชาติ

เจ้าหน้าที่กว่า 300 คนที่สำนักงานบริหารความมั่นคงนิวเคลียร์แห่งชาติ (NNSA) ถูกปลดออกจากงาน อันเป็นส่วนหนึ่งของการปลดพนักงานของกระทรวงพลังงาน จากการสนับสนุนของ DOGE โดยไม่ทันคิดให้ร...

Responsive image

อดีต CTO OpenAI เปิดตัว Thinking Machines Lab สตาร์ทอัพ AI แห่งใหม่

Mira Murati อดีต Chief Technology Officer (CTO) จาก OpenAI เปิดตัวสตาร์ทอัพใหม่ ชื่อว่า "Thinking Machines Lab" ซึ่งแน่นอนว่าจุดโฟกัสหลักยังคงอยู่ที่ AI...